สำนักงานไซเบอร์ฯ รับเรื่องข้อมูลผู้ป่วยไทยหลุด 16 ล้านราย เร่งประสานสธ.ตรวจสอบระบบซิเคียวริตี้

Loading

  สำนักงานไซเบอร์ กระทรวงดีอีเอส รับเรื่องข้อมูลคนไข้จากกระทรวงสาธารณสุขกว่า 16 ล้านรายหลุด โดยอยู่ระหว่างประสาน สธ. ตรวจสอบข้อมูล พร้อมใช้พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ตามจับคนร้าย จากกรณีที่มีแฮกเกอร์ อ้างว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลคนไข้ของกระทรวงสาธารณสุขกว่า 16 ล้านราย ในฐานข้อมูลขนาด 3.75 GB อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 ไปวางจำหน่ายในราคา 500 เหรียญ โดยภายในมีทั้งข้อมูลเลขทะเบียนผู้ป่วย ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ รวมถึงชื่อแพทย์เจ้าของไข้ โรงพยาบาล และรายละเอียดผู้ป่วยต่างๆ แหล่งข่าวจากกระทรวงดีอีเอส ระบุว่า ทางสำนักงานไซเบอร์ ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว กำลังประสานหาสาเหตุกับสธ. เนื่องจากทางสธ.มีการวางระบบซิเคียวริตี้ของตนเอง ทางกระทรวงมีหน้าที่เข้าไปตรวจสอบว่าทางสธ. ได้วางระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ตามมาตรฐานที่กำหนดตาม พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ) หรือระบบมีช่องโหว่ เบื้องต้นทางกระทรวงฯ มีหน้าที่ในการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2563 (พ.ร.บ.คอมพ์ฯ) ตามจับคนร้ายที่เข้ามาแฮกข้อมูล ซึ่งต้องทำตามกระบวนการของกฏหมาย ส่วนประเด็นเรื่องข้อมูลคนไข้เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562…

“ระบบจดจำใบหน้า” ความน่ากลัวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัว

Loading

  “ระบบจดจำใบหน้า” ความน่ากลัวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัว ระบบจดจำใบหน้าถูกนำไปใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภาพจำนวนมหาศาลในหลายด้าน ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการมองเห็นของคอมพิวเตอร์ (Computer vision) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เอไอ” ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก สามารถวิเคราะห์ภาพต่างๆ ได้มากมายดังเช่น แยกแยะสิ่งต่างๆ ในรูปได้ว่าคืออะไร รวมทั้งยังสามารถจดจำใบหน้าคนได้ดีกว่าคนอีกด้วย ทุกวันนี้เราสามารถใช้โปรแกรม Google len ในมือถือถ่ายภาพ แล้วค้นหาได้ว่ารูปนี้คืออะไร หรือแม้แต่ค้นหาแหล่งซื้อสินค้าและราคา ทำการแปลภาษาก็สามารถทำได้ ขณะเดียวกัน ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial recognition) โดยเฉพาะการใช้เพื่อระบุตัวตน เช่น การปลดล็อกโทรศัพท์มือถือ การเข้าสถานที่ทำงาน เข้าที่อยู่อาศัย รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน ความสามารถเทคโนโลยีในการมองเห็นทำงานได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิธีการในการคำนวณและประมวลผลที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญมากสุดคือ ทุกวันนี้มีฐานข้อมูลรูปภาพจำนวนมหาศาล ทำให้ระบบการมองเห็นนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อการค้นหาหรือแยกแยะรูปภาพต่างๆ ได้อย่างแม่นยำขึ้น ซึ่งในหลักการของเทคโนโลยีเอไอยิ่งมีข้อมูลมาก ความถูกต้องของการพยากรณ์ก็จะดียิ่งขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจหากเราค้นชื่อตัวเองใน Google แล้วสามารถแสดงรูปภาพที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตออกมาได้ เพราะคิดว่า Google ไปค้นหาข้อมูลในอินเทอร์หรือโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดียที่เปิดเป็นสาธารณะ แต่ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ Yandex.com ก็สามารถค้นหาได้โดยใช้รูปภาพบุคคล เพื่อให้ได้รูปอื่นๆ ของคนนั้น รวมทั้งยังได้ชื่อของคนๆ…

ปภ. บูรณาการเตรียมพร้อมขับเคลื่อนแผน ปภ.ชาติ ปี 64 – 70 มุ่งลดความเสี่ยงสาธารณภัย สร้างประเทศไทยปลอดภัย

Loading

  กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บูรณาการทุกภาคส่วนเตรียมพร้อมขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564-2570 ซึ่งเป็นแผนแม่บทการจัดการสาธารณภัยฉบับใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ และจะได้ร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้การจัดการสาธารณภัย ของประเทศไทยมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์เป้าหมายการสร้างประเทศไทยให้มีความปลอดภัยอย่างยั่งยืน     นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นใน ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อให้การจัดการสาธารณภัยตอบโจทย์การสร้างประเทศไทยปลอดภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของบริบทต่างๆ ในปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) และหน่วยงานรับผิดชอบด้านการจัดทำแผนการจัดการสาธารณภัยของประเทศ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564 – 2570 ซึ่งเป็นแผนฉบับใหม่ที่ปรับปรุงจากแผนฉบับเดิมที่ใช้มาครบ 5 ปี เพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการปฏิบัติให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างบูรณาการเป็นระบบและมีทิศทางเดียวกัน ภายใต้วิสัยทัศน์ “สังคมไทยสามารถลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างปลอดภัยและยั่งยืน” โดยได้กำหนด 5 ยุทธศาสตร์หลักครอบคลุมการจัดการสาธารณภัยในทุกมิติ ทั้งในระยะการเตรียมความพร้อม การป้องกันและ ลดผลกระทบ การจัดการในภาวะฉุกเฉิน การฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย การเป็นหุ้นส่วนการจัดการสาธารณภัยระหว่างประเทศ…

