บุกรวบพ่อค้าอาวุธออนไลน์-พบปืนและกระสุนตรงกับ “ม็อบทะลุฟ้า” ใช้ก่อเหตุเมื่อ 7 ส.ค.

Loading

  วันนี้ (24 ส.ค.) ที่ กองปราบปราม พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป. สั่งการ พ.ต.อ.ธงชัย อยู่เกษ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.อ.ปทักข์ ขวัญนา ผกก.4 บก.ป.พ.ต.ต.ทัตพร เลขะวัฒนพงษ์ สว.กก.1 บก.ป. พ.ต.ต.อัคนี ณ บางช้าง สว.กก.4 บก.ป. สนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ่อเกลือ จ.น่าน จับกุม นายวระชาติ พลจันทร์ทึก อายุ 46 ปี ได้ภายในบ้านพัก หมู่ 2 ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน พร้อมของกลางปืนยาว ขนาด .22 มม. ยี่ห้อ CZ จำนวน 1 กระบอก, อาวุธปืนสั้น ขนาด 7.65 มม. ยี่ห้อ…

โต้กลับ! อิสราเอลทิ้งบอมบ์ปาเลสไตน์ หลังฮามาสปล่อยบอลลูนไฟต่อเนื่อง

Loading

  โต้กลับ! อิสราเอลทิ้งบอมบ์ปาเลสไตน์ หลังฮามาสปล่อยบอลลูนไฟต่อเนื่อง สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม กองทัพอิสราเอลระบุว่า ได้ใช้เครื่องบินรบทิ้งระเบิดใส่ฐานที่ตั้งของกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาเพื่อเป็นการตอบโต้บอลลูนไฟที่ปล่อยมาจากฝั่งปาเลสไตน์ที่ทำให้เกิดไฟไหม้บริเวณตอนใต้ของอิสราเอล อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานถึงผู้บาดเจ็บจากการโจมตีทางอากาศ ซึ่งพุ่งเป้าไปที่โรงงานผลิตอาวุธและจุดปล่อยจรวดของกลุ่มฮามาสซึ่งปกครองพื้นที่บริเวณฉนวนกาซา ตั้งแต่ที่อียิปต์เข้ามาเป็นตัวกลางในการยุติสงคราม 11 วันระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่มติดอาวุธฮามาสได้ส่งบอลลูนที่บรรจุวัตถุไวไฟไปยังอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กองทัพอิสราเอลตัดสินใจโจมตีโรงงานของกลุ่มฮามาส ด้านปาเลสไตน์ระบุว่า บอลลูนไฟส่งไปเพื่อกดดันให้อิสราเอลลดข้อจำกัดกับปาเลสไตน์และอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่กาซา ส่วนหน่วยงานกู้ภัยและดับเพลิงของอิสราเอลเปิดเผยว่า บอลลูนเหล่านั้นถูกปล่อยมาในวันที่ 23 สิงหาคม ซึ่งทำให้เกิดไฟไหม้ตลอดตามแนวชายแดนอิสราเอล-กาซา ทั้งนี้ความรุนแรงบริเวณชายแดนได้ปะทุขึ้นอีก แม้จะมีการประกาศของอิสราเอลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้กาตาร์กลับมาช่วยเหลือปาเลสไตน์อีกครั้ง ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกมองว่าเป็นการสนับสนุนการสู้รบที่เปราะบางนี้ ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :  มติชนออนไลน์       / วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_2902152

