จีนสั่งบล็อกแอป “คลับเฮาส์” หลังเริ่มมีผู้ใช้ถกประเด็นอ่อนไหว

Loading

  ทางการจีนประกาศสั่งห้ามการใช้งานแอปพลิเคชั่น “คลับเฮาส์” ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ผู้ใช้งานไอโฟน หลังมีการนำประเด็นอ่อนไหวอย่างมาก เช่น กรณีการรวมชาติกับไต้หวัน และชะตากรรมอันยากลำบากของชนชาวมุสลิมในมณฑลซินเจียง ขึ้นมาถกเถียงในแพลตฟอร์มนี้อย่างกว้างขวาง หลังจากปล่อยให้ผู้ใช้งานในจีนมีโอกาสใช้งาน แอป “คลับเฮาส์” มาได้สักพัก รายงานข่าวที่ออกมาในวันจันทร์ระบุว่า มีผู้ใช้งานหลายรายเริ่มมีปัญหาการเข้าแอปนี้ ที่นำเสนอเฉพาะเสียงและจะใช้ได้ต่อเมื่อได้รับเชิญเข้ากลุ่มเท่านั้น โดยมีการตั้งข้อสงสัยว่า ทางการจีนน่าจะเริ่มปฏิบัติการบล็อกการใช้งานผ่านระบบที่เรียกกันว่าเป็น Great Firewall แล้ว สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า แอป “คลับเฮาส์” กลายมาหัวข้อสนทนาร้อนแรงในสังคมออนไลน์ของจีน และมีบางรายพยายามที่จะเสนอขายคำเชิญเข้าใช้งานผ่านตลาดออนไลน์อาลีบาบาแล้วด้วย โดยมีผู้ขายบางคนสามารถทำราคาได้ถึง 44.60 ดอลลาร์เลยทีเดียว แต่ถึงแม้จะมีการสั่งห้ามการใช้งานแอปดังกล่าวจริง ผู้ใช้งานในจีนยังคงหาทางหลบเลี่ยงเพื่อใช้ได้ต่อไปผ่าน Virtual Private Network (VPN) หรือเครือข่ายเสมือนส่วนบุคคล ที่เป็นทางออกสำหรับแอปต่างๆ ที่ทางการจีนปิดกั้นไว้   ————————————————————————————————————————————————- ที่มา : VOA Thai   / วันที่เผยแพร่ 9 ก.พ.64 Link : https://www.voathai.com/a/china-clubhouse-application-social-media-block-vpn/5770291.html

สุดพิเรนทร์! แฮกเกอร์ป่วน ‘โรงประปา’ ฟลอริดา ป้อนคำสั่งเติม ‘โซดาไฟ’ เพิ่ม 100 เท่า!!

Loading

  ทางการสหรัฐฯ เผยมีกลุ่มแฮกเกอร์โจมตีระบบจ่ายน้ำประปาของเมืองแห่งหนึ่งในรัฐฟลอริดา โดยป้อนคำสั่งเพิ่มปริมาณ “โซดาไฟ” เกินกว่าปกติถึง 100 เท่า แต่โชคดีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบความผิดปกติได้ทัน และไม่มีประชาชนได้รับอันตราย อย่างไรก็ตาม บ็อบ กูอัลทิเอรี ผู้ปกครองเทศมณฑลพิเนลลัส ชี้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของสหรัฐฯ ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของโรงกรองน้ำเมืองโอลด์สมาร์ (Oldsmar) ตรวจพบเมื่อบ่ายวันศุกร์ที่แล้ว (5) ว่า มีใครบางคนกำลังเข้าถึงซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของโรงงานจากระยะไกล โดยบุคคลปริศนาได้เลื่อนเมาส์ไปยังปุ่มฟังก์ชันต่างๆ อยู่นานหลายนาที ก่อนจะสั่งเพิ่มปริมาณ “โซเดียมไฮดรอกไซด์” หรือโซดาไฟลงในน้ำ โดยปกติแล้วสารชนิดนี้จะถูกเติมในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อควบคุมค่าความเป็นกรดและแยกโลหะออกจากน้ำ ก่อนที่น้ำจะถูกจ่ายไปยังผู้บริโภค แฮกเกอร์รายนี้ได้สั่งเพิ่มปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์จากอัตราส่วน 100 ต่อ 1,000,000 เป็น 11,100 ต่อ 1,000,000 หรือเกินค่าปกติถึง 100 เท่าตัว ก่อนที่จะออกจากระบบไป “มันเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นจนเข้าข่ายอันตราย แต่โชคดีที่เราสามารถตรวจพบในทันที” กูอัลทิเอรี เผยกับสื่อมวลชน พร้อมยืนยันว่าไม่มีผู้ใช้น้ำได้รับอันตรายจากเหตุการณ์นี้ เนื่องจากต้องใช้เวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมงกว่าน้ำประปาที่ถูกเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์เกินขนาดจะถูกจ่ายไปถึงผู้บริโภคในเมือง ซึ่งระหว่างนั้นระบบความปลอดภัยของโรงกรองน้ำก็จะแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ให้ทราบถึงคุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) และหน่วยซีเคร็ตเซอร์วิสได้รับการประสานให้เข้ามาช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ยังไม่สามารถระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้ พนักงานสอบสวนยังไม่ฟันธงว่าปฏิบัติการโจมตีครั้งนี้เป็นฝีมือของบุคคลที่อยู่ภายในหรือนอกสหรัฐอเมริกา และเหตุใดโรงกรองน้ำโอลด์สมาร์จึงตกเป็นเป้าหมาย…

นักวิจัยเผย QUIC อาจรักษาความเป็นส่วนตัวได้ไม่ดีเท่า HTTPS

Loading

  ทีมนักวิจัยจากประเทศจีนได้ออกมาเผยถึงเทคนิคในการทำ Website Fingerprint บน QUIC ซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถรับรู้ถึงพฤติกรรมการเชื่อมต่อเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ของผู้ใช้งานได้แม้ไม่ต้องมีการถอดรหัส และยังมีความแม่นยำสูงกว่าเมื่อเทียบกับการใช้เทคนิคเดียวกันโจมตีทราฟฟิกแบบ HTTPS Pengwei Zhan, Liming Wang แห่ง Chinese Academy of Sciences และ Yi Tang แห่ง Guangzhou University คือนักวิจัยที่ได้ร่วมกันนำเสนอผลงานในเปเปอร์ Website Fingerprinting of Eary QUIC Traffic ถึงผลการทำ Website Fingerprinting บน QUIC ในครั้งนี้ การทำ Website Fingerprinting คือการพยายามดักฟังข้อมูลระหว่าง Client กับ Web Server โดยในงานวิจัยครั้งนี้ไม่ได้มีความพยายามในการถอดรหัสข้อมูลแต่อย่างใด แต่ทำการวิเคราะห์ Pattern จากทราฟฟิกที่เข้ารหัสเอาไว้อยู่แล้วว่าทราฟฟิกนั้นๆ น่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลอะไร โดยอาศัยข้อมูลอย่างเช่น Packet Size, Packet…

สุดแสบ! เด็กอินเดีย 11 ขวบปลอมเป็น ‘แฮกเกอร์’ ส่งอีเมลขู่ฆ่าพ่อ-ไถเงิน 41 ล้าน

Loading

  ชายชาวอินเดียเข้าแจ้งความต่อตำรวจว่าถูกกลุ่มแฮกเกอร์เจาะข้อมูลส่วนตัว และขู่จะเอาชีวิตทั้งครอบครัว แต่สุดท้ายกลายเป็นเรื่องโอละพ่อ เมื่อตำรวจไปพบว่าตัวการก็คือ “ลูกชาย” ของเหยื่อที่มีวัยเพียงแค่ 11 ขวบ สื่อในอินเดียได้เผยแพร่เรื่องราวของ ราจีฟ กุมาร จากเมืองคอเซียบัด (Ghaziabad) โดยเขาไปแจ้งตำรวจว่าถูกกลุ่มแฮกเกอร์ปริศนาขู่จะทำร้ายครอบครัว กุมาร เล่าว่า อีเมลส่วนตัวของเขาถูกแฮกเมื่อวันที่ 1 ม.ค. หลังจากนั้นก็ได้รับข้อความข่มขู่มาโดยตลอด โดยอาชญากรไซเบอร์ขู่ว่าจะปล่อย “ภาพลับ” ของกุมารลงอินเทอร์เน็ต และจะตามสังหารทั้งครอบครัวหากไม่ยอมจ่ายเงิน 100 ล้านรูปี หรือประมาณ 41 ล้านบาท ตอนแรกเขาก็ทำเป็นไม่สนใจ แต่ต่อมาแฮกเกอร์ถึงขั้นเข้าไปเปลี่ยนพาสเวิร์ดอีเมล และเบอร์โทรศัพท์มือถือของเขา และคนในครอบครัวก็พลอยถูกคุกคามไปด้วย ซึ่งทำให้ ราจีฟ กุมาร เริ่มจะเชื่อว่าเขากำลังถูกอาชญากรสะกดรอยดูความเคลื่อนไหวตลอดเวลา และด้วยความกลัวเขาจึงตัดสินใจแจ้งตำรวจ อย่างไรก็ตาม ตัวตนของแฮกเกอร์จอมโหดรายนี้ถูกเปิดเผย เมื่อตำรวจพบว่าอีเมลคนร้ายถูกส่งมาจาก IP Address เดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ ซึ่งก็หมายความว่าอีเมลเหล่านี้ถูกส่งโดยคนในบ้านของเขาเอง ตำรวจได้เรียกบุตรชายวัย 11 ขวบของกุมาร ไปสอบปากคำ ซึ่งเด็กชายที่เรียนอยู่ชั้น ป.5 ก็รับสารภาพว่าเป็นคนส่งอีเมลขู่พ่อ โดยเรียนรู้เทคนิคของพวกแฮกเกอร์จากคลิปใน YouTube…