ฝรั่งเศสเฝ้าระวังขั้นสูงสุด หลังมือมีดโจมตีโบสถ์ ตาย 3 ฆ่าตัดคอ 1 ศพ

Loading

ฝรั่งเศสยกระดับการเฝ้าระวังภัยคุกคามสู่ขั้นสูงสุด หลังเกิดเหตุโจมตีใกล้โบสถ์ที่เมืองนีซ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ โดยที่หนึ่งในนั้นถูกฆ่าตัดศีรษะ สำนักข่าว แชนเนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า นายกรัฐมนตรี ฌ็อง กัสแต็กซ์ แห่งฝรั่งเศส เปิดเผยในวันพฤหัสบดีที่ 29 ต.ค. 2563 ว่า รัฐบาลยกระดับการเฝ้าระวังภัยคุกคามสู่ขั้นสูงสุดแล้ว หลังเกิดเหตุโจมตีใกล้โบสถ์ในเมืองนีซ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ และหนึ่งในนั้นถูกตัดศีรษะ เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ เหตุดังกล่าวนับเป็นการโจมตีในฝรั่งเศสครั้งที่ 3 ในรอบ 2 เดือน นับตั้งแต่การไต่สวนผู้ต้องหา 14 คน ฐานมีความเกี่ยวข้องกับคดีก่อการร้ายโจมตีสำนักงานของนิตยสาร ชาร์ลี เอบโด เมื่อปี 2558 ซึ่งมีชนวนเหตุจาก การตีพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัด โดยชาร์ลี เอบโด ตีพิมพ์ภาพเจ้าปัญหาซ้ำอีกครั้งในวันเริ่มการไต่สวน การโจมตียังเกิดขึ้นในขณะที่กระแสความไม่พอใจในชาติมุสลิมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ จากกรณีที่ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ออกมาปกป้องสิทธิการตีพิมพ์การ์ตูนดังกล่าว หลังเกิดเหตุฆ่าตัดคอครู ซามูเอล ปาตี เมื่อ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยประชาชนในชาติมุสลิมหลายประเทศออกมาเดินขบวนตามท้องถนนเพื่อประณามฝรั่งเศสและนายมาครงด้วย เอ็มมานูเอล มาครง…

บึ้มรร.สอนศาสนาปากีสถาน ดับอย่างน้อย7ศพ-บาดเจ็บระนาว

Loading

27 ต.ค.63 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกิดเหตุระเบิดที่โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งหนึ่งในเมืองเปชวาร์ของปากีสถานวันนี้ (27 ต.ค.) เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ศพ บาดเจ็บอีกไม่ต่ำกว่า 80 คน ตำรวจเมืองเปชวาร์ เมืองเอกของแคว้นไคเบอร์ปักตุนควาเผยว่า มีบุคคลนิรนามนำระเบิดใส่ถุงพลาสติกมาวางไว้ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเผยว่า ได้รับศพผู้เคราะห์ร้าย 7 คน บาดเจ็บ 70 คน ส่วนใหญ่เป็นแผลไหม้จากระเบิด ขณะที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเผยว่า ผู้เสียชีวิตเป็นเด็ก 4 คน ชาวเมืองคนหนึ่งเผยว่า โรงเรียนดังกล่าวสอนผู้ใหญ่เป็นส่วนใหญ่ ขณะเกิดเหตุมีคนกำลังเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก ญาติวัย 27 ปีของเขาที่เป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้ายเล่าว่า ระเบิดดังสนั่นขณะกำลังเรียน นายกรัฐมนตรีอิมราน ข่านของปากีสถาน ทวีตข้อความแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต หลังเกิดระเบิดในโรงเรียนศาสนาแห่งหนึ่งในเมืองเปชาวาร์ทางภาคเหนือของประเทศเมื่อเช้าวันนี้ มีคนเสียชีวิต 8 ราย มีผู้บาดเจ็บ 123 คน พร้อมกำชับให้ตำรวจติดตามจับกุมคนร้ายโดยเร็ว เหตุระเบิดมีขึ้นขณะเปิดสอนชั่วโมงแรกประจำวันนี้ เบื้องต้นยังไม่มีกลุ่มใดอ้างความรับผิดชอบ ส่วนสาเหตุของเหตุระเบิด นายวาการ์ อาซีม ตำรวจระดับสูงของเมืองเปชาวาร์ ระบุว่าเบื้องต้น ตำรวจพบระเบิดแสวงเครื่องขนาด 5-6 กก.บรรจุอยู่ในถุงใบหนึ่งที่คนร้ายนำมาทิ้งไว้ในโรงเรียน ระบุว่า…