ย้อนบทเรียน‘ซิมบับเว’กระตุกไทย เลิกหลับใหลระบบจัดการผู้อพยพ

Loading

  แม้ผ่านช่วงร้อนแรงของการสู้รบ แต่ภาพการอพยพของผู้คนในอัฟกานิสถาน กำลังสร้างปรากฎการณ์ที่หลายประเทศต้องจับตา สถานการณ์ระอุหลัง“ตาลีบัน”ยึดอำนาจ“อัฟกานิสถาน”สำเร็จ ภาพที่เกิดขึ้นทันทีคือการ“อพยพ”เอาตัวรอดออกนอกประเทศ ปรากฏการณ์คนจำนวนมากกรูกันไปที่สนามบินหวังขึ้นเครื่องบินไปตายเอาดาบหน้าแบบไม่คิดชีวิต  เพื่อเริ่มต้นบนผืนแผ่นดินใหม่ใครเห็นก็เศร้าใจ ประเทศไทยแม้ห่างไกลสถานการณ์ และคงไม่ใช่หมุดหมายปลายทางของผู้อพยพกลุ่มนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยภาวะสงคราม ความต้องการหนีภัยความมั่นคง และการย้ายถิ่นฐานของประชากร อาจส่งผลให้ประเด็นผู้อพยพ  การลี้ภัยมีความเสี่ยงเผชิญหน้าได้มากขึ้นในอนาคต  และการวางแผนรับมือล่วงหน้าย่อมดีกว่าแน่นอน… ดังเรื่องราวจากภาพยนตร์ดังหลายปีก่อน“ The terminal” ที่มีตัวเอกใช้ชีวิตอยู่ในสนามบินนานแรมปี  ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศที่มาถึงได้  และไม่สามารถเดินทางกลับไปประเทศบ้านเกิดได้เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบ ใครคิดว่าจะเกิดขึ้นจริงมาแล้วที่ประเทศไทย     ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 มีเหตุการณ์ครอบครัวชาวชาวซิมบับเว  8  ชีวิต ประกอบด้วยผู้ใหญ่ 4 ชีวิต  เด็กอีก 4 ชีวิต ติดอยู่ในสนามบินสุวรรณภูมินาน 3 เดือน ก่อนปรากฏเป็นข่าว ซึ่งต่อมาจึงรู้ว่าคนเหล่านี้ใช้ชีวิต กิน นอน อยู่ในเขตอาคารผู้โดยสารชั้นใน  โดยมีสายการบินเป็นผู้ดูแล เพราะไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศปลายทางได้   ตามเหตุการณ์ทั้งครอบครัวเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยว แต่ที่ผ่านมาก็มีสถานะอยู่เกินกำหนด(over stay)ระหว่างนี้เคยมีการประสานขอขึ้นทะเบียนสถานะผู้ลี้ภัยกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แต่ด้วยขั้นตอนที่ต้องใช้ระยะเวลานานนับปี ต่อมาทางครอบครัวจึงขอเดินทางออกจากประเทศไทย  มีการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อย  หลังเดินทางฟ้าออกไปสุดท้ายถูกสายการบินยูเครนส่งตัวกลับมาที่สนามบินสุวรรณภูมิเพราะไม่มีวีซ่ายูเครน ความไม่สงบในประเทศบ้านเกิดทำให้ครอบครัวชาวซิมบับเวไม่ต้องการเดินทางกลับไป  แต่ต้องการขอลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามแทน   การใช้ชีวิตยาวนานนับเดือนอยู่ในสนามบินของครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ไม่ใช่เรื่องเหมาะสมหรือควรเกิดขึ้น …

ดีอีเอส คิกออฟเกณฑ์เก็บ Log File ใหม่ส่องผู้ใช้งานเน็ตฯ

Loading

  ย้ำหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2564 ปรับปรุงเพื่อให้กฎหมายทันสมัย สอดคล้องแนวปฏิบัติสากล มุ่งปกป้องคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมและภัยโซเชียลรูปแบบใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้น นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แถลงข่าวภายหลังจากเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2564 ปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่า ประกาศฯ ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และปี 2560 แต่ประกาศฉบับนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 2550 จึงต้องปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และบริบททางสังคมที่อินเทอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทในแทบทุกกิจกรรมของชีวิตประจำวัน เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ ได้ง่าย ทำให้จำเป็นต้องมีกฎหมายที่ก้าวทันการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น สื่อโซเชียล บริการออนไลน์ หรือการให้บริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ จำเป็นที่ประเทศไทย ต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับเดิมซึ่งใช้มานานถึง 14 ปีแล้ว เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นสากล และสามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและการคุ้มครองประชาชน…