ที่มาภาพ: https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1823259/your-horoscope-for-27-dec-2-jan
Written by Kim
ในอดีตกาลที่ผ่านมา “กษัตริย์” และ “นายพล” มักจะไปหารือขอคำแนะนำจากนักดาราศาสตร์หรือโหราจารย์ (หมอดู) ก่อนตัดสินใจเรื่องสำคัญ เช่น การทำสงครามหรือออกรบ ซึ่งเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาแบบเก่าภายใต้เงื่อนไขความไม่แน่นอน แม้พวกเราหลายคนยังคงอ่านคำพยากรณ์รายวันเพื่อความสนุกและบันเทิงหรือไปหาหมอดู (ดูหมอ) แต่รัฐบาลในยุคสมัยใหม่แทบจะไม่ต้องพึ่งพาวิธีการ “ปรึกษา” แบบโบราณ
ปัจจุบันผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการข่าวกรองได้สืบทอดบทบาทของบุคคลลึกลับเหล่านั้น ยกเว้นผู้ที่ถูกเรียกว่า นายทหารฝ่ายเสนาธิการ (staff officers) หรือข้าราชการพลเรือน (civil servants) แม้พวกเขาทำหน้าที่เป็นมือขวาของผู้มีอำนาจตัดสินใจ ทั้งนี้ ความพยายามใด ๆ ที่จะบรรยายรายละเอียดเชิงเปรียบเทียบระหว่าง “นักวิเคราะห์” และ “หมอดู” จะเปิดเผยให้เห็นมนุษย์สองจำพวกที่แตกต่างกัน
ผู้มีอาชีพด้านการข่าวกรองไม่เคยอ้างตนว่าสามารถทำนายอนาคตได้ แม้จะมีความลับรายล้อมอยู่รอบตัวอย่างสม่ำเสมอ งานข่าวกรองเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างในการวิเคราะห์ งานข่าวกรองมีขีดความสามารถและความได้เปรียบอันเป็นที่เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันควรตระหนักถึงข้อจำกัด ผู้มีอำนาจตัดสินใจทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ต้องแบ่งปันความรับผิดชอบกับนักวิเคราะห์ข่าวกรองในกรณีที่ตัดสินใจแย่ ๆ บนพื้นฐานของการประมาณการแบบคาดเดา
บทความนี้[1]จะพูดถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างข่าวกรองกับ “ลูกค้า (clients)” หรือ “ผู้ตัดสินใจ” ที่อาจนำไปสู่การทำงานที่มีการบูรณาการเป็นอย่างดีและความพึงพอใจมากขึ้น
ลักษณะพิเศษของนักวิเคราะห์ข่าวกรอง (The Special Traits of Intelligence Analysts)
อะไรคือความแตกต่างระหว่างผู้มีอาชีพด้านการข่าวกรองกับนักวิเคราะห์? ความได้เปรียบของผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองกับผู้เชี่ยวชาญอื่นคืออะไร? ไม่มีทางที่นักวิจัยด้านวิชาการ (academic researcher) ผู้มีคุณสมบัติสูงส่งและนักข่าว (journalist) จะมีคุณสมบัติด้อยกว่านักวิเคราะห์ข่าวกรอง เพราะความเชี่ยวชาญของบุคคลดังกล่าวได้รับจากการศึกษา โรงเรียนทหารและประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ยาวนาน อย่างไรก็ดี ลักษณะเฉพาะสามประการที่ทำให้นักวิเคราะห์ข่าวกรองแตกต่างจากผู้สังเกตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่
o สามารถเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหว ลึกซึ้ง พิเศษ ซึ่งเติมเต็มความรู้ในเรื่องที่กำหนด ลักษณะสำคัญของข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดเหนือผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ คือ นักวิเคราะห์ข่าวกรองมีข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้และมีชั้นความลับในปริมาณมากกว่าสำหรับใช้ในการวิเคราะห์
o ข้อได้เปรียบหลักของนักวิเคราะห์ข่าวกรองคือ การมีกระบวนการรวบรวมวิเคราะห์ข่าวกรองแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Analysis) การวิเคราะห์เกี่ยวกับประเทศที่ระบุจะต้องมีข้อมูลครอบคลุมความเคลื่อนไหวและปัญหา การตัดสินใจแห่งชาติ การเมือง การทูตหรือการโฆษณาชวนเชื่อ
o นักวิเคราะห์ข่าวกรองแตกต่างที่ความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหัวห้อเรื่องนั้นหรือนักข่าวที่เขียนเรื่องเดียวกันต่างก็มีอุปสรรค ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับนักวิเคราะห์ข่าวกรอง กรณีหากทำนายผิด นักวิชาการและสื่อมวลชนจะร่างรายงานใหม่หรือตีพิมพ์พาดหัวข่าวใหม่โดยไม่มีอันตรายใด ๆ ต่ออาชีพ ไม่มีใครนึกถึงความรับผิดชอบในอาชีพ นักวิเคราะห์ข่าวกรองต้องรับผิดชอบต่อการคาดการณ์ของตน ทุกความผิดพลาดในส่วนตนมีผลกระทบทันทีทั้งตัวเองและผู้ที่ตัวเองต้องรายงาน
บทสรุปและข้อเสนอแนะของนักวิเคราะห์ข่าวกรอง เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการตัดสินใจของผู้นำทางการเมืองมีความสำคัญต่อประเทศชาติ ดังนั้น ผู้ตัดสินใจต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดและความเป็นไปได้ของการประมาณการข่าวกรอง
———————————————————
[1] สรุปบทความ เรื่อง “Estimates and Fortune-Telling in Intelligence Work” ตีพิมพ์ในวารสาร International Security Vol. 4, No. 4 (Spring, 1980), pp. 36 – 56 เขียนโดย พลตรี Shlomo Gazit อดีตผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหารของอิสราเอล (ปี 1974 – 1979) และผู้ประสานงานปฏิบัติการของรัฐบาลในดินแดนยึดครองปี 1967 -1974.
———————————————————-
ที่มา : https://www.ianalysed.com/2020/08/1.html