การต่อต้านข้อมูลบิดเบือน (disinformation): ทางเลือกนโยบายที่เหลืออยู่

Loading

ที่มาภาพ: GLOBSEC Strategic Communication Programme https://counterdisinfo.org/ Written by Kim การรณรงค์ (หาเสียง) ด้วยข้อมูลบิดเบือน (disinformation) สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเปลี่ยนผลการเลือกตั้งไปจนถึงกระตุ้นการก่อความรุนแรง ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัทสื่อสังคม (social media) เพิ่งเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองทีละน้อย ทั้งนี้ การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มาพร้อมกับ “infodemic”[1] จะต้องพิจารณาอย่างครอบคลุมรวมถึงการใช้กฎหมายใหม่และการคว่ำบาตรตลอดจนขยายทรัพยากรขององค์กร เพื่อจัดการความท้าทายของข้อมูลบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจะต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับดิจิตอลและสื่อด้วย[2]           การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนถือเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างประเทศ การรณรงค์อย่างซับซ้อนเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงการเป็นภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกผลักดันทางออนไลน์ (โลกเสมือนจริง) สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ในโลกกายภาพ ล่าสุดที่ลอสแอนแจลิส วิศวกรรถไฟชื่อ Eduardo Moreno เจตนาทำให้รถไฟตกรางเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับ COVID-19 โดย Moreno เชื่อว่า เรือโรงพยาบาล (the Mercy) ของกองทัพเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดครองประเทศของรัฐบาล นอกเหนือจากการปรับใช้ทฤษฎีสมคบคิดและ deepfakes (วิดิโอดัดแปลงด้วยปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจัดการความเชื่อของปัจเจกบุคคล บริษัทสื่อสังคมซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามข้อมูลบิดเบือนได้ใช้วิธีไม่คงเส้นคงวาในการต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและ deepfakes โดย Twitter ดำเนินการเชิงรุกด้วยการห้ามโฆษณาทางการเมือง แต่ตัดสินใจติดธง (ไม่ลบ) deepfakes ทางการเมือง ในทางกลับกัน Facebook ประกาศว่าจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่ทราบว่าเป็นข้อมูลผิด ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เรียกว่า infodemic           รัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯมีนโยบายตอบโต้ข้อมูลบิดเบือนค่อนข้างช้า…

แจ้งเตือน มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Maze ระบาด นอกจากเข้ารหัสลับไฟล์อาจข่มขู่ให้จ่ายเงินเพื่อไม่ให้เปิดเผยข้อมูล

Loading

ไทยเซิร์ตได้รับรายงานการแพร่ระบาดของมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ Maze (หรือ ChaCha) ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่มีการโจมตีมาตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 กลุ่มหน่วยงานที่ตกเป็นเป้าหมาย เช่น ภาคธุรกิจ การผลิต หรือด้านพลังงาน ตัวมัลแวร์แพร่กระจายโดยอาศัยคนสั่งการ (human-operated ransomware) ทำให้ลักษณะการโจมตีนั้นจะใกล้เคียงกับการโจมตีแบบเจาะจงเป้าหมาย (targeted attack) แนวทางการโจมตีแบบสังเขปเป็นดังนี้ ผู้ประสงค์ร้ายเจาะช่องโหว่ของระบบเป้าหมาย (เช่น brute force รหัสผ่านของบริการ remote desktop หรือโจมตีผ่านช่องโหว่ของบริการ VPN) หรือโจมตีด้วยการหลอกผู้ใช้ในองค์กร (เช่น ส่งอีเมลฟิชชิ่งหรือแนบไฟล์มัลแวร์) เพื่อเข้ามายังเครือข่ายภายใน เมื่อสามารถเข้าถึงเครือข่ายภายในได้แล้ว จะสำรวจและรวบรวมข้อมูลอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยอาจมีการเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย (lateral movement) หรือสร้างช่องทางลับ (backdoor) สำหรับเชื่อมต่อเข้ามาอีกในภายหลัง อาจมีการรวบรวมข้อมูลบัญชีผู้ใช้ หรือขโมยรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ Active Directory ด้วย เพื่อให้ได้สิทธิ์การทำงานในระดับที่สูงขึ้น ขั้นตอนสุดท้ายของการโจมตีคือสั่งติดตั้งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทั้งนี้ผู้โจมตีอาจเข้ามาอยู่ในระบบนานหลายสัปดาห์หรืออาจเป็นเดือนก่อนที่จะลงมือ นอกจากนี้ มีรายงานว่าผู้ประสงค์ร้ายอาจขโมยไฟล์ข้อมูลสำคัญขององค์กรที่ตกเป็นเหยื่อออกไปด้วย จุดประสงค์เพื่อข่มขู่ว่าหากเหยื่อไม่ยอมจ่ายเงินค่าไถ่จะเผยแพร่ข้อมูลลับนั้นออกสู่สาธารณะ (ข่าวเก่า https://www.thaicert.or.th/newsbite/2020-05-18-01.html) มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Maze และมัลแวร์อื่นที่แพร่กระจายโดยอาศัยคนสั่งการนั้นมีรายงานการโจมตีเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2563…

