ข่าวปลอม! ถ่ายภาพในสถานีรถไฟหัวลำโพง ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น

Loading

  จากกรณีที่มีการให้ข้อมูลว่า สถานีรถไฟหัวลำโพงได้ประกาศห้ามถ่ายภาพในสถานี ซึ่งหากจะถ่ายต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้ทำการห้ามถ่ายรูป ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แต่อย่างใด ยืนยันไม่มีการปิดประกาศห้าม ผู้ที่โดยสารรถไฟหรือบุคคลทั่วไปสามารถถ่ายได้ตามปกติ วันนี้ (13 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่าตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ถ่ายภาพในสถานีรถไฟหัวลำโพง ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการให้ข้อมูลว่า สถานีรถไฟหัวลำโพงได้ประกาศห้ามถ่ายภาพในสถานี ซึ่งหากจะถ่ายต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคมได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้ทำการห้ามถ่ายรูป ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แต่อย่างใด ยืนยันไม่มีการปิดประกาศห้าม ผู้ที่โดยสารรถไฟหรือบุคคลทั่วไปสามารถถ่ายได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ขอความร่วมมือประชาชนให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ถ่ายรูปไม่เหมาะสม อนาจาร และหลายกรณีถ่ายในบริเวณพื้นที่อันตราย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออันตรายได้ เช่น บริเวณรางรถไฟ หรือขบวนรถไฟเปล่า ที่อาจมีการพลาดพลั้ง หรือเกิดอุบัติเหตุได้ อีกกรณีที่พบมากคือการถ่ายแบบแฟชั่นของร้านเสื้อผ้าที่ยกอุปกรณ์การถ่ายทำเข้ามาใช้ถ่ายทำโดยไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งพบว่าบางกรณีสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ที่มาใช้บริการของสถานีรถไฟหัวลำโพง และในบางกรณีทำการถ่ายทำกันในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย จึงอยากขอความร่วมมือหากจะเข้ามาถ่ายทำการถ่ายแฟชั่นในรูปแบบดังกล่าวกรุณาทำหนังสือเพื่อขออนุญาต และเพื่อความปลอดภัยของทีมงานรวมถึงความปลอดภัยของพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเองด้วย ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง…

ไม่สนเรื่องฉาว สำนักงานตำรวจเยอรมันใช้ Pegasus สปายแวร์ ยันใช้เพื่อการสืบสวนคดี

Loading

  แม้ Pegasus สปายแวร์นั้นมีความอื้อฉาว โดยก่อนหน้านี้ สำนักข่าวรวมตัวแฉสปายแวร์ Pegasus ว่ามีรัฐบาลเผด็จการซื้อไปใช้สอดส่องนักข่าว นักเคลื่อนไหว แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติของเยอรมัน หรือ BKA ก็ยังซื้อสปายแวร์ Pegasus จากบริษัท NSO ในอิสราเอลมาใช้ โดยยืนยันว่าใช้เพื่อการสอบสวนคดีอาชญากรรมและการก่อการร้าย Deutsche Welle (DW) สื่อเยอรมันระบุว่า สำนักงานตำรวจได้จัดซื้อสปายแวร์ Pegasus มาตั้งแต่ปี 2019 เป็นการซื้ออย่างลับๆ ซึ่งค้านกับคำแนะนำของนักกฎหมายและผู้สนับสนุนความเป็นส่วนตัวที่แย้งว่าตัวซอฟต์แวร์สามารถทำได้มากกว่าที่กฎหมายความเป็นส่วนตัวของเยอรมนีจะอนุญาต     Citizen Lab สำนักวิจัยเทคโนโลยี ข้อมูลและสิทธิในแคนาดาเคยออกมาบอกว่าตัวสปายแวร์ Pegasus นั้นสามารถหลีกเลี่ยงโปรโตคอลความปลอดภัยทั้งใน iOS และ Android และยังสามารถหลีกเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัยใน iOS 14 ได้อย่างง่ายดาย มีโอกาสที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลหลายอย่างทั้งหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ติดต่อ ข้อความอีเมล ข้อความในโซเชียลมีเดีย Pegasus ยังสามารถเปิดใช้งานไมโครโฟนและวิดีโอเพื่อสอดแนมแบบเรียลไทม์ สามารถใช้บันทึกการสนทนา เข้าถึงการตั้งค่า อ่านข้อมูลตำแหน่ง และแม้กระทั่งหลีกเลี่ยงการเข้ารหัสได้ ด้านสำนักงานตำรวจยืนยันว่าใช้ Pegasus เพื่อการสืบสวนอาชญากรรมและการก่อการร้ายเท่านั้น…

