นักวิทย์สหรัฐฯค้นพบวัสดุชีวสังเคราะห์ เชื่อมเอไอ กับสมองคน

Loading

นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯค้นพบวัสดุชีวสังเคราะห์สำหรับเคลือบส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปฝังในอวัยวะภายในของคนได้ เป็นการปูทางสู่เทคโนโลยีไซบอร์ก เชื่อมปัญญาประดิษฐ์เข้ากับสมองคนในอนาคต นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ ในสหรัฐฯ ค้นพบวัสดุเคลือบทำจาก “พอลิเมอร์ชีวสังเคราะห์” สำหรับใช้ในการเคลือบแผงวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถฝังเข้าไปในอวัยวะภายในอย่างสมองของคนได้ โดยไม่เกิดรอยขีดข่วนและไม่รบกวนการส่งคลื่นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับร่างกายของคน ซึ่งนับเป็นการแก้ปัญหาสำหรับการฝังวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อย่างทองคำ ซิลิคอน และโลหะ เข้ากับอวัยวะภายในของคนโดยไม่เกิดรอยแผลบนเนื้อเยื่อ เพื่อที่จะได้มีเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับมนุษย์ ในอนาคตมนุษย์จะสามารถใช้สมองสั่งการการทำงานของระบบเอไอได้ นายเดวิด มาร์ติน หัวหน้าทีมวิจัยเปิดเผยการค้นพบครั้งนี้ในการประชุมฤดูใบไม้ร่วง “เวอร์ชวล มีทติ้ง แอนด์ เอ็กซ์โป” ของสมาคมเคมีอเมริกัน โดยระบุว่า วัสดุเคลือบนี้ชื่อว่า “พอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน)” (poly(3,4-ethylenedioxythiophene) หรือ PEDOT ซึ่งขั้นต่อไปจะมีการทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์เคลือบวัสดุชีวเคมีที่ถูกฝังในสิ่งมีชีวิตต่อไป โดยบอกว่าที่ผ่านมามีหลายบริษัทใหญ่อย่าง “กลาโซ่ สมิธ ไคลน์” (Glaxo Smith Kline) และ “นิวรัลลิงค์” (Neuralink) ของนายอีลอน มัสก์ ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีไซบอร์ก โดยเชื่อว่าการค้นพบครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้อย่างน่าทึ่ง. —————————————————— ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / 20 สิงหาคม 2563 Link…

Gmail มีช่องโหว่เปิดทางคนร้ายปลอมเมลว่ามาจากลูกค้า G Suite ทีมงานดองช่องโหว่นานกว่า 4 เดือนจนนักวิจัยเปิดเผย

Loading

Allison Husain นักวิจัยความปลอดภัยรายงานถึงช่องโหว่ระบบตรวจสอบที่มาอีเมล SPF และ DMARC และการส่งต่ออีเมลของบริการ G Suite ที่ทำให้คนร้ายสามารถปลอมอีเมลเป็นอีเมลจากเหยื่อที่เป็นลูกค้า G Suite ได้อย่างแนบเนียน Allison ระบุว่าได้รายงานช่องโหว่นี้ให้กูเกิลรับรู้ตั้งแต่ 3 เมษายนที่ผ่านมา แต่กูเกิลกลับทิ้งช่องโหว่นี้ไว้นานกว่าสี่เดือน ทำให้ Allison ตัดสินใจเขียนบล็อกเปิดเผยช่องโหว่และกูเกิลก็แพตช์ช่องโหว่นี้ในไม่กี่ชั่วโมง SPF (Sender Policy Framework) และ DMARC (Domain-based Message Authentication, Reporting, and Conformance) เป็นมาตรฐานที่สามารถลดอัตราการสแปมและการโจมตีแบบฟิชชิ่งได้ ด้วยการเปิดช่องทางตรวจสอบว่าอีเมลที่อ้างว่ามาจากโดเมนหนึ่งๆ เช่น test@example.com มาจากโดเมนที่อ้าง (example.com) จริงหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วอีเมลที่ผ่านการตรวจสอบเช่นนี้มักได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษ ทำให้ไม่ถูกโยนลงถังสแปม ขณะที่ตัวโปรโตคอลอีเมลโดยทั่วไปเปิดทางให้ผู้ใช้แก้ไขชื่อบัญชีที่มา เช่น เราอยากส่งอีเมลว่ามาจาก victim@victim.example.com ก็ทำได้ตลอดเวลา แต่มักจะโดนจัดเป็นสแปมหรือเตือนฟิชชิ่งเสียก่อนถึงอินบ็อกผู้รับ Allison พบช่องโหว่โดยอาศัยฟีเจอร์สองตัวของ G Suite คือ Default route หรือช่องทางรับอีเมลที่ไม่มีบัญชีอยู่จริง โดยฟีเจอร์นี้สามารถเปลี่ยนโดเมนที่มาของอีเมลได้ด้วย…

