เกมรุกครั้งใหญ่ ‘ออคัส’ คลื่นยักษ์สะเทือนอาเซียน

Loading

  “ออคัส” เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มความร่วมมือจากภายนอกภูมิภาค ที่มีสหรัฐเป็นแกนนำ พุ่งเป้าจีนโดยตรง และอาเซียนซึ่งเป็น “จุดยุทธศาสตร์” ของอินโด-แปซฟิก หนีไม่พ้นที่จะต้องเผชิญกับแรงเสียดทาน   พันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคงที่ใช้ชื่อว่า “ออคัส” ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่างสหรัฐ กับสหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย มีเป้าหมายชัดเจนคือ “การขอมีส่วนร่วม” กับอนาคตในด้านการรักษาสมดุลทางยุทธศาสตร์ของทวีปเอเชีย จากการที่ออสเตรเลียจะได้รับการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ จากสหรัฐและสหราชอาณาจักร ซึ่งกลายเป็นประเด็นร้อนที่ยังคงเป็นข้อพิพาทระหว่างออสเตรเลียกับฝรั่งเศส ตลอดจนอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป เนื่องจากเกี่ยวโยงกับเม็ดเงินมหาศาล และการสร้างงานภายในภูมิภาค   The White House   แม้ไม่มีการเอ่ยถึงจีนอย่างตรงไปตรงมา แต่ออคัสกำลังเป็นเครื่องมือชิ้นล่าสุดของสหรัฐ ในการกดดันจีนและช่วงชิงส่วนแบ่งด้านผลประโยชน์จากภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ( ยูเอ็นจีเอ ) ครั้งที่ 76 ที่นครนิวยอร์ก ว่าสหรัฐ “ร่วมมือกับทุกฝ่าย” และ “ไม่แสวงหาสงครามเย็นครั้งใหม่” อย่างไรก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การถือกำเนิดของออคัส คือจุดเริ่มต้นของการก้าวย่างไปสู่เส้นทางนั้น   เรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังงานดีเซล “เอชเอ็มเอเอส แรนกิน” ของกองทัพเรือออสเตรเลีย…

แม่พิมพ์ของชาติ! อินเดียสั่งตัดสัญญาณเน็ตมือถือทั่วรัฐ ป้องกันโกงข้อสอบคัดเลือกครู

Loading

  เขตต่างๆรวมแล้ว 16 แห่งในรัฐราชสถานของอินเดียเมื่อวันอาทิตย์(26ก.ย.) สั่งตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตมือถือและบริการรับส่งข้อความเอสเอ็มเอสเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ระหว่างที่รัฐแห่งนี้จัดการสอบคัดเลือกครูเข้าสอนตามโรงเรียนต่างๆของทางรรัฐบาล ตามรายงานของสำนักข่าวเอ็นดีทีวี โดยรัฐบาลแห่งรัฐตัดสินใจใช้มาตรการดังกล่าว ก็เพื่อป้องกันการโกงข้อสอบ การสอบที่เรียกว่า Rajasthan Eligibility Examination for Teachers (REET) เป็นการสอบที่มีการแข่งขันสูงมาก นักศึกษามากกว่า 1,600,000 คน ต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับคัดเลือกเข้าทำงานตามโรงเรียนรัฐต่างๆแค่ 31,000 อัตรา และคำสั่งตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตมือถือและบริการรับส่งข้อความเอสเอ็มเอสเพื่อป้องกันการโกงข้อสอบของทางรัฐราชสถาน ครอบคลุมเขตต่างๆรวมแล้ว 16 แห่ง ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยที่มีผู้สมัครจำนวนมากที่สมัครสอบคัดเลือก REET ทางรัฐบาลรัฐราชสถานยังจำเป็นต้องเตรียมการต่างๆนานาอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งด้านความปลอดภัยและการเดินทาง ในมาตรการป้องกันไว้ก่อนสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ขณะที่การสอบครั้งนี้กระจายไปตามสนามสอบต่างๆรวมแล้วถึง 3,993 แห่งทั่วรัฐ การโกงข้อสอบดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหมใดๆในอินเดีย เมื่อปีที่แล้วสำนักข่าว thehindu เคยรายงานว่าเมื่อถึงช่วงเวลาการสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับชั้นต่างๆ จะเกิดการโกงข้อสอบครั้งใหญ่ และที่น่าตกใจคือในการโกงนั้น คนในครอบครัวของผู้เข้าสอบ มักจะมีส่วนรู้เห็นหรือร่วมทำการโกงทั้งสิ้น ในครั้งนั้น ในการสอบที่โรงเรียนในรัฐพิหาร ผู้ปกครองของผู้เข้าสอบนั้น ต่างได้ปีนอาคารที่จัดไว้สำหรับสอบ เพื่อทำการส่งกระดาษคำตอบให้ผู้ที่เข้าสอบอย่างเปิดเผย และมีผู้บันทึกภาพเหตุการณ์ไว้ มหกรรมโกงข้อสอบดังกล่าว เป็นการสอบเอนท์ทรานซ์เพื่อคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไรในอินเดีย…

