ข่าวกรองสหรัฐฯ โบ้ยรัสเซียและอิหร่านแทรกแซงศึกเลือกตั้ง หลังพบอีเมลข่มขู่ให้เลือกทรัมป์

Loading

จอห์น แรตคลิฟฟ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (ดีเอ็นไอ) แห่งสหรัฐฯ ระบุในวันพุธ (21 ต.ค.) ว่ารัสเซียและอิหร่านต่างพยายามแทรกแซงศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา 2020 หลังพบอีเมลส่งถึงบรรดาสมาชิกเดโมแครต ข่มขู่ให้หันมาเลือกประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในศึกเลือกตั้งวันที่ 3 พฤศจิกายน แรตคลิฟฟ์ กล่าวอ้างดังกล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่มีการตระเตรียมอย่างเร่งรีบ และร่วมด้วย คริสโตเฟอร์ เรย์ อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) การแถลงข่าวครั้งนี้มีขึ้น 2 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง และแสดงให้เห็นถึงระดับความกังวลในหมู่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ว่าตัวแสดงต่างชาติอาจกำลังหาทางบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของอเมริกันต่อความซื่อสัตย์ของศึกเลือกตั้ง และแพร่ข้อมูลข่าวเท็จในความพยายามเบี่ยงผลการลงคะแนน “เรายืนยันว่าอิหร่านและรัสเซียมีข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางส่วน” แม้ข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้งเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แต่ แรตคลิฟฟ์ บอกว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลเห็นอิหร่านส่งเมลที่แอบอ้างอีเมลแอดเดรสของผู้อื่น (spoofed emails) ข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปลุกปั่นความไม่สงบทางสังคมและก่อความเสียหายแก่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แรตคลิฟฟ์ อ้างถึงอีเมลที่ถูกส่งออกมาเมื่อวันพุธ (21 ต.ค.) ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ดูเหมือนส่งออกจากมาจากพวก Proud Boys กลุ่มลัทธิชาตินิยมคนผิวขาว ที่เกลียดชังผู้หญิงและเกลียดกลัวอิสลามที่สนับสนุนประธานาธิบดีทรัมป์ ก่อนหน้านี้บรรดาหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ เคยเตือนว่าอิหร่านอาจแทรกแซงเพื่อบ่อนทำลายทรัมป์ ส่วนรัสเซียกำลังพยายามช่วยเหลือทรัมป์ในศึกเลือกตั้ง ผู้สันทัดกรณีในวงนอก มองว่าหากข้อสันนิษฐานของแรตคลิฟฟ์นั้นถูกต้อง…

‘อังกฤษ’ แฉ ‘รัสเซีย’ เล็งโจมตีทางไซเบอร์ 2 อีเวนท์ใหญ่ใน ‘ญี่ปุ่น’

Loading

“อังกฤษ” แฉ และประณามการกระทำ “รัสเซีย” เล็งเป้าโจมตีทางไซเบอร์ในงานโตเกียวโอลิมปิก-พาราลิมปิก ส่อสร้างสถานการณ์รุนแรงป่วน รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า หน่วยข่าวกรองของกองทัพรัสเซีย(GRU) ได้ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์โดยมีเป้าหมายไปที่การแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิกซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปีนี้ รายงานระบุว่า GRU มีส่วนในกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตรายก่อนญี่ปุ่นตัดสินใจในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาที่จะเลื่อนการแข่งกีฬาโอลิมปิกออกไปเป็นปีหน้า อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลอังกฤษระบุว่า การสอดแนมทางไซเบอร์มีเป้าหมายโจมตีองค์กรที่จัดงาน บริษัทที่เป็นสปอนเซอร์ และบริการด้านโลจิสติกส์ โดยในขณะนี้ ยังไม่ทราบรายละเอียดของการโจมตีทางไซเบอร์ และยังไม่ชัดเจนว่าการโจมตีทางไซเบอร์สร้างความเสียหายอย่างแท้จริงกับเป้าหมายดังกล่าวหรือไม่ รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นแคมเปญล่าสุดของกิจกรรมทางไซเบอร์ที่อันตรายของรัสเซียที่มีต่อการแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิก นายโดมินิก ร้าบ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษเรียกการโจมตีทางไซเบอร์ของรัสเซียว่าเป็น การเหยียดหยามและการไม่ยั้งคิด และอังกฤษขอประณามการกระทำดังกล่าวอย่างรุนแรงที่สุด นายร้าบ  ระบุเสริมด้วยว่า อังกฤษจะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อเรียกร้องและตอบโต้การโจมตีทางไซเบอร์ในอนาคต สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า โตเกียวโอลิมปิกได้ถูกเลื่อนไปจัดในระหว่างวันที่ 23 ก.ค. ถึง 8 ส.ค.ในฤดูร้อนปีหน้า ตามด้วยการแข่งพาราลิมปิกในวันที่ 24 ส.ค. ถึง 5 ก.ย. ———————————————- ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ / 20 ตุลาคม 2563 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903545

