วุฒิสภาสหรัฐฯ ชี้ปัญหาด้านความปลอดภัย-งานข่าวกรอง มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุจลาจลบุกอาคารรัฐสภา 6 ม.ค.

Loading

  คณะกรรมาธิการวุฒิสภา 2 ชุดร่วมกันออกรายงานที่แสดงให้เห็นถึง “ความล้มเหลวด้านงานรักษาความปลอดภัยและงานข่าวกรองจำนวนหนึ่ง” ที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและระหว่างการก่อการจลาจลบุกอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา รายงานร่วมดังกล่าวที่ได้รับการเปิดเผยออกมาในวันอังคารตามเวลาในสหรัฐฯ ระบุว่า “วันที่ 6 มกราคม ปี ค.ศ. 2021 นั้นไม่เพียงแต่เป็นวันที่จะถูกจดจำว่าเป็นวันเกิดเหตุโจมตีระบอบประชาธิปไตย แต่ยังชี้ให้เห็นว่า องค์กรที่รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัยและการปกป้องอาคารรัฐสภาและทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้น ไม่ได้มีการเตรียมตัวรับมือกับการโจมตีขนานใหญ่ แม้จะมีความตระหนักดีเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุรุนแรงที่พุ่งเป้ามายังอาคารรัฐสภาแล้วก็ตาม” คณะกรรมาธิการด้านกฎและด้านความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของวุฒิสภาร่วมกันทำการสอบสวนเหตุจลาจลตั้งแต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเชิญผู้รับผิดชอบดูแลหน่วยงานตำรวจประจำรัฐสภาและหน่วยงานรักษากฎหมายอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทั้งอดีตและปัจจุบันของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เข้าให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และยังตรวจสอบเอกสารหลายพันชุด ประกอบเอกสารคำให้การของเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภาอีก 50 นายด้วย รายงานดังกล่าวสรุปว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น่าสลดในวันที่ 6 มกราคมนั้น คือ ความล้มเหลวของงานด้านข่าวกรอง ที่ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ ประเมินและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุรุนแรงและภัยคุกคามต่อรัฐสภารวมทั้งสมาชิกทั้งหลายที่อยู่ในอาคารในวันดังกล่าวให้กับหน่วยงานรักษากฎหมาย     คณะกรรมาธิการทั้งสองยังชี้ด้วยว่า ความล้มเหลวที่กล่าวมานั้นรวมความถึง การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) หรือกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ทำการประเมินภัยคุกคามใดๆ แม้จะมีเสียงเรียกร้องผ่านช่องทางออนไลน์ให้มีการก่อเหตุความรุนแรงที่อาคารรัฐสภามาสักระยะแล้ว รวมทั้งหน่วยงานด้านข่าวกรองของทีมตำรวจประจำรัฐสภาไม่ยอมแบ่งปันข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับภัยคุกคามรุนแรงให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เลย นอกจากประเด็นความล้มเหลวแล้ว คณะกรรมาธิการทั้งสองยังตำหนิทีมงานรักษาความปลอดภัยของอาคารรัฐสภาที่ไม่ยอมร้องขอความช่วยเหลือจากกองกำลังสำรองของรัฐ ล่วงหน้าก่อนวันที่ 6…

ความท้าทายที่มา ‘จนท.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’

Loading

  ทำความรู้จัก “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (DPO) กลไกสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลายๆ ประเทศ   “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หรือ DPO (Data Protection Officer) เป็นกลไกสำคัญในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบ เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพยุโรปและประเทศไทย ก่อนการบังคับใช้ GDPR มีการคาดการณ์ว่าจะทำให้มีความต้องการตำแหน่ง DPO เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายไม่น้อยกว่า 75,000 อัตรา (IAPP 2016)   ในขณะที่ข้อมูลการศึกษาของ IAPP-EY Annual Governance Report of 2019 ระบุว่ามีองค์กรไม่น้อยกว่า 5 แสนองค์กรได้ดำเนินการจดทะเบียน DPO กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป (Data Protection Authorities, DPAs) ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่คาดไว้มาก   IAPP-EY Report 2019 ยังแสดงข้อมูลให้เห็นด้วยว่า จากจำนวนบริษัทที่ทำการสำรวจ 375 องค์กร พบว่าร้อยละ…