นาทีเสียงปืนดังสนั่น ทหารกินีก่อรัฐประหาร คุมตัวปธน. ปชช.เชียร์เต็มถนน

Loading

  กลุ่มทหารกินีก่อรัฐประหาร แถลงการณ์ผ่านทีวี ประกาศยุบรัฐบาล ฉีก รธน. คุมตัว ปธน. อัลฟา คอนเด ขณะนี้ยังไม่ทราบชะตากรรมว่าอยู่ที่ไหน เมื่อ 6 ก.ย. 64 สำนักข่าวรอยเตอร์และบีบีซี รายงานความคืบหน้าสถานการณ์ตึงเครียดในสาธารณรัฐกินี ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก กลุ่มทหารกินีเผยแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ ประกาศยุบรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีอัลฟา คอนเด โดยขณะนี้ยังไม่ทราบชะตากรรมผู้นำกินีวัย 83 ปีว่าอยู่ที่ไหน หลังจากไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้า สถานการณ์ในกินีตกอยู่ในความตึงเครียดสับสน เนื่องจากได้ยินเสียงปืนดังกึกก้องมีการยิงปะทะกันอย่างหนักต่อเนื่องใกล้ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงโกนากรี เมืองหลวง เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น และต่อมา กระทรวงกลาโหมของกินีแถลงว่าสามารถปราบกลุ่มทหารที่คิดก่อรัฐประหารได้แล้ว     สถานีโทรทัศน์ในกินี ได้เผยแพร่ภาพทหาร 9 นาย นำโดย พ.ท.ดูมบูยา ซึ่งเคยเป็นอดีตทหารที่ประจำการกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส ประกาศแถลงการณ์ยึดอำนาจประธานาธิบดีคอนเด โดยกลุ่มทหารเหล่านี้ ซึ่งหลายนายนำธงชาติกินีมาห่ม ได้เรียกตัวเองว่า “คณะกรรมการความปรองดองและพัฒนาแห่งชาติ” ได้ประกาศยึดอำนาจรัฐบาล ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และจะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในกินี     พ.ท.มามาดี ดูมบูยา ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มทหารก่อรัฐประหารโค่นอำนาจประธานาธิบดีคอนเด กล่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์กินีว่า…

นิวซีแลนด์เปิดข้อมูล‘มือมีดซูเปอร์มาร์เก็ตโอ๊คแลนด์’

Loading

  รัฐบาลนิวซีแลนด์เผยข้อมูลมือมีดซูเปอร์มาร์เก็ตโอ๊คแลนด์ โกงสถานะผู้ลี้ภัย ทางการพยายามเนรเทศมาหลายปี เอกสารของศาลนิวซีแลนด์ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ระบุว่า มือมีดที่ก่อเหตุไล่แทงคนในห้างสรรพสินค้าเมืองโอ๊คแลนด์เมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 7 คน คือนายอาทิล โมฮัมเหม็ด ซัมซูดีน ชาวมุสลิมเชื้อสายทมิฬ วัย 32 ปีจากศรีลังกา เข้ามานิวซีแลนด์เมื่อสิบปีก่อนด้วยวีซ่านักเรียนแล้วได้สถานะผู้ลี้ภัยในปี 2556 ซัมซูดีนถูกตำรวจและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจับตาเมื่อปี 2559 หลังโพสต์เฟซบุ๊คเห็นใจการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธ โพสต์คลิปวีดิโอสงครามรุนแรง และแสดงความเห็นนิยมความรุนแรง ต่อมาทางการพบว่า เขาได้สถานะผู้ลี้ภัยมาอย่างไม่ชอบมาพากลรัฐบาลจึงเริ่มกระบวนการยกเลิกสถานะ ก่อนหน้านี้นายซัมซูดีนเคยถูกจำคุกอยู่ราว 3 ปี เพิ่งได้รับปล่อยตัวในเดือน ก.ค. แล้วมาก่อเหตุไล่แทงคนเมื่อวันศุกร์ (3 ก.ย.) การก่อเหตุของมือมีดรายนี้ทำให้เกิดคำถามว่า ในเมื่อทางการรู้ว่าจำเป็นต้องจับตาเขาอย่างใกล้ชิดแล้วทำไมถึงยังปล่อยให้เขาอยู่อย่างอิสระ ด้านนายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น ให้คำมั่นวานนี้ (4 ก.ย.) ว่าจะออกกฎหมาย กำหนดให้การวางแผนโจมตีก่อการร้ายเป็นความผิดอาญา และจะกระชับกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ขณะที่ครอบครัวของนายซัมซูดีนโดยนายอารุส พี่ชายออกแถลงการณ์ถึงสถานีโทรทัศน์วันนิวส์ สื่อท้องถิ่นนิวซีแลนด์ ระบุว่า พวกเขาตกใจมากกับเหตุที่เกิด “พวกเราใจสลายเมื่อเกิดเหตุสะเทือนขวัญครั้งนี้ พวกเราหวังว่าจะเรียนรู้ไปพร้อมกันกับคุณ ถึงสิ่งที่อาทิลทำลงไปและเราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก” แถลงการณ์ครอบครัวระบุ   —————————————————————————————————————————————–…