อินเดีย – สหรัฐฯ เตรียมลงนามแชร์ข้อมูลสำคัญจากดาวเทียมทางทหาร

Loading

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยในวันจันทร์ว่า อินเดียจะลงนามกับสหรัฐฯ เพื่อแบ่งปันข้อมูลสำคัญจากดาวเทียมทางการทหารระหว่างกัน ขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังจัดการประชุมเจรจาระดับสูงที่กรุงนิวเดลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาร์ค เอสเปอร์ เดินทางไปยังกรุงนิวเดลีในวันจันทร์ เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอินเดียเรื่องการต้านทานอำนาจทางทหารของจีน ในช่วงที่อินเดียกำลังมีความตึงเครียดกับจีนตรงบริเวณพรมแดนของสองประเทศในแถบเทือกเขาหิมาลัย ก่อนหน้าการเจรจาอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในวันอังคาร รัฐมนตรีเอสเปอร์ได้หารือกับรัฐมนตรีกลาโหมอินเดีย ราชนาธ ซิงห์ เรื่องข้อตกลงความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากดาวเทียมระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ (BECA) ระหว่างกัน ซึ่งพร้อมที่จะลงนามโดยทั้งสองฝ่ายแล้ว ตามการเปิดเผยของกระทรวงกลาโหมอินเดีย ข้อตกลงที่ว่านี้จะทำให้อินเดียสามารถเข้าถึงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ซึ่งมีความสำคัญต่อการระบุตำแหน่งเป้าหมายสำหรับการโจมตีด้วยขีปนาวุธและโดรนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้สหรัฐฯ จัดหาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าด้านการระบุตำแหน่งและการบินเพื่อติดตั้งในเครื่องบินทหารที่สหรัฐฯ ขายให้แก่อินเดียด้วย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 บริษัทอเมริกันได้ขายอาวุธต่าง ๆ ให้แก่อินเดีย เป็นมูลค่ากว่า 21,000 ล้านดอลลาร์ และทั้งสองประเทศยังได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลสำคัญสำหรับใช้ในอุปกรณ์ทางการทหารที่มีความทันสมัยสูงอีกด้วย รัฐมนตรีเอสเปอร์ยังได้แสดงความยินดีที่ออสเตรเลียจะเข้าร่วมในการซ้อมรบทางทะเลบริเวณอ่าวเบงกอลในเดือนหน้า ระหว่าง 3 ประเทศ คือ สหรัฐฯ อินเดีย และญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้ จีนได้คัดค้านการซ้อมรบดังกล่าวซึ่งจีนมองว่าเป็นความพยายามต้านทานอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ซึ่งอินเดียมีท่าทีโอนอ่อนตามจีนจนกระทั่งเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างสองประเทศบริเวณเทือกเขาหิมาลัยเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา —————————————————– ที่มา…

