หวั่นนองเลือด! ตำรวจวอชิงตันเตือนแฟนคลับทรัมป์ ‘ห้ามพกปืน’ เข้าร่วมชุมนุมใหญ่ค้านผลเลือกตั้ง 6 ม.ค.

Loading

  เจ้าหน้าที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เตือนผู้สนับสนุนของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อย่าพกปืนมาร่วมชุมนุมคัดค้านผลเลือกตั้งในวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สภาคองเกรสจะมีกำหนดรับรองผลมติคณะผู้เลือกตั้งให้ โจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ขณะเดียวกันก็มีการเรียกระดมกองกำลังเนชันแนลการ์ดหลายร้อยนายเพื่อควบคุมสถานการณ์ “เราได้รับข้อมูลมาว่า มีคนบางกลุ่มเตรียมที่จะนำอาวุธปืนเข้ามาในเมือง ซึ่งเป็นการกระทำที่รับไม่ได้” โรเบิร์ต คอนที ผู้บัญชาการตำรวจวอชิงตัน ระบุในงานแถลงข่าวที่ศาลาว่าการเมือง พร้อมเตือนว่าผู้ใดก็ตามที่ทำเช่นนั้นหรือพยายามปลุกปั่นความรุนแรงจะถูกจับทันที ด้านกองกำลังเนชันแนลการ์ดของ ดี.ซี. แถลงวานนี้ (4 ม.ค.) ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ราว 300 นายเข้ามาช่วยควบคุมฝูงชน และสนับสนุนภารกิจของของหน่วยดับเพลิงและกู้ชีพ ร่วมกับตำรวจวอชิงตัน, ตำรวจอุทยานแห่งชาติ (US Park Police) และหน่วยซีเคร็ตเซอร์วิส กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งมีกฎหมายควบคุมอาวุธปืนเข้มงวดที่สุดในสหรัฐอเมริกา และห้ามมิให้ประชาชนพกปืนอย่างเปิดเผย หรือครอบครองอาวุธปืนโดยไม่มีใบอนุญาตของท้องถิ่น ผู้สนับสนุนทรัมป์หลายพันคน รวมถึงกลุ่มชาตินิยมขวาจัดที่เคยพกปืนไปประท้วงในที่อื่นๆ มาแล้ว คาดว่าจะมารวมตัวกันที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ (5) ยาวไปจนถึงวันพุธที่ 6 ม.ค. เพื่อคัดค้านการรับรองผลเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 3 พ.ย.…

2020 ปีแห่งการทำข้อมูลหลุด

Loading

  ปี 2020 ถือเป็น “ปีแห่งการทำข้อมูลหลุด” บริษัทยักษ์ใหญ่ในไทยอย่าง AIS, true, Eatigo, Wongnai, Lazada หรือในต่างประเทศอย่าง Microsoft, Zoom, Capcom, Razer, Nintendo ฯลฯ ต่างก็ตกเป็นข่าวเรื่องการทำข้อมูลหลุด เดือนมกราคม Microsoft ทำข้อมูลการซัพพอร์ตลูกค้า (Customer Service and Support – CSS) ระหว่างปี 2005-2019 จำนวนกว่า 250 ล้านรายการ หลุดออกมาโดยไม่ตั้งใจ เดือนมีนาคม บริษัทเดินเรือระดับโลก Princess Cruises และ Holland America ออกมาประกาศยอมรับว่ามีข้อมูลส่วนตัวของ พนักงาน ผู้เข้าพัก ลูกเรือ รั่วไหลจากการโดนแฮก เดือนเมษายน ผู้ให้บริการประชุมออนไลน์ อย่าง Zoom โดนโจรมือดี แฮกบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านกว่า 5 แสนชื่อ มาวางขายในขายในตลาดมืด…

แบงก์ หวั่นข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว หลังกฎหมายใหม่บังคับใช้

Loading

  วงการแบงก์หวั่น ข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้ารั่วไหล หลัง “กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล” จะเริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย.64 หลังเลื่อนมา 1 ปี แต่ไม่มีความชัดเจน ทั้งมาตรฐานรวบรวมข้อมูลและแนวปฎิบัติ เหตุรอกฤษฎีกาตีความบอร์ดทั้งชุด “วินาศภัย” เบรกขยายตลาดเสนอขายประกันหรือบริการแบบอื่น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act (PDPA) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 มิถุนายน 2564 หลังเลื่อนมาจากวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังมีความไม่ชัดเจนในหลายเรื่อง เช่น มาตรฐานจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แนวปฎิบัติ ส่วนหนึ่งเพราะยังต้องรอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความรายชื่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(บอร์ด) จากปัจจุบันที่มีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี)เป็นประธานกรรมการชั่วคราว เมื่อบอร์ดยังไม่ชัดเจน จึงเกรงว่า จะสร้างปัญหาในทางปฎิบัติ ถ้าไม่มีรายละเอียดหรือแนวทางปฎิบัติ มาตรฐานการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งถ้าไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องขอความยินยอม (Consent)จากเจ้าของข้อมูล และยังเกรงว่า เมื่อออกแนวปฎิบัติมาแล้วจะเป็นปัญหาว่า ไม่สามารถปฎิบัติ “ข้อมูลที่ต้องรวบรวมจัดเก็บนั้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ไม่ต้องขอ Consent เพราะได้รับยกเว้น…