อุปกรณ์พกพาเพื่อการตรวจหาการสัมผัสเชื้อในสิงคโปร์ ทำงานอย่างไร
ไซรา อาเชอร์ บีบีซี นิวส์ สิงคโปร์ อุปกรณ์ขนาดพกพาที่ชื่อ เทรซ ทูเกตเตอร์ โทเคน (Trace Together Tokens) คือเทคโนโลยีล่าสุดของสิงคโปร์ในการรับมือกับโควิด-19 อุปกรณ์ที่พกติดตัวได้นี้ช่วยให้แอปพลิเคชันตรวจจับการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรน่าที่มีการใช้งานอยู่แล้วทำงานได้ดีขึ้น ในการระบุตัวผู้ที่อาจจะติดเชื้อไวรัสจากผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว ผู้ใช้งานต้องพกพาอุปกรณ์นี้ ซึ่งทำงานด้วยแบตเตอรีที่มีพลังงานสะสมถึง 9 เดือน เรื่องนี้สร้างความ “ตกตะลึง” แก่ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง หน่วยงานของรัฐบาลที่พัฒนาอุปกรณ์นี้ ทราบดีว่า อุปกรณ์ประเภทนี้ และเทคโนโลยีโดยทั่วไป ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” ที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่มันจะมาช่วยเสริมความพยายามในการตรวจจับการสัมผัสเชื้อของคน คนกลุ่มแรกที่จะได้รับอุปกรณ์นี้ไปใช้งานคือ ผู้สูงอายุหลายพันคน ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง โดยพวกเขาจะต้องแจ้งหมายเลขประจำตัวประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์ เช่นเดียวกับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน เทรซทูเกตเตอร์ (Trace Together) ถ้าผู้ใช้อุปกรณ์นี้ถูกตรวจพบว่าติดโรคโควิด-19 พวกเขาต้องส่งมอบอุปกรณ์คืนให้กระทรวงสาธารณสุข เพราะอุปกรณ์นี้ไม่สามารถส่งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้หมือนแอปฯ ดังกล่าว จากนั้น อุปกรณ์นี้ จะใช้ข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกไว้ ในการระบุตัวผู้ที่อาจจะติดเชื้อ เครื่องมือขนาดพกพาในกระเป๋ากางเกงได้นี้ทำงานโดยการสื่อสารทางบลูทูธกับเครื่องมือชนิดเดียวกัน หรือโทรศัพท์มือถือที่มีแอปฯเดียวกัน โดยเก็บข้อมูลการสื่อสารไว้ 25 วัน แล้วลบทิ้ง ถ้าผู้ใช้อุปกรณ์นี้ ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 ต้องนำเครื่องนี้มาให้ทางการเพือตรวจสอบข้อมูลใเนครื่องว่าติดต่อกับใครบ้าง…