Cyber Attack – คลื่นใต้น้ำแห่งยุคดิจิทัลที่ต้องจับตามอง

Loading

  ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา มีเหตุโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดใหญ่แทบทุกสัปดาห์ก็ว่าได้ โดยสองเหตุการณ์ที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการโจมตีระบบท่อส่งน้ำมันของบริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ในสหรัฐโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ดาร์กไซด์ (DarkSide) และเหตุโจมตีเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท JBS SA ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของโลกจากบราซิล ซึ่งการโจมตีทั้งสองครั้งแฮกเกอร์ได้ปล่อยแรนซัมแวร์หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าโจมตีระบบของบริษัทจนสร้างความปั่นป่วนไม่น้อย   In Focus สัปดาห์นี้ ขอพาผู้อ่านแกะรอยข่าวการเรียกค่าไถ่ด้วยแรนซัมแวร์ที่ครองพื้นที่สื่อทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   ย้อนรอยเหตุจับข้อมูลเป็นตัวประกัน เรียกค่าไถ่โคโลเนียล ไปป์ไลน์-JBS SA   เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักรายงานว่า บริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐได้ถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ส่งผลให้ต้องปิดเครือข่ายการส่งน้ำมันไปยังหลายรัฐทางภาคตะวันออกของสหรัฐ ซึ่งการโจมตีดังกล่าวได้สร้างความวิตกทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ทำการขนส่งนั้นมีปริมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 45% ของปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และเชื้อเพลิงอากาศยานในฝั่งตะวันออกของสหรัฐ โดยไม่กี่วันหลังเหตุโจมตีดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และในวันที่ 11 พ.ค. โคโลเนียล ไปป์ไลน์เปิดเผยว่า ท่อส่งน้ำมันของบริษัทได้เริ่มกลับมาดำเนินการได้บางส่วนแล้ว   ด้านผู้เชี่ยวชาญซึ่งร่วมสอบสวนกรณีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นฝีมือของกลุ่มอาชญากรที่มีชื่อว่า ดาร์กไซด์…

เมื่อ Bitcoin เก็บความลับไม่อยู่ มันจึงสั่นสะเทือน

Loading

  ราคาของ Bitcoin ร่วงลงอีกครั้งในวันอังคารท่ามกลางการเทขายอย่างรุนแรงท่ามกลางการทะเขายคริปโตอย่างหนักด้วยเหตุผลต่างๆ นานา สื่อต่างประเทศบางแห่งชี้ว่าการเทขาย Bitcoin อาจเกี่ยวข้องกับความกังวลเรื่องความปลอดภัยของสกุลเงินดิจิทัล หลังจากที่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐสามารถกู้คืนค่าไถ่ส่วนใหญ่ที่จ่ายให้กับแฮกเกอร์ในรูปของ Bitcoin ซึ่งเป็นแฮกเกอร์ที่ทำการเจาะระบบเข้าโจมตีบริษัทท่อส่ง Colonial Pipeline จนสั่นสะเทือนอุตสาหกรรมพลังงานของสหรัฐ   อันที่จริงแล้วมันก้ำกึ่งระหวาง “เรื่องความปลอดภัย” และ “ความมั่นคง” และทั้งสองคำนี้ในภาษาอังกฤษใช้คำเดียวกันคือ Security ในแง่ของผู้ใช้ Bitcoin ข้อดีข้อหนึ่งของมันคือมีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูล แต่ในแง่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง Bitcoin มีส่วนทำให้เกิดปัญหาด้วยความมั่นคงได้ถ้ามันถูกใช้โดยอาชญากรอย่างกรณีของแฮกเกอร์กลุ่มดังกล่าว   สำนักข่าว AFP รายงานว่าที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลได้วิพากษ์วิจารณ์การเติบโตของคริปโตหลายครั้งหลายหน เช่น Bitcoin เนื่องจากความนิยมในหมู่อาชญากร อย่างไรก็ตาม ธุรกรรมที่โปร่งใสของเทคโนโลยี Bitcoin ก็สามารถนำมาใช้จัดการผู้ฝ่าฝืนกฎหมายได้เหมือนกัน   แฮกเกอร์อาชญากรไซเบอร์ที่เรียกตัวเองว่า Darkside และเป็นกลุ่มที่เรียกค่าดึงค่าไถ่ 4.4 ล้านดอลลาร์ในรูปของ Bitcoin จากบริษัทน้ำมัน Colonial Pipeline ได้รับบทเรียนจากความเป็นดาบสองคมของ Bitcoin   หลังจากการกรรโชกทรัพย์บริษัทใหญ่โดยอาศัยแรนซัมแวร์ทำให้ปิดเครือข่ายเชื้อเพลิงหลักในภาคตะวันออกของสหรัฐเมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวว่าได้เรียกคืนเงินจำนวน 2.3 ล้านดอลลาร์จากการติดตามธุรกรรมทางการเงินแล้ว…

‘สหรัฐ’ สั่งสอบข้อมูลนักธุรกิจดังรั่ว พบเลี่ยงจ่ายภาษีตาม ก.ม.

Loading

  “สหรัฐ” สั่งตรวจสอบข้อมูลภาษีนักธุรกิจชื่อดังหลายคนรั่วไหลสู่สาธารณะ พร้อมเอาผิดทางกฎหมาย หลังสื่อออนไลน์แฉ มีการเลี่ยงจ่ายภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐกำลังตรวจสอบว่าข้อมูลภาษีของบรรดานักธุรกิจชื่อดังที่ร่ำรวย อาทิ เจฟฟ์ เบซอส, อีลอน มัสก์ และ วอร์เรน บัฟเฟตต์นั้น รั่วไหลออกสู่สาธารณะได้อย่างไร นางลิลี่ อดัมส์ โฆษกกระทรวงการคลังสหรัฐ ระบุว่า “การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของรัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย” เธอกล่าวเสริมว่า “เรากำลังส่งเรื่องนี้ไปยังสำนักงานตรวจการทั่วไป, ผู้ตรวจการคลังทั่วไปสำหรับการจัดเก็บภาษี (TIGTA), สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ (FBI) และสำนักงานอัยการสหรัฐประจำเขตโคลัมเบีย ซึ่งทั้งหมดนี้มีอำนาจอิสระในการตรวจสอบ”   ———————————————————————————————————————————————————— ที่มา :  กรุงเทพธุรกิจ          / วันที่เผยแพร่  9 มิ.ย.2564 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/942598

FBIนำทีมแทรกซึมแก๊งอาชญากรรมทั่วโลก หลอกให้ใช้แอปโทรศัพท์ที่จนท.แฮ็กได้ นำไปสู่ปฏิบัติการบุกรวบวายร้ายเฉียดพันใน18ปท.

Loading

    เอฟบีไอหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของออสเตรเลีย ยุโรป นิวซีแลนด์ และอเมริกา ทยอยออกมาแถลงเมื่อวันอังคาร (8 มิ.ย.) เกี่ยวกับ “ปฏิบัติการเกราะเมืองทรอย” (Operation Trojan Shield) โดยใช้โทรศัพท์ที่เปิดใช้งานในระบบ “เอนอม” (AN0M) ซึ่งทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายใน 18 ประเทศสามารถติดตามดักฟังสมาชิกแก๊งมาเฟีย องค์กรอาชญากรรมในออสเตรเลีย เอเชีย อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง ที่พูดคุยเกี่ยวกับการซื้อขายยาเสพติด การฟอกเงิน และแม้แต่การต่อสู้ระหว่างแก๊ง   เฉพาะที่ออสเตรเลียมีผู้ถูกจับกุมแล้ว 224 คน โดยนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน กล่าวว่า ปฏิบัติการนี้ส่งผลกระทบรุนแรงมากต่อแก๊งอาชญากรไม่เพียงในออสเตรเลีย แต่รวมถึงทั่วโลก   ฌอง-ฟิลิปป์ เลอคูฟฟ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของตำรวจยุโรป (ยูโรโพล) แถลงว่า ปฏิบัติการนี้ทำให้สามารถจับกุมเหล่าอาชญากรได้กว่า 800 คนทั่วโลก บุกค้นสถานที่กว่า 700 แห่ง และยึดโคเคนได้กว่า 8 ตัน   ทั้งนี้ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (อินเตอร์โพล)…