ขบวนการชุมนุมประท้วงในสหรัฐฯกับทั่วโลก: อะไรคือความเหมือน

Loading

ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2020/06/01/us/floyd-protests-live.html Written by Kim เมื่อชาวอเมริกันนึกถึงการปกครองแบบอำนาจนิยม ที่ผู้นำเผด็จการข่มขู่จะใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วง ประกาศเคอร์ฟิวห้ามการรวมกลุ่มของประชาชนรวมทั้งคุกคามและข่มขู่สื่อมวลชน พวกเขามีแนวโน้มจะคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ในกรุงไคโรมากกว่ามินนิแอโพลิส การวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่าย อาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ ประกอบกับภัยพิบัติทางเศรษฐกิจและการประท้วงในห้วงปัจจุบัน ทำให้จุดยืนระหว่างประเทศของสหรัฐฯตกต่ำอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประชาคมโลกหมดหวังกับผู้นำที่น่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเพิกเฉยต่อความไม่เท่าเทียม การกดขี่และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่นำไปสู่การฟื้นคืนของการประท้วงทั่วโลกในปี 2019 ทั้งนี้ สหรัฐฯในฐานะผู้นำระดับโลกกลายเป็นพวกเดียวกันกับประเทศต่าง ๆ ที่เคยประสบเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างคาดไม่ถึง[1]           ห้วงเวลาหลายปีที่ชาวอเมริกันมองดูการเร่งปฏิกิริยาของขบวนการประท้วง จากสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติสี (Color Revolutions)[2] ที่เกิดขึ้นในประเทศที่แยกตัวจากอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงกลางปี 2000 จนถึง Arab spring[3] ซึ่งครอบงำพาดหัวข่าวเมื่อต้นปี 2011 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2020 ผู้ประท้วงชุมนุมบนท้องถนนเรียกร้องความยุติธรรม การปฏิรูปการเมืองและความรับผิดชอบในซูดาน อัลจีเรีย ชิลี ฮ่องกง เลบานอน และอีกหลายประเทศจากแอฟริกาเหนือถึงอเมริกาใต้           การประท้วงในสหรัฐฯ กรณีการเสียชีวิตของ George Floyd ชายผิวดำในระหว่างการเข้าควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจในมลรัฐมินนิโซตา สะท้อนให้เห็นความเสื่อมถอยของอำนาจทางศีลธรรม (Moral Authority) รัฐบาลประธานาธบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกวิจารณ์โดยประเทศที่ปกครองแบบอำนาจนิยม ซึ่งสหรัฐฯเคยเรียกหาความรับผิดชอบเกี่ยวกับประวัติที่น่าสังเวชด้านสิทธิมนุษยชน จากปักกิ่งถึงเตหะราน คำวิจารณ์จากจีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่ายอาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป…

‘ไอบีเอ็ม’ ยุติพัฒนา-จำหน่ายเอไอ ‘จดจำใบหน้า’ ชี้แฝงอคติเหยียดสีผิว

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า “ไอบีเอ็ม” บริษัทผู้ผลิตและให้บริการคอมพิวเตอร์ระดับโลกประกาศยุติการจัดจำหน่ายและการพัฒนา “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” (facial recognition) ของบริษัท รวมถึงเรียกร้องรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาหยิบยกเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การอภิปรายอย่างเร่งด่วน เพื่อปฏิรูปกฎหมายควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีนี้โดยเจ้าหน้าที่ ให้ปราศจากการเหยียดสีผิวและเป็นธรรมทางเชื้อชาติ โดยนายอาร์วินด์ คริชนา ซีอีโอของไอบีเอ็มได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บริษัทต้องการทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหารือถึงแนวทางด้านกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมและความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจของไอบีเอ็มที่จะยุติธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงลุกลามบานปลายจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวผิวสีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประเด็นเรื่องปฏิรูปองค์กรตำรวจของสหรัฐ และการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ขณะที่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออคติที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีมาโดยตลอด โดยข้อมูลงานวิจัยของ “จอย โบโอแลมวินี” นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผู้ก่อตั้งสมาคมอัลกอริทึมมิกจัสติซ (Algorithmic Justice League) ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวของบางบริษัทแสดงให้เห็นถึงอคติทางเชื้อชาติสีผิวและอคติทางเพศอย่างชัดเจน ซึ่งคนบางกลุ่มเห็นว่า ไม่ควรจำหน่ายเทคโนโลยีนี้ให้กับหน่วยภาครัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัวและสิทธิพลเมือง จดหมายของนายคริชนาระบุว่า “ไอบีเอ็มคัดค้านและไม่ยินยอมให้มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อการสอดแนมประชาชน การเหยียดเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม หลักการความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของเรา เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือไม่และอย่างไร” นายคริชนาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็มในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบคลาวด์เซอร์วิสของบิรษัทมากขึ้น แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในสำนักงานด้วย โดยขณะนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธุรกิจเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไอบีเอ็มมากนัก แต่การตัดสินใจครั้งนี้ก็สร้างความตื่นตัวในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไอบีเอ็ม “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่สามารถช่วยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จำหน่ายและผู้ใช้งานระบบเอไอมีความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการทดสอบอคติที่แฝงอยู่ในระบบเอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับการบังคับใช้กฎหมาย…

มัลแวร์ใน Android ที่หลอกว่าเป็นแอปพลิเคชันติดตาม COVID-19 ส่วนใหญ่เป็นโทรจัน เน้นสอดแนมและขโมยข้อมูล

Loading

ทีมวิจัยจากบริษัท Anomali ได้วิเคราะห์มัลแวร์ใน Android จำนวน 12 รายการ ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่แอบอ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันของรัฐบาลสำหรับใช้ติดตามการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ผลการวิเคราะห์พบข้อมูลน่าสนใจคือบางแอปพลิเคชันนั้นเป็นมัลแวร์สายพันธุ์ Anubis และ SpyNote ซึ่งมีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงินและสอดแนมพฤติกรรมการใช้งาน โดยช่องทางการแพร่กระจายมัลแวร์มีทั้งส่งลิงก์ให้ดาวน์โหลดไฟล์ APK จากเว็บไซต์ภายนอก เผยแพร่บน Store อื่น และเผยแพร่บน Play Store ของทาง Google เอง มัลแวร์ Anubis พบในแอปพลิเคชันปลอมที่แอบอ้างว่าเป็นของรัฐบาลประเทศบราซิลและรัสเซีย ตัวมัลแวร์มีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงิน เนื่องจาก Anubis นั้นเป็นมัลแวร์ที่มีขายในตลาดมืด ทำให้ผู้โจมตีอาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก อาศัยการซื้อมัลแวร์สำเร็จรูปมาปรับแต่งแล้วแพร่กระจายต่อ มัลแวร์ SpyNote พบในแอปพลิเคชันปลอมที่แอบอ้างว่าเป็นของรัฐบาลประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย ตัวมัลแวร์มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและสอดแนมพฤติกรรมการใช้งาน เนื่องจากตัวมัลแวร์นี้ถูกพัฒนาต่อยอดจากซอร์สโค้ดของมัลแวร์ DroidJack และ OmniRat ที่หลุดออกมาก่อนหน้านี้ จึงทำให้มีฟังก์ชันการทำงานที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ในรายงานของทาง Anomali ไม่ได้รวมมัลแวร์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาทางไทยเซิร์ตได้ตรวจพบการแพร่กระจายมัลแวร์ใน Android ที่แอบอ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันของรัฐบาลไทย โดยส่วนใหญ่เป็นมัลแวร์ประเภทโทรจันและมัลแวร์ Cerberus ซึ่งมีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงิน…