ความผิดปกติของข่าวสาร (information disorder) ขณะที่การเมืองไม่ปกติ

Loading

ที่มาภาพ: https://medium.com/@dr.vossdaniel/5-tips-to-look-after-your-mental-health-during-the-time-of-covid19-4febe2cf2753 Written by Kim ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเรามักได้ยินคำว่า “ข่าวปลอม” หรือ “สื่อปลอม” อยู่เสมอ ข่าวปลอมเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ยินมากในยุคการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต แต่อันที่จริงเนื้อหาที่แสดงความคิดเห็นชวนให้เชื่อจนเกินข้อเท็จจริง เกิดขึ้นมาก่อนยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู โดยมีคำเรียกสื่อประเภทนี้ว่า สื่อเหลือง (เพราะแต่ก่อน หนังสือพิมพ์แนวใส่สีตีไข่นิยมใช้สีเหลืองสีพิมพ์)[1] ขณะเดียวกันก็อาจได้ยินคำว่า ข้อมูลเท็จ (False information) ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) และข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ทั้งหมดนี้หมายถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (incorrect)[2]           คำสัญญาของยุคดิจิทัลสนับสนุนให้เราเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทางบวกเมื่อเราอยู่ในชุมชนที่มีการเชื่อมต่อสูงสุด เราสามารถหาข้อมูลที่จำเป็นโดยการคลิกหรือปัดหน้าจอ ความเชื่อดังกล่าวเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเรายอมรับว่าระบบนิเวศน์ข้อมูลของเราตกอยู่ในอันตรายของมลพิษซึ่งแบ่งแยกเรามากกว่าการเชื่อมต่อกัน Clare Wardle แห่ง First Draft ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความไม่ปกติของข่าวสาร (ข้อมูล) ซึ่งถูกปรับใช้เป็นอาวุธ (weaponisation) มากขึ้น หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 โดยจัดแบ่งข้อมูลข่าวสารออกเป็น 3 ประเภท[3]           ข้อมูลที่ผิด (misinformation) คือ ข่าวสารที่ปลอมขึ้นมาหรือเนื้อหาเป็นเท็จ (False information) แต่บุคคลที่เผยแพร่ (agent) เชื่อว่าเป็นจริง ข้อมูลประเภทนี้มักถูกเผยแพร่โดยไม่ตั้งใจ (inadvertent) เช่น เราอ่านข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือในไลน์ระบุว่า ชอคโกแลตทำให้คนเราฉลาดขึ้น (น่าขัน) แต่ก็ตัดสินใจแชร์ (ข้อมูลผิด) โดยไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลผิด แสดงว่าเราได้แชร์ข้อมูลที่ผิดไปแล้ว ข้อมูลที่ผิดขับเคลื่อนโดยปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม บนสังคมออนไลน์ผู้คนแสดงอัตลักษณ์เพราะต้องการรู้สึกเชื่อมต่อกับเผ่า (tribe) พวกของตน           ข้อมูลบิดเบือน (dis-information) คือ ข่าวสารที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ  ถูกบิดเบือนและคนที่เผยแพร่ก็รู้ว่าไม่เป็นจริง มีเจตนาโกหก (ออกแบบมาโดยมีเจตนาร้าย) เป้าหมายคือ…

บริษัทเทคโนโลยีสร้างเครื่องมือช่วยผู้รับข่าวแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลบิดเบือน

Loading

Manchetes africanas 2 abril: Twitter e Facebook querem combater “fake news” sobre Covid-19 ในยุคที่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ดูเหมือนจะท่วมท้นจากแหล่งที่หลากหลายโดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์และจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดบิดเบือนทั้งจากเจตนาหรือจากความไม่จงใจก็ตาม การหาข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ดังที่คุณจอห์น เกเบิ้ล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของเว็บไซต์ Allsides.com ได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนล้วนมีอคติหรือความลำเอียงอยู่ในตัว คือมีความโน้มเอียงที่จะคิดหรือเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับ ตามประสบการณ์ที่เคยสัมผัส และจากการตีความทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งจากสิ่งที่เราอาจไม่รู้หรือไม่เข้าใจด้วย และเรื่องนี้จะยิ่งเป็นปัญหาโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญหรือสำหรับเรื่องสำคัญบางอย่างซึ่งมีข่าวสารข้อมูลให้เลือกมากมายและบางครั้งข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปไม่ว่าจะเป็นผลจากเจตนาการเผยแพร่ข้อมูลที่ปิดเบือนหรือก็ตาม คุณจอห์น แซนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และผลกระทบของ Knight Foundation ชี้ว่าในขณะนี้ 80% ของคนอเมริกันมีความกังวลว่าข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจะส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นได้ และจากปัญหาซึ่งมาจากข่าวปลอมหรือจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่จงใจถูกเลือกมาอย่างไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ตรงกับบริบทที่ควรจะเป็นนั้น ขณะนี้ก็มีธุรกิจด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างน้อยสองรายที่พยายามให้เครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้รับสารสามารถเปรียบเทียบและแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ได้ดีขึ้น คุณฮาร์ลีน คอร์ ซีอีโอของ Ground News เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามช่วยให้ผู้รับข่าวสารตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องหรือถูกบิดเบือนหรือไม่ โดย Ground News เป็นแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่อาจจะเรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแรกของโลกซึ่งช่วยเปรียบเทียบเนื้อหาของการรายงานข่าวด้วยการประมวลแหล่งที่มาของการรายงานเรื่องเดียวกันให้ผู้รับสารได้เปรียบเทียบ ทั้งยังมีการจำแนกและระบุจุดยืนของแต่ละสื่อให้ผู้รับสารได้พิจารณาประกอบด้วยตั้งแต่แนวซ้ายจัดจนถึงขวาจัด ตัวอย่างเช่น Ground News จัดให้นิตยสาร The New Yorker…

จีนยกเครื่องกองทัพ ปฏิรูประบบการศึกษาทหารมุ่งสร้างกองทัพระดับโลก

Loading

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีและประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง อนุมัติแนวทางการศึกษาทางทหารซึ่งจะปฏิรูประบบใหม่เพื่อฝึกฝนบุคลากรให้มีความสามารถมากขึ้นสำหรับกองทัพที่ทันสมัย การยกเครื่องทหารเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการขับเคลื่อนการปรับปรุงกองทัพจีนให้ทันสมัยซึ่งเป็นโครงการที่ผลักดันมาตั้งแต่ปี 2017 ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างกองทัพระดับโลกที่มีเทคโนโลยีเป็นจุดแข็งภายในปี 2035 เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจีนทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารและจัดให้มีการฝึกซ้อมมากขึ้นเพื่อเพิ่มความพร้อมในการต่อสู้ โดยสีจิ้นผิงเน้นย้ำให้กองทัพพร้อมรบซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงเวลาที่ความตึงเครียดกับสหรัฐรวมถึงเกาะไต้หวันและทะเลจีนใต้ทวีความรุนแรง และย้ำถึงความสำคัญของการมีทหารที่ได้รับการอบรมและฝึกฝนมาเป็นอย่างดี โดยกล่าวว่าสถาบันการศึกษาของกองทัพก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาวิธีการต่อสู้และชัยชนะจึงจำเป็นต้องเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อให้มีความรู้และความสามารถพร้อมรบในสถานการณ์จริง อย่างไรก็ตามระบบการศึกษาทางทหารของจีนไม่ได้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในกองทัพ ทหารไม่สามารถมีความรู้ทางทฤษฎีเพียงอย่างเดียวแต่ต้องมีทักษะในทางปฏิบัติด้วย โจว เฉินหมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากปักกิ่งเผยว่า “ระบบการศึกษาทางทหารของจีนล้มเหลวในการฝึกอบรมบุคลากรสำหรับกองทัพที่สมัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยบางแห่งกำลังสอนวิชาความรู้ทั่วไปโดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การทหาร การศึกษาบางส่วนวิชาการเกินไปเสมือนเป็นการฝึกให้ทหารกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ซึ่งพวกเขาจะไม่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของกองกำลังต่อสู้ในปัจจุบัน” ทั้งนี้ จีนมีมหาวิทยาลัยทหารสองแห่งคือ มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศแห่งชาติ PLA และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีป้องกันประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรการศึกษาอื่นๆ อีกหลายสิบแห่งที่มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น เรือดำน้ำ และรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้กองทัพจันยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของจีน เช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยเป่ยหังเพื่อฝึกอบรมบุคลากรทางทหารตั้งแต่นักบินรบไปจนถึงผู้บังคับบัญชา Photo by Noel Celis / AFP ———————————————— ที่มา :  โพสต์ทูเดย์ / 23 ตุลาคม 2563 Link : https://www.posttoday.com/world/636280

ข่าวกรองสหรัฐฯ โบ้ยรัสเซียและอิหร่านแทรกแซงศึกเลือกตั้ง หลังพบอีเมลข่มขู่ให้เลือกทรัมป์

Loading

จอห์น แรตคลิฟฟ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (ดีเอ็นไอ) แห่งสหรัฐฯ ระบุในวันพุธ (21 ต.ค.) ว่ารัสเซียและอิหร่านต่างพยายามแทรกแซงศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา 2020 หลังพบอีเมลส่งถึงบรรดาสมาชิกเดโมแครต ข่มขู่ให้หันมาเลือกประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในศึกเลือกตั้งวันที่ 3 พฤศจิกายน แรตคลิฟฟ์ กล่าวอ้างดังกล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่มีการตระเตรียมอย่างเร่งรีบ และร่วมด้วย คริสโตเฟอร์ เรย์ อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) การแถลงข่าวครั้งนี้มีขึ้น 2 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง และแสดงให้เห็นถึงระดับความกังวลในหมู่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ว่าตัวแสดงต่างชาติอาจกำลังหาทางบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของอเมริกันต่อความซื่อสัตย์ของศึกเลือกตั้ง และแพร่ข้อมูลข่าวเท็จในความพยายามเบี่ยงผลการลงคะแนน “เรายืนยันว่าอิหร่านและรัสเซียมีข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางส่วน” แม้ข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้งเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แต่ แรตคลิฟฟ์ บอกว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลเห็นอิหร่านส่งเมลที่แอบอ้างอีเมลแอดเดรสของผู้อื่น (spoofed emails) ข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปลุกปั่นความไม่สงบทางสังคมและก่อความเสียหายแก่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แรตคลิฟฟ์ อ้างถึงอีเมลที่ถูกส่งออกมาเมื่อวันพุธ (21 ต.ค.) ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ดูเหมือนส่งออกจากมาจากพวก Proud Boys กลุ่มลัทธิชาตินิยมคนผิวขาว ที่เกลียดชังผู้หญิงและเกลียดกลัวอิสลามที่สนับสนุนประธานาธิบดีทรัมป์ ก่อนหน้านี้บรรดาหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ เคยเตือนว่าอิหร่านอาจแทรกแซงเพื่อบ่อนทำลายทรัมป์ ส่วนรัสเซียกำลังพยายามช่วยเหลือทรัมป์ในศึกเลือกตั้ง ผู้สันทัดกรณีในวงนอก มองว่าหากข้อสันนิษฐานของแรตคลิฟฟ์นั้นถูกต้อง…

‘อังกฤษ’ แฉ ‘รัสเซีย’ เล็งโจมตีทางไซเบอร์ 2 อีเวนท์ใหญ่ใน ‘ญี่ปุ่น’

Loading

“อังกฤษ” แฉ และประณามการกระทำ “รัสเซีย” เล็งเป้าโจมตีทางไซเบอร์ในงานโตเกียวโอลิมปิก-พาราลิมปิก ส่อสร้างสถานการณ์รุนแรงป่วน รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า หน่วยข่าวกรองของกองทัพรัสเซีย(GRU) ได้ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์โดยมีเป้าหมายไปที่การแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิกซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปีนี้ รายงานระบุว่า GRU มีส่วนในกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตรายก่อนญี่ปุ่นตัดสินใจในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาที่จะเลื่อนการแข่งกีฬาโอลิมปิกออกไปเป็นปีหน้า อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลอังกฤษระบุว่า การสอดแนมทางไซเบอร์มีเป้าหมายโจมตีองค์กรที่จัดงาน บริษัทที่เป็นสปอนเซอร์ และบริการด้านโลจิสติกส์ โดยในขณะนี้ ยังไม่ทราบรายละเอียดของการโจมตีทางไซเบอร์ และยังไม่ชัดเจนว่าการโจมตีทางไซเบอร์สร้างความเสียหายอย่างแท้จริงกับเป้าหมายดังกล่าวหรือไม่ รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นแคมเปญล่าสุดของกิจกรรมทางไซเบอร์ที่อันตรายของรัสเซียที่มีต่อการแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิก นายโดมินิก ร้าบ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษเรียกการโจมตีทางไซเบอร์ของรัสเซียว่าเป็น การเหยียดหยามและการไม่ยั้งคิด และอังกฤษขอประณามการกระทำดังกล่าวอย่างรุนแรงที่สุด นายร้าบ  ระบุเสริมด้วยว่า อังกฤษจะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อเรียกร้องและตอบโต้การโจมตีทางไซเบอร์ในอนาคต สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า โตเกียวโอลิมปิกได้ถูกเลื่อนไปจัดในระหว่างวันที่ 23 ก.ค. ถึง 8 ส.ค.ในฤดูร้อนปีหน้า ตามด้วยการแข่งพาราลิมปิกในวันที่ 24 ส.ค. ถึง 5 ก.ย. ———————————————- ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ / 20 ตุลาคม 2563 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903545

การบ่อนทำลายสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร

Loading

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 ให้ความหมายคำว่า “การบ่อนทำลาย” (subversion) คือ การกระทำใด ๆ ที่มุ่งก่อให้เกิดความแตกแยก ความปั่นป่วน ความกระด้างกระเดื่อง อันจะนำไปสู่ความไม่สงบ หรือความอ่อนแอภายในชาติ หรือต่อสภาพทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา หรือทางใดทางหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือล้มล้างสถาบันการปกครองของประเทศ หรือเพื่อทำลายความจงรักภักดีของประชาชนในชาติต่อสถาบันของชาติ หรือเพื่อประโยชน์แก่รัฐต่างประเทศ  การบ่อนทำลายนับเป็นกลวิธีที่สามารถนำมาใช้กับเป้าหมายพื้นฐานทุกกลุ่มของประเทศได้  โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อทำลายความเป็นรัฐ หรือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือทำลายสถาบันแห่งชาติ เดิมการบ่อนทำลายเป็นยุทธวิธีที่ต้องดำเนินการอย่างปิดบังในพื้นที่ควบคุมของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย การบ่อนทำลายจึงเป็นการดำเนินการที่จะมีเพียงผู้ให้การสนับสนุนกับผู้ปฏิบัติที่ได้ทราบถึงภารกิจ  เพราะเป็นภารกิจที่เสี่ยงภัยอันตรายจนอาจถึงชีวิตของผู้ปฏิบัติ ซึ่งต้องจำกัดการรับทราบได้เท่าที่จำเป็น  เนื่องจากการแฝงเข้าไปค้นหาจุดอ่อนของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย ทั้งที่ฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมายอาจมีความเข้มแข็งเท่าเทียมกันหรือสูงกว่า ต่อเมื่อการเข้าไปสร้างความอ่อนแอ แตกแยกจนประสบผลแล้ว จึงจะดำเนินการทำลายอำนาจของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมายให้สูญสลาย  วิธีการบ่อนทำลายนี้อาจไม่ทำลายหรือส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้าง หรือทำให้สูญเสียชีวิต เช่น วิธีการต่อสู้อื่นเหมือนอย่างการก่อวินาศกรรม หรือการก่อการร้าย หรือการทำสงครามสู้รบ การบ่อนทำลายเป็นวิธีที่ยากต่อการป้องกันหรือแม้แต่การวางมาตรการป้องปราม เพราะเป็นการสร้างหรือนำอคติของมนุษย์ที่มีต่อกันมาเป็นแนวทางในการทำลายหรือทำร้ายระหว่างกัน  ซึ่งเป็นกลวิธีที่ใช้มานับแต่สมัยพุทธกาล จะเห็นได้จากคำสอนเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ซึ่งเล่าถึงกลวิธีเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม  เริ่มจากความต้องการขยายดินแดนและนำไปสู่การสู้รบระหว่างแคว้นโบราณ 2 แคว้นในอินเดีย คือ แคว้นมคธกับแคว้นวัชชี ที่ต่างไม่ประสบผลแพ้-ชนะต่อกัน  ฝ่ายแคว้นมคธจึงใช้วิธีบ่อนทำลายแคว้นวัชชี ด้วยการทำอุบายส่งวัสสการพราหมณ์ ปุโรหิตแห่งแคว้นมคธ เข้าไปยุยงให้กลุ่มกษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี แตกความสามัคคีจนแคว้นวัชชีอ่อนแอลง  แคว้นมคธจึงส่งกองทัพเข้ายึดครองได้สำเร็จ การทำการบ่อนทำลายจำเป็นต้องอาสัยสภาพพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำเนินการ  เริ่มจากสภาพทางการเมืองภายในประเทศ…