กลาโหมญี่ปุ่นตั้งหน่วยพิทักษ์อวกาศ

Loading

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ก่อตั้งหน่วยงานใหม่ “ฝูงบินปฏิบัติการอวกาศ” ทำหน้าที่พิทักษ์เฝ้าระวังภัยคุกคามจากนอกโลก เจแปนไทมส์รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา นายทาโร่ โคโนะ รมว.กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้จัดตั้งหน่วยงานสังกัดใหม่ที่มีชื่อว่า “ฝูงบินปฏิบัติการอวกาศ” (The Space Operations Squadron) เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามจากอวกาศ โดยเฉพาะระบบเครือข่ายดาวเทียมของญี่ปุ่น หน่วยงานใหม่นี้จะสังกัดภายใต้กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น ด้วยเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานชุดแรก 20 นาย และคาดว่าจะเปิดรับสมัครคัดเลือกเพิ่มอีก 100 นาย เพื่อขยายการปฏิบัติภารกิจในอนาคต ภารกิจหลักของหน่วยนี้จะมุ่งเน้นที่ความร่วมมือในการฝึกอบรบบุคลากรกับหน่วยงานด้านอวกาศของสหรัฐ และหน่วยงานการสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ก่อนจะขยายไปยังการสร้างระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบอวกาศเพื่อปกป้องเครือข่ายดาวเทียมของญี่ปุ่น จากการโจมตีของศัตรูหรือจากขยะอวกาศที่ลอยอยู่นอกโลก ทั้งยังทำหน้าที่ชี้จุดพิกัดสำหรับกองกำลังหน่วยอื่นๆในภาคพื้น ตั้งเป้าปฏิบัติงานเต็มรูปแบบภายในปี 2023 ในพิธีการสถาปนาหน่วย รัฐมนตรีโคโนะได้เป็นประธานทำหน้าที่มอบธงประจำหน่วยให้กับ พันโท โทชิฮิเดะ อะจิกิ ผู้ซึ่งรับหน้าที่ผู้บังคับบัญชาหน่วยคนแรก ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีชิ้นโซะ อาเบะ ได้กล่างแสดงจุดยืนหลายครั้งถึงการยกระดับบทบาทและขีดความสามารถทางการทหารให้เทียบเท่านานาชาติ เพื่อรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่จากประเทศอื่นๆอย่างจีนและเกาหลีเหนือที่ต่างขยายขีดความสามารถทางการทหารที่มากขึ้น Photo : Ministry of Defense (MoD) / KYODO ———————————————————————- ที่มา : โพสต์ทูเดย์…

สงครามอัฟกานิสถาน : สันติภาพที่สั่นคลอน หลังเหตุโจมตีงานศพ-แผนกทำคลอดในโรงพยาบาล

Loading

เหตุการณ์ที่กลุ่มติดอาวุธโจมตีแผนกทำคลอดของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 24 ราย ทั้งแม่ ทารกแรกเกิด และพยาบาล ไม่เพียงเท่านั้น กระทรวงสาธารณสุขอัฟกานิสถานแจ้งว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 16 ราย ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุซึ่งเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลดาชต์-อี-บาร์ชี ในกรุงคาบูล กลุ่มตาลีบันเองก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลามหรือไอเอส ออกมาบอกว่าอยู่เบื้องหลังเหตุโจมตี อีกเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นที่งานศพนายตำรวจ ชั้นผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งทางตะวันตกของประเทศ เหตุรุนแรงสองเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกันคือเมื่อวันที่ 12 พ.ค. สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการเจรจาสันติภาพช่างเปราะบางแค่ไหน และความหวังว่าสงครามที่ดำเนินมาหลายทศวรรษจะสิ้นสุดก็ยิ่งริบหรี่เข้าไปใหญ่ ประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ได้สั่งให้กองทัพหันไปเริ่มปฏิบัติการโจมตีกลุ่มตาลีบัน และกลุ่มติดอาวุธ อื่น ๆ อีกครั้ง เขากล่าวหาว่ากลุ่มติดอาวุธเหล่านี้ไม่ได้สนใจคำขอร้องให้ลดละการก่อเหตุลงเลย นสพ.นิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า โดยรวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในวันที่ 12 พ.ค. วันเดียว ราว 100 คน เกิดอะไรขึ้นที่โรงพยาบาล ราว 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ชาวบ้านในพื้นที่เล่าว่าได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 2 ระลอก ส่วนแพทย์คนหนึ่งที่หนีออกมาจากโรงพยาบาลดาชต์-อี-บาร์ชี ในกรุงคาบูล บอกบีบีซีว่า มือปืนลงมือก่อเหตุขณะที่มีคนอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 140 คน…

เตรียมตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex)

Loading

ที่มาภาพ: https://yourstory.com/2019/01/top-6-trends-surveillance-industry-2019 Written by Kim หลายประเทศทั่วโลกใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่สามารถเฝ้าดูและสอดส่อง (surveillance) ความเคลื่อนไหวของประชาชน เพื่อที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) แม้ประชาชนจำนวนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นการชั่วคราวอาจมีบทบาทอย่างถาวรต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้มีความกังวลเกี่ยวกับวิธีการที่รัฐบาลรวบรวม จัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลที่สะสมไว้ คาดกันว่าโลกในยุคหลัง COVID-19 บริษัทเทคโนโลยีเอกชนและประเทศต่าง ๆ จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนน้อยลงและหันไปมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการรวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งและฝ่ายตรงข้ามตามลำดับ[1]           ปัจจุบัน เกาหลีใต้ อิสราเอลและสิงคโปร์ใช้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ คลิปวิดีโอกล้องวงจรปิดและข้อมูลบัตรเครติตในการเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของประชาชน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามร่องรอยของไวรัสโคโรนา แม้ประชาชนส่วนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐเสนอใช้ชั่วคราวจะมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันต่อไปและทำให้เกิดปมอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex) ที่เกี่ยวดองกับปมอุตสาหกรรมทหาร (military–industrial complex)[2] โดยบริษัทเทคโนโลยีเอกชนออกแบบและจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สอดแนมที่ทันสมัยที่สุดแก่รัฐบาล องค์การและบุคคล (เอกชน) ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันจนแยกไม่ออก           จุดสิ้นสุดของความสัมพันธ์แบบนี้อาจเป็นการสืบทอดตัวเองไปเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หลายคนอาจโต้แย้งว่าฉากทัศน์แบบนี้เกี่ยวข้องกับอนาคตค่อนข้างน้อยและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันในหลายภาคส่วนของโลก เพียงแค่พกพาโทรศัพท์อัจฉริยะ (smartphone) ผู้คนก็แพร่กระจายข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information) โดยสมัครใจ เช่นเดียวกับข้อมูลที่รวบรวมจากสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่น ๆ ก็เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย โดยการบุกรุกด้วยเครื่องมือเจาะระบบและมัลแวร์ อนึ่ง แนวคิดเรื่องอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things – IoT) และพัฒนาการของ…

ซาอุดีอาระเบีย : เมื่อเศรษฐีน้ำมันเผชิญปัญหารุมเร้าทั้งเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ

Loading

จากเคยเป็นประเทศปลอดภาษี ตอนนี้ซาอุดีอาระเบียประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มสามเท่าจาก 5% เป็น 15% และยกเลิกเงินช่วยเหลือประชาชนรายเดือนตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป นโยบายนี้เป็นผลมาจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงจนต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของราคาเมื่อปีที่แล้ว ทำให้รายได้ของรัฐบาลหดหายไป 22% และโครงการใหญ่ ๆ ทั้งหลายต้องหยุดชะงัก ซาอุดิ อรัมโค ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียมีผลกำไรลดลง 25% ในไตรมาสแรกของปี สาเหตุหลักก็คือราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลง “มาตรการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการคุมค่าใช้จ่ายและพยายามให้ราคาน้ำมันคงที่” ไมเคิล สตีเฟนส์ นักวิเคราะห์ด้านอ่าวอาหรับกล่าว เขาบอกด้วยว่า สภาพเศรษฐกิจของประเทศกำลังย่ำแย่และต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะกลับมาเป็นปกติ โรคโควิด-19 กำลังสร้างความปั่นป่วนให้เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพึ่งพาแรงงานทักษะต่ำหลายล้านคนจากเอเชีย โดยมากแรงงานเหล่านี้อาศัยในสถานที่แออัดและสกปรก ขณะเดียวกัน เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ซึ่งยังได้รับความนิยมในประเทศอย่างมาก ก็ยังถูกชาติตะวันตกตีตัวออกห่างหลังมีข้อสงสัยว่าพระองค์พัวพันกับคดีสังหารจามาล คาชูจกิ นักข่าวซาอุฯ ในปี 2018 นับจากนั้นมาความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนของต่างชาติก็ลดถอยลง และยังไม่ฟื้นตัวจนถึงบัดนี้ นอกจากนี้ สงครามกับเยเมนที่ยืดเยื้อมากว่า 5 ปี ก็ทำให้ซาอุฯ แทบหมดหน้าตักโดยที่ไม่ได้ประโยชน์อะไร และยังมีวิกฤตการทูตกับกาตาร์ที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 6 ประเทศในกลุ่มประเทศความร่วมมือแห่งอาหรับสั่นคลอน ปัญหารอบด้านแบบนี้ ซาอุฯ กำลังเจอวิกฤตหนักหรือไม่ พลังฟื้นตัวจากภายใน หากมองภาพรวม สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกพังไปตาม…