ศูนย์ปฏิบัติการทางน้ำกรมเจ้าท่า “อีเกิลอาย”มัดรวมบิ๊กดาต้าเดินเรือ

Loading

  ศูนย์ปฏิบัติการทางน้ำ “อีเกิลอาย” กรมเจ้าท่า โดดเด่นที่สถาปัตยกรรมเก่าแบบโบราณ แต่ภายในเต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ยกระดับการขนทางเรือให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงเศรษฐกิจไทย สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กรมเจ้าท่า (จท.) มีกำหนดการทำพิธีเปิดอาคาร 39 ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและการจราจรทางน้ำ อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า ครบรอบ 162 ปี แต่ต้องงดพิธีไปก่อนเพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ได้เปิดใช้งานจริงไปเรียบร้อยแล้ว ที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและจราจรทางน้ำ กรมเจ้าท่า มีความโดดเด่นที่สถาปัตยกรรมเก่าทาสีเหลืองแบบโบราณ แต่ภายในเต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาคาร 39 พื้นที่ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาจะเป็นอีกมุมของทัศนียภาพที่งดงาม ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ     ศูนย์ปฎิบัติการควบคุมความปลอดภัยและจราจรทางน้ำ ทำหน้าที่เป็นศูนย์อำนวยการ บูรณาการข้อมูลสารสนเทศเพื่อประโยชน์ของชาติ ด้านขนส่งทางทางน้ำประเทศไทยอย่างเต็มระบบ ดังนี้ 1.ระบบควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล 2.ระบบเรด้า 3.ระบบควบคุมการจราจรและตรวจการณ์ชายฝั่งทะเลอันดามัน-อ่าวไทย 4.ระบบ VTS ตรวจการณ์ชายฝั่ง ที่ครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยและอันดามัน สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวของเรือทุกประเภทในน่านน้ำไทยระยะไกล ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน 5.ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ตรวจการณ์ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย และท่าเรือ 6.ระบบโครงข่ายติดตามเรือสินค้าไทย และเรือสินค้าต่างประเทศที่อยู่ในน่านน้ำไทย…

‘Phishing’ เทคนิคใหม่ แนบลิงก์ใน ‘PDF’

Loading

นักรบ เนียมนามธรรม ซีอีโอ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน)     ผู้ให้บริการแชร์ไฟล์หลายรายตกเป็นเครื่องมือในการโจมตีของแฮกเกอร์ ตราบใดที่แฮกเกอร์ยังสรรหาวิธีการใหม่ๆ ที่แนบเนียนกว่าเดิมมาหลอกลวงให้ผู้ใช้งานอย่างเราตกเป็นเหยื่อ เราเองก็ต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อรับมือกับทุกเทคนิคที่แฮกเกอร์ใช้หลอกลวงให้ได้ครับ ล่าสุดนักวิจัยพบว่า แฮกเกอร์เปลี่ยนจากการปลอมอีเมลเป็นผู้อื่นและส่งมาหลอกให้เหยื่อคลิกลิงก์ในอีเมล มาเป็นการใช้อีเมลมาลงทะเบียนใช้งานฟรีอย่างถูกต้องกับผู้ให้บริการเซ็นเอกสารแบบดิจิทัลผ่านคลาวด์อย่าง DocuSign และส่งไปหลอกผู้รับอีเมลให้คลิกลิงก์อันตรายที่อยู่ในเอกสารแทน เทคนิคการหลอกลวงนี้อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับองค์กร ซึ่ง IRONSCALES ผู้พัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์มทางด้าน Email Security กล่าวว่า นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ พวกเขาพบการโจมตีเช่นนี้มาจำนวนมาก  จนเรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่แฮกเกอร์ใช้บัญชีที่ลงทะเบียนอย่างถูกต้องมาโจมตีแบบ Phishing ซึ่งเทคนิคนี้ทำให้การโจมตีมีประสิทธิภาพสูงมากทีเดียว จึงทำให้ผู้ให้บริการแชร์ไฟล์หลายรายตกเป็นเครื่องมือในการโจมตีของแฮกเกอร์ วิธีการที่แฮกเกอร์ใช้โจมตีผ่าน DocuSign คือ ผู้ที่มีแนวโน้มจะตกเป็นเหยื่อจะได้รับคำเชิญให้คลิกลิงก์เพื่อดูเอกสารในเว็บเบราว์เซอร์ของพวกเขา เพื่อลงชื่อในเอกสารนั้น โดยปกติแล้ว DocuSign จะแปลงไฟล์เอกสารเป็น .pdf เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานพลาดไปโดนมัลแวร์มาโคร (Malware Macro) ที่มักจะแอบแฝงมาอยู่ในไฟล์เอกสารต่างๆ ที่แนบมา อย่างไรก็ตามไฟล์ PDF เหล่านี้ยังคงมี Hypertext ที่ใช้แนบลิงก์มาได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในเอกสาร PDF โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสัญญาหรือเอกสารที่ต้องมีการเซ็นกลับจะมีการแนบลิงก์มาด้วย ซึ่งลิงก์อันตรายนั้นอาจส่งเอกสารที่เป็นอันตราย…

อัลไคด้าจะกลับมาไหม คำถามหวั่นใจสหรัฐ หลอนวินาศกรรม 9/11

Loading

  อัลไคด้าจะกลับมาไหม – เมื่อ 24 ส.ค. เอพี รายงานผลกระทบจากสถานการณ์ตาลิบันยึดครองอัฟกานิสถาน ทำให้เกิดคำถามว่า เครือข่าย อัล-ไคด้า หรือ อัลกออิดะฮ์ จะหวนกลับมาเป็นภัยกับสหรัฐอเมริกา แบบที่เคยเกิดเหตุวินาศกรรม 11 กันยาฯ 2544 หรือ 9/11 อีกหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อช่วงนี้อเมริกาเองมีภัยคุกคามจากกลุ่มสดโต่งในประเทศ รวมถึงศึกโจมตีทางไซเบอร์จากจีนและรัสเซียอยู่แล้ว     คริส คอสตา ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสมัยรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ มองว่า อัลไคด้ามีโอกาส และจะใช้ความได้เปรียบฉวยโอกาสนั้น “นี่เป็นเหตุการณ์กระตุ้นความฮึกเหิมให้กลุ่มจีฮัดทุกหนแห่ง” นายคอสตา กล่าว ฤทธิ์เดชของเครือข่ายอัลไคด้าลดน้อยถอยลงไปในช่วง 20 ปีของสงครามในอัฟกานิสถาน ความชัดเจนตอนนี้ยังดูห่างไกลว่า เครือข่ายนี้มีศักยภาพที่จะก่อการโจมตีแบบเหตุ 9/11 ในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐเองระแวดระวังและปกป้องภัยตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา   The south tower of the World Trade Center collapses in New…

บุกรวบพ่อค้าอาวุธออนไลน์-พบปืนและกระสุนตรงกับ “ม็อบทะลุฟ้า” ใช้ก่อเหตุเมื่อ 7 ส.ค.

Loading

  วันนี้ (24 ส.ค.) ที่ กองปราบปราม พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป. สั่งการ พ.ต.อ.ธงชัย อยู่เกษ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.อ.ปทักข์ ขวัญนา ผกก.4 บก.ป.พ.ต.ต.ทัตพร เลขะวัฒนพงษ์ สว.กก.1 บก.ป. พ.ต.ต.อัคนี ณ บางช้าง สว.กก.4 บก.ป. สนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ่อเกลือ จ.น่าน จับกุม นายวระชาติ พลจันทร์ทึก อายุ 46 ปี ได้ภายในบ้านพัก หมู่ 2 ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน พร้อมของกลางปืนยาว ขนาด .22 มม. ยี่ห้อ CZ จำนวน 1 กระบอก, อาวุธปืนสั้น ขนาด 7.65 มม. ยี่ห้อ…

โต้กลับ! อิสราเอลทิ้งบอมบ์ปาเลสไตน์ หลังฮามาสปล่อยบอลลูนไฟต่อเนื่อง

Loading

  โต้กลับ! อิสราเอลทิ้งบอมบ์ปาเลสไตน์ หลังฮามาสปล่อยบอลลูนไฟต่อเนื่อง สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม กองทัพอิสราเอลระบุว่า ได้ใช้เครื่องบินรบทิ้งระเบิดใส่ฐานที่ตั้งของกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาเพื่อเป็นการตอบโต้บอลลูนไฟที่ปล่อยมาจากฝั่งปาเลสไตน์ที่ทำให้เกิดไฟไหม้บริเวณตอนใต้ของอิสราเอล อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานถึงผู้บาดเจ็บจากการโจมตีทางอากาศ ซึ่งพุ่งเป้าไปที่โรงงานผลิตอาวุธและจุดปล่อยจรวดของกลุ่มฮามาสซึ่งปกครองพื้นที่บริเวณฉนวนกาซา ตั้งแต่ที่อียิปต์เข้ามาเป็นตัวกลางในการยุติสงคราม 11 วันระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่มติดอาวุธฮามาสได้ส่งบอลลูนที่บรรจุวัตถุไวไฟไปยังอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กองทัพอิสราเอลตัดสินใจโจมตีโรงงานของกลุ่มฮามาส ด้านปาเลสไตน์ระบุว่า บอลลูนไฟส่งไปเพื่อกดดันให้อิสราเอลลดข้อจำกัดกับปาเลสไตน์และอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่กาซา ส่วนหน่วยงานกู้ภัยและดับเพลิงของอิสราเอลเปิดเผยว่า บอลลูนเหล่านั้นถูกปล่อยมาในวันที่ 23 สิงหาคม ซึ่งทำให้เกิดไฟไหม้ตลอดตามแนวชายแดนอิสราเอล-กาซา ทั้งนี้ความรุนแรงบริเวณชายแดนได้ปะทุขึ้นอีก แม้จะมีการประกาศของอิสราเอลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้กาตาร์กลับมาช่วยเหลือปาเลสไตน์อีกครั้ง ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกมองว่าเป็นการสนับสนุนการสู้รบที่เปราะบางนี้ ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :  มติชนออนไลน์       / วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_2902152

