ผลสำรวจความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของการทำงานจากที่บ้าน พบองค์กรส่วนใหญ่ยังขาดแนวทางรับมือ อาจเสี่ยงถูกแฮกและข้อมูลรั่วไหล

Loading

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้องค์กรต่าง ๆ เริ่มส่งเสริมให้พนักงานทำงานจากที่บ้านมากขึ้น เป็นผลให้พนักงานต้องปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและทำงานจากระยะไกล อย่างไรก็ตาม การจะใช้งานเทคโนโลยีอย่างมั่นคงปลอดภัยได้นั้นองค์กรต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านนโยบาย เทคโนโลยี และบุคลากร เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทาง IBM Security และ Morning Consult ได้จัดทำผลสำรวจเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการทำงานจากที่บ้าน โดยพบว่าหลายองค์กรยังขาดแนวทางการรับมือที่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งการถูกเจาะระบบและความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหลได้ ตัวอย่างความเสี่ยง เช่น พนักงาน 52% ต้องใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวในการทำงาน โดยในจำนวนดังกล่าวมี 61% ที่ระบุว่าไม่ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัยจากทางองค์กร นอกจากนี้ 45% ยังระบุว่าไม่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการปกป้องข้อมูลหรือการปกป้องอุปกรณ์เพื่อให้สามารถทำงานจากที่บ้านได้อย่างมั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด นอกจากการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีแล้ว นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยง ซึ่งจากผลสำรวจพบพนักงานกว่า 41% มีความจำเป็นต้องทำงานกับข้อมูลส่วนบุคคล แต่พนักงานกว่าครึ่งกลับไม่ทราบหรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับนโยบายในการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องทำงานกับข้อมูลดังกล่าวจากที่บ้านหรือต้องส่งต่อข้อมูลนั้นให้กับบุคคลอื่น ซึ่งความไม่ชัดเจนเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหลและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น องค์กรต่าง ๆ จึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านอย่างปลอดภัย ทั้งดานเครื่องมือ การอบรมเพื่อสร้างความตระหนัก รวมถึงกำหนดและประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ชัดเจน ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวเป็นผลสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามในสหรัฐฯ โดยข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการสรุปประเด็นบางส่วนเท่านั้น ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากรายงานฉบับเต็ม (http://filecache.mediaroom.com/mr5mr_ibmnews/186506/IBM_Security_Work_From_Home_Study.pdf) ——————————————————– ที่มา : ThaiCERT /…

Microsoft เผยข้อแนะนำแนวทางการป้องกันเซิร์ฟเวอร์ Exchange จากการถูกโจมตี

Loading

องค์กรหลายแห่งใช้ Microsoft Exchange เป็นช่องทางหลักในการทำงานและการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นอีเมล ปฏิทิน หรือใช้บันทึกข้อมูลพนักงานและผู้ติดต่อ ที่ผ่านมาเซิร์ฟเวอร์ Exchange มักตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ จุดประสงค์เพื่อขโมยข้อมูลหรือเข้าถึงบัญชีที่มีสิทธิ์ระดับสูง ซึ่งหลายครั้งหากโจมตีเซิร์ฟเวอร์ Exchange ได้สำเร็จ ผู้ไม่หวังดีก็อาจสามารถควบคุมระบบเครือข่ายทั้งหมดได้ ทาง Microsoft ได้เผยแพร่ข้อแนะนำในการป้องกันเซิร์ฟเวอร์ Exchange โดยอ้างอิงจากรูปแบบพฤติกรรมของผู้โจมตี การโจมตีเซิร์ฟเวอร์ Exchange นั้นหลัก ๆ แล้วสามารถทำได้ 2 ช่องทาง โดยช่องทางแรกคือโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในองค์กรเพื่อติดตั้งมัลแวร์ขโมยรหัสผ่าน จากนั้นใช้รหัสผ่านดังกล่าวล็อกอินเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ Exchange อีกที ส่วนวิธีโจมตีช่องทางที่สองคือเจาะผ่านช่องโหว่ของบริการในเซิร์ฟเวอร์ Exchange โดยตรง เช่น ช่องโหว่ของ IIS ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับให้บริการเว็บไซต์ ทาง Microsoft ได้วิเคราะห์การโจมตีเซิร์ฟเวอร์ Exchange ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2563 โดยได้สรุปแนวทางการตรวจสอบและป้องกันการโจมโดยอ้างอิงจากพฤติกรรมที่ผิดปกติได้ดังนี้ Initial access ผู้โจมตีอัปโหลดไฟล์ web shell เข้าไปไว้ในพาธของเซิร์ฟเวอร์ Exchange เพื่อที่จะเข้ามาควบคุมเครื่องเซิร์ฟเวอร์ผ่านช่องทางดังกล่าวในภายหลัง แนวทางการตรวจสอบสามารถใช้วิธีเฝ้าระวังและแจ้งเตือนการสร้างไฟล์ใหม่ในพาธของ Exchange…

เฟมทวิต : ประวัติศาสตร์ของแนวคิดสตรีนิยม และปมขัดแย้งในสังคมไทย

Loading

แนวคิดสตรีนิยม (feminism) และกลุ่มผู้นิยมแนวคิดนี้ที่เรียกว่า “เฟมินิสต์” (feminist) กำลังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนในหมู่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียของไทย #เฟมทวิต เป็นแฮชแท็กที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทางโซเชียลมีเดีย โดยเป็นคำเรียกในเชิงเสียดสีที่หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ออกมารณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศระหว่างหญิงชาย และต่อต้านเรื่องการเหยียดเพศ ตลอดจนการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิง ผ่านการโพสต์ถ้อยคำในโลกออนไลน์ โดยที่ไม่ได้ลงมือทำอะไรอย่างแท้จริง แบบที่กลุ่ม “เฟมินิสต์” ตัวจริงเคลื่อนไหวรณรงค์อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง บีบีซีไทยจะพาไปดูประวัติความเป็นมาของแนวคิดสตรีนิยม และความเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศนี้ กำเนิดแนวคิดสตรีนิยม คำว่า “เฟมินิสม์” (feminism) หรือแนวคิดสตรีนิยม ได้รับการบัญญัติไว้โดยนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ชาร์ล ฟูรีเย ในปี ค.ศ.1837 ปัจจุบันสารานุกรมบริแทนนิกา ซึ่งเป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์มายาวนาน ได้นิยามความหมายของคำนี้ว่าเป็น “ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง” ขณะที่พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับอ็อกซ์ฟอร์ด ได้นิยามคำว่า “เฟมินิสต์” (feminist) ว่าเป็น “ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี” รีเบ็คก้า เวสต์ นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษผู้วิพากษ์วิจารณ์ความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศอย่างตรงไปตรงมา เคยเขียนเอาไว้ในปี 1913 ว่า “ดิฉันเองไม่เคยระบุได้อย่างชัดเจนว่า แนวคิดสตรีนิยม คืออะไร ดิฉันรู้เพียงว่าผู้คนเรียกดิฉันว่า “เฟมินิสต์” เวลาที่ดิฉันแสดงทัศนะที่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างตัวดิฉันกับพรมเช็ดเท้า” พัฒนาการของแนวคิดสตรีนิยม…

บอสตันออกกฎห้ามหน่วยงานของเมืองและตำรวจใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

บอสตัน เมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐฯ ออกกฎห้ามหน่วยงานของเมืองใช้งานระบบจดจำใบหน้าอย่างเป็นทางการ จากมติการลงคะแนนเป็นเอกฉันท์โดยสมาชิกสภาเมืองทั้งหมด 13 คน ตามกฎหมายของเมืองบอสตันนี้ คือกำหนดห้ามหน่วยงานของเมืองรวมถึงตำรวจใช้ระบบรู้จำใบหน้า ซึ่งรวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้จากบุคคลที่สามด้วย โดยจะมีข้อยกเว้นเฉพาะกรณีเกี่ยวกับอาชญากรรมบางกรณีเท่านั้น Michelle Wu หนึ่งในสมาชิกสภาเมืองบอสตันระบุว่า บอสตันไม่ควรจะใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแบ่งแยก ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวและสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อาศัยในเมือง ปัจจุบัน ระบบรู้จำใบหน้ายังมีปัญหาเรื่องความแม่นยำขึ้นกับสีผิวอยู่มาก โดยงานวิจัยเมื่อ 2 ปีที่แล้วของ MIT พบว่าโปรแกรมรู้จำใบหน้าที่พร้อมใช้งานกันในเชิงพาณิชย์มีปัญหาเรื่องการระบุผู้หญิงผิวดำไม่แม่นยำมากถึง 34.7% ————————————————- ที่มา : Blognone / 25 มิถุนายน 2563 Link : https://www.blognone.com/node/117125

