จีนเพิ่มมาตรการคุมเข้ม “บล็อกเกอร์” ต้องมีหนังสือรับรองรัฐบาล

Loading

จีนเพิ่มมาตรการคุมเข้ม “บล็อกเกอร์” ต้องมีหนังสือรับรองจากรัฐบาล ก่อนเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต     17 ก.พ. 2564 สำนักข่าวเอพีรายงานว่า หน่วยเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีน ประกาศข้อกำหนดให้บล็อกเกอร์และอินฟลูเอนเซอร์ต้องมีหนังสือรับรอง ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีนก่อนจะเผยแพร่คอนเทนต์ต่าง ๆ โดยจะเริ่มบังคับใช้สัปดาห์หน้า แม้ว่าจีนจะกำหนดให้มีการขออนุญาตก่อนเผยแพร่เนื้อหาบางประเภทบนอินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 2560 เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและการทหาร แต่กฎใหม่ที่ออกมาล่าสุดนี้ขยายไปถึงเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ การศึกษา และการพิจารณาคดีด้วย “ติตัส เฉิน” ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายโซเชียลมีเดียจีน จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติซุนยัตเซ็น ประเทศไต้หวัน กล่าวว่า หน่วยเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ตของจีนต้องการควบคุมขั้นตอนทั้งหมดของการผลิตข้อมูลเพื่อเผยแพร่ ซึ่งสอดคล้องกับอำนาจอธิปไตยดิจิทัลที่ “สี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีจีน ทำให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อบังคับพื้นการสนทนาให้แคบลง “หม่า เชี่ยวหลิน” นักวิจัยด้านวิเทศสัมพันธ์ และคอลัมนิสต์ชาวจีน ที่มีผู้ติดตามกว่า 2 ล้านคนแพลตฟอร์มไมโครบล็อกอย่าง Weibo กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ Weibo ได้ขอให้เขาลบโพสต์ที่เกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐกิจทิ้ง “ดูเหมือนว่าตอนนี้ผมจะโพสต์เกี่ยวกับความบันเทิง อาหาร และเครื่องดื่มเท่านั้น” ในขณะที่ “หวัง…

‘กัมพูชา’ เปิด ‘อินเทอร์เน็ตเกตเวย์’ สกัดภัยมั่นคง

Loading

กัมพูชา ประกาศใช้กฎหมาย “อินเทอร์เน็ตเกตเวย์” คุมการเชื่อมต่อทั้งในและนอกประเทศ อ้างสกัดภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ   สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ลงนามกฤษฎีกาย่อยเพื่อจัดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ (NIG) ด้วยเป้าหมายอำนวยความสะดวกและจัดการจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการระบบฯ ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลกัมพูชา ระบุว่า กฤษฎีกาย่อยดังกล่าวซึ่งถูกลงนามเมื่อวันอังคาร (16 ก.พ.) และเผยแพร่ในวันพุธ (17 ก.พ.) จะจัดตั้งระบบบริการจุดเดียวที่จะนำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากต่างประเทศทั้งหมดผ่านจุดให้บริการจุดเดียว “การจัดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติมีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและจัดการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพิ่มการเก็บรายได้ของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ และรักษาความเป็นระเบียบทางสังคม” กฤษฏีกาย่อยข้างต้นเสริมว่า ผู้ให้บริการระบบฯ ซึ่งร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะดำเนินการปิดกั้นและตัดการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั้งหมดที่สร้างผลกระทบต่อรายได้ ความมั่นคง ระเบียบทางสังคม ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม ประเพณี และขนบธรรมเนียมของประเทศ ด้านโฆษกรัฐบาลกัมพูชาเผยกับเอเอฟพีว่า ระบบอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติมีขึ้นเพื่อป้องกันอาชญากรรมออนไลน์และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ “เจ้าหน้าที่จะจัดการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ต้องการก่อกบฏต่อรัฐบาล” นายพาย สีพัน โฆษกรัฐบาลระบุ อย่างไรก็ตาม บรรดานักสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมในกัมพูชาต่างแสดงความกังวลเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในอนาคต ระบบอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ของกัมพูชาถูกนำไปเปรียบเทียบกับ “เกรท ไฟร์วอลล์” (Great Firewall) ของจีน ซึ่งรัฐบาลปักกิ่งใช้ในการสอดส่องบรรดาผู้เห็นต่างในอินเทอร์เน็ต และป้องกันไม่ให้พลเมืองเข้าถึงเว็บไซต์สังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เช่น…

จับคลังอาวุธย่อยคอนโดฯบางโฉลง ต่างชาติลอบค้าออนไลน์ ‘บิ๊กปั๊ด’แถลง 18.00 น.