ความผิดปกติของข่าวสาร (information disorder) ขณะที่การเมืองไม่ปกติ

Loading

ที่มาภาพ: https://medium.com/@dr.vossdaniel/5-tips-to-look-after-your-mental-health-during-the-time-of-covid19-4febe2cf2753 Written by Kim ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเรามักได้ยินคำว่า “ข่าวปลอม” หรือ “สื่อปลอม” อยู่เสมอ ข่าวปลอมเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ยินมากในยุคการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต แต่อันที่จริงเนื้อหาที่แสดงความคิดเห็นชวนให้เชื่อจนเกินข้อเท็จจริง เกิดขึ้นมาก่อนยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู โดยมีคำเรียกสื่อประเภทนี้ว่า สื่อเหลือง (เพราะแต่ก่อน หนังสือพิมพ์แนวใส่สีตีไข่นิยมใช้สีเหลืองสีพิมพ์)[1] ขณะเดียวกันก็อาจได้ยินคำว่า ข้อมูลเท็จ (False information) ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) และข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ทั้งหมดนี้หมายถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (incorrect)[2]           คำสัญญาของยุคดิจิทัลสนับสนุนให้เราเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทางบวกเมื่อเราอยู่ในชุมชนที่มีการเชื่อมต่อสูงสุด เราสามารถหาข้อมูลที่จำเป็นโดยการคลิกหรือปัดหน้าจอ ความเชื่อดังกล่าวเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเรายอมรับว่าระบบนิเวศน์ข้อมูลของเราตกอยู่ในอันตรายของมลพิษซึ่งแบ่งแยกเรามากกว่าการเชื่อมต่อกัน Clare Wardle แห่ง First Draft ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความไม่ปกติของข่าวสาร (ข้อมูล) ซึ่งถูกปรับใช้เป็นอาวุธ (weaponisation) มากขึ้น หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 โดยจัดแบ่งข้อมูลข่าวสารออกเป็น 3 ประเภท[3]           ข้อมูลที่ผิด (misinformation) คือ ข่าวสารที่ปลอมขึ้นมาหรือเนื้อหาเป็นเท็จ (False information) แต่บุคคลที่เผยแพร่ (agent) เชื่อว่าเป็นจริง ข้อมูลประเภทนี้มักถูกเผยแพร่โดยไม่ตั้งใจ (inadvertent) เช่น เราอ่านข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือในไลน์ระบุว่า ชอคโกแลตทำให้คนเราฉลาดขึ้น (น่าขัน) แต่ก็ตัดสินใจแชร์ (ข้อมูลผิด) โดยไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลผิด แสดงว่าเราได้แชร์ข้อมูลที่ผิดไปแล้ว ข้อมูลที่ผิดขับเคลื่อนโดยปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม บนสังคมออนไลน์ผู้คนแสดงอัตลักษณ์เพราะต้องการรู้สึกเชื่อมต่อกับเผ่า (tribe) พวกของตน           ข้อมูลบิดเบือน (dis-information) คือ ข่าวสารที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ  ถูกบิดเบือนและคนที่เผยแพร่ก็รู้ว่าไม่เป็นจริง มีเจตนาโกหก (ออกแบบมาโดยมีเจตนาร้าย) เป้าหมายคือ…

บริษัทเทคโนโลยีสร้างเครื่องมือช่วยผู้รับข่าวแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลบิดเบือน

Loading

Manchetes africanas 2 abril: Twitter e Facebook querem combater “fake news” sobre Covid-19 ในยุคที่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ดูเหมือนจะท่วมท้นจากแหล่งที่หลากหลายโดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์และจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดบิดเบือนทั้งจากเจตนาหรือจากความไม่จงใจก็ตาม การหาข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ดังที่คุณจอห์น เกเบิ้ล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของเว็บไซต์ Allsides.com ได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนล้วนมีอคติหรือความลำเอียงอยู่ในตัว คือมีความโน้มเอียงที่จะคิดหรือเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับ ตามประสบการณ์ที่เคยสัมผัส และจากการตีความทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งจากสิ่งที่เราอาจไม่รู้หรือไม่เข้าใจด้วย และเรื่องนี้จะยิ่งเป็นปัญหาโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญหรือสำหรับเรื่องสำคัญบางอย่างซึ่งมีข่าวสารข้อมูลให้เลือกมากมายและบางครั้งข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปไม่ว่าจะเป็นผลจากเจตนาการเผยแพร่ข้อมูลที่ปิดเบือนหรือก็ตาม คุณจอห์น แซนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และผลกระทบของ Knight Foundation ชี้ว่าในขณะนี้ 80% ของคนอเมริกันมีความกังวลว่าข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจะส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นได้ และจากปัญหาซึ่งมาจากข่าวปลอมหรือจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่จงใจถูกเลือกมาอย่างไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ตรงกับบริบทที่ควรจะเป็นนั้น ขณะนี้ก็มีธุรกิจด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างน้อยสองรายที่พยายามให้เครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้รับสารสามารถเปรียบเทียบและแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ได้ดีขึ้น คุณฮาร์ลีน คอร์ ซีอีโอของ Ground News เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามช่วยให้ผู้รับข่าวสารตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องหรือถูกบิดเบือนหรือไม่ โดย Ground News เป็นแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่อาจจะเรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแรกของโลกซึ่งช่วยเปรียบเทียบเนื้อหาของการรายงานข่าวด้วยการประมวลแหล่งที่มาของการรายงานเรื่องเดียวกันให้ผู้รับสารได้เปรียบเทียบ ทั้งยังมีการจำแนกและระบุจุดยืนของแต่ละสื่อให้ผู้รับสารได้พิจารณาประกอบด้วยตั้งแต่แนวซ้ายจัดจนถึงขวาจัด ตัวอย่างเช่น Ground News จัดให้นิตยสาร The New Yorker…

