รวบแล้ว1อส.ฉกอาก้า รับนำไปขายตามคืนได้6กระบอก

Loading

  จับแล้ว 1 อส. ขโมยปืนอาก้า 102 จากคลังปืน อส.เมืองนราธิวาส รับสารภาพนำไปขาย ตามคืนได้แล้ว 6 กระบอก เร่งค้นหาอีก 22 กระบอก จากกรณีปืนอาก้า  AK102 ของ กองร้อย อส.ที่ 2 อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส 28 กระบอก สูญหายไปไร้วี่แวว ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 27 พ.ค. พล.ต.ต.นรินทร์ บูสะมัญ ผบก.ภ.จว.นราธิวาส เปิดเผยว่า สำหรับคดีที่ต้องดำเนินการมี 28 กระบอก ส่วนอำเภออื่นๆ ทางเจ้าหน้าที่ตอบคำถามไปแล้วว่า ปืนหายจากอำเภออื่นๆ  มีการดำเนินคดีไปหมดแล้ว โดยเป็นคดีลักษณะ อส.ถูกยิงแล้วคนร้ายขโมยอาวุธปืนไป ซึ่งปืน  28 กระบอก ทางเจ้าหน้าที่ได้เอาคืนมาได้แล้ว 6 กระบอก เหลืออีก 22 กระบอก ซึ่งกำลังดำเนินการติดตาม สำหรับประเด็นการสอบสวนตอนนี้เราทราบแล้วว่า ใครต้องมาให้การบ้าง และต้องตอบคำถามว่าอาวุธปืนหายไปไหน…

‘ไทย’ บนรอยขัดแย้ง ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’

Loading

  วิกฤติความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” ดูห่างไกลประเทศไทย แต่เหตุการณ์ยิงจรวดโจมตีตอบโต้ของกลุ่มฮามาสไปยังนิคมเกษตรโมชาฟ ได้ปลิดชีพแรงงานไทยในอิสราเอล อาจเป็นจุดเปลี่ยนท่าทีไทยต่อปมขัดแย้งเรื่องนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ยืดเยื้อยาวนาน และเกิดปะทุเป็นระยะๆ รวมถึงเหตุการณ์เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เกิดการโจมตีตอบโต้ครั้งล่าสุด ต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน ก่อนสามารถทำข้อตกลงหยุดยิง แล้วเรื่องนี้จะดำเนินต่อไปอย่างไร ท่ามกลางความห่วงกังวลทั่วโลก เพราะหลายประเทศเริ่มรับผลกระทบ รวมทั้งแรงงานไทยในอิสราเอล ต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจรวดโจมตีของกลุ่มฮามาส ทางคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ ร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (ISIS Thailand) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ “ฬ.จุฬาฯนิติมิติ” รอบพิเศษ เรื่อง “ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ : ความสัมพันธ์และกฎหมายระหว่างประเทศ กับมุมมองของไทย” เพื่อร่วมสะท้อนมุมมองในเชิงความสัมพันธ์ กฎหมายระหว่างประเทศ และทิศทางลดความขัดแย้งนี้     “ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์” อาจารย์ประจำวิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าเรียงลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล – กลุ่มผู้ติดอาวุธในปาเลสไตน์ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นจากปมปัญหาใหญ่ๆ 3 เหตุการณ์ เริ่มจากเหตุการณ์แรก เมื่อกลางเดือน เม.ย.…

หน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่นพบข้อมูลรั่วไหล หลังมีการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต

Loading

  ศูนย์ความพร้อมรับมือและยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติของญี่ปุ่น (NISC) และกระทรวงอีก 2 แห่งของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า พบการเข้าถึงเครื่องมือที่ใช้ในการแชร์ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้ข้อมูลรั่วไหล โดยเครื่องมือดังกล่าวพัฒนาโดยบริษัทฟูจิตสึ ซึ่งได้ทำสัญญาเป็นผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงคมนาคมซึ่งได้รับผลกระทบในครั้งนี้ระบุว่า ข้อมูลที่รั่วไหลเป็นอีเมลอย่างน้อย 76,000 รายการของเจ้าหน้าที่รัฐบาลและหน่วยงานภายนอก เช่น สมาชิกคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และเอกสารการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างรัฐบาลดิจิทัล NISC ระบุว่า ชื่ออุปกรณ์และกำหนดการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบนั้น ได้รั่วไหลไปสู่บุคคลภายนอก อย่างไรก็ดี หน่วยงานรัฐบาลทั้งสามแห่งระบุว่า ระบบภายในขององค์กรยังคงทำงานได้ตามปกติ ทางด้านนายคัตสึโนบุ คาโตะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นในฐานะโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงต่อสื่อมวลชนว่า รัฐบาลจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ และกล่าวว่า “คาดว่าจะมีการโจมตีระบบโครงข่ายเกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก”   ——————————————————————————————————————————————————— ที่มา :  สำนักข่าวอินโฟเควสท์       / วันที่เผยแพร่  27 พ.ค. 64 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/91007

อินฟลูเอนเซอร์ฝรั่งเศสเผยถูกชักชวนแชร์ข่าวปลอมเรื่องวัคซีนไฟเซอร์ แลกเงินก้อนโต

Loading

  สำนักข่าวเอพี รายงานว่า เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ หรือ คนดังที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในฝรั่งเศส เปิดเผยว่า บริษัทโฆษณาลึกลับได้เสนอเงินก้อนหนึ่งแลกกับการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกัคนดังที่มีอิทธิพลPfizerบข้อเสียของวัคซีนโควิด-19 จากบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ลีโอ กราสเซ็ต ยูทูบเบอร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน เปิดเผยในวันอังคารว่า ตนได้รับข้อเสนอเป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อให้เผยแพร่ข้อมูลว่า วัคซีนของไฟเซอร์สร้างความเสี่ยงถึงชีวิตแต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลและสื่อกระแสหลักต่างพยายามปิดข่าวนี้ แต่ตนได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ขณะที่อินฟลูเอนเซอร์ชาวฝรั่งเศสอีกหลายคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ต่างเผยว่าได้รับข้อเสนอในลักษณะเดียวกัน กราสเซ็ต กล่าวว่า ผู้ที่ติดต่อตนมานั้นใช้ชื่อว่า แอนตัน (Anton) ซึ่งขอให้ตนจัดทำวิดีโอความยาว 45 – 60 วินาทีเพื่อโพสต์ทางอินสตาแกรม ยูทูบ และติกต็อก โดยให้บอกว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ฉีดวัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์ สูงกว่าวัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ถึงสามเท่า พร้อมให้กล่าวหาว่าเป็นความผิดของสหภาพยุโรปที่สั่งซื้อวัคซีนของไฟเซอร์จำนวนมาก ทั้งที่เป็นวัคซีนที่ผูกขาดและเป็นอันตราย แอนตันยังบอกด้วยว่าตนทำงานให้กับบริษัทโฆษณาชื่อ Fazze ซึ่งมีงบประมาณจำนวนมากสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 รวมทั้งวัคซีนของบริษัทต่าง ๆ ที่ผ่านการรับรองให้ใช้ในยุโรป แต่กราสเซ็ต บอกว่าตนได้ตอบปฏิเสธไปทางอีเมล์พร้อมทั้งได้แสดงหลักฐานเป็นอีเมล์ตอบโต้กับแอนตันให้ทางสำนักข่าวเอพีดูด้วย อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวเอพีระบุว่า เว็บไซต์ของบริษัท Fazze…