การครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานรัฐ กับ ระเบียบและกฎหมายข้อมูลข่าวสารกับสิ่งที่เป็นความลับของราชการ

Loading

               จากหลายกรณีการเผยแพร่สำเนาเอกสารราชการที่กำหนดชั้นความลับ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารหรือพฤติการณ์ส่วนบุคคล เช่น กรณีนายเนติวิทย์ ภัทร์ไพศาลดำรง เปิดเผยผ่านสื่อออนไลน์ เมื่อ 21 มิถุนายน 2561 เกี่ยวกับสำเนาหนังสือตอบจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับประวัติของนายเนติวิทย์ฯ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการพิจารณาของกรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิ สมาคม ตามสั่งการของที่ประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม ครั้งที่ 2/2561 ที่ให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาลร่วมกับประชาคมข่าวกรอง รวบรวมพฤติกรรม ความเคลื่อนไหวของนายเนติวิทย์ฯ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากสมาคมแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสมาคม ประเภทเยาวชน สาระสำคัญของสำเนาหนังสือนั้นเป็นรายงานตามสั่งการของที่ประชุมข้างต้น พร้อมกับแจ้งการตรวจสอบว่า พฤติการณ์ของนายเนติวิทย์ฯ ไม่เหมาะสมหรือขัดต่อคุณสมบัติที่ดีที่จะเป็นกรรมการสมาคมฯ ข้อมูลของนายเนติวิทย์ฯ ดังกล่าวจัดประเภทเป็นข้อมูลส่วนบุคคลในครอบครองของหน่วยงานรัฐ ที่ทำเพื่อการใช้งานราชการ ฉะนั้น วิธีดำเนินการต่อข้อมูลเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกับระเบียบราชการว่าด้วยสิ่งที่เป็นความลับของราชการ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 รวมถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เมื่อมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ เป็นต้น ด้วยเหตุที่เคยเกิดขึ้นจึงสมควรนำมาพิจารณาเกี่ยวกับการรองรับหรือสอดคล้องต่อกันระหว่างกฏหมาย ระเบียบกับวิธีปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ          …

สหรัฐฯ เดินหน้าสอบสวนผู้บุกรุกอาคารรัฐสภา

Loading

  เมื่อวันพฤหัสบดี หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ ประกาศเริ่มสืบสวนเหตุการณ์บุกอาคารรัฐสภาของกลุ่มผู้สนับสนุนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันพุธ โดยมีเจ้าหน้าที่สืบสวนหลายร้อยคนเข้าร่วมระบุอัตลักษณ์และจับกุมผู้กระทำผิด ไมเคิล เชอร์วิน รักษาการอัยการสหรัฐฯ ประจำกรุงวอชิงตัน ระบุว่า มีบุคคล 15 คนถูกจับกุมตามหมายศาลรัฐบาลกลาง เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจลาจล และมีบุกคนอีก 40 คนถูกจับตามหมายศาลของศาลสูงกรุงวอชิงตัน โดยส่วนใหญ่ถูกจับเนื่องจากเดินทางเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดตามกฎหมายรัฐบาลกลางที่ถูกใช้ดำเนินคดีทั้งนี้ มีข้อหาลักทรัพย์สินของรัฐบาล และข้อหาละเมิดกฎหมายปืน ชายคนหนึ่งถูกจับกุมบริเวณใกล้อาคารรัฐสภาด้วยข้อหาพกพาอาวุธจู่โจมกึ่งอัตโนมัติและระเบิดขวด 11 ขวดที่เชอร์วินระบุว่า “พร้อมใช้งาน”       เหตุการณ์จลาจลครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตห้าคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคน เชอร์วินกล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งอาจกินเวลาอีกหลายเดือน เนื่องจากตำรวจประจำอาคารรัฐสภาปล่อยให้ผู้บุกรุกหลายร้อยคนออกจากอาคารไปได้ เขายังระบุด้วยว่า เจ้าหน้าที่สืบสวนหลายร้อยคนกำลังรวบรวมข้อมูลจากกล้องวงจรปิดและคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อระบุอัตลักษณ์ของผู้กระทำผิด โดยจะเร่งสืบสวนและดำเนินคดีโดยเร็วที่สุด เจฟฟรีย์ โรเซน รักษาการรัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่า กระทรวงยุติธรรมรับรองว่าผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการ “โจมตีรัฐบาลและหลักนิติธรรม” จะต้องพบกับผลที่ตามมาอย่างเต็มรูปแบบภายใต้กฎหมาย “อัยการฝ่ายคดีอาญาของเราทำงานตลอดทั้งคืนกับเจ้าหน้าที่พิเศษและเจ้าหน้าที่สืบสวนจากตำรวจประจำอาคารรัฐสภา สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ สำนักงานแอลกอฮอล์ ยาสูบ อาวุธปืน และอาวุธระเบิด สำนักงานตำรวจเมือง รวมถึงกับภาคสาธารณะ…

แคสเปอร์สกี้เผยสถิติปี 2020 พบไฟล์อันตรายเกิดใหม่เฉลี่ยวันละ 360,000 ไฟล์ เพิ่มขึ้น 5.2% จากปีก่อน

Loading

ในปี 2020 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบไฟล์อันตรายเกิดใหม่เฉลี่ยแล้ววันละ 360,000 ไฟล์ คิดเป็นเพิ่มขึ้น 5.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุน่าจะมาจากการเติบโตขึ้นอย่างมากของโทรจัน (ไฟล์ตัวร้ายที่ก่ออันตรายได้มากมายหลายอย่าง รวมทั้งลบหรือแอบจารกรรมข้อมูลด้วย) และแบ็คดอร์ (โทรจันประเภทหนึ่งที่ผู้ก่อการร้ายสามารถเข้ามายึดควบคุมเครื่องของเหยื่อ) คิดเป็นอัตราเพิ่ม 40.5% และ 23% ตามลำดับ และนี่คือเทรนด์ที่พบในรายงาน Kaspersky Security Bulletin: Statistics of the Year Report     ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์อันตรายเฉลี่ยแล้ว 360,000 ไฟล์ใหม่ทุกวันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมากกว่าปีก่อนหน้านี้ 18,000 ไฟล์ (เพิ่มขึ้น 5.2%) และเพิ่มจากปี 2018 คือ 346,000 ไฟล์ ในบรรดาไฟล์อันตรายเหล่านี้ 60.2% เป็นโทรจันทั่วไปไม่เจาะจงประเภท และพบว่ามีโทรจันเพิ่มขึ้น 40.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และยังพบแบ็คดอร์เพิ่มขึ้นด้วย รวมทั้งเวิร์ม (โปรแกรมอันตรายที่ทำซ้ำตัวเองบนระบบ) ถูกเขียนด้วยภาษา VisualBasicScript…