จีนยกเครื่องกองทัพ ปฏิรูประบบการศึกษาทหารมุ่งสร้างกองทัพระดับโลก

Loading

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีและประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง อนุมัติแนวทางการศึกษาทางทหารซึ่งจะปฏิรูประบบใหม่เพื่อฝึกฝนบุคลากรให้มีความสามารถมากขึ้นสำหรับกองทัพที่ทันสมัย การยกเครื่องทหารเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการขับเคลื่อนการปรับปรุงกองทัพจีนให้ทันสมัยซึ่งเป็นโครงการที่ผลักดันมาตั้งแต่ปี 2017 ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างกองทัพระดับโลกที่มีเทคโนโลยีเป็นจุดแข็งภายในปี 2035 เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจีนทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารและจัดให้มีการฝึกซ้อมมากขึ้นเพื่อเพิ่มความพร้อมในการต่อสู้ โดยสีจิ้นผิงเน้นย้ำให้กองทัพพร้อมรบซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงเวลาที่ความตึงเครียดกับสหรัฐรวมถึงเกาะไต้หวันและทะเลจีนใต้ทวีความรุนแรง และย้ำถึงความสำคัญของการมีทหารที่ได้รับการอบรมและฝึกฝนมาเป็นอย่างดี โดยกล่าวว่าสถาบันการศึกษาของกองทัพก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาวิธีการต่อสู้และชัยชนะจึงจำเป็นต้องเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อให้มีความรู้และความสามารถพร้อมรบในสถานการณ์จริง อย่างไรก็ตามระบบการศึกษาทางทหารของจีนไม่ได้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในกองทัพ ทหารไม่สามารถมีความรู้ทางทฤษฎีเพียงอย่างเดียวแต่ต้องมีทักษะในทางปฏิบัติด้วย โจว เฉินหมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากปักกิ่งเผยว่า “ระบบการศึกษาทางทหารของจีนล้มเหลวในการฝึกอบรมบุคลากรสำหรับกองทัพที่สมัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยบางแห่งกำลังสอนวิชาความรู้ทั่วไปโดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การทหาร การศึกษาบางส่วนวิชาการเกินไปเสมือนเป็นการฝึกให้ทหารกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ซึ่งพวกเขาจะไม่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของกองกำลังต่อสู้ในปัจจุบัน” ทั้งนี้ จีนมีมหาวิทยาลัยทหารสองแห่งคือ มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศแห่งชาติ PLA และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีป้องกันประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรการศึกษาอื่นๆ อีกหลายสิบแห่งที่มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น เรือดำน้ำ และรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้กองทัพจันยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของจีน เช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยเป่ยหังเพื่อฝึกอบรมบุคลากรทางทหารตั้งแต่นักบินรบไปจนถึงผู้บังคับบัญชา Photo by Noel Celis / AFP ———————————————— ที่มา :  โพสต์ทูเดย์ / 23 ตุลาคม 2563 Link : https://www.posttoday.com/world/636280