Loading

  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. พร้อม พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. จะแถลงข่าวการจับกุม ผู้ต้องหาชาวต่างชาติ ลักลอบค้าอาวุธสงครามทางออนไลน์ โดยสามารถตรวจยึดของกลางได้เป็นจำนวนมาก ที่ ภายในคอนแห่งหนึ่ หมู่บ้านธนาซิตี้ กม.15 – 16(ขาออก) ชลบุรี / ลงทางด่วนบางพลีสมุทรปราการ โดยก่อนหน้านี้เวลา 16.30 น.ว่า เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 สืบสวนหาข่าวพบข้อมูลว่า มีชายสัญชาติจีนใช้ชื่ออินสตาแกรมว่า “dewaffen” มีพฤติกรรมลักลอบจำหน่ายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้ทำการสืบสวนขยายผลพบข้อมูลว่า อาวุธปืนและเครื่องกระสุนซุกซ่อนอยู่ ภายในห้องพักเลขที่ 99/522 ตึกดี อาคารชุดนูเวล 9 ธนาซิตี้ ถ.บางนา-ตราด กม.14 ต.บางโฉลง อ.บางพลี สมุทรปราการ เมื่อได้พยานหลักฐานพอสมควรแล้ว จึงได้ขออนุมัติหมายค้นจากศาลจังหวัดสมุครปราการ เพื่อทำการตรวจค้นห้องพักดังกล่าว…

In Clip: สหรัฐฯสั่งฟ้อง “3 แฮกเกอร์เกาหลีเหนือ” คดีฉกเงินครั้งมโหฬาร 1.3 พันล้านดอลลาร์ รวมธ.กลางบังกลาเทศปี 2016

Loading

เอเจนซีส์ – กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯแถลงวานนี้(17 ก.พ)ว่า สหรัฐฯตั้งข้อหา 3 นักแฮกเกอร์หน่วยข่าวกรองกองทัพเกาหลีเหนือหลังสามารถขโมยเงินและเงินดิจิทัลคริปโตมูลค่ารวมกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ กระทบวงกว้างตั้งแต่ธนาคารไปจนถึงสตูดิโอภาพยนต์ฮอลลิวูด รวมคดี 81 ล้านดอลลาร์ปี 2016 ของธนาคารกลางบังกลาเทศ     รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้(17 ก.พ)ว่า การยื่นฟ้องต่อศาลระบุว่า จอน ชาง โฮก(Jon Chang Hyok) วัย 31 ปี คิม อิล( Kim Il) วัย 27 ปีและ ปาร์ก จิน โฮก (Park Jin Hyok) วัย 36 ปี ปล้นเงินผ่านระบบดิจิทัลระหว่างพวกเขาทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองกองทัพเกาหลีเหนือ ทั้งนี้พบว่าปาร์กก่อนหน้าเคยถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีในคำฟ้องที่ไม่เปิดเผยในปี 2018 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯแถลงว่า กลุ่มแฮกเกอร์เกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลังคดีปล้นทางดิจิทัลที่เกิดเป็นวงกว้างและมีมูลค่าความเสียหายสูง ร่วมไปถึงการตอบโต้บริษัทภาพยนต์โซนี่พิคเจอร์สเอ็นเตอร์เทนเมนต์สำหรับการผลิตภาพยนต์ “เดอะ อินเทอร์วิว” (The Interview) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการลอบสังหารประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ…

จำคุกนักเคลื่อนไหวสิงคโปร์ จัดม็อบเล็กๆ ประท้วงรัฐบาล

Loading

ศาลสิงคโปร์ตัดสินจำคุกโจโลแวน แวม หลังจัดม็อบบนขบวนรถไฟใต้ดิน   เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมาศาลสิงคโปร์จำคุกโจโลแวน แวม วัย 40 ปี หลังรับสารภาพว่าจัดประท้วงเล็กๆ บนรถไฟใต้ดินเมื่อเดือนมิถุนายน 2017 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่กลุ่มคน 22 คนที่ถูกจับกุมในปี 1987 ภายใต้กฎหมายโทษร้ายแรงซึ่งอนุญาตให้กักขังได้โดยไม่ต้องพิจารณาคดี นอกจากนี้ประท้วงโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วแวมยังถูกตั้งข้อหาทำลายทัพย์สินเนื่องจากการติดประกาศบนหน้าต่างรถไฟ และข้อหาปฏิเสธลงนามในแถลงการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการประท้วง แวมรับสารภาพผิดทั้ง 3 ข้อหา ซึ่งเขาจะถูกปรับเป็นเงิน 8,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 180,000 บาท หรือรับโทษจำคุก 32 วัน โดยแวมเลือกที่จะจ่ายค่าปรับส่วนหนึ่งและรับโทษจำคุก 22 วัน ทั้งนี้ ผู้พิพากษาระบุว่าแวมเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำ เนื่องจากในปี 2016 เขาเคยถูกตัดสินโทษจำคุก 10 วันหลังจัดกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งมีโจชัว หว่อง นักเคลื่อนไหวชื่อดังร่วมสนทนาผ่านทางสไกป์ด้วย —————————————————————————————————————————————————- ที่มา : โพสต์ทูเดย์   / วันที่เผยแพร่ 17 ก.พ.64…

มาตรการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ e-Meeting 7 กระบวนการ ภายใต้ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Loading

คธอ. เปิดข้อกำหนดใช้ e-Meeting อย่างไรให้มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ รองรับ Work from Home ในช่วง COVID-19 ระลอกใหม่ ประธาน คธอ. เปิดมาตรการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ e-Meeting 7 กระบวนการ ภายใต้ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เตือนหน่วยงานรัฐหากมีการประชุมลับต้องมี มาตรการควบคุมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้เข้าประชุม และต้องใช้ระบบควบคุมการประชุมที่ติดตั้งและให้บริการในประเทศเท่านั้น ชวนตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองทางทุกช่องทางของ ETDA     ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลให้หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ต่างมีมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work from home ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) พร้อมปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมที่เป็นขั้นตอนทำงานสำคัญ เป็นการประชุมออนไลน์ หรือ e-Meeting ซึ่งได้รับความนิยมและมีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อดูแลให้การประชุมออนไลน์มีความมั่นคงปลอดภัยและลดความเสี่ยงของภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การประชุมออนไลน์จึงควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรฐานขั้นต่ำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม…