ความผิดปกติของข่าวสาร (information disorder) ขณะที่การเมืองไม่ปกติ

Loading

ที่มาภาพ: https://medium.com/@dr.vossdaniel/5-tips-to-look-after-your-mental-health-during-the-time-of-covid19-4febe2cf2753 Written by Kim ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเรามักได้ยินคำว่า “ข่าวปลอม” หรือ “สื่อปลอม” อยู่เสมอ ข่าวปลอมเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ยินมากในยุคการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต แต่อันที่จริงเนื้อหาที่แสดงความคิดเห็นชวนให้เชื่อจนเกินข้อเท็จจริง เกิดขึ้นมาก่อนยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู โดยมีคำเรียกสื่อประเภทนี้ว่า สื่อเหลือง (เพราะแต่ก่อน หนังสือพิมพ์แนวใส่สีตีไข่นิยมใช้สีเหลืองสีพิมพ์)[1] ขณะเดียวกันก็อาจได้ยินคำว่า ข้อมูลเท็จ (False information) ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) และข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ทั้งหมดนี้หมายถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (incorrect)[2]           คำสัญญาของยุคดิจิทัลสนับสนุนให้เราเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทางบวกเมื่อเราอยู่ในชุมชนที่มีการเชื่อมต่อสูงสุด เราสามารถหาข้อมูลที่จำเป็นโดยการคลิกหรือปัดหน้าจอ ความเชื่อดังกล่าวเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเรายอมรับว่าระบบนิเวศน์ข้อมูลของเราตกอยู่ในอันตรายของมลพิษซึ่งแบ่งแยกเรามากกว่าการเชื่อมต่อกัน Clare Wardle แห่ง First Draft ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความไม่ปกติของข่าวสาร (ข้อมูล) ซึ่งถูกปรับใช้เป็นอาวุธ (weaponisation) มากขึ้น หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 โดยจัดแบ่งข้อมูลข่าวสารออกเป็น 3 ประเภท[3]           ข้อมูลที่ผิด (misinformation) คือ ข่าวสารที่ปลอมขึ้นมาหรือเนื้อหาเป็นเท็จ (False information) แต่บุคคลที่เผยแพร่ (agent) เชื่อว่าเป็นจริง ข้อมูลประเภทนี้มักถูกเผยแพร่โดยไม่ตั้งใจ (inadvertent) เช่น เราอ่านข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือในไลน์ระบุว่า ชอคโกแลตทำให้คนเราฉลาดขึ้น (น่าขัน) แต่ก็ตัดสินใจแชร์ (ข้อมูลผิด) โดยไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลผิด แสดงว่าเราได้แชร์ข้อมูลที่ผิดไปแล้ว ข้อมูลที่ผิดขับเคลื่อนโดยปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม บนสังคมออนไลน์ผู้คนแสดงอัตลักษณ์เพราะต้องการรู้สึกเชื่อมต่อกับเผ่า (tribe) พวกของตน           ข้อมูลบิดเบือน (dis-information) คือ ข่าวสารที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ  ถูกบิดเบือนและคนที่เผยแพร่ก็รู้ว่าไม่เป็นจริง มีเจตนาโกหก (ออกแบบมาโดยมีเจตนาร้าย) เป้าหมายคือ…

บริษัทเทคโนโลยีสร้างเครื่องมือช่วยผู้รับข่าวแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลบิดเบือน

Loading

Manchetes africanas 2 abril: Twitter e Facebook querem combater “fake news” sobre Covid-19 ในยุคที่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ดูเหมือนจะท่วมท้นจากแหล่งที่หลากหลายโดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์และจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดบิดเบือนทั้งจากเจตนาหรือจากความไม่จงใจก็ตาม การหาข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ดังที่คุณจอห์น เกเบิ้ล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของเว็บไซต์ Allsides.com ได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนล้วนมีอคติหรือความลำเอียงอยู่ในตัว คือมีความโน้มเอียงที่จะคิดหรือเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับ ตามประสบการณ์ที่เคยสัมผัส และจากการตีความทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งจากสิ่งที่เราอาจไม่รู้หรือไม่เข้าใจด้วย และเรื่องนี้จะยิ่งเป็นปัญหาโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญหรือสำหรับเรื่องสำคัญบางอย่างซึ่งมีข่าวสารข้อมูลให้เลือกมากมายและบางครั้งข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปไม่ว่าจะเป็นผลจากเจตนาการเผยแพร่ข้อมูลที่ปิดเบือนหรือก็ตาม คุณจอห์น แซนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และผลกระทบของ Knight Foundation ชี้ว่าในขณะนี้ 80% ของคนอเมริกันมีความกังวลว่าข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจะส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นได้ และจากปัญหาซึ่งมาจากข่าวปลอมหรือจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่จงใจถูกเลือกมาอย่างไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ตรงกับบริบทที่ควรจะเป็นนั้น ขณะนี้ก็มีธุรกิจด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างน้อยสองรายที่พยายามให้เครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้รับสารสามารถเปรียบเทียบและแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ได้ดีขึ้น คุณฮาร์ลีน คอร์ ซีอีโอของ Ground News เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามช่วยให้ผู้รับข่าวสารตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องหรือถูกบิดเบือนหรือไม่ โดย Ground News เป็นแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่อาจจะเรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแรกของโลกซึ่งช่วยเปรียบเทียบเนื้อหาของการรายงานข่าวด้วยการประมวลแหล่งที่มาของการรายงานเรื่องเดียวกันให้ผู้รับสารได้เปรียบเทียบ ทั้งยังมีการจำแนกและระบุจุดยืนของแต่ละสื่อให้ผู้รับสารได้พิจารณาประกอบด้วยตั้งแต่แนวซ้ายจัดจนถึงขวาจัด ตัวอย่างเช่น Ground News จัดให้นิตยสาร The New Yorker…