ตัดไฟแต่ต้นลม คณะกรรมการโอลิมปิกสากลออกกฎห้ามนักกีฬาแสดงออกทางการเมืองในสนาม

Loading

เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ IOC ออกข้อบังคับในกฎบัตรโอลิมปิก ให้หลีกเลี่ยงการแสดงออกเพื่อประท้วงทางการเมือง เพื่อนำมาใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี 2020 ที่จะจัดในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม นี้ โดยเนื้อหาของข้อบังคับที่มีความยาว 3 หน้ากระดาษระบุว่า ห้ามนักกีฬาที่มาร่วมการแข่งขันคุกเข่าประท้วง แสดงสัญลักษณ์มือที่ส่อความหมายไปในทางการเมือง หรือสวมเครื่องแต่งกายหรือปลอกแขนที่มีสัญลักษณ์การเมืองในสนามแข่งขัน บนสแตนด์เชียร์ และในหมู่บ้านนักกีฬา รวมถึงการแสดงออกในพิธีมอบเหรียญด้วย อย่างไรก็ตาม นักกีฬาสามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในโซเชียลมีเดียของตัวเองหรือในสื่อทางการได้ โดยสามารถให้สัมภาษณ์สื่อได้ ซึ่งรวมถึงในงานแถลงข่าว และในพื้นที่ที่นักกีฬาพบปะกับสื่อมวลชนหลังการแข่งขัน ข้อบังคับนี้ ยังบอกด้วยว่า “ไม่อนุญาตให้มีการประท้วง การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ศาสนา และเชื้อชาติ ในพื้นที่จัดแข่งขันโอลิมปิก พื้นที่ที่ทุกคนมารวมตัวกัน และพื้นที่อื่นๆ” โดยนักกีฬาที่ฝ่าฝืนกฎดังกล่าวในโอลิมปิกครั้งนี้จะได้รับบทลงโทษจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล โดยจะประเมินและพิจารณาโทษเป็นกรณีๆ ไป โธมัส แบช ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลกล่าวว่า ภารกิจของโอลิมปิกก็เพื่อรวมให้เป็นหนึ่งและไม่แบ่งแยก เราเป็นงานเดียวในโลกที่รวมทั่วโลกเข้าด้วยกันในการแข่งขันอย่างสันติ “ผมขอให้พวกเขา (นักการเมืองและนักกีฬา) เคารพภารกิจของการแข่งขันโอลิมปิก…

เพราะอินเทอร์เน็ตคือสิทธิพื้นฐาน ศาลสั่งรัฐบาลอินเดียทบทวนการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตในแคชเมียร์

Loading

ภาพจาก stockpexel/Shutterstock ใช้เพื่อการข่าวเท่านั้น รัฐบาลอินเดียปิดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในแคว้นแคชเมียร์มาหลายเดือนแล้ว ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลอินเดียเพิกถอนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่มอบสถานะพิเศษให้แก่ดินแดนแคชเมียร์ ล่าสุดศาลสูงสุดอินเดียตัดสินว่าการปิดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นผิดกฎหมาย และต้องทบทวนมาตรการใหม่ และต้องมาพร้อมกับการนำพยานหลักฐานที่จะได้รับผลกระทบหากเปิดให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้การต่อศาล ปัจจุบันรัฐบาลค่อยๆ กู้คืนการสื่อสารให้ประชาชนในพื้นที่เช่น SMS, โทรศัพท์บ้าน แต่ก็ยังมีคนอีก 7 ล้านที่ขาดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ถือเป็นการปิดกั้นการใช้อินเทอร์เน็ตที่ยาวนานที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ซึ่งรัฐบาลให้เหตุผลว่าทำไปเพื่อป้องกันเหตุร้ายและรักษาชีวิตประชาชน —————————————— ที่มา : Blognone / 13 มกราคม 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114091

เตือนชาติเอเชียพร้อมรับมือ ‘สหรัฐ-อิหร่าน’ ก่อ ‘สงครามไซเบอร์’

