อินโดฯจับกุมเครือข่ายก่อการร้ายเจไอชุดใหญ่

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย แถลงผลการจับกุม สมาชิก 22 คนของกลุ่มก่อการร้ายเจไอ (ญะมาอะห์ อิสลามียะห์) แนวร่วมกลุ่มอัล-กออิดะห์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จังหวัดชวาตะวันออก สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ว่า ผู้ต้องสงสัยสมาชิกกลุ่มเจไอ 22 คน ถูกควบคุมตัวจากเมืองสุราบายา เมืองเอกของจังหวัดชวาตะวันออก มายังกรุงจาการ์ตา เมื่อวันพฤหัสบดี (18 มี.ค.) เพื่อสอบปากคำเพิ่มเติม และคุมขังไว้ที่ศูนย์ควบคุมตัวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายรุสดี ฮาร์โตโน่ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย เผยว่า ผู้ต้องสงสัย 12 คน ถูกตำรวจคอมมานโดหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย จับกุมได้ในหลายเมืองของจังหวัดชวาตะวันออก เมื่อปลายเดือนที่แล้ว อีก 10 คนถูกจับกุมช่วงต้นเดือนนี้ โดยปฏิบัติการจับกุม ตำรวจยังยึดอาวุธได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งหนังสือปลูกฝังลัทธิหัวรุนแรง     นายฮาร์โตโน่ เผยอีกว่า หนึ่งในผู้ต้องสงสัยชุดนี้คือ นายอุสมาน บิน เซฟ นามฉายา “ฟาฮิม” หนึ่งในหัวหน้าใหญ่ของเครือข่าย…

ดีอีเอส เร่งเครื่อง 3 งานหลัก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ

Loading

  กระทรวงดิจิทัลฯ เร่งเครื่อง 3 งานหลักเตรียมรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เต็มรูปแบบกลางปีนี้ ครอบคลุม การจัดทำกฎหมายลำดับรอง จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และวางกรอบแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มุ่งคุ้มครองเจ้าของข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ แนะประชาชนควรรู้ “สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งตามกฎหมายนี้กำหนดไว้ 8 เรื่อง นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) อยู่ระหว่างเร่งสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เต็มรูปแบบ ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยกำลังจัดทำ 3 เรื่อง ได้แก่ กฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมมูลฯ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ทั้งนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลฯ ได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ 8 เรื่อง คือ…

FBI เผยปี 2020 มีความเสียหายจากคดีทางไซเบอร์กว่า 4,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Loading

  FBI ได้ออกมาเปิดเผยรายงานของตนเกี่ยวกับคดีทางไซเบอร์ในปี 2020 ปรากฏว่ามูลค่าความเสียหายสูงถึง 4,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าปี 2019 ถึง 700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ   สถิติที่น่าสนใจคือ ปี 2020 FBI ได้รับการร้องเรียนถึง 467,000 คดี ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปี 2019 เกือบเท่าตัว (467,361 กรณี) ทีมงาน FBI ได้ช่วยผู้เสียหายได้เงินคืนจากธนาคารสำเร็จกว่า 82% และสามารถให้ธนาคารล็อกเงินต้องสงสัยได้กว่า 380 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คดีความทั้งหมดแจกแจงได้ดังนี้ 1.) 240,000 คดีความเป็นประเภท Phishing, Vishing และ Smishing 2.) 108,000 เป็นกรณีของการหลอกซื้อ/หลอกขายสินค้า 3.) ข่มขู่จำนวน 76,000 คดี 4. ข้อมูลรั่วไหล 45,000 คดี 5.) ขโมยตัวตน 43,000 คดี…

บัตรประชาชนปลอม​ สวมสิทธิเป็นคนไทย​ยังไม่สูญพันธ์​ จนท.กลับได้บำเหน็จความชอบตำแหน่งสูงขึ้น​ บางรายติดคุกก็มี

Loading

  เชียงราย-แหล่งผลิตบัตรปชช.ปลอม สวมสิทธิเป็นคนไทย ทำให้เงินเข้ากระเป๋า จนท.มาหลายยุค ปัจจุบันคนสวมสิทธิขยายเข้าไปอยู่ตอนในของประเทศ ทำธุรกิจอย่างเป็นล่ำเป็นสัน วันที่ 18 มีค 2564 จากรายงานข่าวกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ได้ติดตามข้อมูลของกรมการปกครอง เรื่องการสวมสิทธิคนสัญชาติไทย ในพื้นที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย จำนวน 255 รายชื่อ พบหลายรายชื่อ มีพฤติการณ์สวมสิทธิเป็นคนไทย เช่น นายอาเปา แซ่เซิน หนึ่งในผู้สวมสิทธิ การสืบสวนมีหลักฐานเชื่อได้ว่า สวมสิทธิสัญชาติไทยแล้ว ซึ่งขณะนี้ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีคำสั่งให้รับเป็นคดีพิเศษที่ 54/2564 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีความมั่นคงได้รวบรวมพยานหลักฐาน จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า นายอาเปา แซ่เซิน เป็นคนต่างด้าวสัญชาติจีน มีชื่อว่า นาย เหวิน ห้าว เหมี่ยว (Mr.Wen Haomiao) ตามหลักฐานหนังสือเดินทางสาธารณรัฐประชาชนจีน หมายเลข G23810848 จนท.ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับ นายเหวิน ห้าว เหมี่ยว หรือ นายอาเปา แซ่เซิน เมื่อวันที่…