ย้อนบทเรียน‘ซิมบับเว’กระตุกไทย เลิกหลับใหลระบบจัดการผู้อพยพ

Loading

  แม้ผ่านช่วงร้อนแรงของการสู้รบ แต่ภาพการอพยพของผู้คนในอัฟกานิสถาน กำลังสร้างปรากฎการณ์ที่หลายประเทศต้องจับตา สถานการณ์ระอุหลัง“ตาลีบัน”ยึดอำนาจ“อัฟกานิสถาน”สำเร็จ ภาพที่เกิดขึ้นทันทีคือการ“อพยพ”เอาตัวรอดออกนอกประเทศ ปรากฏการณ์คนจำนวนมากกรูกันไปที่สนามบินหวังขึ้นเครื่องบินไปตายเอาดาบหน้าแบบไม่คิดชีวิต  เพื่อเริ่มต้นบนผืนแผ่นดินใหม่ใครเห็นก็เศร้าใจ ประเทศไทยแม้ห่างไกลสถานการณ์ และคงไม่ใช่หมุดหมายปลายทางของผู้อพยพกลุ่มนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยภาวะสงคราม ความต้องการหนีภัยความมั่นคง และการย้ายถิ่นฐานของประชากร อาจส่งผลให้ประเด็นผู้อพยพ  การลี้ภัยมีความเสี่ยงเผชิญหน้าได้มากขึ้นในอนาคต  และการวางแผนรับมือล่วงหน้าย่อมดีกว่าแน่นอน… ดังเรื่องราวจากภาพยนตร์ดังหลายปีก่อน“ The terminal” ที่มีตัวเอกใช้ชีวิตอยู่ในสนามบินนานแรมปี  ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศที่มาถึงได้  และไม่สามารถเดินทางกลับไปประเทศบ้านเกิดได้เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบ ใครคิดว่าจะเกิดขึ้นจริงมาแล้วที่ประเทศไทย     ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 มีเหตุการณ์ครอบครัวชาวชาวซิมบับเว  8  ชีวิต ประกอบด้วยผู้ใหญ่ 4 ชีวิต  เด็กอีก 4 ชีวิต ติดอยู่ในสนามบินสุวรรณภูมินาน 3 เดือน ก่อนปรากฏเป็นข่าว ซึ่งต่อมาจึงรู้ว่าคนเหล่านี้ใช้ชีวิต กิน นอน อยู่ในเขตอาคารผู้โดยสารชั้นใน  โดยมีสายการบินเป็นผู้ดูแล เพราะไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศปลายทางได้   ตามเหตุการณ์ทั้งครอบครัวเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยว แต่ที่ผ่านมาก็มีสถานะอยู่เกินกำหนด(over stay)ระหว่างนี้เคยมีการประสานขอขึ้นทะเบียนสถานะผู้ลี้ภัยกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แต่ด้วยขั้นตอนที่ต้องใช้ระยะเวลานานนับปี ต่อมาทางครอบครัวจึงขอเดินทางออกจากประเทศไทย  มีการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อย  หลังเดินทางฟ้าออกไปสุดท้ายถูกสายการบินยูเครนส่งตัวกลับมาที่สนามบินสุวรรณภูมิเพราะไม่มีวีซ่ายูเครน ความไม่สงบในประเทศบ้านเกิดทำให้ครอบครัวชาวซิมบับเวไม่ต้องการเดินทางกลับไป  แต่ต้องการขอลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามแทน   การใช้ชีวิตยาวนานนับเดือนอยู่ในสนามบินของครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ไม่ใช่เรื่องเหมาะสมหรือควรเกิดขึ้น …