“กมธ.ดีอีเอส” ห่วงระบบไอที “สธ.” อ่อนแอ หวั่นประชาชนถูกละเมิดสิทธิ

Loading

  กมธ.ดีอีเอส สภาฯ ห่วงระบบไอที “สธ.” อ่อนแอ หวั่นประชาชนถูกละเมิดสิทธิ ด้าน “สธ.” ยอมรับจุดอ่อน ด้านการดูแลข้อมูล เผย ข้อมูลคนไข้โควิด-19 ยังไร้คนดูแล ห่วงเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่มีหน่วยงานรับช่วงต่อ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 64 คณะกรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน กมธ. ได้นัดประชุมเพื่อพิจารณา เรื่อง กรณีภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของโรงพยาบาลในระบบสาธารณสุข โดยเชิญตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง   โดย นายอนันต์ กนกศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจง โดยยอมรับว่าการกำกับและดูแลจะมีกฎหมายเพื่อกำกับดูแลโรงพยาบาลเอกชน อย่างไรก็ดี ยังมีความกังวล ต่อกรณีดิจิทัล เฮลท์ ที่ไม่มีกฎหมายกำกับ ดังนั้น แนวทางดูแลเบื้องต้น คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล หรือให้กลุ่มเฮลท์แทคขึ้นทะเบียน ทั้งนี้…

ล็อคเป้าอาเซียน ตอลิบานจุดชนวนก่อการร้ายอาละวาด

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียนเสี่ยงก่อการร้ายจากการผงาดของตอลิบานในอัฟกัน ทำเอาตื่นตกใจไปตามๆ กันเมื่อ AP รายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นเตือนให้พลเมืองของตนอยู่ห่างจากสถานที่ทางศาสนาและฝูงชนใน 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเตือนถึงการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้   กระทรวงกล่าวว่าได้รับข้อมูลว่า “มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น ระเบิดฆ่าตัวตาย” คำเตือนนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่ไหน แต่เตือนแบบหว่านแหกับพลเมืองญี่ปุ่นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และเมียนมา   เมื่อเตือนแบบหว่านแหแบบนี้จึงเล่นเอาบางประเทศงงเป็นไก่ตาแตกและทำอะไรไม่ถูก ยิ่งประชาชนในประเทศนั้นตื่นตูมอยู่แล้วยิ่งลงไปกับรัฐบาลตัวเองว่าปิดบังอำพรางอะไรไว้หรือเปล่า อย่างในไทยตอบรับฉับไวเพราะตกเป็นประเทศต้องสงสัย นายธานี แสงรัตน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่ได้เปิดเผยที่มาของคำเตือน และสถานทูตญี่ปุ่นไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมและ “ไม่เฉพาะเจาะจงกับประเทศไทย” ฝ่ายความมั่นคงของไทยก็บอกในทำนองเดียวกันว่าไม่มีข้อมูลเรื่องภัยคุกคาม   ตกลงมันเป็น False alarm หรือสัญญาณเตือนหลอกให้ตื่นตกใจหรือไม่? ถ้าคิดดูดีๆ อาจไม่น่าจะใช่ หากลองดูทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง   ชัยชนะของกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 15 ส.ค. อาจเป็นแรงบันดาลใจให้กลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลุกขึ้นมาลงมือก่อเหตุในบ้านเกิดอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฐานที่มั่นในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ หลังจากบางกลุ่มอ่อนแอลงเพราะถูกรัฐบาลปราบปรามอย่างหนัก ผู้เชี่ยวชาญพุ่งเป้าไปที่กลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) ในฟิลิปปินส์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการลักพาตัวนักท่องเที่ยว และกลุ่มญะมาอะห์อิสลามิยะห์…

ผู้นำองค์กรต้องเพิ่มกลยุทธ์ป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล (Deep-Fake)

Loading

  เดือนมีนาคม 2562 ซีอีโอของบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษได้รับสายด่วนจากเจ้านายซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัทแม่ที่เยอรมนี โดยเจ้านายชาวเยอรมันสั่งให้ลูกน้องของเขาโอนเงินจำนวน 220,000 ยูโร (ประมาณ 8.5 ล้านบาท) ให้กับตัวแทนซัพพลายเออร์ในฮังการี ซึ่งต้องโอนเงินเป็นกรณีเร่งด่วนและต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง เนื่องจากซีอีโอชาวอังกฤษจำสำเนียงเยอรมันที่โดดเด่นของเจ้านายได้ดี เขาจึงรีบอนุมัติการโอนเงินในทันที ทว่าโชคร้ายที่ซีอีโอชาวอังกฤษไม่ได้คุยกับเจ้านายของเขา แต่กลับคุยกับปัญญาประดิษฐ์ที่เลียนเสียงและแอบอ้างตัวเป็นเจ้านายชาวเยอรมัน   องค์กรธุรกิจควรต้องตระหนกกับเหตุการณ์นี้หรือไม่? คำตอบคือทั้งใช่และไม่ใช่ ที่ธุรกิจต้องกังวลคือรูปแบบความซับซ้อนในการหลอกลวงที่ดูแนบเนียนและที่สำคัญเป็นการโจมตีที่ประสบความสำเร็จ แต่ที่ยังเบาใจได้คือมันยังต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรอย่างมากในการจู่โจมรูปแบบนี้และเป้าหมายใหญ่อย่างบริษัทข้ามชาติ ซึ่งสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป โดยเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูลสามารถขยายเป็นสองทางอย่างน่าทึ่ง อย่างแรก คือ มันทำให้ผู้ที่ไม่หวังดีใช้วิธีนี้จู่โจมได้ง่ายมากขึ้น แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จน้อยแต่สิ่งที่ได้มาก็คุ้ม อย่างที่สองเมื่อเทคโนโลยี Deep-Fake หรือการปลอมแปลงอัตลักษณ์ของบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังและใช้ง่ายตกอยู่ในมือคนจำนวนมากที่ทำให้ใครก็ได้สามารถโจมตีเป้าหมายที่ต้องการไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม   เทคโนโลยีเอไอ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning) แทรกซึมอยู่ในธุรกิจและการสื่อสารสมัยใหม่ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปในทางที่ผิดกฎหมาย การล่อลวงแบบดีปเฟก (Deepfakes) สามารถเป็นได้ทั้งเสียง รูปภาพ และวิดีโอที่ดูเสมือนจริงแต่กลับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นด้วยเอไอ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งล่าสุดของการบิดเบือนข้อมูลในแบบที่ RAND Corporation หน่วยงานด้านนโยบายระดับโลกของอเมริกา ได้อธิบายไว้ว่าเป็น “วัฒนธรรมการเสื่อมสลายของความจริง” (หรือ Truth Decay) เป็นพลวัตที่มีการถกเถียงอย่างมากถึงขอบเขตในด้านการเมืองและทฤษฎีสมคบคิด…

สหรัฐฯ UK ออสเตรเลีย ประกาศสนธิสัญญาความมั่นคง ‘Aukus’ คานอำนาจจีน

Loading

  รบ.สหรัฐฯ UK และออสเตรเลีย ประกาศสนธิสัญญาความมั่นคงครั้งประวัติศาสตร์ Aukus หวังคานอำนาจจีน โดยสหรัฐฯ และ UK จะช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีการสร้างเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ให้กับออสเตรเลียเป็นลำแรก เมื่อ 16 ก.ย. 64 บีบีซีรายงาน รัฐบาลสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร (UK) จับมือออสเตรเลีย ผนึกกำลังสร้างความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกาศสนธิสัญญาความมั่นคงครั้งประวัติศาสตร์ ภายใต้ชื่อ ‘Aukus’ เพื่อคานอำนาจจีน ภายใต้สนธิสัญญานี้ สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะครอบคลุมทั้งในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีต่างๆ ด้านการทหาร การป้องกันทางไซเบอร์ และการคำนวณควอนตัม โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร จะช่วยเหลือออสเตรเลียในเรื่องเทคโนโลยีในการสร้างเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์เป็นลำแรกของประเทศออสเตรเลีย เพื่อสร้างกองเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ ที่จะประกอบด้วยเรือดำน้ำอย่างน้อย 8 ลำ สำหรับการประกาศจับมือในสนธิสัญญาประวัติศาสตร์ ‘Aukus’ ของ 3 ประเทศผ่านการประชุมทางไกล เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน แห่งสหราชอาณาจักร และนายสกอตต์ มอร์ริสัน…

โดรนสังหารผู้นำไอเอสในแอฟริกาสำเร็จ ฝรั่งเศสฉลองชัยชนะ

Loading

  โดรนสังหารผู้นำไอเอสในแอฟริกาสำเร็จ – วันที่ 16 ก.ย. เอพีรายงานว่า นายอัดนาน อาบู วาลิด อัล-ซาห์ราวี ผู้นำกองกำลังรัฐอิสลาม หรือไอเอส ภาคพื้นทะเลทรายซาฮารา ในทวีปแอฟริกา เสียชีวิตแล้วจากพิษบาดแผลในภารกิจโจมตีทางอากาศโดยโดรนฝรั่งเศสและชาติพันธมิตร ทางการฝรั่งเศส ระบุว่า ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป หรืออียู กองทัพมาลี และไนจีเรีย เกิดขึ้นเมื่อเดือนส.ค. ที่ผ่านมา     นายซาห์ราวีถือเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของ 7 ชาติซาเซล ได้แก่ บูร์กินาฟาโซ ชาด มาลี ซูดาน เอริเทรีย และไนเจอร์ และไนจีเรีย โดยเป็นบุคคลที่ก่อเหตุโจมตีในพื้นที่มาหลายครั้ง ในจำนวนนี้ เป็นทหารอเมริกัน เจ้าหน้าที่มนุษยธรรมฝรั่งเศส และพลเรือนแอฟริกันรวมเกือบ 3 พันราย ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงแสดงความยินดีต่อความสำเร็จที่เกิดขึ้น แต่เตือนว่า กลุ่มไอเอสแห่งซาฮารา หรือไอเอสจีเอส อาจหาผู้นำคนใหม่ได้ พร้อมระบุว่า แม้ที่ผ่านมาจะสามารถสังหารผู้นำระดับสูงของกลุ่มไอเอสได้ แต่กลุ่มยังคงเดินหน้าขยายพื้นที่การโจมตีอย่างไม่หยุดยั้ง นางฟลออองซ์ ปาร์ลี…