นักวิจัยญี่ปุ่นค้นพบเทคนิคใหม่ ส่งสเปิร์มแห้งของหนูบ้านไปกับซองจดหมายหรือโปสการ์ดได้

Loading

หนูทดลองตัวนี้เกิดจากสเปิร์มแช่แข็งแห้งที่ถูกส่งมาทางไปรษณีย์ธรรมดา   ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยยามานาชิของญี่ปุ่น ค้นพบวิธีใหม่ที่ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย ในการส่งสเปิร์มของหนูทดลองไปยังเมืองอื่นที่ห่างไกล โดยนำสเปิร์มที่ผ่านการแช่แข็งแห้ง (freeze-drying) มาใส่ในซองจดหมาย หรือแปะติดลงบนโปสการ์ดธรรมดา แล้วส่งไปทางไปรษณีย์แบบที่คนทั่วไปคุ้นเคยกันมานาน ก่อนหน้านี้การส่งตัวอย่างของสเปิร์มหนูทดลองระหว่างทีมนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ต่างเมืองหรือต่างประเทศกัน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและมีขั้นตอนเตรียมการที่ยุ่งยาก โดยมักจะนำตัวอย่างสเปิร์มใส่ขวดแก้วบรรจุในถังไนโตรเจนเหลวหรือตู้แช่แข็งเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ต่ำอยู่ตลอดเวลา หากเกิดอุบัติเหตุหรือหายนะภัยที่ไม่คาดคิด เช่นเหตุแผ่นดินไหวทำให้ขวดแก้วบรรจุสเปิร์มแตกหรือไฟฟ้าดับจนทำให้สเปิร์มในตู้แช่แข็งละลาย ก็จะต้องสูญเสียตัวอย่างสเปิร์มอันมีค่าและสิ้นเงินค่าจัดส่งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์อิโตะ ไดยู จึงได้ทดลองนำสเปิร์มของหนูหริ่งบ้าน (Mus musculus) มาผ่านกรรมวิธีแช่แข็งแห้งบนกระดาษชั่งสาร (weighing paper) ที่ใช้ชั่งน้ำหนักวัสดุในห้องทดลองทั่วไป แล้วใช้แผ่นพลาสติก 2 แผ่น ประกบสเปิร์มแห้งบนกระดาษไว้อีกทีเพื่อความปลอดภัย ก่อนหน้านี้นักวิจัยทีมเดียวกันเคยประสบความสำเร็จ ในการให้กำเนิดลูกหนูจากสเปิร์มที่แช่แข็งในห้วงอวกาศมาแล้ว สเปิร์มแห้งที่ได้สามารถจะนำไปเก็บรักษาไว้ในสมุดเพียงเล่มเดียว ซึ่งทีมวิจัยเรียกสมุดนี้ว่า “สมุดสเปิร์ม” ทั้งยังสามารถจัดส่งไปต่างเมืองหรือ        ต่างประเทศ โดยแปะติดตัวอย่างสเปิร์มแห้งลงบนไปรษณียบัตร หรือใส่ในซองจดหมายธรรมดาเพื่อส่งทางไปรษณีย์แบบดั้งเดิมได้ในราคาถูก มีการทดลองส่งตัวอย่างสเปิร์มที่ผ่านการแช่แข็งแห้งทางไปรษณีย์ จากห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยโตเกียวไปยังมหาวิทยาลัยยามานาชิ ซึ่งตั้งอยู่ห่างกัน 200 กิโลเมตร และใช้เวลา 2 วันในการจัดส่ง ผลปรากฏว่าตัวอย่างสเปิร์มนั้นไม่ได้รับความเสียหาย และเมื่อนำไปผสมกับไข่ที่ปลายทางก็สามารถให้กำเนิดลูกหนูที่แข็งแรงได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ศ.อิโตะกล่าวเตือนว่า ความสะดวกง่ายดายของเทคนิคนี้อาจเป็นดาบสองคม เพราะเป็นไปได้ว่าจะมีผู้นำไปใช้จัดส่งวัสดุทางพันธุกรรมอย่างผิดกฎหมาย…

วิเทศวิถี : ผู้แทนพิเศษ ปธ.อาเซียน เรื่องเมียนมา เรื่องไม่ควรวุ่นที่ดูคล้ายวุ่นวาย ในการประชุม รมว.กต.อาเซียน ครั้งที่ 54

Loading

  ผู้แทนพิเศษ ปธ.อาเซียน เรื่องเมียนมา เรื่องไม่ควรวุ่นที่ดูคล้ายวุ่นวาย ในการประชุม รมว.กต.อาเซียน 54 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (เอเอ็มเอ็ม) ครั้งที่ 54 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวม 18 การประชุม ซึ่งถือเป็นการประชุมใหญ่ที่ยืดยาวที่สุดในรอบปีของอาเซียนผ่านพ้นไปแล้ว หลังใช้เวลายาวนานตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่มีการหารือกันประเด็นแรกยังคงอยู่ที่การรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการเข้าถึงวัคซีนและการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้มีการนำเงินจากกองทุนอาเซียนรับมือโควิด-19 (COVID-19 ASEAN Response Fund) ซึ่งจัดขึ้นตามข้อริเริ่มของไทยไปจัดซื้อวัคซีนให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เฉลี่ยประเทศละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างข้อตกลง โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อที่จะให้มีการลงนามในการจัดหาวัคซีนผ่านโครงการโคแวกซ์ (COVAX) ขององค์การอนามัยโลก โดยให้กองทุนเพื่อเด็ก    แห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เป็นหน่วยงานที่ช่วยจัดซื้อและกระจายวัคซีนให้กับชาติสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ซึ่งคิดว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าน่าจะดำเนินการได้ ขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็เร่งดำเนินการให้ได้ข้อยุติโดยไว เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันน่าวิตกกังวลอย่างยิ่งยวด ไทยในฐานะฐานะประเทศผู้ประสานงานอาเซียนในเรื่องความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (บีซีจี) เพื่อช่วยฟื้นฟูภูมิภาคจากโควิด-19 และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะที่ในความพยายามช่วยเหลือเมียนมา เพื่อรับมือกับโควิด-19 ไทยก็ได้เสนอให้มีการประชุมประเทศผู้บริจาค ซึ่งบรูไนในฐานะประเทศอาเซียนน่าจะมีการจัดการในเรื่อง ดังกล่าวในเร็วๆ…

สหรัฐฯ ประณามแผนลอบทำร้ายทูตเมียนมา “เป็นรูปแบบที่ผู้นำเผด็จการใช้กำจัดฝ่ายตรงข้าม”

Loading

  รัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวประณามแผนลอบทำร้ายทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติที่ถูกเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า เป็นรูปแบบที่ผู้นำเผด็จการทั่วโลกและพวกพ้องมักนำมาใช้เพื่อจัดการกับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สบายใจอย่างยิ่ง เมื่อวันศุกร์ ชาวเมียนมาสองรายถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมตัวในข้อหาวางแผนลอบทำร้ายทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ จอ โม ตุน และถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิต บุคคลสองรายดังกล่าวที่ชื่อ เปียว เฮียน ฮัต และยี เฮียน ซอว์ ถูกอัยการสหรัฐฯ ตั้งข้อหาว่าวางแผนทำร้ายหรือสังหารทูต จอ โม ตุน บนแผ่นดินสหรัฐฯ โดยทูตเมียนมาผู้นี้ต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาอย่างต่อเนื่องตั้งเเต่เหตุรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ ทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ลินดา โธมัส-กรีนฟีลด์ กล่าวว่า การคุกคามทูตเมียนมาประจำยูเอ็น คือหนึ่งในรูปแบบที่ผู้นำระบอบอำนาจนิยมทั่วโลกมักนำมาใช้ ซึ่งรวมถึงการดำเนินคดีและปราบปรามผู้สื่อข่าว นักรณรงค์ และผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อต้านระบอบเผด็จการเหล่านั้น​ สำนักข่าวเอพีอ้างอิงเอกสารของศาลในเขตไวท์เพลนส์ รัฐนิวยอร์ก ที่ระบุว่า ผู้จ้างวานบุคคลทั้งสอง คือนักค้าอาวุธไทยที่ขายอาวุธให้กองทัพเมียนมา ในความพยายามที่จะทำร้ายทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติผู้นี้ เพื่อกดดันให้เขาลาออกจากตำแหน่ง สำหรับผู้จ้างวานชาวไทยที่เป็นนักค้าอาวุธ เอกสารของศาลระบุว่าเขาติดต่อนาย เปียว เฮียน ฮัต เมื่อเดือนที่เเล้ว และยินดีที่จะจ่ายเงินหลายพันดอลลาร์ในการก่อเหตุ นอกจากนั้นยังได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้กับนายฮัต 2,000 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม…

‘เนคเทค’ จิ๊กซอว์สำคัญ ดัน ‘Open-D’ แพลตฟอร์มสาธารณะพลิกโฉม ‘ข้อมูลเปิด’

Loading

  จะดีแค่ไหน ?หากประเทศไทยมี Open Data แพลตฟอร์มสาธารณะด้านข้อมูล ซึ่งในวันนี้เนคเทค สวทช.ดัน ‘Open-D’ ขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม AIFORTHAI , NETPIE IoT Platform ,HandySense ไปแล้ว มาในวันนี้ได้ส่งมอบแพลตฟอร์มด้านข้อมูลเปิดแก่สาธารณะ เพื่อที่จะช่วยภาครัฐมีเครื่องมือ หรือระบบที่สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐหรือองค์กรให้กับประชาชนได้รับทราบ และเป็นการผลักดันให้นักพัฒนาระบบหรือผู้ประกอบการด้านธุรกิจสาสนเทศ สามารถนำไปต่อยอดให้บริการพัฒนาระบบเปิดเผยข้อมูลให้กับหน่วยงานต่างๆที่ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งสาธารณูปโภคที่สำคัญในการพัฒนาความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย โดยตัวอย่างข้อมูลภาครัฐที่มีคุณค่าสูงหากนำมาเปิดเผยได้ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเป็นชุดข้อมูลที่มีผู้สนใจนำไปใช้งาน อาทิ ภูมิอากาศ การใช้จ่ายของภาครัฐ     มาวันนี้กรุงเทพธุรกิจจะพาไปรู้จักกับแพลตฟอร์ม Open-D และลงลึกถึงทิศทางการวิจัยเทคโนโลยีด้าน Open Data ที่พร้อมเปิดให้ Download CKAN Open-D ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดทำ Open Data แล้ววันนี้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดจะต้องรู้ว่า “ข้อมูลเปิด (Open Data)” คือ ข้อมูลในแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ และเปิดให้นำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่คิดมูลค่าซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรมได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และถือเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนและปรับรูปแบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยมีเว็บไซต์ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ หรือ Data.go.th ที่ริเริ่มและดูแลโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Agency: DGA) ตั้งแต่ปี 2558 แต่กระนั้นภาครัฐก็ยังขาดซอฟต์แวร์สนับสนุนการดำเนินงานเปิดเผยข้อมูลอย่างครบวงจร ขาดโปรแกรมเครื่องมือสนับสนุนการใช้ประโยชน์ข้อมูลเปิด…

เนคเทค เปิดตัว Open-D แพลตฟอร์มสาธารณะใหม่ล่าสุดด้านข้อมูลเปิด

Loading

  เนคเทค-สวทช. เปิดตัวแพลตฟอร์มสาธารณะใหม่ล่าสุดด้านข้อมูลเปิด พร้อมเผยทิศทางการวิจัยเทคโนโลยีด้าน Open Data ของเนคเทค สวทช. รายละเอียดเทคโนโลยีแพลตฟอร์มข้อมูล สำหรับข้อมูลแบบเปิด ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค กล่าวว่า “ในวันนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่เนคเทค-สวทช. ได้ส่งมอบแพลตฟอร์มด้านข้อมูลเปิดให้เป็นประโยชน์สาธารณะ หลังจากก่อนหน้านี้เราได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม อาทิ AIFORTHAI  NETPIE IoT Platform และ HandySense ไปแล้ว ซึ่งเนคเทค-สวทช. ก็คาดหวังว่า Open-D Platform ที่เปิดตัวใหม่ล่าสุดในวันนี้ จะเข้าไปช่วยภาครัฐให้มีเครื่องมือหรือระบบที่สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐหรือองค์กรให้กับประชาชนได้รับทราบ และช่วยให้นักพัฒนาระบบหรือผู้ประกอบการด้านธุรกิจสารสนเทศ สามารถนำไปต่อยอดให้บริการพัฒนาระบบเปิดเผยข้อมูลให้กับหน่วยงานต่างๆที่ไม่สามารถดำเนินการเองได้ โดยเนคเทค-สวทช.คาดหวังว่า แพลตฟอร์มต่างๆเหล่านี้ จะเป็นสาธารณูประโภคที่สำคัญในการพัฒนาความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยต่อไป” การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ในการที่จะเร่งสร้างความคล่องตัวและความมีประสิทธิภาพของภาคราชการ และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวปาฐกถาและมอบนโยบายในงานวันข้อมูลเปิดนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 (International Open…

ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพอังกฤษเรียกร้องชาติตะวันตกตอบโต้การโจมตีจากโดรนอิหร่าน

Loading

  ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพอังกฤษ พลเอกนิค คาร์เตอร์ กล่าวในวันพุธว่า ชาติตะวันตกจำเป็นต้องร่วมมือกันตอบโต้ต่อการโจมตีที่เชื่อว่ามาจากโดรนของอิหร่าน ต่อเรือขนส่งน้ำมันลำหนึ่งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ทำให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชาวอังกฤษเสียชีวิตหนึ่งคน และกัปตันเรือชาวโรมาเนียเสียชีวิตอีกหนึ่งคน พลเอกคาร์เตอร์ กล่าวกับสำนักข่าวบีบีซีในวันพุธว่า หากระบอบแห่งการป้องปรามยังไม่กลับคืนมายังอ่าวเปอร์เซีย ก็มีโอกาสและความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดการโจมตีและการคำนวณที่ผิดพลาดจากทางอิหร่าน และสิ่งที่จำเป็นต้องทำในตอนนี้คือการทำให้อิหร่านหยุดพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงนี้ คำกล่าวของพลเอกคาร์เตอร์มีขึ้นหลังจากที่มีเหตุการณ์คนร้ายบุกขึ้นเรือขนส่งน้ำมันอีกลำหนึ่งนอกชายฝั่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในวันอังคาร ก่อนที่จะลงจากเรือไปในเวลา 24 ชม.ต่อมา จากการเปิดเผยของกองทัพเรืออังกฤษ ก่อนหน้านี้ อิหร่านออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โจมตีด้วยโดรนใส่เรือบรรทุกน้ำมัน MV Mercer Street นอกชายฝั่งโอมาน โดยเรือลำนี้เป็นของญี่ปุ่นแต่บริหารจัดการโดยบริษัทสัญชาติอังกฤษ Zodiac Maritime ซึ่งมีมหาเศรษฐีชาวอิสราเอล อียาล โอเฟอร์ เป็นเจ้าของ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ทวีตว่า มีความน่าสงสัยหลายประการในรายงานเหตุการณ์โจมตีที่เกิดขึ้นกับเรือหลายลำในอ่าวเปอร์เซียและทะเลโอมาน พร้อมเตือนว่าอิหร่านพร้อมตอบโต้ต่อการกระทำใด ๆ ที่สร้างบรรยากาศแห่งความเป็นอริศัตรูเพื่อเป้าหมายบางอย่างทางการเมือง ด้านรัฐบาลอังกฤษเตรียมยื่นประท้วงเหตุการณ์โจมตีครั้งนี้อย่างเป็นทางการต่อคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติในวันศุกร์นี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ โดมินิก ร้าบ กล่าวประณามเหตุการณ์นี้ว่า “ผิดกฎหมายและไร้สำนึก” โดยเชื่อว่าเป็นการโจมตีจากอิหร่านซึ่งมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงและละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมเรียกร้องให้อิหร่านยุติการกระทำลักษณะนี้ทันที เพื่อให้เรือขนส่งต่าง ๆ สามารถเดินทางไปอย่างปลอดภัยและเป็นอิสระภายใต้กฎหมายสากล ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า…