อินโดนีเซีย ดัดแปลงหุ่นยนต์สำหรับใช้งานในหมู่บ้านมาให้บริการประชาชนในช่วงวิกฤตโควิด-19

Loading

The ‘Delta robot’ was designed by university lecturers and local residents who built it from old household items. (Reuters Photo)   นักวิทยาศาสตร์ในอินโดนีเซียทำการดัดแปลงหุ่นยนต์ที่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาเล่นๆ ให้มาทำหน้าที่ใหม่ เพื่อบริการประชาชนในช่วงที่วิกฤตโคโรนาไวรัสยังคงอยู่ในระดับที่รุนแรงอยู่นี้ หุ่นยนต์ประดิษฐ์พื้นบ้านของอินโดนีเซียตัวนี้ ไม่ได้มีความก้าวล้ำนำสมัย หรือประกอบด้วยวัสดุชั้นยอดเหมือนของญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นใด เพราะหุ่นตัวนี้ถูกประกอบขึ้นจากของใช้ในครัวเรือนธรรมดาๆ เช่น หม้อ กระทะ และเครื่องรับโทรทัศน์เก่าๆ แต่ปัจจุบัน หุ่นยนต์ที่มีต้นกำเนิดเพียงเพื่อความสนุกนี้ กลับมีหน้าที่สำคัญในการนำส่งอาหารไปให้ผู้ป่วยโควิด-19 ในอินโดนีเซีย ที่ต้องยิ้มทุกครั้ง ที่ได้รับบริการจากหุ่นที่เพิ่งได้รับชื่อใหม่ว่า “หุ่นเดลตา” ตามชื่อไวรัสกลายพันธุ์ที่กำลังระบาดหนักไปทั่วโลกในขณะนี้ อาเซยานโต ผู้นำชุมชนที่เป็นหัวเรือในโครงการ “หุ่นเดลตา” นี้ บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ตนตัดสินใจดัดแปลงให้หุ่นกระป๋องธรรมดาๆ กลายมาเป็นผู้รับหน้าที่ให้บริการสาธารณะ เช่น ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ นำส่งอาหาร และช่วยเหลือประชาชนที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัสและต้องแยกออกมากักตัวเฝ้าระวังอาการ หุ่นยนต์ที่ทำงานโดยการบังคับทางไกลด้วยรีโมทคอนโทรลนี้ ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาหลายตัวเพื่อช่วยงานในหมู่บ้าน เทมบ็อก เกเด…

ย้อนดูเหตุการณ์กลุ่มตาลิบันบุกยึดอัฟกานิสถาน

Loading

กลุ่มตาลิบันเริ่มปฏิบัติการบุกยึดเมืองเมื่อราวสามเดือนที่แล้ว ยึดอำเภอเนิร์ค ซึ่งอยู่ติดกับกรุงคาบูลได้เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม และยึดเมืองจาลาลาบัดได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ทำให้เข้าล้อมกรุงคาบูลได้สำเร็จ โดยประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ของอัฟกานิสถาน หลบหนีออกนอกประเทศในวันดังกล่าว   1 2 3 4 5 6 7 (ที่มา: สำนักข่าว Reuters) ———————————————————— Link : https://www.voathai.com/a/taliban-timeline/6006722.html โดย : voathai.com/ 18 สิงหาคม 2564

อินฟอร์’ แนะเคล็ดลับ ก้าวสู่ยุคใหม่ ‘เวิร์คฟรอมโฮม’

