FBI เผย ‘แฮกเกอร์จีน’ พยายามล้วงข้อมูลงานวิจัย ‘วัคซีนต้านโควิด-19’

Loading

เอเอฟพี – สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์เชื่อว่าแฮกเกอร์จีนกำลังพยายามขโมยข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สื่อมะกันรายงานวานนี้ (11 พ.ค.) หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์เนิลและนิวยอร์กไทม์สรายงานว่า เอฟบีไอและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ มีแผนออกหนังสือเตือนเกี่ยวกับปฏิบัติการของแฮกเกอร์จีน ในขณะที่รัฐบาลและบริษัทเอกชนทั่วโลกกำลังเร่งคิดค้นวัคซีนที่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าแฮกเกอร์จีนกำลังพุ่งเป้าไปที่ข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับวิธีรักษาและการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อ้างว่าจารชนไซเบอร์กลุ่มนี้มีส่วนเชื่อมโยงถึงรัฐบาลจีน และคาดว่าจะมีคำเตือนออกมาอย่างเป็นทางการภายในอีกไม่กี่วัน จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน รีบออกมาปฏิเสธข้อครหาดังกล่าว โดยยืนยันว่ารัฐบาลปักกิ่งต่อต้านการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ “เราก็เป็นผู้นำโลกในด้านการรักษาและคิดค้นวัคซีนต้านโควิด-19 การสร้างข่าวลือมาโจมตีและให้ร้ายจีนโดยปราศจากหลักฐานจึงเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม” จ้าว ระบุ เมื่อถูกถามถึงรายงานในสื่อชั้นนำทั้ง 2 ฉบับ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยังปฏิเสธที่จะยืนยัน แต่บอกว่า “มีเรื่องอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับจีนอีกล่ะ? มีอะไรใหม่เหรอ? บอกผมมาสิ ผมไม่แฮปปี้กับจีนเลย” “เรากำลังตามดูพวกเขาอย่างใกล้ชิด” ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวเสริม ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งมีรัฐบาลหนุนหลังในอิหร่าน, เกาหลีเหนือ, รัสเซีย และจีน ทำกิจกรรมมุ่งร้ายที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดใหญ่ (pandemic) ตั้งแต่การเผยแพร่เฟคนิวส์เรื่องไปจนถึงการเล่นงานนักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางการแพทย์ นิวยอร์กไทม์สชี้ว่า คำเตือนที่ออกมาอาจนำไปสู่ปฏิบัติการโจมตีตอบโต้โดยหน่วยงานของสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบด้านสงครามไซเบอร์…

แอพช่วยติดตามผู้เข้าใกล้เชื้อโควิด 19 กับประเด็นความเป็นส่วนตัวของสหภาพยุโรป

Loading

สหภาพยุโรปได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของโลกเรื่องการปกป้องคุ้มครองข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในระบบดิจิตอล แต่ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งความจำเป็นเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อกำลังทำให้เกิดคำถามและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะโดยปกติแล้วการสืบสวนโรคและติดตามผู้ได้ติดต่อสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ หรือที่เรียกว่า contact tracing เพื่อการแจ้งเตือนและแยกตัวเองนั้นต้องใช้ทั้งเวลาและกำลังคนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นขณะนี้หลายประเทศในยุโรปจึงหันมาพิจารณาใช้เทคโนโลยีในสมาร์ทโฟนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยวิธีที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปัจจุบันคือการใช้ระบบส่งสัญญาณบลูทูธจากโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโทรศัพท์ผู้อาจเคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ และขณะนี้ก็มีระบบซึ่งเป็นทางเลือกใหญ่ๆ อยู่สองระบบด้วยกันในยุโรป โดยระบบหนึ่งซึ่งสนับสนุนโดยเยอรมนีมีชื่อเรียกย่อว่า PEPP-PT อาศัยการเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เข้าไว้ที่เซิฟเวอร์ส่วนกลาง ในขณะที่อีกระบบหนึ่งซึ่งมีสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้นำและมีชื่อว่า DP3T นั้นไม่ใช้วิธีเก็บข้อมูลแบบรวมไว้ที่ศูนย์กลางแต่อย่างใด ผู้ที่สนับสนุนเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวเห็นด้วยกับระบบของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่เก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เข้าส่วนกลางเพราะข้อมูลซึ่งไม่มีการระบุตัวตนผู้ใช้นี้จะถูกเก็บไว้เฉพาะในเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น แต่ก็มีรัฐบาลของบางประเทศในยุโรปที่สนับสนุนระบบการเก็บข้อมูลแบบรวมเข้าที่เซิร์พเวอร์ส่วนกลางเพราะเห็นว่าฐานข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบาย ดูเหมือนว่าขณะนี้ประเทศต่างๆ ในยุโรปกำลังแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ในแง่การใช้ระบบเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยติดตามการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย กล่าวคือสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ไอร์แลนด์ และเอสโตเนียเป็นตัวอย่างของประเทศที่สนับสนุนการเก็บข้อมูลแบบไม่รวมศูนย์เข้าส่วนกลาง และมีอิตาลีกับเยอรมนีที่เริ่มเห็นด้วยในช่วงหลังนี้ขณะที่ฝรั่งเศสต้องการใช้ระบบเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ของตนเอง แต่ก็มีบางประเทศอย่างเช่นนอรเวย์ซึ่งพัฒนาแอพของตนที่ไปไกลกว่านั้นคืออาศัยข้อมูลทั้งจากระบบ GPS และบลูทูธเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้โทรศัพท์และอัพโหลดเข้าไปที่เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางทุกๆชั่วโมงเป็นต้น แต่สเปนนั้นกำลังพิจารณาจะผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และอาจไม่นำเทคโนโลยีเพื่อช่วยติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดดังกล่าวนี้มาใช้เลย การมีมาตรฐานที่แตกต่างกันระหว่างประเทศต่างๆ ในยุโรปในขณะนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเตือนว่าปัญหาหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือแอพที่ใช้กับโทรศัพท์มือถืออาจจะไม่สื่อสารหรือส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเมื่อพลเมืองของประเทศหนึ่งเดินทางข้ามพรมแดนเข้าไปในอีกประเทศหนึ่ง และเห็นได้ชัดว่าความกังวลของกลุ่มที่สนับสนุนเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวก็คือถ้ารัฐบาลนำเทคโนโลยีช่วยด้าน contact tracing มาใช้เกินความจำเป็น เรื่องนี้ก็อาจนำไปสู่การติดตามสอดส่องความเคลื่อนไหวของประชาชนในวงกว้างโดยรัฐบาลที่นิยมใช้อำนาจเผด็จการได้ และถึงแม้ว่าโอกาสของการใช้แอพในโทรศัพท์มือถืออย่างเช่นที่เคยใช้ในเกาหลีใต้หรือฮ่องกงเพื่อติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเกิดขึ้นได้ยากในยุโรปนั้น นักวิเคราะห์ก็หวังว่าระบบที่สามารถตกลงกันได้ในกลุ่มสหภาพยุโรปจะช่วยสร้างมาตรฐานเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ซึ่งประเทศอื่นๆในทวีปอื่นๆ จะสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน ————————————————————————– ที่มา : VOA Thai / 5 พฤษภาคม 2563 Link :…