“ซื้อพาสปอร์ตย้ายประเทศ” วิธีใช้เงินแก้ปัญหาช่วงโควิด-19 ระบาด

Loading

FILE PHOTO: Photo illustration of a Cypriot passport, October 12, 2019. REUTERS/Stringer/Illustration/File Photo สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า แม้คนส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวได้น้อยลงในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่สำหรับคนที่ร่ำรวยมหาศาลนั้น สามารถ “ซื้อ” พาสปอร์ตของประเทศอื่นๆ ที่ปกติปิดชายแดนจากประเทศของพวกเขาได้ การซื้อพาสปอร์ตไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด รัฐบาลหลายประเทศมีโครงการมอบสัญชาติหรือวีซ่าให้ชาวต่างชาติที่ลงทุนเม็ดเงินในประเทศเหล่านี้ โดยในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา จุดประสงค์ของผู้ที่ลงทุนเพื่อรับสัญชาติใหม่ที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 2 – 50 ล้านดอลลาร์หรือมากกว่านั้น คือเพื่อเสรีภาพในการบ้ายถิ่นฐาน สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือเหตุผลด้านไลฟ์สไตล์เช่น เพื่อเข้าถึงการศึกษาที่ดีขึ้น หรือเสรีภาพพลเมืองที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ บรรดาครอบครัวเศรษฐีก็มีเหตุผลในการซื้อสัญชาติหรือวีซ่าเพิ่มขึ้นด้วยคือ การรับบริการด้านสุขภาพและการหาประเทศอื่นรองรับเผื่อเหตุการณ์ในอนาคต โดมินิค โวเล็ค หัวหน้าแผนกเอเชียของบริษัทให้คำปรึกษาด้านการถือสัญชาติและการหาที่พำนัก Henly & Partners กล่าวกับทางซีเอ็นเอ็นว่า คนร่ำรวยมักไม่วางแผนล่วงหน้า 5-10 ปีแต่วางแผนด้านการเงินและความเป็นอยู่ล่วงหน้านานถึงกว่าร้อยปี โดยเฉพาะในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด เนื่องจากนี่อาจไม่ใช่การระบาดครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวในชั่วชีวิตของพวกเขา ทางบริษัทยังได้รับคำขอรับบริการจากลูกค้ามากขึ้นถึง 49…

ธปท. ห้ามมือถือ ‘รุ่นเก่า’ ใช้โมบายแบงกิ้ง

Loading

ธปท.เคาะแนวนโยบายรักษาความปลอดภัยในการใช้บริการผ่านมือถือโมบายแบงกิ้ง ห้ามมือถือเวอร์ชั่นต่ำ-เจลเบรก เริ่มมีผล 31 ธ.ค.63 นี้ ด้าน “กสิกร”ลั่นระบบป้องกันความปลอดภัยแน่นเกินมาตรฐานแบงก์ชาติกำหนด“ยูโอบี” ขีดเส้นให้ลูกค้าอัพเดทเวอร์ชั่นมือถือก่อน 15 ก.ย. นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้มีการออกประกาศ เรื่องแนวนโยบาย การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่(Guiding Principles for mobile banking security)โดยแนวนโยบายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 31 ธ.ค. 63 เป็นต้นไป ประกาศดังกล่าว ระบุว่า ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจบริการชำระเงินมีการให้บริการผ่านช่องทางอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นช่องทางหลัก และใช้บริการผ่านช่องทางดังกล่าว มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีหลากหลายซับซ้อนขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการและผู้ใช้บริการได้ ดังนั้นเพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยในการให้บริการผ่านช่องทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ ธปท.จึงออกนโยบายเพิ่มเติม ซึ่งมีมาตรฐานควบคุมรักษาความมั่นคงปลอดภัย 2 ระดับด้วยกัน คือมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น ไม่อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เปิดสิทธิให้เข้าถึงระบบปฏิบัติการ (rooted/jailbroken) เข้าใช้งานแอพพลิเคชั่น ,ไม่อนุญาตให้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้ระบบปฏิบัติการล้าสมัย ,ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการใช้แอพพลิเคชั่นเวอร์ชั่นต่ำกว่าผู้ให้บริการกำหนด  ส่วนมาตรการเพิ่มเติม เช่น ให้มีการกำหนด ตั้งค่า PIN หรือรหัสผ่านที่ซับซ้อน ในการเข้าใช้งานบนแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ยากต่อการคาดเดาฯลฯ ด้านนายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า…