เอฟบีไอเปิดเผยรายงานลับชิ้นแรกในโอกาสครบรอบ 20 ปี 9/11

Loading

World Trade Center   WASHINGTON — สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ เปิดเผยรายงานที่ถูกยกเลิกชั้นความลับซึ่งเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนผู้ก่อการร้ายชาวซาอุดิอาระเบียสองคนที่จี้เครื่องบินเพื่อโจมตีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 หรือเหตุการณ์ 9/11 เอกสารดังกล่าวระบุถึงการติดต่อระหว่างผู้จี้เครื่องบินกับพลเมืองชาวซาอุฯ ในสหรัฐฯ แต่มิได้มีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลซาอุฯ มีส่วนร่วมในการวางแผนก่อการร้ายครั้งนี้ เอกสารชิ้นนี้เปิดเผยในโอกาสครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ 9/11 ถือเป็นเอกสารการสืบสวนชิ้นแรกที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีคำสั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนเอกสารลับต่าง ๆ ว่าชิ้นไหนสามารถเปิดเผยได้หรือไม่ในช่วงหกเดือนข้างหน้า เอกสารความยาว 16 หน้า สรุปคำสัมภาษณ์ของเอฟบีไอเมื่อปี ค.ศ. 2015 ต่อชายผู้หนึ่งที่ติดต่อกับพลเมืองชาวซาอุฯ ในสหรัฐฯ ซึ่งให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้ายให้เดินทางเข้าประเทศก่อนที่จะเกิดการโจมตี   แรงกดดันจากครอบครัวผู้เสียชีวิตใน 9/11 ปธน.ไบเดน ถูกกดดันจากครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ต้องการให้รัฐบาลเปิดเผยเอกสารลับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลซาอุฯ ในการโจมตี 9/11 เพื่อนำไปใช้ในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป การเปิดเผยเอกสารลับชิ้นแรกนี้มีขึ้นในคืนวันเสาร์ที่ 11 กันยายน ตามเวลาในสหรัฐฯ…

ย้อนดูวิวัฒนาการของข่าวปลอม จากทฤษฎีสมคบ 9/11 สู่ข้อมูลบิดเบือนเรื่องโควิด

Loading

  เป็นเวลาถึง 2 ทศวรรษแล้วที่เหตุการณ์ 9/11 ได้จุดประกายให้คนบางส่วนหลงเชื่อทฤษฎีสมคบคิดต่างๆ ที่พยายามสร้างเรื่องมาอธิบายว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สังหารหมู่ที่แท้จริง   อิทธิพลของข้อมูลเท็จที่ระบาดอย่างแพร่หลายในโลกอินเตอร์ในตอนนั้นยังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น การกุเรื่องว่าเชื้อโครานาไวรัสเป็นอาวุธชีวภาพ หรือการบิดเบือนเรื่องผลการเลือกตั้งประธาธิบดีสหรัฐฯรอบล่าสุดว่าเกิดการโกงคะแนนขึ้นจนทำให้ทรัมป์พ่ายแพ้ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กถล่มลงมา เนื่องจากการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ทฤษฎีสมคบคิดอันแรกเกี่ยวกับเหตุการณ์ 9/11 ก็ผุดขึ้นบนเว็บบอร์ดในโลกออนไลน์ ผู้เผยเเพร่เขียนว่าตึกทั้งสองนั้นถล่มลงมาเพราะระเบิดที่ถูกติดตั้งไว้ในตัวอาคารก่อนหน้านี้ ไม่ใช่เพราะเครื่องบินที่ถูกผู้ก่อการร้ายจี้และบังคับพุ่งชน ทฤษฎีสมคบคิดข้างต้นนั้นเป็นหนึ่งในหลายสิบทฤษฎีที่กลุ่มคนที่ไม่ชอบอดีตประธาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช หรือคนที่ต่อต้านสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานปักใจเชื่อ ซึ่งแม้ในยุคต่อมาที่สหรัฐฯมีบารัค โอบามาเป็นประธาธิบดี คนบางส่วนก็เชื่อว่า 9/11 นั้นเกิดขึ้นโดย Deep State หรือผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของรัฐบาลสหรัฐฯ   ผลสำรวจพบว่าความเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับ 9/11 พุ่งสูงในช่วงเวลาหลายปีหลังเกิดการก่อการร้ายขึ้น แต่ในที่สุดกระแสดังกล่าวก็ค่อยๆ ลดลง มีเพียงคนอเมริกันส่วนน้อยที่ยังเคลือบแคลงใจถึงคำอธิบายของรัฐบาลกับสิ่งที่เกิดขึ้น มาร์ค เฟนสเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติของทฤษฎีสมคบคิดและอาจารย์ด้านกฎหมายที่ University of Florida บอกว่า สำหรับบางคน มันฟังดูเหมือนกับภาพยนตร์เมื่อพวกเขาได้ยินว่าเครื่องบินพุ่งตึกและพยายามพุ่งชนอาคาร Pentagon หรือสำนักงานใหญ่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พวกเขาพยายามที่จะทำความเข้าใจว่าเหตุการณ์เหลือเชื่อแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทัศนคติที่ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นความจริงหรือทฤษฎีสมคบคิดจึงเกิดขึ้นเมื่อมีวิกฤตร้ายแรง ทางแคเร็น ดักลาส อาจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย…