ตะลึง! บุกค้นคลังแสงชายแดนแม่สอด ยึดทั้งปืนกล-เอ็ม 16 ยันระเบิดสังหารอื้อ

Loading

ตาก – ฝ่ายความมั่นคงชายแดนแม่สอด ยึดคลังแสงอาวุธสงครามทั้งปืนกล-เอ็ม 16-อาก้า พร้อมเครื่องกระสุนปืน-ระเบิดสังหาร ควบคุมตัวคู่หูชายไทยสอบสวนขยายผลคาดเชื่อมโยงเครือข่ายค้าอาวุธชายแดน วันนี้ (23 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่งคงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้สนธิกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านพักหลังใหญ่ย่านชุมชนริมถนนสายแม่สอด-บ้านแม่ตาว หมู่ที่ 2 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก หลังเจ้าหน้าที่การข่าวสืบทราบว่ามีขบวนการลักลอบลำเลียงอาวุธสงครามนำแอบมาซุกซ่อนอยู่ เมื่อกำลังเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นภายในบ้านพักเป้าหมาย พบชายไทย 2 คน อายุประมาณ 39-40 ปี อยู่ภายในบ้านพักเจ้าหน้าที่จึงเชิญตัวนำเข้าตรวจค้นภายในบ้าน แต่ค้นกันนานกว่า 1 ชั่วโมงก็ยังไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย แต่การข่าวยืนยันว่าภายในพื้นที่มีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนอย่างแน่นอน เจ้าหน้าที่จึงต้องนำตัวทั้งสองไปสอบสวนจนได้ข้อมูลเพิ่มเติมชัดเจน จึงได้นำกำลังพร้อมอาวุธครบมือปูพรมเข้าปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ภายในแปลงเกษตรสวนผักซึ่งอยู่ด้านหลังใกล้บ้านเป้าหมาย จากการตรวจค้นโดยละเอียดนานกว่า 2 ชั่วโมง พบอาวุธสงครามนานาชนิดซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ลับ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดอาวุธปืนกลยาว 2 กระบอก ปืนเอ็ม 16 และปืนอาก้า-47 กว่า 27 กระบอก เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม-79 จำนวน 3 กระบอก ระเบิดสังหาร 2 ลูก ซึ่งอาวุธทั้งหมดสภาพพร้อมใช้งาน นอกจากนี้ยังพบเครื่องกระสุนปืนหลากหลายขนาดอีกจำนวนมากถูกซุกซ่อนในพื้นที่ดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงทำการบันทึกตรวจยึดพร้อมนำอาวุธสงครามและเครื่องกระสุนทั้งหมดและผู้ต้องสงสัยทั้งสองคนนำตัวไปสอบสวนที่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่…

หญิงจีนถูกขโมยตัวตน 16 ปีก่อน อนาคตพลิกผัน ฝันสลายเข้ามหาวิทยาลัย

Loading

จากอนาคตสดใสต้องไปทำงานโรงงาน หญิงจีนถูกขโมยตัวตน สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แต่โดนสวมรอย เมื่อ 16 ปีก่อน เฉิน ชุนสุ่ย ชาวเมืองกวนเซียน มณฑลชานตง ตัดสินใจพึ่งกฎหมายปกป้องสิทธิ์และผลประโยชน์ของตนเอง  หลังจากสตรีอีกคนหนึ่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเมื่อ 16 ปีก่อนได้ด้วยการขโมยตัวตนของเธอ  คู่กรณีซึ่งนามสกุล เฉิน เช่นกันและอยู่ในเมืองเดียวกัน ถูกสั่งพักงานเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. หนึ่งวันหลังจากทีมสอบสวนซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการตรวจสอบวินัยและกำกับดูแลประจำเขต และเจ้าหน้าที่หน่วยงานการศึกษา  เปิดสอบสวนเรื่องนี้ ส่วนมหาวิทยาลัยตัดสินใจลบประวัติการศึกษาของเธอทิ้งถาวร เฉิน ชุนสุ่ย ปัจจุบัน อายุ 36 ปี เข้าสอบ”เกาเข่า” หรือเอนทรานซ์ในปี 2547 แต่ไม่ได้รับแจ้งจากสถาบันการศึกษาใดตอบรับ ทั้งที่เธอทำคะแนนแอดมิดชันได้สูงกว่าเกณฑ์ หลังจากหมดหวังเป็นบัณฑิต เธอตัดสินใจเดินทางออกจากหมู่บ้านไปหางานทำในเมืองอื่น  เธอเคยทำงานในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ เป็นพนักงานเสิร์ฟในภัตตาคาร ก่อนได้มาเป็นครูอนุบาล และเพิ่งมาพบความจริงเจ็บปวดขณะกรอกเอกสารใบสมัครเรียนศึกษาผู้ใหญ่เมื่อ 21 พ.ค. บนเวบไซต์ศูนย์ข้อมูลอาชีพและนักศึกษาอุดมศึกษาจีน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่าถูกขโมยตัวตน สตรีคนหนึ่งใช้ชื่อและเลขบัตรประจำตัวของเธอ เข้าศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชานตง ( SDUT ) ในปี 2547 คณะที่เธอเคยฝันไว้เมื่อ…