New Normal คืออะไร? สำคัญแค่ไหน? และจะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง?

Loading

By :  littlepearl ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำว่า New Normal ในข่าวกันมากขึ้น อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไมเดี๋ยวนี้คนพูดถึงคำนี้กันบ่อยจัง มันคืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตฉันไหม ฉันต้องรู้จักมันรึเปล่า New Normal ถ้าแปลแบบตรงตัวเลยก็คือ New แปลว่าใหม่ Normal แปลว่าปกติ รวมกันแล้วแปลได้ความหมายว่า ความปกติแบบใหม่ หรือ ภาวะปกติแบบใหม่ ลองนึกง่าย ๆ ว่า อะไรที่เราทำในชีวิตประจำวันเป็นปกติบ้าง เช่น กินข้าว 3 มื้อ, อาบน้ำ 2 ครั้ง, ใส่ชุดว่ายน้ำไปเที่ยวทะเล, ใส่ชุดดำไปงานศพ ทั้งหมดนี้มันคือเรื่อง “ปกติ” ที่เราคุ้นตา ที่เราเคยชินกัน แต่ภาวะปกติแบบใหม่นี้ มันคือสิ่งที่เรามองว่า เมื่อก่อนไม่ใช่เรื่องปกติที่เขาทำกัน แต่พอมันเกิดเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์อะไรบางอย่างขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นกันชัด ๆ ในยุค Covid-19 นี้เลยก็คือ การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน เมื่อก่อน เราจะหยิบหน้ากากอนามัยออกมาใส่ก็ต่อเมื่อเราป่วยเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้…

‘ดีอีเอส’ ถกเลื่อน ‘กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล’

Loading

ดีอีเอส เร่งถกยืดบังคับใช้กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล หลังพบ ‘โควิด’ ทำพิษ หลายบริษัทพ่วงเอสเอ็มอียังไม่พร้อมปรับใช้ ระบุไม่เกินสิ้นเดือนนี้ได้ข้อสรุปจะเลื่อนไปเป็นช่วงไหน “พุทธิพงษ์” ชี้จะต้องดำเนินการให้เหมาะสม ทั้งการออกกฎหมายลูก หรือระเบียบที่จำเป็น เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนำไปบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึง ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีประกาศใช้ใช้ไปเมื่อ 27 พ.ค. 2562 และจะมีผลบังคับใช้ในปลายเดือนนี้คือ 28 พ.ค. 2563 โดยกฎหมายบัญญัติให้มีการจัดตั้งสำนักคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และออกระเบียบและกฎหมายลูกในการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามบทบัญญัติของกฎหมายไม่สามารถเลื่อนการมีผลบังคับใช้ออกไปได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตนเห็นตรงกับหลายฝ่ายว่าควรหาช่องทางบรรเทาการบังคับใช้ด้วยการยืดระยะเวลาออกไปอย่างน้อย 1 ปี โดยได้รับฟังข้อเสนอจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ที่เสนอให้ รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นการนำบทบัญญัติของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดหรือบางส่วนมาบังคับใช้ โดยตนได้นำเรื่องนี้เข้าหารือกับนายวิษณุเครืองามรองนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้และเหตุผลความจำเป็นในการออกพระราชกฤษฎีกา “เราพยายามจะให้ยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้ การบังคับใช้กฎหมายเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพราะถ้าหากรีบใช้อาจจะไม่เกิดประโยชน์กับทุกคน และความพร้อมทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ต้องปฏิบัติ เพราะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ต้องยอมรับว่ามีหลายบริษัทรวมไปถึงเอสเอ็มอีเอง ปรับตัวเพราะให้เข้ากับกฎหมายไม่ทัน จึงก็ต้อง พิจารณาให้ดี” นายพุท ธิพงษ์ กล่าว…

