ฮาวานา ซินโดรม

Loading

  รัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังเผชิญแรงกดดันใหม่ ในการไขปริศนาปรากฏการณ์ลึกลับ ที่สร้างปัญหารบกวนรัฐบาลชุดที่แล้ว นั่นคือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงมาก หรือ ไมโครเวฟ หรืออาจจะเป็นคลื่นวิทยุ โจมตีเจ้าหน้าที่การทูต สายลับ หรือทหารสหรัฐ จำนวนครั้งเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างมาก สมาชิกสภาคองเกรส ทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน รวมทั้งกลุ่มผู้ที่เชื่อว่าตนเองตกเป็นเหยื่อ ประสานเสียงเรียกร้องขอคำตอบจากรัฐบาล จนถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐ ยังไม่สามารถตอบได้ว่า เหตุการณ์ต่อเนื่องนี้เป็นการโจมตีหรือไม่ หรือใครอยู่เบื้องหลัง หรือแม้แต่มีคนตั้งข้อสงสัยว่า อาจเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ จากความผิดพลาดของระบบอุปกรณ์สอดแนมหรือไม่ หากผลสรุปการสอบสวน ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐถูกโจมตี หลายฝ่ายเชื่อว่า การแก้แค้นเอาคืนแบบสาสมจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน   Reuters ตอนนี้รัฐบาลสหรัฐ โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสซี) กำลังเร่งสอบสวน ทั้งในทางลับและโดยเปิดเผย ระดมทุกทรัพยากรเข้าช่วย เชื่อว่าอีกไม่นานน่าจะได้คำตอบ ปัญหาที่เกิดขึ้นถูกเรียกขานว่า “ฮาวานา ซินโดรม” เนื่องจากเหตุเกิดเป็นครั้งแรก กับเจ้าหน้าที่ในสถานทูตสหรัฐประจำคิวบา ในกรุงฮาวานา เมื่อปี 2559 และปีนี้ทางการสหรัฐกำลังสอบสวน เหตุเกิดกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล อย่างน้อย 130…

สทป.ประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วม จำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน

Loading

  สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหารด้านความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม (กห.) ที่ต้องปฏิบัติหลายประการ รวมไปถึงภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจด้านการรบ เช่น การส่งกำลังเข้าสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และภารกิจการตอบสนองขณะประเทศประสบสภาวะวิกฤติและขาดสัญญาณการสื่อสาร โดยการจัดทำแผนที่สถานการณ์ร่วมจากข้อมูลภาพถ่ายที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงดำเนินการสถาปนาระบบสื่อสารขึ้นเอง เพื่อสนับสนุนการเข้าช่วยเหลือของทหารในพื้นที่ฉุกเฉิน และการขยายขีดความสามารถของแผนที่สถานการณ์ช่วยสร้างผลกระทบในเชิงบวกกับหน่วยงานด้านความมั่นคง อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจเพื่อเตรียมการรับมือ ตอบสนอง และบรรเทาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้หน่วยงานภายใต้สังกัด กห. ได้นำแผนที่สถานการณ์ร่วมไปประยุกต์ใช้เพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้สถานการณ์ร่วมให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการที่ศูนย์ควบคุม และสั่งการในพื้นที่ห่างไกลได้ออกคำสั่งตามหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงการตัดสินใจต่อการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินให้ทหารที่ปฏิบัติการในพื้นที่รับคำสั่งไปปฏิบัติได้ทันที ในการนี้ สทป. และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย หรือ บก.ทท. (นทพ.) ได้ตกลงร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงในการวิจัยและพัฒนาร่วม เพื่อให้ได้เครื่องมือซึ่งเป็นต้นแบบให้ทหารนำไปใช้ฝึกก่อนการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินขณะเกิดเหตุฉุกเฉินจากภัยพิบัติและสาธารณภัย และเมื่อสิ้นสุดโครงการจะส่งมอบให้หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 หรือ นพค.31 ที่มีขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดน่าน นำเข้าประจำการทดสอบทดลองเพื่อปฏิบัติภารกิจในพื้นที่รับผิดชอบ โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดแผนที่สถานการณ์ร่วมในรูปแบบสามมิติด้วยภาพถ่ายจาก UAV มาถ่ายทอดสัญญาณและแสดงผลการปฏิบัติหน้าที่ของทหารขณะปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากนั้นจึงใช้เทคโนโลยีการสร้างตัวแบบและการจำลองภาพสถานการณ์ฉุกเฉินในระบบศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน…