ขบวนการชุมนุมประท้วงในสหรัฐฯกับทั่วโลก: อะไรคือความเหมือน

Loading

ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2020/06/01/us/floyd-protests-live.html Written by Kim เมื่อชาวอเมริกันนึกถึงการปกครองแบบอำนาจนิยม ที่ผู้นำเผด็จการข่มขู่จะใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วง ประกาศเคอร์ฟิวห้ามการรวมกลุ่มของประชาชนรวมทั้งคุกคามและข่มขู่สื่อมวลชน พวกเขามีแนวโน้มจะคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ในกรุงไคโรมากกว่ามินนิแอโพลิส การวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่าย อาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ ประกอบกับภัยพิบัติทางเศรษฐกิจและการประท้วงในห้วงปัจจุบัน ทำให้จุดยืนระหว่างประเทศของสหรัฐฯตกต่ำอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประชาคมโลกหมดหวังกับผู้นำที่น่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเพิกเฉยต่อความไม่เท่าเทียม การกดขี่และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่นำไปสู่การฟื้นคืนของการประท้วงทั่วโลกในปี 2019 ทั้งนี้ สหรัฐฯในฐานะผู้นำระดับโลกกลายเป็นพวกเดียวกันกับประเทศต่าง ๆ ที่เคยประสบเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างคาดไม่ถึง[1]           ห้วงเวลาหลายปีที่ชาวอเมริกันมองดูการเร่งปฏิกิริยาของขบวนการประท้วง จากสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติสี (Color Revolutions)[2] ที่เกิดขึ้นในประเทศที่แยกตัวจากอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงกลางปี 2000 จนถึง Arab spring[3] ซึ่งครอบงำพาดหัวข่าวเมื่อต้นปี 2011 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2020 ผู้ประท้วงชุมนุมบนท้องถนนเรียกร้องความยุติธรรม การปฏิรูปการเมืองและความรับผิดชอบในซูดาน อัลจีเรีย ชิลี ฮ่องกง เลบานอน และอีกหลายประเทศจากแอฟริกาเหนือถึงอเมริกาใต้           การประท้วงในสหรัฐฯ กรณีการเสียชีวิตของ George Floyd ชายผิวดำในระหว่างการเข้าควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจในมลรัฐมินนิโซตา สะท้อนให้เห็นความเสื่อมถอยของอำนาจทางศีลธรรม (Moral Authority) รัฐบาลประธานาธบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกวิจารณ์โดยประเทศที่ปกครองแบบอำนาจนิยม ซึ่งสหรัฐฯเคยเรียกหาความรับผิดชอบเกี่ยวกับประวัติที่น่าสังเวชด้านสิทธิมนุษยชน จากปักกิ่งถึงเตหะราน คำวิจารณ์จากจีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่ายอาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป…

‘ไอบีเอ็ม’ ยุติพัฒนา-จำหน่ายเอไอ ‘จดจำใบหน้า’ ชี้แฝงอคติเหยียดสีผิว

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า “ไอบีเอ็ม” บริษัทผู้ผลิตและให้บริการคอมพิวเตอร์ระดับโลกประกาศยุติการจัดจำหน่ายและการพัฒนา “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” (facial recognition) ของบริษัท รวมถึงเรียกร้องรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาหยิบยกเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การอภิปรายอย่างเร่งด่วน เพื่อปฏิรูปกฎหมายควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีนี้โดยเจ้าหน้าที่ ให้ปราศจากการเหยียดสีผิวและเป็นธรรมทางเชื้อชาติ โดยนายอาร์วินด์ คริชนา ซีอีโอของไอบีเอ็มได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บริษัทต้องการทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหารือถึงแนวทางด้านกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมและความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจของไอบีเอ็มที่จะยุติธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงลุกลามบานปลายจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวผิวสีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประเด็นเรื่องปฏิรูปองค์กรตำรวจของสหรัฐ และการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ขณะที่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออคติที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีมาโดยตลอด โดยข้อมูลงานวิจัยของ “จอย โบโอแลมวินี” นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผู้ก่อตั้งสมาคมอัลกอริทึมมิกจัสติซ (Algorithmic Justice League) ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวของบางบริษัทแสดงให้เห็นถึงอคติทางเชื้อชาติสีผิวและอคติทางเพศอย่างชัดเจน ซึ่งคนบางกลุ่มเห็นว่า ไม่ควรจำหน่ายเทคโนโลยีนี้ให้กับหน่วยภาครัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัวและสิทธิพลเมือง จดหมายของนายคริชนาระบุว่า “ไอบีเอ็มคัดค้านและไม่ยินยอมให้มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อการสอดแนมประชาชน การเหยียดเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม หลักการความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของเรา เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือไม่และอย่างไร” นายคริชนาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็มในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบคลาวด์เซอร์วิสของบิรษัทมากขึ้น แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในสำนักงานด้วย โดยขณะนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธุรกิจเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไอบีเอ็มมากนัก แต่การตัดสินใจครั้งนี้ก็สร้างความตื่นตัวในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไอบีเอ็ม “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่สามารถช่วยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จำหน่ายและผู้ใช้งานระบบเอไอมีความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการทดสอบอคติที่แฝงอยู่ในระบบเอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับการบังคับใช้กฎหมาย…

มัลแวร์ใน Android ที่หลอกว่าเป็นแอปพลิเคชันติดตาม COVID-19 ส่วนใหญ่เป็นโทรจัน เน้นสอดแนมและขโมยข้อมูล

Loading

ทีมวิจัยจากบริษัท Anomali ได้วิเคราะห์มัลแวร์ใน Android จำนวน 12 รายการ ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่แอบอ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันของรัฐบาลสำหรับใช้ติดตามการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ผลการวิเคราะห์พบข้อมูลน่าสนใจคือบางแอปพลิเคชันนั้นเป็นมัลแวร์สายพันธุ์ Anubis และ SpyNote ซึ่งมีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงินและสอดแนมพฤติกรรมการใช้งาน โดยช่องทางการแพร่กระจายมัลแวร์มีทั้งส่งลิงก์ให้ดาวน์โหลดไฟล์ APK จากเว็บไซต์ภายนอก เผยแพร่บน Store อื่น และเผยแพร่บน Play Store ของทาง Google เอง มัลแวร์ Anubis พบในแอปพลิเคชันปลอมที่แอบอ้างว่าเป็นของรัฐบาลประเทศบราซิลและรัสเซีย ตัวมัลแวร์มีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงิน เนื่องจาก Anubis นั้นเป็นมัลแวร์ที่มีขายในตลาดมืด ทำให้ผู้โจมตีอาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก อาศัยการซื้อมัลแวร์สำเร็จรูปมาปรับแต่งแล้วแพร่กระจายต่อ มัลแวร์ SpyNote พบในแอปพลิเคชันปลอมที่แอบอ้างว่าเป็นของรัฐบาลประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย ตัวมัลแวร์มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและสอดแนมพฤติกรรมการใช้งาน เนื่องจากตัวมัลแวร์นี้ถูกพัฒนาต่อยอดจากซอร์สโค้ดของมัลแวร์ DroidJack และ OmniRat ที่หลุดออกมาก่อนหน้านี้ จึงทำให้มีฟังก์ชันการทำงานที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ในรายงานของทาง Anomali ไม่ได้รวมมัลแวร์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาทางไทยเซิร์ตได้ตรวจพบการแพร่กระจายมัลแวร์ใน Android ที่แอบอ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันของรัฐบาลไทย โดยส่วนใหญ่เป็นมัลแวร์ประเภทโทรจันและมัลแวร์ Cerberus ซึ่งมีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงิน…

ระวัง! ไลน์ธนาคารปลอม หลอกขอข้อมูลส่วนตัวลูกค้า ก่อนดูดเงินหมดเกลี้ยง

Loading

ไลน์ธนาคารปลอมอาละวาด หลอกขอข้อมูลส่วนตัวก่อนดูดเงินเกลี้ยง พบสาวตกเป็นเหยื่อถูกหลอกขายตู้เย็นไม่พอ มีนางนกต่อเข้ามาทักส่งลิงก์ไลน์ธนาคารปลอมไปให้ เข้าเว็บกรอกข้อมูลส่วนตัว หลอกถามรหัส OTP ถูกดูดเงินซ้ำซ้อน วันนี้ (10 มิ.ย.) รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีไลน์ปลอมแอบอ้างชื่อ SCB Connect ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เข้ามาทักผู้ใช้บัญชีไลน์ พยายามหลอกขอข้อมูลส่วนตัวอ้างว่าให้ยืนยันบัญชีโดยแจ้งเลขที่บัตรประชาชน วัน เดือน ปีเกิดของลูกค้า ก่อนที่จะพยายามหลอกขอรหัส SMS 6 หลักจากธนาคาร หากผู้ใดหลงเชื่อมิจฉาชีพก็จะทำรายการโอนเงินไปจนเกลี้ยงบัญชี ทั้งนี้ มิจฉาชีพจะใช้วิธีมองหากลุ่มเป้าหมายในเพจของธนาคารนั้นๆ โดยจะทำทีเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ถือโอกาสเข้าไปตอบคอมเมนต์ที่ลูกค้าสอบถามเข้ามา แล้วเข้าไปคุยกับลูกค้าต่อใน Inbox ส่วนใหญ่จะหลอกกลุ่มเป้าหมายว่า เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ลูกค้าจะต้องแอด LINE จาก Link ที่ส่งให้ จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลโดยตรง ซึ่ง Link ดังกล่าวจะพาไปสู่ LINE ปลอมที่ทำเลียนแบบไว้แล้ว หรือบางทีก็อาจจะใช้ LINE ปลอม แอดกลุ่มเป้าหมายเอง แล้วทักเข้าไปก่อนก็ได้…