รู้จักกับ FIDO2 มาตรฐานการพิสูจน์ตัวตนบนโลกออนไลน์

Loading

    ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่า Password เป็นการพิสูจน์ตัวตนที่ล้าสมัยและควรเก็บเข้ากรุได้แล้ว การดูแลรักษา Password เทียบกับประโยชน์ที่ได้จากการใช้งานในปัจจุบันห่างไกลจากความคุ้มค่ามากนัก และมักนำไปสู่เหตุ Credential Theft หรือถูกแฮ็กได้ ต่อให้เป็นรหัสผ่านที่แข็งแกร่งที่สุด ก็อาจตกเป็นเหยื่อของการถูก Phishing ได้เช่นกัน บทความนี้ Thales จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ FIDO2 ซึ่งเป็นมาตรฐานการพิสูจน์ตัวตนบนโลกออนไลน์ที่จะช่วยให้องค์กรก้าวออกจากการใช้ Password และสามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างมั่นคงปลอดภัยกว่า ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด eBook เรื่อง “The FIDO Authentication Handbook” จาก Thales ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่     หมดยุคการพิสูจน์ตัวตนด้วย Password แล้วหรือยัง? สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ การซัพพอร์ตและดูแลรักษา Password เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับฝ่าย IT การใช้ Password เพิ่มภาระให้กับงาน Helpdesk ทั้งยังสร้างความซับซ้อนให้ระบบและ User Experience ที่ไม่สู้ดีอันเนื่องมาจากการต้องคอยรีเซ็ตรหัสผ่านบ่อยๆ ที่สำคัญที่สุดคือ Password ไม่เพียงพอต่อการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ในปัจจุบันและความจำเป็นด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศขององค์กรอีกต่อไป จากรายงาน…

หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ก็ใช้ Ad Blocker เพื่อป้องกันภัยจากโฆษณาออนไลน์

Loading

  ประชาคมข่าวกรอง (Intelligence Community – IC) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านข่าวกรองของรัฐบาลกลาง อาทิ สำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency – CIA) สำนักงานด้านความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ (National Security Agency – NSA) และ สำนักงานสืบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation – FBI) ได้ใช้เทคโนโลยีปิดกั้นโฆษณาออนไลน์ (Ad blockers) เพื่อป้องกันภัยทางไซเบอร์ที่อาจมากับโฆษณา “IC ได้ใช้เทคโนโลยีปิดกั้นโฆษณาออนไลน์ในระดับเครือข่าย และใช้ข้อมูลในหลายระดับที่รวมถึงข้อมูลระบบชื่อโดเมนในการปิดกั้นเนื้อหาโฆษณาที่ไม่เป็นที่ต้องการและอันตราย” ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสารสนเทศของ IC ระบุในจดหมายที่ส่งถึงวุฒิสมาชิก รอน ไวเดน (Ron Wyden) ที่ผ่านมา ไวเดน พร้อมด้วยวุฒิสมาชิกอีกหลายคน อาทิ อลิซาเบธ วอร์เรน (Elizabeth Warren) เชอร์ร็อด บราวน์ (Sherrod Brown)…

AlphaBay อดีตตลาดมืดออนไลน์ที่ใหญ่สุดคืนชีพ

Loading

  กว่า 4 ปีผ่านไปนับจากวันที่ AlphaBay ตลาดมืดออนไลน์บนดาร์กเว็บที่ใหญ่ที่สุดในโลกต้องถึงจุดจบเมื่อปี 2560 หลังจากที่ อเล็กซานเดอร์ เคซส์ (Alexander Cazes) แอดมินชาวแคนาเดียนถูกจับและฆ่าตัวตายในคุกที่ไทย และเซิร์ฟเวอร์ที่ลิทัวเนียถูกเอฟบีไอบุกยึด DeSnake บุคคลที่เรียกตัวเองว่าเป็นแอดมินเบอร์ 2 และผู้ร่วมก่อตั้ง AlphaBay ได้กลับมาเปิดตลาดมืดออนไลน์แห่งนี้อีกครั้งอย่างเปิดเผย “เหตุผลสำคัญที่สุดที่ข้าพเจ้ากลับมาก็เพื่อทำให้ชื่อของ AlphaBay เป็นที่จดจำมากกว่าเดิม” DeSnake ระบุในข้อความเข้ารหัสถึงสำนักข่าว Wired เขากลับมาเปิดตลาดมืดออนไลน์แห่งนี้อีกครั้ง ก็เพราะได้อ่านคำแถลงการจับกุมของเคซส์โดยเอฟบีไอที่เข้ารู้สึกว่าเป็นการทำลายเกียรติของ AlphaBay โดยเขาระบุว่า “ข้าพเจ้ามาที่นี่ก็เพื่อกอบกู้ชื่อเสียงของ AlphaBay” DeSnake ปรากฎตัวครั้งแรกบน AlphaBay ในปี 2557 ในฐานะผู้ขายข้อมูลบัตรเครดิต และได้เข้าไปตีสนิทกับเคซส์ที่ใช้ชื่อว่า Alpha02 โดยการแฮก AlphaBay และอาสาช่วยพัฒนาระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้ จากนั้นมาก DeSnake ก็ได้เข้ามารับบทด้านการรักษาความปลอดภัย AlphaBay โฉมใหม่ได้ปรับปรุงมาตรการรักษาความเป็นนิรนามของผู้ซื้อขายมากขึ้น อย่างการบังคับให้้ใช้คริปโทเคอเรนซีในสกุล Monero ที่ย้อนรอยเส้นทางการเงินได้ยากกว่า Bitcoin หลายเท่า หรือการโน้มน้าวให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนจากการใช้เบราว์เซอร์ Tor…

รัฐบาลทหารพม่าโทษปัญหาอินเทอร์เน็ตล่มหลายพื้นที่เป็นฝีมือฝ่ายต่อต้าน

Loading

  เอเอฟพี – รัฐบาลทหารของพม่าปฏิเสธระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคที่มีความขัดแย้ง โดยกล่าวโทษปัญหาสัญญาณขาดหายกับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านการรัฐประหารที่ทำลายเสาสื่อสารของกองทัพ พม่าตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่กองทัพเข้าโค่นล้มรัฐบาลของอองซานซูจีในเดือนก.พ. ที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยขนาดใหญ่ที่ทำให้กองกำลังความมั่นคงดำเนินการปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้ชุมนุมบางส่วนในขบวนการต่อต้านการรัฐประหารได้จัดตั้งกองกำลังปกป้องประชาชนขึ้นในพื้นที่ของตนเองเพื่อตอบโต้ และในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเขาได้ทำลายเสาสื่อสารหลายต้นที่เป็นของบริษัท Mytel ของกองทัพในรัฐชิน ทางภาคตะวันตกของประเทศ รายงานเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตและข้อมูลล่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่กองกำลังปกป้องท้องถิ่นและกองทัพกำลังต่อสู้กัน เกิดขึ้นหลังจากการปะทะเพียงไม่นาน กระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลทหารปฏิเสธว่าสภาบริหารแห่งรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ “ที่จริงแล้ว การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากการกระทำก่อการร้าย เช่น การทำลายเสาสื่อสารโดยกลุ่มก่อการร้าย กระทรวงขอให้คณะผู้แทนต่างประเทศในย่างกุ้งตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนออกคำแถลง” กระทรวงการต่างประเทศ ระบุ สัญญาณอินเทอร์เน็ตล่มไม่ใช่เรื่องแปลกในพม่าช่วงหลังการรัฐประหาร เนื่องจากรัฐบาลทหารเคยสั่งระงับอินเทอร์เน็ตในช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 ก.พ. ที่ทหารเข้าจับกุมตัวซูจี และนักการเมืองระดับสูงคนอื่นๆ ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังสั่งระงับสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศในช่วงเวลากลางคืนในช่วงหลายสัปดาห์หลังจากการยึดอำนาจ ในวันอาทิตย์ (26) นักสู้ของฝ่ายต่อต้านการรัฐประหารกล่าวกับเอเอฟพีว่าบริการโทรคมนาคมในเมืองปินแลบู กอลิน และวันโท ของเขตสะกาย ที่เกิดเหตุปะทะกับกองทัพอย่างรุนแรง ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงเช้าตรู่ของวัน “เราไม่สามารถใช้งานอินเทอร์และโทรศัพท์ได้ตั้งแต่เวลา 2.00 น.” นักสู้ของฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร ที่หลบหนีออกจากเมืองกอลิน กล่าวกับเอเอฟพี และเสริมว่ากองกำลังความมั่นคงกำลังระดมกำลังเข้ามาในพื้นที่ “ผู้คนต่างกังวลว่ารัฐบาลทหารจะดำเนินการปฏิบัติการครั้งใหญ่” นักสู้ของฝ่ายต่อต้าน กล่าว ส่วนสมาชิกของกองกำลังท้องถิ่นอีกรายหนึ่งกล่าวว่าพวกเขาไม่สามารถติดต่อนักสู้ของพวกเขาที่อยู่ในเมืองปินแลบูได้ การโจมตีของนักสู้ของฝ่ายต่อต้านการรัฐประหารเกิดบ่อยครั้งขึ้นหลังรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเรียกร้องให้พลเมืองมุ่งเป้าโจมตีทรัพย์สินของทหารในพื้นที่ของพวกเขา ผู้สังเกตการณ์ท้องถิ่นระบุว่า มีพลเรือนถูกสังหารมากกว่า 1,100 คน และอีกราว…