การบ่อนทำลายสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร

Loading

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 ให้ความหมายคำว่า “การบ่อนทำลาย” (subversion) คือ การกระทำใด ๆ ที่มุ่งก่อให้เกิดความแตกแยก ความปั่นป่วน ความกระด้างกระเดื่อง อันจะนำไปสู่ความไม่สงบ หรือความอ่อนแอภายในชาติ หรือต่อสภาพทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา หรือทางใดทางหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือล้มล้างสถาบันการปกครองของประเทศ หรือเพื่อทำลายความจงรักภักดีของประชาชนในชาติต่อสถาบันของชาติ หรือเพื่อประโยชน์แก่รัฐต่างประเทศ  การบ่อนทำลายนับเป็นกลวิธีที่สามารถนำมาใช้กับเป้าหมายพื้นฐานทุกกลุ่มของประเทศได้  โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อทำลายความเป็นรัฐ หรือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือทำลายสถาบันแห่งชาติ เดิมการบ่อนทำลายเป็นยุทธวิธีที่ต้องดำเนินการอย่างปิดบังในพื้นที่ควบคุมของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย การบ่อนทำลายจึงเป็นการดำเนินการที่จะมีเพียงผู้ให้การสนับสนุนกับผู้ปฏิบัติที่ได้ทราบถึงภารกิจ  เพราะเป็นภารกิจที่เสี่ยงภัยอันตรายจนอาจถึงชีวิตของผู้ปฏิบัติ ซึ่งต้องจำกัดการรับทราบได้เท่าที่จำเป็น  เนื่องจากการแฝงเข้าไปค้นหาจุดอ่อนของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย ทั้งที่ฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมายอาจมีความเข้มแข็งเท่าเทียมกันหรือสูงกว่า ต่อเมื่อการเข้าไปสร้างความอ่อนแอ แตกแยกจนประสบผลแล้ว จึงจะดำเนินการทำลายอำนาจของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมายให้สูญสลาย  วิธีการบ่อนทำลายนี้อาจไม่ทำลายหรือส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้าง หรือทำให้สูญเสียชีวิต เช่น วิธีการต่อสู้อื่นเหมือนอย่างการก่อวินาศกรรม หรือการก่อการร้าย หรือการทำสงครามสู้รบ การบ่อนทำลายเป็นวิธีที่ยากต่อการป้องกันหรือแม้แต่การวางมาตรการป้องปราม เพราะเป็นการสร้างหรือนำอคติของมนุษย์ที่มีต่อกันมาเป็นแนวทางในการทำลายหรือทำร้ายระหว่างกัน  ซึ่งเป็นกลวิธีที่ใช้มานับแต่สมัยพุทธกาล จะเห็นได้จากคำสอนเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ซึ่งเล่าถึงกลวิธีเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม  เริ่มจากความต้องการขยายดินแดนและนำไปสู่การสู้รบระหว่างแคว้นโบราณ 2 แคว้นในอินเดีย คือ แคว้นมคธกับแคว้นวัชชี ที่ต่างไม่ประสบผลแพ้-ชนะต่อกัน  ฝ่ายแคว้นมคธจึงใช้วิธีบ่อนทำลายแคว้นวัชชี ด้วยการทำอุบายส่งวัสสการพราหมณ์ ปุโรหิตแห่งแคว้นมคธ เข้าไปยุยงให้กลุ่มกษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี แตกความสามัคคีจนแคว้นวัชชีอ่อนแอลง  แคว้นมคธจึงส่งกองทัพเข้ายึดครองได้สำเร็จ การทำการบ่อนทำลายจำเป็นต้องอาสัยสภาพพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำเนินการ  เริ่มจากสภาพทางการเมืองภายในประเทศ…

สหรัฐฯ ดำเนินคดีจนท.หน่วยข่าวกรองรัสเซียในข้อหาทำการโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลก

Loading

อัยการกลางสหรัฐฯ แจ้งข้อหาเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองรัสเซีย 6 นายในคดีที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งกระทบการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 2017 และการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ. 2018 รวมทั้งเป้าหมายอื่นๆ มากมายทั่วโลก จอห์น ซี ดีเมอร์ส หัวหน้าแผนกความมั่นคงแห่งชาติของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กล่าวว่า กระบวนการโจมตีทางไซเบอร์ดังกล่าว ถือเป็นเหตุการณ์ก่อความไม่สงบทางคอมพิวเตอร์ที่ดำเนินติดต่อกันหลายครั้งโดยกลุ่มๆ เดียว ซึ่งสร้างความเสียหายรวมทั้งความปั่นป่วนอย่างมาก พร้อมระบุว่า “ไม่มีประเทศใดที่ปรับเปลี่ยนความสามารถทางไซเบอร์ของตนให้กลายมาเป็นอาวุธร้ายแรงได้เท่ารัสเซีย และนำมาซึ่งความเสียหายในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพียงเพื่อความได้เปรียบทางยุทธวิธีเพียงเล็กน้อย และเพื่อการแก้แค้นเท่านั้น” กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังระบุด้วยว่า ผู้ต้องหาทั้ง 6 คนเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองรัสเซียที่รู้จักกันในชื่อหน่วย GRU และทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าทำการบุกรุกและโจมตีต่างๆ เพื่อสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลรัสเซียในการบ่อนทำลาย ตอบโต้ และทำลายความมั่นคงของเป้าหมายทั่วโลก อาทิ รัฐบาลและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของยูเครน หน่วยงานเอกชนและรัฐบาลของจอร์เจีย และการเลือกตั้งในฝรั่งเศส เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เคยดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ GRU กลุ่มหนึ่งในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแฮ็คอีเมล์ของพรรคเดโมแครตในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ. 2016 แต่การดำเนินคดีล่าสุดนี้ไม่ได้มีการพูดถึงการแทรกแซงการเลือกตั้งปีนี้แต่อย่างใด —————————————————— ที่มา : VOA Thai /…

วิธีปกปิดตัวตนบน Telegram เปลี่ยนชื่อและซ่อนเบอร์โทรอย่างไร?

Loading

Telegram เป็นแอปฯ แชท ที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ด้วยฟีเจอร์ที่แตกต่างจากแอปฯ อื่นๆ และยังมีความปลอดภัยสูง โดยมีหลักการบางส่วนลักษณะคล้ายกับ WhatsApp คือ จะใช้เบอร์โทรศัพท์ที่อยู่ Contact ของเรา ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อนที่ใช้แอปฯ เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ Telegram ยังสามารถตั้งค่าปกปิดตัวตน จากคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ได้อยู่ใน Contact ของเราด้ว มาดูวิธีกันว่าจะสามารถเปลี่ยนชื่อ ซ่อนเบอร์โทรอย่างไรได้บ้าง วิธีเปลี่ยนชื่อบน Telegram เข้าแอปฯ Telegram เลือกที่ Setting เลือก Privacy และ Security กดที่ Phone Number บริเวณ Who can see my phone number หรือ ใครที่สามารถเห็นเบอร์โทรเราได้ ให้เลือกที่ Nobody Who can find me by my number…

Telegram คืออะไร ปลอดภัยแค่ไหน มีอะไรเด่น

Loading

ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันส่งข้อความให้เลือกใช้หลายแอป ไม่ว่าจะเป็นแอปยอดฮิตในไทยอย่าง LINE แอปสากลอย่าง WhatsApp หรือแอปสายจีนอย่าง WeChat และอีกแอปหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ใครก็คือ Telegram Telegram คืออะไร Telegram เป็นแอปพลิเคชันส่งข้อความที่ก่อตั้งโดยสองพี่น้องชาวรัสเซีย ชื่อ Pavel Durov และ Nikolai Durov ในปี 2013 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ให้กำเนิด “VK” เครือข่ายสังคมออนไลน์สัญชาติรัสเซียมาแล้ว ด้านโมเดลธุรกิจ Telegram เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ฟรี 100 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีทางเลือกให้ต้องจ่ายค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น โดยมี Pavel เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนจำนวนมหาศาล Telegram ให้ข้อมูลว่าเงินจำนวนนี้ยังเพียงพอ แต่หากประสบปัญหาในอนาคตก็อาจเพิ่มทางเลือกแบบเสียเงินเข้ามา อย่างไรก็ตาม Telegram จะไม่พุ่งเป้าที่การแสวงผลกำไร เมื่อเดือนเมษายน 2563 Telegram มีผู้ใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 400 ล้านคน มีผู้ใช้ใหม่อย่างต่ำ 1.5 ล้านคนต่อวัน และมีสติ๊กเกอร์ให้ใช้งานกว่า 2 แสนชุด Telegram ปลอดภัยแค่ไหน Telegram โฆษณาตัวเองว่ามีความปลอดภัยกว่าแอปพลิเคชันกระแสหลักอย่าง…