‘แอมะซอน’ งดให้บริการ ‘เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า’ แก่ตำรวจสหรัฐฯ เป็นเวลา 1 ปี

Loading

รอยเตอร์ – บริษัท Amazon.com Inc ประกาศงดให้บริการเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า (facial recognition software) แก่ตำรวจสหรัฐฯ เป็นเวลา 1 ปี หลังเกิดเหตุประท้วงกรณีตำรวจใช้ความรุนแรงสังหารชายผิวสี นักเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพพลเมืองในสหรัฐฯ ต่อสู้เรียกร้องมานานถึง 2 ปีว่าระบบตรวจจับใบหน้าของแอมะซอนอาจระบุตัวบุคคลผิดพลาด จนนำไปสู่การจับกุมอย่างไม่เป็นธรรมได้ การเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ หนุ่มผิวสีซึ่งถูกตำรวจมินนาอาโพลิสใช้เข่ากดคอจนขาดใจตายเมื่อเดือน พ.ค. ยิ่งกระพือข้อกังวลว่าระบบตรวจจับใบหน้าจะถูกใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานผู้ประท้วง นักวิจารณ์ยังชี้ถึงผลการศึกษาในอดีตที่แสดงให้เห็นว่า บริการ ‘Rekognition’ ของแอมะซอนมักมีปัญหาในการระบุเพศของคนผิวสีเข้ม ซึ่งเป็นผลวิจัยที่แอมะซอนออกมาโต้แย้ง ล่าสุด แอมะซอนซึ่งจำหน่ายเทคโนโลยีคลาวด์ผ่านทาง Amazon Web Services ได้แถลงยืนยันวานนี้ (10 มิ.ย.) ว่า บริษัทจะผลักดันให้มีการออกกฎควบคุมการใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้าอย่างมีจริยธรรม “เราหวังว่าการระงับบริการ 1 ปีจะช่วยให้สภาคองเกรสมีเวลามากพอที่จะบังคับใช้กฎระเบียบที่เหมาะสม และเราพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ หากมีการขอร้องมา” แอมะซอน ระบุ ทั้งนี้ แอมะซอนจะยังคงอนุญาตให้มีการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าเพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการตามหาเหยื่อค้ามนุษย์ สภาคองเกรสได้เริ่มพิจารณาออกกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้ามาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว และล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (8) บริษัท ไอบีเอ็ม ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังคองเกรสว่าจะเลิกจำหน่ายและพัฒนาเทคโนโลยีชนิดนี้…

ค่ายรถฮอนด้าถูกโจมตีไซเบอร์ กระทบปฏิบัติการทั่วโลก

Loading

  บีบีซี – ฮอนด้าเปิดเผยว่า กำลังจัดการกับเหตุถูกโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งส่งผลกระทบกับปฏิบัติการต่างๆ ทั่วโลกของบริษัท ถ้อยแถลงของผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ระบุว่า “ฮอนด้ายืนยันว่า เกิดเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อเครือข่ายของฮอนด้า” พร้อมระบุปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ของบริษัท รวมถึงการใช้อีเมลและอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในระบบภายใน “นอกจากนี้แล้ว มันยังส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตนอกประเทศญี่ปุ่น” ถ้อยแถลงระบุ “เวลานี้เราอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อลดผลกระทบ และเพื่อกู้ปฏิบัติการผลิต, การขายและกิจกรรมต่างด้านพัฒนา คืนมาอย่างสมบูรณ์” บริษัทแห่งนี้เปิดเผยต่อว่า หนึ่งในเซิร์ฟเวอร์ภายในของเขาถูกโจมตีจากภายนอก และระบุว่า มีการแพร่ไวรัสผ่านเครือข่ายของบริษัท อย่างไรก็ตาม ฮอนด้าไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม ฮอนด้าระบุว่า เหตุถูกโจมตีทางไซเบอร์ทำให้ปฏิบัติการที่โรงงานในสหราชอาณาจักรหยุดชะงัก ขณะเดียวกัน ก็จำเป็นต้องระงับปฏิบัติการต่างๆ ทั้งในอเมริกาเหนือ, ตุรกี, อิตาลี และ ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม หวังว่า โรงงานที่ได้รับผลกระทบบางส่วนจะกลับมาออนไลน์ได้อีกครั้งในบ่ายวันนี้ (9 มิ.ย.) หรือไม่ก็ช่วงปลายสัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์บางส่วนให้ความเห็นว่า ดูเหมือนมันจะเป็นโจมตีโดยไวรัสเรียกค่าไถ่ ซึ่งหมายถึงพวกแฮกเกอร์อาจเข้ารหัสข้อมูล หรือสกัดฮอนด้าออกจากระบบไอทีบางอย่างของตนเอง อย่างไรก็ตาม ฮอนด้ายืนยันไม่มีข้อมูลใดของบริษัทที่ถูกละเมิด และบอกว่าจนถึงตอนนี้ “เรายังเห็นผลกระทบต่อธุรกิจเพียงแค่เล็กน้อย” ————————————————— ที่มา : MGR…