ระทึก! ระเบิดโจมตีขบวนรถ ‘รอง ปธน.อัฟกัน’ ดับ 4 ศพ-เจ็บกว่า 20 คน

Loading

เกิดเหตุระเบิดโจมตีขบวนรถยนต์ของอัมรุลเลาะห์ ซาเลห์ รองประธานาธิบดีคนที่ 1 ของอัฟกานิสถานในกรุงคาบูลเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (9 ก.ย.) ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างน้อย 20 คน ขณะที่ตัวรองประธานาธิบดีรอดหวุดหวิด ล่าสุดยังไม่มีกลุ่มใดออกมาประกาศอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุโจมตีซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลคาบูลกับกลุ่มติดอาวุธตอลิบานจะเปิดฉากขึ้นที่กรุงโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์ “ศัตรูของอัฟกานิสถานพยายามทำร้าย ซาเลห์ อีกครั้งในวันนี้ แต่แผนการชั่วร้ายของพวกเขาล้มเหลว และซาเลห์ไม่ได้รับอันตรายใดๆ” รัซวาน มูราด โฆษกประจำสำนักงานของ ซาเลห์ แถลงผ่านเฟซบุ๊ก พร้อมยืนยันกับรอยเตอร์ว่าระเบิดลูกนี้พุ่งเป้าไปที่ขบวนรถของรองประธานาธิบดี และมีบอดี้การ์ดของซาเลห์ บาดเจ็บไปหลายคน ซาเลห์ อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรอง เคยตกเป็นเหยื่อความพยายามลอบสังหารมาแล้วหลายครั้ง ล่าสุดคือเหตุโจมตีสำนักงานของเขาเมื่อปีที่แล้วซึ่งมีผู้เสียชีวิตถึง 20 คน โฆษกกระทรวงสาธารณสุขอัฟกานิสถาน ระบุว่า เหตุระเบิดล่าสุดมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย และบาดเจ็บอีก 16 คน เจ้าหน้าที่และนักการทูตต่างออกมาเตือนว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอาจบั่นทอนความไว้วางใจของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเจรจาสันติภาพ ที่มา : รอยเตอร์ —————————————————————— ที่มา : MGR Online / 9 กันยายน…

ปอท.สอบระบบข้อมูล รพ.สระบุรี หลังถูกแฮกเรียกค่าไถ่

Loading

MGR Online – รอง ผบก.ปอท.แจงการป้องกันถูกแฮกข้อมูลจาก Ransomware หลังปล่อยไวรัสทำระบบ รพ.สระบุรี ล่มและเรียกค่าไถ่ เชื่อเป็นอาชญากรเจาะระบบจากต่างประเทศ ที่ผ่านมาพบเคยก่อเหตุมาแล้วกับบริษัทเอกชนและภาครัฐของไทย วันนี้ (10 ก.ย.) ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. ในฐานะโฆษก บก.ปอท. กล่าวถึงกรณีโรงพยาบาลสระบุรีถูกคนร้ายแฮกข้อมูลจนทำให้ระบบฐานข้อมูลคนไข้ใช้งานไม่ได้แล้วเรียกค่าไถ่ว่า เบื้องต้น พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท.ได้สั่งการให้ฝ่ายเทคนิคและฝ่ายสืบสวน ปอท.ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว ขณะนี้ยังไม่ยืนยันตัวผู้ปล่อยไวรัสโจมตีระบบข้อมูลของโรงพยาบาลสระบุรีเป็นใคร ปฏิบัติการในประเทศหรือนอกประเทศ แต่รูปแบบการก่อเหตุลักษณะดังกล่าวที่ผ่านมามักเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่กระทำจากต่างประเทศ โดยใส่รหัสล็อกข้อมูลในไฟล์สำคัญในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเรียกเงินค่าไถ่จากองค์กรหรือบุคคลนั้นๆ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์กล่าวอีกว่า การเจาะข้อมูลของโรงพยาบาลสระบุรี เชื่อว่าแฮกเกอร์มีเจตนาต้องการเรียกเงินเพื่อแลกกับการปลดล็อกข้อมูล เพราะเป็นรูปแบบที่เคยก่อเหตุเจาะข้อมูลบริษัทเอกชนและภาครัฐในประเทศไทยมาแล้ว ซึ่งข้อมูลของตำรวจ ปอท.พบว่าในอดีตมีหลายบริษัทไม่สามารถกู้ข้อมูลในระบบคืนได้จึงจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าไถ่ตามเรียกร้อง แต่กรณีการเจาะระบบข้อมูลเรียกค่าไถ่จากโรงพยาบาลในประเทศไทย ที่ผ่านมาทราบว่ายังไม่เคยเกิดขึ้น โดยปกติแล้วเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับโรงพยาบาลเพราะผู้ได้รับผลกระทบคือผู้ป่วย อย่างไรก็ดี ในคดีนี้ บก.ปอท.จะได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ทั้งในเรื่องการตรวจสอบช่องโหว่ของระบบและพยายามร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกู้คืนข้อมูล “ส่วนข้อมูลคดีดังกล่าวพบว่าเป็น Ransomware ซึ่งเป็นมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่พบมานานหลายปี โดยผู้ก่อเหตุมักจะส่งอีเมลหรือลิงก์ที่มีข้อความลักษณะจูงใจ เมื่อมีผู้หลงเชื่อกดลิงก์เปิดอ่าน ระบบจะถูกเจาะและเข้ารหัส ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เป็นความเสียหาย…

การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: แยกแยะ “สัญญาณ” และ “สิ่งรบกวน” (ตอนที่ 3)

Loading

  ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2012/10/24/books/nate-silvers-signal-and-the-noise-examines-predictions.html Written by Kim  ข้อเสนอประการที่สาม หนึ่งในความสำคัญลำดับต้น ๆ คือ การมุ่งเน้นความพยายามในการรวบรวมข่าวกรอง (intelligence collection effort) ควรได้รับการเน้นย้ำครั้งแล้วครั้งเล่า หากช่องว่างระหว่างการวิเคราะห์บนพื้นฐานความน่าเชื่อถือ ทันสมัย แม่นยำและการประมาณการบนพื้นฐานของการคาดคะเน (speculation) ด้วยข้อมูลที่อาจไม่น่าเชื่อถือน้อยลงเท่าใด ความเป็นไปได้ของการคาดการณ์จะมีความแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าที่ไหนก็ตามที่เป็นไปได้ควรวางภาระไว้ที่ผู้รวบรวม (บุคคลากรที่ทำงานในระบบรวบรวม) ซึ่งจัดเตรียมข้อมูลดิบที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เพื่อปิดช่องว่าง           แน่นอนว่ามีอันตรายแอบแฝงจำนวนมาก ระบบ (ปฏิบัติการ) รวบรวมมีความสามารถเพียงเล็กน้อยในการจำแนกความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูลที่ตรงประเด็นและไม่ตรงประเด็น (relevant and not-relevant data)” ระหว่าง “เสียงรบกวน (noise)” และ “สัญญาณ (signal)”[1] การกรองข้อมูลที่เข้ามายังคงเป็นความรับผิดชอบนักวิเคราะห์ข่าวกรองเสมอ ภาพแคปจากไทยรัฐออนไลน์ ตัวอย่างการวิเคราะห์ข่าวกรองหรือการประมาณการข่าวกรองด้วยการแยกแยะ “สัญญาณ” และ “สิ่งรบกวน” ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในไทย คือ พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ฉบับออนไลน์) เมื่อ 3 กันยายน 2563 เรื่อง จับสัญญาณ “ปฏิวัติ” ปฏิบัติการ “ลับ” ทบ.เคลื่อนพลฝึกซ้อม-พร้อมรบ เพื่อเรียความสนใจของ “ผู้บริโภค” ข่าวสาร[2] แต่ในฐานะนักวิเคราะห์มีความจำเป็นที่จะต้องแยกแยะสองสิ่งดังกล่าวซึ่งมีผลต่อการประมาณการที่ถูกต้อง แม่นยำ          ประการที่สี่หนทางปฏิบัติสุดท้าย ควรทำให้ระบบการรวบรวมข่าวกรองและนักวิเคราะห์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด (close ties…

การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: เด็กชายจากโคเปนเฮเกน (ตอนที่ 2)

Loading

ที่มาภาพ: captured at: https://www.youtube.com/watch?v=GBKXTx45yGE Written by Kim บทความตอนที่แล้วได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง “หมอดู” กับ “นักวิเคราะห์ข่าวกรอง” ในตอนนี้เราจะอภิปรายถึงการดำเนินหนทางปฏิบัติสำคัญ 4 แนวทาง เพื่อตอบสนองความต้องการที่จำเป็นของประชาคมข่าวกรองและผู้ที่พึ่งพาอาศัยการประมาณการให้ดียิ่งขึ้น ประการแรก ควรมีการจัดตั้งองค์การข่าวกรองที่ครอบคลุมเบ็ดเสร็จ (Comprehensive intelligence organizations) เพื่อบูรณาการการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการวิเคราะห์ ระบบแยกส่วนโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบเฉพาะเรื่อง เช่น หน่วยงานหนึ่งจัดเตรียมประเด็นทางการเมืองเท่านั้น อีกหน่วยเตรียมการทางทหารและยังมีหน่วยวิเคราะห์ทางสังคม – เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการสังเคราะห์รายงานอย่างเป็นอิสระ ผลผลิตของระบบที่แยกจากกันเป็นการรวบรวมรายงานเป็นตอน ๆ อาจไม่มีการวางแผนหรือมุ่งเน้นแง่มุมด้านใดด้านหนึ่งมากเกินจริง[1] สถานการณ์อันตรายไม่แพ้กันที่ดำรงอยู่ เมื่อไม่มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่สังเคราะห์รายงานวิเคราะห์อิสระของสำนักงานต่าง ๆ ให้ดีเพียงฉบับเดียว แต่ละหน่วยงานต่างรายงานการคาดทำนายของตนไปยังผู้ตัดสินใจโดยตรง ปัญหาคือ อุปมาเหมือนคนป่วยไข้ไม่สบายแยกปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น ประสาทวิทยา หัวใจ กระดูก แพทย์แต่ละคนก็ตรวจรักษาและวินิจฉัยซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดความงงงวย ในการตัดสินใจเลือกการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา ประการที่สอง คัดเลือกนักวิเคราะห์ข่าวกรองทุกระดับด้วยความรอบคอบ (very carefully selected at all echelon) เนื่องจากองค์ประกอบของความไม่แน่นอนสูง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้นักวิเคราะห์ที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและเห็นคุณค่าความเป็นไปได้ที่มีนัยสำคัญของพัฒนาการใหม่ นักวิเคราะห์ข่าวกรองจะต้องสามารถเปลี่ยนการวิเคราะห์ครั้งก่อนอย่างรวดเร็วเมื่อข้อมูลบ่งชี้ถึงความจำเป็น หากปราศจากคุณภาพที่จำเป็นของความยืดหยุ่นในการวิเคราะห์ ชะตากรรมของนักวิเคราะห์จะถูกชี้ด้วยความประหลาดใจ ซึ่งเป็นคำถามของเวลาและโอกาส…

การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: “หมอดู” กับ “นักวิเคราะห์ข่าวกรอง” (ตอนที่ 1)