สหรัฐประณามศาลรัสเซียสั่งจำคุกชาวอเมริกันคดีสายลับ

Loading

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแสดงความไม่พอใจอย่างหนัก ต่อการที่ศาลของรัสเซียพิพากษาให้อดีตนาวิกโยธินชาวอเมริกันรับโทษจำคุก 16 ปี ในข้อหาจารกรรม และเรียกร้องการปล่อยตัวโดยเร็ว ด้านรัฐบาลมอสโกกล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องการเมือง” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่านายไมค์ ปอมเปโอ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเมื่อวันจันทร์ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังศาลแขวงกรุงมอสโกมีคำพิพากษาให้พลเมืองสหรัฐ คือนายพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินวัย 50 ปี รับโทษจำคุกเป็นเวลา 16 ปี ฐานมีความผิดจริงในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับด้านความมั่นคงของรัสเซีย ว่าเป็นคำตัดสิน “ที่เลวร้าย” และไม่เป็นธรรมอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไต่สวน “ซึ่งเป็นความลับ” และไม่มีการสืบพยานชัดเจน พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัววีแลนโดยเร็วที่สุด ขณะที่นายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงมอสโก กล่าวว่า “ผิดหวังอย่างมาก” กับคำพิพากษาของศาล “แต่ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายมากนัก” เนื่องจากพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่ต้นว่ากระบวนการของคดีจะเป็นไปในทิศทางใด ทว่าทิ้งท้ายเป็นนัยว่ารัฐบาลวอชิงตัน “ยินดีเจรจาต่อไป” ด้านนายวลาดิเมียร์ เซเรเบนคอฟ ทนายความของวีแลน ยืนยันจะมีการอุทธรณ์แน่นอน และอ้างการที่ลูกความของตัวเองอาจได้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ต่อมานายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่าบทลงโทษของวีแลนเป็นไปตามครรลองของกระบวนการยุติธรรม  “ซึ่งมีการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับแล้ว” และยืนยันว่าพลเมืองสหรัฐรายนี้…

เมื่อเสรีภาพสื่อถูกตั้งคำถาม ศาลฟิลิปปินส์ตัดสินว่า นักข่าวมีความผิดฐานกลั่นแกล้งทางไซเบอร์

Loading

วันนี้หลายคนต้องหันมาสนใจเรื่องเสรีภาพสื่อในฟิลิปปินส์ หลังศาลฟิลิปปินส์ในกรุงมะนิลา (Manila Regional Trial Court) ได้ตัดสินว่า มาเรีย เรสซา (Maria Ressa) บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวฟิลิปปินส์ Rappler และ เรย์นัลโด ซันโตส เจอาร์ (Reynaldo Santos Jr) อดีตผู้สื่อข่าว มีความผิดฐานกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (cyber libel) และทั้งสองคนอาจต้องจำคุกนานถึง 6 ปี ผู้พิพากษายังสั่งให้ทั้งสองจ่ายเงินคนละ 8,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 247,000 บาท) แก่ผู้เสียหาย เพื่อเป็นค่าเสียหายทางศีลธรรม (moral damages) และค่าเสียหายเพื่อเป็นเยี่ยงอย่าง (exemplary damages) อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุด รวมถึงประกันตัวได้ สำนักข่าว Rappler ก่อตั้งในปีค.ศ.2012 ขึ้นชื่อว่าเป็นสื่อที่วิจารณ์การทำงานของ โรดรีโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชน พูดถึงการตัดสินคดีของศาลในครั้งนี้ว่า เป็นการปิดปากผู้ที่วิจารณ์ โรดรีโก ดูแตร์เต…