Loading

  การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน ต่างต้องพิจารณาทำแผนการทำงานที่บ้าน หรือ “เวิร์คฟรอมโฮม” เพื่อลดความแออัด การเดินทาง และความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลสำรวจโดย “การ์ทเนอร์” เมื่อเร็ว ๆ นี้ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะยังคงอยู่ตลอดไป โดยมีผู้บริหารองค์กรจำนวนสูงถึง 82% วางแผนให้พนักงานทำงานจากระยะไกลในอนาคต ฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์ เปิดมุมมองว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่องค์กรพึงตระหนักถึงในการจัดทำแผนกลยุทธ์ระยะยาว คือ “ต้องใช้กลยุทธ์ที่ครอบคลุมพร้อมประเมินความเป็นไปได้ระยะยาว” ซึ่งองค์กรต้องมองภาพรวมให้รอบคอบก่อนทำการตัดสินใจ ‘ทางเลือก‘ มากับ ’ความเสี่ยง’ เขากล่าวว่า ไม่มีใครทราบเลยว่า การแพร่ระบาดของโควิดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และโลกของการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังจากเหตุการณ์นี้ แต่ที่แน่ๆ รับรู้ได้ถึงผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตนี้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงมากมายที่ได้ประสบในช่วง 12-18 เดือนที่ผ่านมา ทั้งยังพบว่าการทำงานเสมือนจริงไม่ว่าจะเป็นแบบไฮบริดที่ทำงานจากบ้านหรือจากที่ใดก็ตาม หรือเข้าออฟฟิศทุกวันเต็มเวลาจะยังคงอยู่ต่อไปอีกนาน อย่างไรก็ดี ในมุมหนึ่งโควิดให้โอกาสพิสูจน์แนวคิดเรื่องการทำงานจากที่บ้านว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่ จากการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแสดงให้เห็นว่า พนักงานที่ได้รับอนุญาตให้เวิร์คฟอร์มโฮมมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น เทียบได้กับการทำงานเต็มวันในทุกสัปดาห์ ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจเพิ่มเติมจากรายงานฉบับนี้ยังแสดงให้เห็นว่า เวิร์คฟรอมโฮมทำให้การลาออกของพนักงานลดลง 50% และมีการลาป่วยน้อยลงอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่ตอกย้ำข้อเท็จจริงนี้คือการลดพื้นที่สำนักงานได้ช่วยประหยัดเงินค่าเช่าลงได้อย่างมาก ที่ผ่านมา กลยุทธ์และนโยบายการเวิร์คฟอร์มโฮมส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการกับวิกฤติ ซึ่งข้อบ่งชี้ถึงการทำงานระยะยาวแบบนี้เห็นได้ชัดว่า…

‘เอ็นทรัสต์-เอ็มเคกรุ๊ป’ ดึงโซลูชันขั้นสูง อัพเกรดบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด

Loading

‘เอ็นทรัส’ จับมือกับ ‘เอ็มเค กรุ๊ป’ ดึงโซลูชันการออกบัตรขั้นสูง ลงสนามอัพเกรดบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด 50 ล้านใบ สำหรับประชาชนเวียดนาม หวังเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยให้แก่บัตรประจำตัวประชาชน Entrust ผู้ให้บริการชั้นนำด้านข้อมูลการระบุตัวตน การชำระเงิน และการป้องกันข้อมูลขั้นสูง ประกาศว่าบริษัทและ MK Group Joint Stock Company (MK Group) ประเทศเวียดนาม ได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการบัตรประจำตัวประชาชนสมาร์ทการ์ดของเวียดนาม โดย Entrust และ MK Group จะนำเสนอโซลูชั่นเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงพร้อมกับการสนับสนุนภาคสนามร่วมกันในการดำเนินการโครงการนี้ในประเทศเวียดนาม เพื่อให้สามารถออกบัตรประจำตัวสมาร์ทการ์ดได้ 50 ล้านใบแก่พลเมืองโดยเริ่มมาตั้งแต่กุมภาพันธ์ต้นปีนี้     ระบบการออกบัตรและโซลูชั่นซอฟต์แวร์ของ Entrust ร่วมกับ MK Group ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการงานภาคสนามและดูแลการออกบัตรในภูมิภาคต่างๆ ในประเทศ จะช่วยให้ประชาชนเวียดนามชุดแรกกว่า 50 ล้านคนมีบัตรประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ภายใต้การควบคุมดูแลข้อมูลส่วนบุคคลขั้นสูง บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดใหม่นี้จะแทนที่และรวมบัตรประจำตัวประชาชนสามแบบหลังที่ทำการออกให้ประชาชน อันได้แก่ บัตรประชาชนแบบเลขประจำตัว 9 หลัก แบบเลขประจำตัว 12 หลัก…

‘สหรัฐ’ โต้เฟคนิวส์ ‘กรุงเทพฯ’ เป็น ‘แล็บเชื้อโรค’ ใหญ่สุดในโลก

Loading

ผอ.สถาบัน AFRIMS ออกโรงโต้รายงานชี้ “ห้องทดลองเชื้อโรค” ใหญ่ที่สุดในโลก ซ่อนอยู่ในกรุงเทพฯ ท่ามกลางความสงสัย สหรัฐ – ไทย กำลังร่วมมือวิจัยวัคซีนสู้โควิด ตามที่มีการพูดถึงในโซเชียลมีเดียว่า สหรัฐพยายามกล่าวโทษสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาจากห้องปฏิบัติการทดลองในเมืองอู่ฮั่น ขณะที่จีน และองค์การอนามัยโลก (WHO) สงสัยเชื้อโรครั่วไหลจากรัฐแมรี่แลนด์ และชี้ว่า ห้องแล็บเชื้อโรคใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ที่กรุงเทพฯ ‘พันโท แบรนดอน แมคคาร์เตอร์’ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารสหรัฐ ออกแถลงการณ์ว่า กวา่ 60 ปีที่ผ่านมา กองทัพบกสหรัฐอเมริกาและกองทัพบกไทย ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) ในการต่อสู้กับโรคเขตร้อนต่างๆ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการเผยแพร่เอกสารเท็จและบิดเบือนข้อมูลเพื่อทำลายชื่อเสียงของสถาบัน และกล่าวหานักวิทยาศาสตร์ชาวไทยและสหรัฐหลายร้อยคนที่ปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพและอุทิศตนในสถานบันแห่งนี้ ขอชี้แจงว่า สถาบัน AFRIMS เป็นสัญลักษณ์ความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลและมีความสำคัญอย่างยิ่งระหว่างสหรัฐ และไทย ซึ่งการดำเนินงานที่นี้ ได้ช่วยชีวิตหลายร้อยล้านชีวิต ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก การทำงานร่วมกันแบบทวิภาคีในสถาบัน AFRIMS ไม่เพียงแต่ยกระดับเป้าหมายด้านสุขภาพของไทย และสหรัฐ เท่านั้น แต่ยังช่วยผลักดันเป้าหมายดังกล่าวในทั่วโลกด้วยความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ในภูมิภาค สำคัญที่สุดคือ อาคาร สถานที่ตั้ง ห้องปฏิบัติการของเรามีมาตรฐานความปลอดภัยสูง และการวิจัยที่สถาบัน AFRIMS ล้วนมุ่งเน้นการต่อสู้กับโรคประจำถิ่นในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา  ไข้ซิกา ไข้สมองอักเสบเจอี และเชื้อเอชไอวี ส่วนความร่วมมือที่เป็นงานวิจัยร่วมกัน ได้ช่วยให้เราพัฒนาวัคซีนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงการวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งได้รักษาชีวิตของคนหลายล้านคนทั่วโลก และเราจะยังคงดำเนินภารกิจดังกล่าวต่อไป ตัวอย่างเช่นเรากำลังสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มว่า มีความปลอดภัย และมีประสิทธิผลต่อการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ภายในประเทศต่อไป…

เอไอ : คุณจะให้หุ่นยนต์เป็นทนายความแก้ต่างให้คุณหรือไม่

Loading

GETTY IMAGES : เอไอ กำลังถูกนำมาใช้ในแวดวงกฎหมายเพิ่มมากขึ้น   ทนายความคนต่อไปของคุณอาจจะเป็นหุ่นยนต์ก็ได้ คำพูดนี้อาจฟังดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ในความเป็นจริงในปัจจุบันมีการนำระบบซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถอัปเดตและ “คิด” ได้ด้วยตัวเองมาใช้งานเพิ่มมากขึ้นในแวดวงกฎหมาย โจชัว บราวเดอร์ เรียกแอปพลิเคชัน DoNotPay ของเขาว่า “หุ่นยนต์ทนายความตัวแรกของโลก” แอปฯ นี้ช่วยให้ผู้ใช้งานร่างเอกสารด้านกฎหมายได้ เพียงแค่คุณบอกกับแชตบอตไปว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้น เช่น อุทธรณ์ค่าปรับจอดรถ จากนั้นมันก็จะแนะนำว่า ภาษากฎหมายที่เหมาะสมที่สุดที่ควรใช้คืออะไร “คนสามารถพิมพ์ข้อโต้แย้งของตัวเองลงไปโดยใช้คำพูดของตัวเอง แล้วซอฟต์แวร์ตัวนี้ซึ่งมีแบบจำลองการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ก็จะจับคู่คำพูดนั้นกับวิธีการพูดในทางกฎหมายที่ถูกต้อง” เขากล่าว ชายหนุ่มวัย 24 ปี และบริษัทของเขาเองอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ แต่จุดกำเนิดของบริษัทก่อตั้งขึ้นในกรุงลอนดอนช่วงปี 2015 ซึ่งขณะนั้นนายบราวเดอร์มีอายุ 18 ปี JOSHUA BROWDER :โจชัว บราวเดอร์ พัฒนา DoNotPay เพื่อแก้ปัญหาใบสั่งค่าปรับจอดรถของตัวเอง “ในฐานะวัยรุ่นตอนปลายในเมืองเฮนดอนทางเหนือของกรุงลอนดอน ผมขับรถแย่มาก” เขากล่าว “ผมได้ใบสั่งค่าปรับจอดรถแพงมาก ซึ่งผมจ่ายไม่ไหว เพราะผมยังเรียนมัธยมปลายอยู่” หลังจากได้ค้นคว้าและใช้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเสรี นายบราวเดอร์ระบุว่า…