โครงการ “บูรณาการความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัย กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”

Loading

เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายธรรมรัตน์ รัตนมณี ผู้อำนวยการสำนัก ๑๐ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ พร้อมคณะ ได้ร่วมกิจกรรม โครงการ “บูรณาการความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ณ ห้องประชุมธรรมปัญญา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยโครงการดังกล่าวเป็นการขยายความร่วมมือ และเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู์ ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานรักษาความปลอดภัย ในฐานะที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเป็นองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทราบถึงกฎหมาย ระเบียบ ข้อปฏิบัติที่มีการปรับปรุงและหน่วยงานจะตองถือปฏิบัติ เช่น ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งมีการประกาศใช้แบบรายงานผลการปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับประจำปี…… ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้อง ดำเนินการสำรวจและจัดทำ นำส่งต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งมีนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (เริ่มมีผล ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๖๒) นอกจากนี้ สำนัก ๑๐ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ยังได้จัดกิจกรรมดังกล่าวใหกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเช่นกัน โดยได้รับความร่วมมือและความสนใจจากตัวแทนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่กว่า ๒๐๐ คน โครงการ…

คนร้ายติดปืนไรเฟิลบุกเข้าบ้านพักนายกฯแคนาดาในออตตาวาโดนข้อหา “ฆ่าหรือพยายามฆ่า” ทรูโด

Loading

เอเจนซีส์ – ทหารพลสำรองแคนาดาวัย 46 ปี คอรีย์ เฮอร์เรน( Corey Hurren) ถูกตั้งข้อหาฆ่าหรือพยายามฆ่านายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด หลังจากขับรถบรรทุกพุ่งเข้าชนประตูที่พักของทรูโดในกรุงออตตาวา และพบว่าในตัวมีอาวุธจำนวนมาก รวมปืนไรเฟิล M-14 ซึ่งถือเป็นอาวุธต้องห้าม หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานเมื่อวานนี้(6 ก.ค)ว่า ตำรวจแคนาดาเปิดเผยว่า คนร้ายทหารพลสำรองกองทัพแคนาดาวัย 46 ปี คอรีย์ เฮอร์เรน( Corey Hurren)ที่พยายามบุกเข้าที่พักผู้นำแคนาดามาพร้อมกับปืนไรเฟิล M-14 ซึ่งถือเป็นอาวุธต้องห้าม รวมปืนลูกซอง 2 กระบอกและปืนลูกโม้ (revolver) อีก 1 กระบอก เขาถูกจับในวันพฤหัสบดี(2)ที่ผ่านมา โดยขณะที่เกิดเหตุทรูโดรพร้อมครอบครัวและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งแคนาดาไม่ได้อยู่ในเวลานั้น ซึ่งนอกจากข้อหาอาวุธ 21 กระทงแล้ว เฮอร์เรนยังถูกตั้งข้อหาเป็นภัยคุกคามถึงแก่ชีวิตหรือเป็นอันตรายแก่ร่างกายต่อนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ซึ่งพักอยู่ภายในริโด ฮอลล์ (Rideau Hall) ซึ่งเป็นบ้านพักทางการของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งแคนาดา จูลี พาแย็ต (Julie Payette) เกิดขึ้นหลังที่พักทางการของทรูโดร…

‘อิหร่าน’ยอมรับโรงงานนิวเคลียร์เสียหาย ลือวินาศกรรมไซเบอร์ต้นเหตุไฟไหม้ ขณะผบ.นาวีขู่ เตหะรานสร้าง ‘เมืองขีปนาวุธใต้ดิน’ ตลอดแนวชายฝั่ง

Loading

ภาพอาคารที่ได้รับความเสียหายหลังหนึ่ง ภายหลังเกิดไฟไหม้ขึ้นที่โรงงานนิวเคลียร์ “นาตันซ์” ของอิหร่าน ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดอิสฟาฮานของอิหร่าน เมื่อวันพฤหัสบดี (2 ก.ค.) ที่ผ่านมา ภาพนี้สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รับจาก องค์การพลังงานปรมาณูอิหร่าน/สำนักข่าว WANA เอเจนซีส์ – อิหร่านยอมรับโรงงานนิวเคลียร์ใต้ดิน “นาตันซ์” ของตนเสียหายหนักจากไฟไหม้เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยเจ้าหน้าที่บางคนระบุว่า อาจเป็นการก่อวินาศกรรมในระบบไซเบอร์ เจ้าหน้าที่นิวเคลียร์ของอิหร่านระบุในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ขณะที่ผู้บัญชาการกองทัพเรือของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านประกาศในวันเดียวกันว่า เตหะรานสร้าง “เมืองขีปนาวุธ” ใต้ดินไว้ตลอดแนวชายฝั่ง และเตือนศัตรูจะต้องเจอ “ฝันร้าย” หลังจากเกิดไฟไหม้ที่โรงงานนาตันซ์เมื่อวันพฤหัสบดี (2) สำนักข่าวไออาร์เอ็นเอของทางการเตหะรานเผยแพร่บทความชิ้นหนึ่งในวันเดียวกัน กล่าวถึงความเป็นไปได้การก่อวินาศกรรมโดยศัตรูอย่างอิสราเอลและอเมริกา แต่ไม่ได้มีการกล่าวหาประเทศใดโดยตรง วันรุ่งขึ้น (3) เจ้าหน้าที่อิหร่าน 3 คนที่ไม่ประสงค์เปิดเผยชื่อ บอกกับสำนักงานข่าวรอยเตอร์ว่า เชื่อว่า เหตุไฟไหม้เป็นผลจากการโจมตีทางไซเบอร์ แต่ก็ไม่ได้แสดงหลักฐานยืนยัน ต่อมาในวันอาทิตย์ (5) รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลประกาศว่า อิสราเอลไม่จำเป็นต้องอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ลึกลับในอิหร่านทุกครั้ง ในวันอาทิตย์เช่นกัน ไออาร์เอ็นเอยังรายงานโดยอ้างคำพูดของ เบห์รุซ คามัลวานดี โฆษกองค์การพลังงานปรมาณูอิหร่านว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้การพัฒนาเครื่องหมุนเหวี่ยงขั้นสูงเพื่อเพิ่มสมรรนะยูเรเนียมของอิหร่านต้องล่าช้าในระยะปานกลาง แต่ประเทศของเขาจะติดตั้งอุปกรณ์ขั้นสูงกว่ามาใช้แทนอุปกรณ์ที่เสียหาย โฆษกผู้นี้สำทับว่า ถีงแม้โรงงานได้รับความเสียหาย…

ยักษ์ใหญ่เทคโนฯ ต้านกฎหมายความมั่นคงใหม่ฮ่องกง ให้อำนาจรัฐเซ็นเซอร์โลกออนไลน์

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีว่า ทางการจีนเริ่มเดินหน้าใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับฮ่องกง ในการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตและการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานในฮ่องกง โดยแผนการสกัดกั้นบนโลกออนไลน์ของกฎหมายใหม่นี้ ถูกเผยแพร่ออกมาในเอกสารของรัฐบาล 116 หน้าเมื่อช่วงคืนวันที่ 6 กรกฎาคม ซึ่งยังชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มอำนาจให้แก่ตำรวจในการออกหมายเพื่อบุกค้นและเฝ้าระวัง โดยก่อนหน้านี้ จีนไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายความมั่นคงต่อฮ่องกง ยกเว้นเรื่องการห้ามการก่อการร้าย การล้มล้าง การแยกตัว และการสมรู้ร่วมคิดกับกองกำลังต่างชาติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการออกมารับรองว่าจะมีกลุ่มคนที่ตกเป็นเป้าของกฎหมายนี้จำนวนไม่มาก แต่รายละเอียดที่ออกมาแสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเรื่องเสรีภาพและสิทธิของผู้คนในฮ่องกง นับตั้งแต่อังกฤษคืนเกาะฮ่องกงให้จีน เมื่อปี ค.ศ.1997 โดยกฎหมายใหม่ ยังให้อำนาจแก่รัฐบาลในเรื่องโลกออนไลน์อย่างเต็มที่ ตำรวจจะมีอำนาจในการควบคุมและยกเนื้อหาออนไลน์ออกได้ หากมีเหตุผลมากพอว่าเป็นข้อมูลที่ต้องสงสัยว่าจะละเมิดกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ และบริษัทอินเตอร์เน็ต รวมทั้งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สามารถถูกสั่งให้ถอดเนื้อหา และถูกยึดอุปกรณ์ ถูกปรับเงิน รวมทั้งถูกจำคุก 1 ปี หากปฏิเสธที่จะทำตามกฎหมาย และอาจจะต้องให้บันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยถอดรหัสการเข้าถึงด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจากอเมริกา อย่างเฟซบุ๊ก กูเกิล และทวิตเตอร์ ต่างออกมาปฏิเสธการที่รัฐบาลหรือตำรวจฮ่องกงจะมาขอข้อมูลผู้ใช้งาน เนื่องจากเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล นางแคร์รี หล่ำ ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกง กล่าวระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปกป้องกฎหมายความมั่นคงใหม่สำหรับฮ่องกง ที่รัฐบาลปักกิ่งเพิ่งผ่านร่างกฎหมายไป ว่า เป็นกฎหมายที่จะช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของฮ่องกง ซึ่งรัฐบาลฮ่องกงจะนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้อย่างเข้มแข็ง พร้อมกับขอเตือนล่วงหน้าสำหรับพวกสุดโต่งว่าอย่าได้พยายามที่จะละเมิดกฎหมาย…

อุปกรณ์พกพาเพื่อการตรวจหาการสัมผัสเชื้อในสิงคโปร์ ทำงานอย่างไร

Loading

ไซรา อาเชอร์ บีบีซี นิวส์ สิงคโปร์ อุปกรณ์ขนาดพกพาที่ชื่อ เทรซ ทูเกตเตอร์ โทเคน (Trace Together Tokens) คือเทคโนโลยีล่าสุดของสิงคโปร์ในการรับมือกับโควิด-19 อุปกรณ์ที่พกติดตัวได้นี้ช่วยให้แอปพลิเคชันตรวจจับการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรน่าที่มีการใช้งานอยู่แล้วทำงานได้ดีขึ้น ในการระบุตัวผู้ที่อาจจะติดเชื้อไวรัสจากผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว ผู้ใช้งานต้องพกพาอุปกรณ์นี้ ซึ่งทำงานด้วยแบตเตอรีที่มีพลังงานสะสมถึง 9 เดือน เรื่องนี้สร้างความ “ตกตะลึง” แก่ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง หน่วยงานของรัฐบาลที่พัฒนาอุปกรณ์นี้ ทราบดีว่า อุปกรณ์ประเภทนี้ และเทคโนโลยีโดยทั่วไป ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” ที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่มันจะมาช่วยเสริมความพยายามในการตรวจจับการสัมผัสเชื้อของคน คนกลุ่มแรกที่จะได้รับอุปกรณ์นี้ไปใช้งานคือ ผู้สูงอายุหลายพันคน ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง โดยพวกเขาจะต้องแจ้งหมายเลขประจำตัวประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์ เช่นเดียวกับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน เทรซทูเกตเตอร์ (Trace Together) ถ้าผู้ใช้อุปกรณ์นี้ถูกตรวจพบว่าติดโรคโควิด-19 พวกเขาต้องส่งมอบอุปกรณ์คืนให้กระทรวงสาธารณสุข เพราะอุปกรณ์นี้ไม่สามารถส่งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้หมือนแอปฯ ดังกล่าว จากนั้น อุปกรณ์นี้ จะใช้ข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกไว้ ในการระบุตัวผู้ที่อาจจะติดเชื้อ เครื่องมือขนาดพกพาในกระเป๋ากางเกงได้นี้ทำงานโดยการสื่อสารทางบลูทูธกับเครื่องมือชนิดเดียวกัน หรือโทรศัพท์มือถือที่มีแอปฯเดียวกัน โดยเก็บข้อมูลการสื่อสารไว้ 25 วัน แล้วลบทิ้ง ถ้าผู้ใช้อุปกรณ์นี้ ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 ต้องนำเครื่องนี้มาให้ทางการเพือตรวจสอบข้อมูลใเนครื่องว่าติดต่อกับใครบ้าง…

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นชี้ การใช้โดรนสังหารพล.อ.โซไลมานี “ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ”

Loading

REUTERS/Aziz Taher/File Photo สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เปิดเผยการสอบสวนเหตุการณ์ที่สหรัฐใช้โดรนโจมตีในอิรักและสังหารพล.อ.คาเซม โซไลมานี ผู้บัญชาการกองทัพพิทักษ์ปฏิวัติของอิหร่าน และพรรคพวกอีก 9 คน ว่า เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ นางอักเนส์ คาญามาร์ ผู้เสนอรายงานการประชุมพิเศษของยูเอ็น ว่าด้วยการสังหารอย่างไม่เคารพกฎหมาย การประหารชีวิตอย่างรวดรัด หรือประหารตามอำเภอใจ ระบุว่า สหรัฐอเมริกาไม่สามารถหาหลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับการโจมตีอย่างต่อเนื่องหรืออย่างจวนเจียนต่อผลประโยชน์ของตัวเอง เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีขบวนรถของพล.อ.โซไลมานี ขณะออกจากสนามบินในกรุงแบกแดด และว่า การโจมตีดังกล่าวถือเป็นการละเมิดต่อกฎบัตรของยูเอ็น โดยคาญามาร์ ได้เขียนในรายงานเรียกร้องให้มีการออกมารับผิดชอบการต่อการสังหารโดยใช้โดรนเป็นอาวุธและเรียกร้องให้มีกฎบังคับเกี่ยวกับอาวุธที่เข้มงวดขึ้น คาญามาร์ ผู้สอบสวนอิสระ บอกกับรอยเตอร์ด้วยว่า ตอนนี้โลกอยู่ในช่วงวิกฤต และอาจจะเป็นช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อ เมื่อมีการใช้โดรน คณะมนตรีความมั่นคงพลาดอะไรไปบางอย่าง ขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศ ต่างพากันเงียบในเรื่องนี้ ซึ่งคาญามาร์ เตรียมนำเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้มีการหารือกันในเรื่องดังกล่าว ————————————————————– ที่มา : มติชนออนไลน์ / 7 กรกฎาคม 2563 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_2257157