Loading

โดย : KANYAPORN PHUAKVISUTHI ผู้เชี่ยวชาญเตือนบริษัทข้ามเสี่ยงได้รับความเสียหายจาก “สงครามไซเบอร์” ระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน แม้การที่ฝ่ายอเมริกันสังหารนายพลระดับสูงของอิหร่าน จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารอย่างเต็มรูปแบบก็ตาม นายเกร็ก ออสติน หัวหน้าฝ่ายโครงการความไซเบอร์ อวกาศ และความขัดแย้งในอนาคน สถาบันความมั่นคงศึกษาระหว่างประเทศ ในสิงคโปร์ กล่าวว่า แม้ในตอนนี้ ทั้งสหรัฐ และอิหร่านจะถอยคนละก้าวไม่มีการปฏิบัติการทางทหารเพิ่มเติม แต่บรรดาตลาดซื้อขายเงินดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน และซัพพลายเชนของบริษัทอเมริกัน และซาอุดีอาระเบีย ต่างมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าการโจมตีของกลุ่มแฮคเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน และต้องการที่จะจัดการทางอ้อมต่อการคว่ำบาตรของสหรัฐ และสร้างความวุ่นวายให้กับเครือข่ายของรัฐบาล และบริษัท “ชาวอิหร่านแสดงให้เห็นมาตั้งแต่ปี 2555 แล้วว่า พวกเขาสามารถมุ่งไปยังเป้าหมายที่มีมูลค่าสูงอย่างมากได้ ด้วยการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อก่อกวน ซึ่งการเผชิญหน้าในโลกไซเบอร์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ ที่มากอยู่แล้ว จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก” ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาแฮคเกอร์อิหร่านต่างดำเนินการโจมตีเป้าหมายเอกชนในโอกาสต่างๆ จำนวนหนึ่ง โดยในปี 2555 กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “Cutting Sword of Justice” ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทางไซเบอร์ “ซาอุดี อาแรมโก” บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ราว 30,000 เครื่องใช้งานไม่ได้ และพนักงานของซาอุดี อาแรมโก…

Travelex ถูกแฮกเกอร์โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ เรียกค่าไถ่ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Loading

Travelex บริษัทรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของสหราชอาณาจักรถูกแฮกเกอร์โจมตีเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนทำให้บริษัทต้องถอดเว็บออก ตอนนี้พนักงานต้องเขียนใบเสร็จรับเงินด้วยมือแทนที่จะทำด้วยคอมพิวเตอร์ Travelex ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร มีสาขามากกว่า 1,200 แห่งทั่วโลก มีการแลกเงินมากกว่า 5,000 สกุลเงินทุกชั่วโมง เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2019 แฮกเกอร์เรียกเงินค่าไถ่ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้บริษัทเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ หลังจากที่แฮกเกอร์โจมตีระบบโดยใช้แรมซอมแวร์ Sodinokibi แฮกเกอร์ขู่ว่าจะปล่อยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่มีทั้งเลขประกันสังคม วันเกิดและข้อมูลการจ่ายบัตรเครดิต รวม 5 กิกะไบต์ ถ้าบริษัทไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ เว็บไซต์ให้บริการแลกเงินของ Travelex ปิดมาแล้ว 1 สัปดาห์ ลูกค้าจะเจอข้อความว่า “ระบบออนไลน์ปิดบริการ เนื่องจากการปรับปรุงระบบตามแผน ระบบจะกลับมาดำเนินการตามปกติได้ในเร็วๆ นี้” ส่วนบนเว็บไซต์ของสำนักงานเองขึ้นข้อความว่า “เว็บไซต์นี้ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว ระหว่างที่เรากำลังปรับปรุงบริการเพื่อคุณ” ขณะที่บริษัทยังคงให้บริการแลกเงินที่สาขาอยู่ เรื่องนี้ทำให้ธนาคารต่างๆ ที่ใช้บริการของ Travelex ต้องหยุดใช้งานแลกเปลี่ยนออนไลน์ Travelex เปิดเผยว่าถูกโจมตีเมื่อวันที่ 2 มกราคม ตอนที่มั่นใจว่า ไม่มีข้อมูลของลูกค้ารายใดรั่วไหล บริษัทใช้ผู้เชี่ยวชาญไอทีและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ใ้ห้พยายามแยกไวรัสและนำระบบที่ติดไวรัสออกมา แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงและจัดการกับแฮกเกอร์ได้…

สถานทูตออกประกาศเตือนคนไทยใน ‘อิสราเอล’

Loading

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอลออกประกาศเตือนคนไทยให้หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ออกประกาศ เรื่อง การเพิ่มความระมัดระวังของคนไทยในอิสราเอล ระบุว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอความร่วมมือทุกท่านให้ติดตามข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หลีกเลียงการเดินทางไปยังสถานที่ที่มีความเสี่ยง รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำและมาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นของท่าน โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมให้ทราบเป็นระยะ ๆ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อไป ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จากเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตฯ www.thaiembassy.org/telaviv และ Facebook Page “ทุกเรื่องเมืองยิว” www.facebook.com/thaiembassytelaviv/ อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 054-636-8650 หรือ 054-550-1141 จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน —————————————– ที่มา : The bangkok insight / 8 มกราคม 2563 Link : https://www.thebangkokinsight.com/269184/

ไทยหนีไม่พ้น เราจะต้องระวังอะไรจากความขัดแย้งอิหร่าน-สหรัฐ

Loading

บทวิเคราะห์โดย กรกิจ ดิษฐาน อิหร่านหักปากกาเซียนด้วยการโจมตีสหรัฐแบบตรงไปตรงมา ไม่ใช่วิธียืมมือกลุ่มติดอาวุธที่ตัวเองสนับสนุนอย่างที่บางคนคาดการณ์ไว้ การโจมตีด้วยขีปนาวุธถล่มฐานทัพสหรัฐในอิรัก คือการทำสงครามแบบ Conventional warfare หรือ “สงครามในรูปแบบ” นั่นคือการรบโดยใช้อาวุธโจมตีกันไปมา ไม่ว่าจะเป็นอาวุธแบบมาตรฐาน เช่นจรวดหรือแบบล้ำสมัยเช่นโดรน บรรดาเซียนการเมืองเชื่อว่าอิหร่านอาจจะรบแบบ Unconventional warfare หรือสงครามนอกระบบ โดยเฉพาะการใช้ตัวแทนรบกับสหรัฐ (Proxy war) ด้วยการบ่อนทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐเป็นจุดๆ ไป อย่างที่สหรัฐเรียกว่า “การก่อการร้าย” อิหร่านควรใช้วิธีนี้เพราะมีแสนยานุภาพด้อยกว่าสหรัฐแต่มี “บริวาร” ที่เป็นเครือข่ายติดอาวุธที่ทำงานครอบคลุมไปทั่วโลก เช่น ฮิซบุลลอฮ์ แต่อย่างที่เราทราบ อิหร่านเลือกที่จะปะทะตรงๆ ทั้งๆ ที่แสนยานุภาพของอิหร่านเมื่อเทียบกับสหรัฐแล้วเหมือนหนูกับช้าง นั่นแสดงว่าอิหร่านกำลังเลือดเข้าตา และเห็นแก่ศักดิ์ศรีที่ถูกหยามมากกว่าจะมองความเป็นจริงในการรบ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าอิหร่านจะไม่รบนอกแบบ และใช้ตัวแทนรบกับสหรัฐ Quds Force ของอิหร่านซึ่งผู้บัญชาการเพิ่งจะถูกสังหารไป มีสายสัมพันธ์กับกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ (Hezbollah) จากการรายงานของ Institute for Near East Policy ในกรุงวอชิงตัน ในระยะหลังทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานร่วมกันเพื่อโจมตีเป้าหมายสหรัฐ อิสราเอล และประเทศตะวันตก…