ส.ส.ฮ่องกง ‘ปะทะเดือด’ กลางสภา

Loading

สัญญาณความตึงเครียดทางการเมืองฮ่องกงปะทุอีกรอบ ส.ส.ขั้วตรงข้ามในสภาปะทะเดือดเรื่องการเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ส.ส.ฮ่องกงทั้งฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยและหนุนรัฐบาลปักกิ่งขัดแย้งกันอย่างหนัก เรื่องการเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องตรวจสอบร่างกฎหมายก่อนส่งให้สภาพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีประธานมาตั้งแต่เดือน ต.ค.แล้ว การประชุมเมื่อช่วงบ่าย ส.ส.ฝ่ายหนุนปักกิ่งอ้างข้อกฎหมายว่าเพื่อผ่าทางตัน เลือกนางสตาร์รี ลี ขึ้นเป็นประธานคณะกรรมาธิการ ฝ่ายหนุนประชาธิปไตยก็อ้างข้อกฎหมายกล่าวหาว่านางลีทำผิดระเบียบ ต่างฝ่ายต่างขึ้นเสียงใส่กันชนิดไม่มีใครยอมใคร ปากระดาษแข็งเข้าใส่หน้าฝ่ายตรงข้าม สุดท้ายกลายเป็นเหตุตะลุมบอน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยลาก ส.ส.ฝ่ายประชาธิปไตยหลายคนออกจากห้องประชุม ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็พลอยโดนลูกหลงไปด้วย ระหว่างนั้นทั้งสองฝ่ายต่างถ่ายทอดสดเหตุการณ์ผ่านโทรศัพท์มือถือให้คนภายนอกได้รับรู้ ด้านรัฐบาลปักกิ่งกล่าวหาว่า ส.ส.ฝ่ายหนุนประชาธิปไตยมีเจตนาร้าย ต้องการขัดขวางไม่ให้ร่างกฎหมายหลายฉบับที่นำเสนอไปแล้วผ่านการลงมติในสภา ——————————————————————- ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ / 8 พฤษภาคม 2563 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879688

กลุ่มต่อต้านรัฐบาลยกระดับตัวตนและการโฆษณาชวนเชื่อ

Loading

ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/2020/apr/17/far-right-coronavirus-protests-restrictions Written by Kim กลุ่มขวาจัดรวมทั้งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและพวกหัวรุนแรงสุดโต่งในสหรัฐฯ มีการเคลื่อนไหวและโฆษณาชวนเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ไวรัสโคโรนา (COVID-19) เริ่มแพร่ระบาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลปลุกปั่นให้ผู้สนับสนุนปฏิเสธมาตรการ “อยู่บ้าน (stay at home)” ซึ่งประกาศโดยมลรัฐต่าง ๆ และจัดชุมนุมในที่สาธารณะพร้อมอาวุธปืนอย่างเปิดเผย ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นพาหะตัวนำ (vector) ที่สมบูรณ์แบบในการแพร่กระจายทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับการกดขี่เสรีภาพ (ส่วนบุคคล) ของรัฐบาล ขณะที่การสนับสนุนให้ประชาชน “ปลดปล่อย” มลรัฐของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้การออนไลน์ของกลุ่มขวาจัดสุดโต่งที่รียกร้องสงครามกลางเมือง (civil war) เพิ่มขึ้นอย่างมาก[1]           ในห้วงเวลาก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส กลุ่มขวาจัด (far-right) และพวกหัวรุนแรงสุดโต่ง (violent extremist) ในสหรัฐฯค่อย ๆ เผยตัว เร่งปฏิกิริยาเศรษฐสังคม (socio-economic) และการเมืองท่ามกลางความแตกแยกของประชาชนในประเทศ ซึ่งถูกทำให้เลวร้ายมากขึ้นโดยสื่อสังคม (social media) ระหว่างการแพร่ระบาด กลุ่มเหล่านี้แสวงประโยชน์จากวิกฤติโดยหว่านแพร่ความไม่ไว้วางใจรัฐบาลและสถาบันต่าง ๆ เกี่ยวกับการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ (flatten the curve) หรือชะลออัตราการติดเชื้อ…