ฝ่ายต้านรัฐบาลทหารพม่าเปลี่ยนยุทธวิธีโจมตีพุ่งเป้าทรัพย์สินกองทัพ เสาสื่อสารหลายสิบโดนระเบิดพังยับ

Loading

  รอยเตอร์ – คาดว่าประชาชนในพม่าราว 700,000 คน ไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ หลังเกิดเหตุโจมตีอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ดำเนินการโดย Mytel บริษัทที่ควบคุมโดยกองทัพบางส่วนระบุ ท่ามกลางรายงานที่ว่าเสาสัญญาณมือถือของบริษัทได้รับความเสียหายหลายสิบต้น เหตุระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้งนับตั้งแต่รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ได้ประกาศทำสงครามป้องกันประชาชนกับรัฐบาลทหารเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พม่าตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่รัฐบาลของอองซานซูจีถูกโค่นล้ม ที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการผละงานทั่วประเทศ และการเกิดขึ้นของกองกำลังติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหาร นอกจากนี้ ยังมีเหตุนองเลือดเกิดขึ้นในบางพื้นที่ หลังรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติประกาศการลุกฮือและเรียกร้องให้กองกำลังติดอาวุธที่รู้จักในชื่อ ‘กองกำลังป้องกันประชาชน’ มุ่งโจมตีรัฐบาลทหารและทรัพย์สินของพวกเขา “การทำลายโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมกำลังขัดขวางวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล การศึกษา และบริการสำคัญต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตของประชาชนหลายแสนคน” โฆษกของบริษัท Mytel ที่เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างกองทัพพม่า และบริษัท Viettel ของกระทรวงกลาโหมเวียดนาม ระบุ การโจมตีส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทและเสาสัญญาณมากกว่า 80 ต้นของบริษัท Mytel ถูกทำลายเสียหาย โดยกองกำลังป้องกันประชาชนได้อ้างความรับผิดชอบในบางพื้นที่ ตามการรายงานของหนังสือพิมพ์อิรวดีสัปดาห์นี้ โฆษกของกองทัพไม่ได้ตอบสนองคำร้องขอความคิดเห็นของรอยเตอร์ แต่ในจดหมายข่าวของกองทัพที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ระบุว่า มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นกับเสาโทรคมนาคมสาธารณะ ทั้งนี้ กองทัพไม่ได้ระบุเจาะจงว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร แต่ได้กล่าวหาองค์กรก่อการร้าย NUG ว่าส่งเสริมความรุนแรง และคลิปวิดีโอบนสื่อสังคมออนไลน์ได้แสดงให้เห็นสิ่งที่ดูเหมือนเป็นการระเบิดเสาสื่อสาร…

โหลดฟรี ตัวถอดรหัส REvil ransomware หลังกลุ่มแฮกเกอร์หายตัวลึกลับ

Loading

  บริษัทรักษาความปลอดภัย Bitdefender ได้ร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เปิดตัวซอฟต์แวร์ฟรีเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ REvil ซึ่งเป็นแรนซัมแวร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตี Kaseya ในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาครับ Bitdefender ไม่สามารถบอกได้ว่าหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายใดกำลังทำงานอยู่ เนื่องจากการสอบสวน REvil ของพวกเขายังดำเนินอยู่ พวกเขาไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้จนเรื่องนี้จะสิ้นสุดเสียก่อนครับ และพวกเขาระบุว่าพวกเขาควรปล่อยตัวถอดรหัสโดยเร็วที่สุดเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ถูกโจมตีโดย REvil ransomware Bitdefender อ้างว่าตัวถอดรหัสสากลสามารถปลดล็อกไฟล์บนระบบใด ๆ ที่ REvil เข้ารหัสก่อนวันที่ 13 กรกฎาคมของปีนี้ แต่การหายตัวไปของกลุ่ม REvil ก่อนหน้านี้ (ไม่รู้โดนอุ้มหรือเปล่านะ) ทำให้เหยื่อไม่สามารถจ่ายค่าไถ่เพื่อปลดล็อคไฟล์ของตนเองได้ จึงปล่อยซอฟต์แวร์ฟรีเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ สำหรับใครที่ต้องการเก็บเครื่องมือถอดรหัส หรืออ่านคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ REvil สามารถดูได้ที่ >> https://www.bitdefender.com/…/bitdefender-offers-free-univ…/   —————————————————————————————————————————————————- ที่มา : TechHub          / วันที่เผยแพร่  17 ก.ย.2564 Link : https://www.techhub.in.th/free-universal-decryptor-for-revil-sodinokibi-ransomware/

แกะรอย “ก่อการร้าย” ในไทย สัญญาณเตือนภัยจาก ญี่ปุ่น

Loading

  ปฐมบท การก่อความไม่สงบเริ่มปี 2558 หลัง “รัฐประหาร” ไม่ถึงปี เกิดเหตุลอบวางระเบิดใจกลาง กทม. หลายครั้ง เช่นเดียวหลายจังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่ยังมีความคลุมเครือว่าเป็นเรื่องการเมือง หรือ “ก่อการร้าย”   พลันที่กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ส่งสัญญาณไปยังสถานทูตต่างๆที่ประจำในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย แจ้งเตือนพลเมืองให้เฝ้าระวัง “ก่อการร้าย” หลัง “ตอลิบัน” ยึด “อัฟกานิสสถาน” และทยอยปล่อยนักโทษมุสลิม ทั้ง มาเลเซีย,อินโดนีเซีย,ฟิลิปปินส์ ที่ถูกสหรัฐฯควบคุมตัวก่อนหน้านี้กลับประเทศ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการไปยัง “หน่วยงานความมั่นคง” ประสานไปยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียขอข้อมูล “ก่อการร้าย” แม้จะไม่ได้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากข่าวที่ปรากฎในหน้าสื่อ แต่ “พล.อ.ประวิตร” ได้กำชับ “ความมั่นคง” ไม่ให้ประมาท ติดต่อประสานข้อมูลก่อการร้ายกับเครือข่ายในภูมิภาคอาเซียนอย่างใกล้ชิด ในขณะ พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้จับตาบุคคลที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เพราะเหตุการณ์ลอบวางระเบิดแยกราชประสงค์ และ จังหวัดภาคใต้ตอนบนคือบทเรียนสำคัญ   ปฐมบท…

ดีอีเอสย้ำหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2564 เพื่อคุ้มครองประชาชนจากภัยโซเชียล

Loading

  ดีอีเอสแจงประกาศฯ “หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564” ปรับปรุงเพื่อให้กฎหมายทันสมัย สอดคล้องแนวปฏิบัติสากล มุ่งปกป้องคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมและภัยโซเชียลรูปแบบใหม่ๆ   น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และปี 2560 แต่ประกาศฉบับนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 2550 จึงต้องปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน   ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และบริบททางสังคมที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในแทบทุกกิจกรรมของชีวิตประจำวัน เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ ได้ง่าย ทำให้จำเป็นต้องมีกฎหมายที่ก้าวทันการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น สื่อโซเชียล บริการออนไลน์ หรือการให้บริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ จำเป็นที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับเดิมซึ่งใช้มานานถึง 14 ปีแล้ว เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นสากล และสามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและการคุ้มครองประชาชน ป้องกันความเสียหายต่อประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และความสงบเรียบร้อยของประเทศ…

ยูเอ็น เรียกร้องพักแผนการจำหน่าย-ใช้งานปัญญาประดิษฐ์

Loading

  ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการประกาศพักแผนจำหน่ายและใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI – Artificial Intelligence) ทั้งหลายไว้ชั่วคราว เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงรุนแรงด้านสิทธิมนุษยชน ในรายงานล่าสุดที่จะนำเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มิเชลล์ แบเชเลท์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวบรวมบทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีล้ำสมัยต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งชี้ว่า AI นั้น อาจเป็นวิวัฒนาการที่ดี แต่ก็อาจล่วงล้ำและมีผลกระทบเลวร้ายรุนแรงต่อสิทธิ์ของผู้คน รวมทั้งความเป็นส่วนตัวของประชาชนได้ ขณะเดียวกัน เพ็กกี ฮิคส์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวด้วยว่า ระบบ AI อาจมีข้อผิดพลาดและมาพร้อมกับความเอนเอียงที่ฝังตัวอยู่ในระบบ ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและทำลายโอกาสการหางานหรือการได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคมได้ รายงานฉบับนี้ยังชี้ด้วยว่า ปัจจุบัน รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายเริ่มนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยในการระบุอัตลักษณ์ของบุคคล ซึ่งเปิดทางให้มีการใช้งานเพื่อติดตามตัวบุคคลได้อย่างไม่จำกัดได้ด้วย เพ็กกี ฮิคส์ กล่าวเสริมว่า ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแนะนำให้มีการประกาศพักการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้าไบโอเมตริกในพื้นที่สาธารณะด้วย เนื่องจากการใช้งานระบบนี้อาจเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อเสรีภาพของประชาชนได้   ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : VOA Thai      / วันที่เผยแพร่  17 ก.ย.2564 Link :…