10 ปีหลังการตายของบิน ลาเดน ‘อัลกออิดะห์’ ยังอยู่ดีหรือไฉน?

Loading

  หลังจากครบรอบ 10 ปีหลังการตายของบิน ลาเดน ผู้นำอัลกออิดะห์ จากปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในเมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน วันนี้อัลกออิดะห์เป็นอย่างไรบ้าง? 2 พ.ค.2554 เป็นวันครบรอบ 10 ปีการตายของโอซามา บิน ลาเดน (Osama bin Laden) ผู้นำอัลกออิดะห์ จากปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในเมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน สถานภาพของอัลกออิดะห์เสื่อมทรามลงอย่างมาก แต่ยังไม่พ่ายแพ้ รายงานประมาณการข่าวกรองบางฉบับชี้ว่ากลุ่มก่อการร้ายนี้ยังคงมีนักรบในสังกัดประมาณ 40,000 คนทั่วโลก การถอนทหารสหรัฐออกจากอัฟกานิสถานอาจช่วยฟื้นชีวิตอัลกออิดะห์ เช่นเดียวกับที่สหรัฐถอนตัวออกจากอิรักในปี 2554 นำไปสู่การปรากฏขึ้นของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ปัจจุบันอัลกออิดะห์ยังคงเป็นภัยคุกคามและอาจกระจายตัวหลังการถอนทหารสหรัฐ ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐต่อเป้าหมายเจาะจงอย่างโจ่งแจ้งเมื่อ 2 พ.ค.2554 ที่เมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน เพื่อสังหารบุคคลซึ่งรับผิดชอบการโจมตี 9/11 ก่อให้เกิดความรู้สึกมองโลกในแง่ดีอย่างมาก ในห้วงเวลาขณะนั้น การลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลซึ่งเรียกว่า “Arab Spring” ได้แพร่ขยายไปทั่วแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยเป็นสัญญาณความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยสงครามและความรุนแรง แต่การประกาศแผนการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานภายใน 11 ก.ย.2564 ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีผลตอบรับในแง่ดีเพียงเล็กน้อย ประธานาธิบดีไบเดนประกาศว่า “เหตุผลที่เราคงอยู่ในอัฟกานิสถานเริ่มไม่ชัดเจน…

ศบค.มท. ย้ำผู้ว่าฯ ดึงประชาชนช่วยจนท. เฝ้าระวังชายแดน สกัดลักลอบเข้าเมือง

Loading

  ศบค.มท. เน้นย้ำผู้ว่าฯ ดึงภาคประชาชนร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่บริเวณพื้นที่ชายแดน เฝ้าระวัง ตรวจสอบผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศบค.มท. ได้แจ้งให้ผู้ว่าฯ ในฐานะผอ.รักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ผอ.รมน.จังหวัด) บูรณาการการปฏิบัติร่วมกับหน่วยทหารในพื้นที่ กองกำลังป้องกันชายแดน ตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของผู้ลักลอบเข้าเมืองจากประเทศเพื่อนบ้านบริเวณพื้นที่ชายแดน โดยเข้มงวดตรวจตรามิให้มีผู้ลักลอบเข้าเมือง และเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศโดยผิดกฎหมายตามเส้นทางหรือช่องทางธรรมชาติ รวมทั้งลาดตระเวนบริเวณพื้นที่ต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อให้การควบคุมและป้องกันผู้ลักลอบเข้าเมืองที่ไม่ผ่านการตรวจและคัดกรองโรคตามมาตรการทางสาธารณสุข ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด และผู้ว่าฯ กทม.ได้เน้นย้ำให้สร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนและอาสาสมัครด้านต่างๆ ในพื้นที่ที่มีศักยภาพและความพร้อมสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสนับสนุนการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารในการลาดตระเวน ตรวจตรา เฝ้าระวัง การลักลอบเข้าเมือง ผ่านช่องทางธรรมชาติตลอดแนวชายแดน 24 ชั่วโมง ด้วยการร่วมปฏิบัติงานตามความพร้อมและความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่…

หน่วยความมั่นคงไซเบอร์เยอรมนีเตือนโรงพยาบาลอาจเป็นเหยื่อแฮกเกอร์รายต่อไป

Loading

    นายอาร์น เชินโบห์ม ผู้อำนวยการสำนักงานสหพันธรัฐเพื่อความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (BSI) ของเยอรมนีประกาศเตือนว่า โรงพยาบาลในเยอรมนีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะตกเป็นเป้าหมายการโจมตีโดยกลุ่มแฮกเกอร์ หลังจากในเดือน พ.ค. มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นมากมาย เช่น การโจมตีระบบสาธารณสุขของไอร์แลนด์และท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของสหรัฐ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คลินิกในเยอรมนีถูกโจมตีทางไซเบอร์อยู่บ่อยครั้ง นายเชินโบห์มเปิดเผยกับสำนักข่าวไซต์ ออนไลน์ของเยอรมนีว่า โรงพยาบาลอาจมีความเสี่ยงถูกโจมตีในระดับที่สูงกว่า นอกจากนี้ นายเชินโบห์มยังระบุว่า ธุรกิจต่างๆ ในเยอรมนีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะถูกโจมตีโดยแฮกเกอร์ เนื่องจากมีการให้พนักงานทำงานจากบ้านในช่วงที่เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด และได้กล่าวเสริมว่า ก่อนหน้านี้บริษัทต่างๆ มีความจำเป็นที่จะต้องอนุญาตให้พนักงานทำงานจากบ้านได้โดยเร็ว จึงอาจทำให้ระบบไอทีของหลายบริษัทมีจุดอ่อนให้โจมตีได้   —————————————————————————————————————————————————————— ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์     / วันที่เผยแพร่   23  พ.ค.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/89865