โฆษก กต. เผยกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นเตือนพลเมืองที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียน เกี่ยวกับเหตุก่อการร้าย

Loading

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ   กระทรวงการต่างประเทศของไทยยอมรับว่า ทางการญี่ปุ่นได้ส่งอีเมลแจ้งคนญี่ปุ่นที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทยให้ระมัดระวังอาจมีการก่อการร้ายจริง นายธานี แสงรัตน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนกรณีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นแจ้งคนญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ระมัดระวังอาจมีการก่อการร้ายนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ตรวจสอบเบื้องต้นกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว พบว่า 1. เป็นการส่งอีเมลนี้ไปยังคนญี่ปุ่นในไทย เป็นคำสั่งที่ได้รับมาจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นก็ไม่ได้ระบุที่มาของข้อมูล และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นไม่ได้ทราบข้อมูลที่มากไปกว่านี้ 2. กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นสั่งการให้ส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังคนญี่ปุ่นที่อยู่ในภูมิภาคแถบนี้ ไม่ใช่เฉพาะไทย   นอกจากอีเมลแล้ว บนเว็บไซต์ทางการของญี่ปุ่น www.anzen.mofa.go.jp ยังแจ้งเตือนพลเมืองญี่ปุ่นในไทยด้วย   บีบีซีไทยได้สอบถามไปยังสำนักข่าวสารญี่ปุ่น สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (13 ก.ย.) ได้รับคำอธิบายในทิศทางเดียวกันกับคำชี้แจงของโฆษกกระทรวงต่างประเทศของไทยว่า คำเตือนดังกล่าวมาจากกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น และระบุว่าข้อความดังกล่าวเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น เพราะต้องการสื่อสารเฉพาะกลุ่มชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศ ทั้งนี้ คำเตือนทั้งบนเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นและเนื้อหาในอีเมลที่ส่งมาให้กับพลเมืองญี่ปุ่นในไทยลงวันที่เดียวกันคือ 12 ก.ย. เวลาประมาณ 17.00 น. โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ พบว่ามีข้อมูลที่เป็นไปได้ที่จะเกิดการโจมตีก่อการร้ายด้วยระเบิดฆ่าตัวตายในหลายพื้นที่ที่มีผู้ชุมนุมกัน เช่น ศาสนาสถาน เป็นต้น จึงเรียกร้องให้พลเมืองญี่ปุ่นพึงระวังตัวให้เต็มที่ สำหรับเนื้อหาของอีเมลแจงดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และได้รับความสนใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือเพจ “Drama Addict” ซึ่งมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากกว่า 2.8 ล้านคน…

ตัดตอนแฮกเกอร์ สหรัฐตั้งข้อหาชาวยูเครน เหตุถอดรหัสผ่านขายเว็บมืด

Loading

  สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศลำดับต้น ๆ ที่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ อาจจะเพราะเรื่องของกฏหมายและค่าปรับมหาศาล ทำให้หลายธุรกิจยอมจ่ายเงินมากกว่าจะโดนฟ้องร้องครับ เมื่อไม่นานมานี้ สหรัฐฯ ตั้งข้อหาชายชาวยูเครนรายหนึ่ง ฐานใช้กองทัพคอมพิวเตอร์ช่วยถอดรหัสผ่านล็อกอินนับพันรายการต่อสัปดาห์ และใช้กฎหมายขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนมาลงโทษในสหรัฐ Ivanov-Tolpintsev ถูกกล่าวหาว่าเป็นแฮกเกอร์ผู้ใช้ botnet เพื่อขโมยข้อมูลบางส่วน จากนั้นจึงใช้เครื่องต่าง ๆ เพื่อคาดเดารหัสผ่านเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ทั่วโลก โดยสามารถถอดรหัสข้อมูลรับรองการเข้าสู่ระบบของคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2,000 เครื่องทุกสัปดาห์ และเมื่อได้รหัสมา รหัสดังกล่าวจะถูกขายให้กับอาชญากรไซเบอร์ผ่าน Dark Web เพื่อนำไปใช้โจมตีต่อไป ภายในเดือนเมษายน 2017 มีการสืบพบว่า Ivanov แจ้งต่อแอดมินของ Darkweb ว่า “เขาได้รวบรวมข้อมูลรับรองการเข้าสู่ระบบของคอมพิวเตอร์จำนวนกว่า 20,000 เครื่อง และได้ขายข้อมูลของเหยื่อชาวอเมริกันที่อยู่ในแคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา และแมริแลนด์ การส่งผู้ร้ายข้ามแดนนี้ เป็นความพยายามในการปราบปรามแรนซัมแวร์ ซึ่งคุกคามธุรกิจ โรงเรียน โรงพยาบาล และแม้แต่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ของสหรัฐอเมริกา Ivanov-Tolpintsev ถูกจับกุมเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วในโปแลนด์ และตอนนี้ เขาถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา และรับโทษสูงสุดถึง 17 ปี ที่มาข้อมูล…