Loading

ที่มาภาพ: https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1823259/your-horoscope-for-27-dec-2-jan Written by Kim ในอดีตกาลที่ผ่านมา “กษัตริย์” และ “นายพล” มักจะไปหารือขอคำแนะนำจากนักดาราศาสตร์หรือโหราจารย์ (หมอดู) ก่อนตัดสินใจเรื่องสำคัญ เช่น การทำสงครามหรือออกรบ ซึ่งเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาแบบเก่าภายใต้เงื่อนไขความไม่แน่นอน แม้พวกเราหลายคนยังคงอ่านคำพยากรณ์รายวันเพื่อความสนุกและบันเทิงหรือไปหาหมอดู (ดูหมอ) แต่รัฐบาลในยุคสมัยใหม่แทบจะไม่ต้องพึ่งพาวิธีการ “ปรึกษา” แบบโบราณ           ปัจจุบันผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการข่าวกรองได้สืบทอดบทบาทของบุคคลลึกลับเหล่านั้น ยกเว้นผู้ที่ถูกเรียกว่า นายทหารฝ่ายเสนาธิการ (staff officers) หรือข้าราชการพลเรือน (civil servants) แม้พวกเขาทำหน้าที่เป็นมือขวาของผู้มีอำนาจตัดสินใจ ทั้งนี้ ความพยายามใด ๆ ที่จะบรรยายรายละเอียดเชิงเปรียบเทียบระหว่าง “นักวิเคราะห์” และ “หมอดู” จะเปิดเผยให้เห็นมนุษย์สองจำพวกที่แตกต่างกัน           ผู้มีอาชีพด้านการข่าวกรองไม่เคยอ้างตนว่าสามารถทำนายอนาคตได้ แม้จะมีความลับรายล้อมอยู่รอบตัวอย่างสม่ำเสมอ งานข่าวกรองเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างในการวิเคราะห์ งานข่าวกรองมีขีดความสามารถและความได้เปรียบอันเป็นที่เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันควรตระหนักถึงข้อจำกัด ผู้มีอำนาจตัดสินใจทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ต้องแบ่งปันความรับผิดชอบกับนักวิเคราะห์ข่าวกรองในกรณีที่ตัดสินใจแย่ ๆ บนพื้นฐานของการประมาณการแบบคาดเดา           บทความนี้[1]จะพูดถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างข่าวกรองกับ “ลูกค้า (clients)” หรือ “ผู้ตัดสินใจ” ที่อาจนำไปสู่การทำงานที่มีการบูรณาการเป็นอย่างดีและความพึงพอใจมากขึ้น ลักษณะพิเศษของนักวิเคราะห์ข่าวกรอง (The Special Traits of…

สงครามเทคโนโลยี จุดเปลี่ยนเกม ‘หยวน-ดอลลาร์’

Loading

ภายหลังเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมากจากพิษไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐติดลบอย่างหนัก ก็เริ่มมีการพูดกันว่า ดอลลาร์สหรัฐกำลังสูญเสียความเป็นเจ้าแห่งทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนิยมซื้อเข้าเก็บเป็นทุนสำรองต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ในเวลานี้ยังไม่มีเงินสกุลอื่นเป็นทางเลือกมาทดแทนดอลลาร์สหรัฐ” เพราะคู่แข่งขันที่ใกล้เคียงที่สุด ไม่ว่าจะเป็น “หยวน” ของจีน หรือ “ยูโร” ก็ยังห่างชั้นจากดอลลาร์สหรัฐมาก อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเงินหยวนของจีนกำลังมีความสำคัญเพิ่มขึ้นทั้งในการค้าโลก และในทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะอิทธิพลเศรษฐกิจจีนกำลังเพิ่มขึ้นนั่นเอง ธนาคารดีบีเอสของสิงคโปร์ระบุว่า ปัจจุบันเงินหยวนอยู่อันดับ 6 ในฐานะสกุลเงินที่ทั่วโลกนิยมใช้ชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ขณะที่จีนใช้เงินหยวนชำระประมาณ 20% ของการค้าทั้งหมดของจีน ทั้งนี้ กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ก็เป็นคู่ค้าใหญ่ที่สุดของจีน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสให้จีนเพิ่มการใช้เงินหยวนข้ามแดน “ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐที่ลามไปถึงภาคเทคโนโลยีและการเงิน จุดประกายรอบใหม่ให้จีนผลักดันเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินสากล” ดีบีเอสระบุ ตามข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) “เงินหยวน” มีส่วนแบ่งในทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 1% ในปี ค.ศ. 2016 เป็น 2% ในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน เงินหยวนก็แข็งค่าอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น วันอังคารที่ 1 กันยายน เงินหยวนออนชอร์แข็งค่ามากสุดในรอบเกือบ 16 เดือน ไปอยู่ที่…