ชาวมะกันเชื้อสายเอเชียแจ้งเหตุจากความเกลียดชังเกือบ 3,800 ครั้งช่วงโควิด

Loading

  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า องค์กรยุติความเกลียดชังต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก (AAPI) ได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 2563 จนถึง 28 ก.พ. 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางองค์กรได้รับแจ้งเหตุที่เกิดจากความเกลียดชังเกือบ 3,800 ครั้ง รายงานระบุว่า ทาง AAPI ได้รับการแจ้งเหตุเหยียดเชื้อชาติที่มุ่งเป้าที่ชาวเอเชียรวม 3,795 ครั้ง ตั้งแต่การคุกคามด้วยวาจา แสดงความรังเกียจ ทำร้ายร่างกาย การคุกคามทางออนไลน์ ตลอดจนการละเมิดสิทธิพลเมือง เหตุการณ์ที่ได้รับแจ้งมากที่สุดได้แก่ การคุกคามด้วยวาจา (68.1%) การแสดงความรังเกียจ (20.5%) และการทำร้ายร่างกาย (11.1%) ตามลำดับ จำนวนผู้แจ้งเหตุเป็นผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย 2.3 เท่า เป็นชาวจีน 42.2% ตามด้วยชาวเกาหลี 14.8% และชาวเวียดนาม 8.5% รายงานระบุว่าเหตุการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นในสถานที่ทางธุรกิจ (35.4%) บนท้องถนน (25.3%) และสวนสาธารณะ (9.8%) ตามลำดับ และมีจำนวนเหตุการณ์ทางออนไลน์คิดเป็น 10.8% จากเหตุการณ์ทั้งหมด…

เมื่ออินเดียไม่ง้อบิ๊กเทค

Loading

  ในฐานะประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทุกย่างก้าวของอินเดียย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงวงการเทคด้วย หลังจากปะทะกับจีนจนกลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ส่งผลให้เกิดการแอนตี้สินค้าจีนรวมทั้งการแบนแอปยอดนิยมอย่าง TikTok ที่มีผู้ใช้บริการในอินเดียกว่า 200 ล้านคนมาแล้วเมื่อกลางปีก่อน ล่าสุดอินเดียก็หันมาลงดาบกับบิ๊กเทคระดับโลก อย่าง Twitter Facebook YouTube WhatsApp ตลอดจนโซเชียลมีเดียต่างประเทศอื่น ๆ ด้วยการออกกฎเหล็กให้เจ้าของแพลตฟอร์มต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นใหม่ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ประสานงานกับภาครัฐ (ที่ต้องสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง) นอกจากนี้ ยังกำหนดให้บริษัทต้องเผยแพร่รายงานประจำเดือนด้านการปฏิบัติการกฎหมาย รวมทั้งแจกแจงรายละเอียดว่าแต่ละเดือนได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมดกี่เคส และดำเนินการแก้ไขอย่างไรบ้าง โดยให้เวลา 3 เดือนในการเตรียมตัว ชนวนที่ทำให้รัฐบาลของนายนเรนทรา โมดี ตัดสินใจรัวออกมาตรการคุมเข้มโซเชียลมีเดียจากต่างประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดจากความไม่พอใจที่ทวิตเตอร์แข็งขืนไม่ยอมแบนผู้ใช้งานบางบัญชีโดยเฉพาะบัญชีของสื่อมวลชน นักกิจกรรม และนักการเมือง ที่รัฐมองว่าอยู่เบื้องหลังการปั่นแฮชแท็กโจมตีร่างกฎหมายเกษตรฉบับใหม่ และสุมไฟให้การชุมนุมของเกษตรกรหลายแสนคนที่รวมตัวกันประท้วงร่างกฎหมายดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็น “เท็จ” และปราศจาก “หลักฐาน” แล้ว กฎต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีเป้าหมายที่จะเข้ามาควบคุม “ศีลธรรม” อันดีของสังคมด้วยการสั่งห้ามแพลตฟอร์มเผยแพร่ภาพโป๊เปลือยทุกชนิด ตลอดจนภาพที่ส่อให้ไปในเรื่องเพศและภาพล้อเลียนบุคคลต่าง…

ญี่ปุ่นสั่งตรวจสอบ Line หลังสื่อชี้ยอมให้วิศวกรจีนเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งาน

Loading

  รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า จะดำเนินการสอบสวนแอปพลิเคชันไลน์ (Line) ของซี โฮลดิ้งส์ คอร์ปซึ่งอยู่ในเครือของซอฟต์แบงก์ คอร์ปของญี่ปุ่น หลังจากสื่อญี่ปุ่นรายงานว่า Line ได้ปล่อยให้วิศวกรชาวจีนที่เซี่ยงไฮ้เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานชาวญี่ปุ่นโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ใช้ทราบ สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคและสื่อญี่ปุ่นรายอื่นๆ รายงานก่อนหน้านี้ว่า ภายใต้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของญี่ปุ่นนั้น บริษัทต่างๆ ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเมื่อข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ถูกส่งไปยังต่างประเทศ “ตอนนี้เรายังบอกไม่ได้ว่า Line ละเมิดกฎระเบียบหรือไม่ และเราจะทำการสอบสวนเพื่อหาความจริง” เจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้รับผิดชอบกฎหมายความเป็นส่วนตัวกล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ พร้อมเสริมว่า ถ้าหากพบว่า Line กระทำผิดจริง ทางสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นสามารถสั่งให้ทางบริษัทดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ด้านโฆษกของ Line ระบุว่า “ไม่มีเหตุการณ์ใดที่เป็นการละเมิดกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ เราจะยังคงปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบในทุกประเทศ รวมถึงในญี่ปุ่นด้วย” แถลงการณ์ทางเว็บไซต์ของ Line ในเวลาต่อมามีใจความว่า ทางบริษัทขออภัยที่ทำให้เกิดความกังวล และไม่ได้อธิบายอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลของบริษัท และระบุเพิ่มเติมว่า ยังไม่มีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานอย่างไม่เหมาะสมเกิดขึ้นแต่อย่างใด   ———————————————————————————————————————————————————– ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์   / วันที่เผยแพร่  17 มี.ค.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/71886

‘ชวน’แจงสัญญาณไฟไหม้ มีมือดีกดทำวุ่น แต่หาตัวไม่ได้เหตุไร้กล้องซีซีทีวี

Loading

  เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 จากกรณี เมื่อเวลา 19.25 น.ระหว่างที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กำลังประท้วงการทำหน้าที่ของประธาน ในที่ประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ .. พ.ศ. …. วาระสาม ปรากฏว่า ได้เกิดเสียงสัญญาณเตือนไฟไหม้ดังไปทั่วอาคารรัฐสภา ทั้งห้องสื่อมวลชน รวมถึงในห้องประชุมรัฐสภา จนเกิดความแตกตื่น โดย ส.ส.หลายคนต่างลุกขึ้นยืนอย่างตื่นตระหนกนั้น     ล่าสุด เมื่อเวลา 20.10 น.หลังจากพักการประชุม นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้แจ้งต่อที่ประชุม ว่า ได้รับรายงานกรณีเสียงสัญญาณเตือนภัยไฟไหม้ที่เกิดขึ้น เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แจ้งมาว่า ระบบรักษาความปลอดภัยจากจอควบคุมสัญญาณเตือนภัย ปรากฏจุดที่เกิดสัญญาณเตือนไฟไหม้ที่ฝั่งอาคารวุฒิสภา บริเวณชั้น 3 ส่วนกลางฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปรากฎเป็นระบบแมนนวล หมายความว่า “มีคนกดปุ่มเตือนภัย” แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังไม่มีการติดตั้งกล้องซีซีทีวี จึงยังไม่สามารถหาตัวบุคคลดังกล่าวได้   ———————————————————————————————————————————————————- ที่มา…