สงครามโลกครั้งที่ 2 กับบทบาทขบวนการเสรีไทยสายอังกฤษ

Loading

  2 ก.ย. 2564 ครบรอบ 76 ปีของการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ ผมขอใช้โอกาสนี้เล่าถึงบทบาทของคนไทยในอังกฤษที่เข้าเป็นสมาชิกของหน่วยงานราชการลับของรัฐบาลอังกฤษภายใต้ชื่อ Special Operations Executive หรือ SOE ที่ทำงานด้านหาข่าว สอดแนม และจารกรรมฝ่ายอักษะในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนไทยกลุ่มนี้คือส่วนหนึ่งของขบวนการเสรีไทยสายอังกฤษที่ร่วมมือกับขบวนการเสรีไทยในประเทศไทยที่นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ นำข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพญี่ปุ่นที่ยึดครองไทยขณะนั้น แจ้งต่อประเทศสัมพันธมิตร จนนำไปสู่การสิ้นสุดของสงครามในตะวันออกไกล และสงครามโลกครั้งที่สองในเวลาต่อมา บทความนี้ให้ความสำคัญกับบทบาทของคนไทยกลุ่มนี้ โดยอ้างอิงข้อมูลส่วนใหญ่จากเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ และ SOE ที่ระบุถึงข้อมูลของบุคคลสำคัญของไทย ต่างจากที่คนไทยเข้าใจกัน เช่น ใช้ตำแหน่งของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช และ พระยามนูเวทย์วิมลนาทว่า อัครราชทูต (Minister) ไม่ใช่เอกอัครราชทูต (Ambassador)     ช่วงเริ่มต้นของสงครามมหาเอเชียบูรพา ตั้งแต่ 02.00 น. ของ 8 ธ.ค. 2484 เรือรบญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ สงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์…

ตร.แพร่คลิป ‘สมาร์ทเซฟตี้โซน’ สร้างพื้นที่ปลอดภัย นำร่อง 15 สถานีตำรวจ

Loading

  ตร. เผยแพร่คลิปประชาสัมพันธ์โครงการ “สมาร์ทเซฟตี้โซน” สร้างพื้นที่ปลอดภัยในทุกพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ นำร่อง 15 สถานี ใช้เทคโนนวัตกรรมสุดล้ำ เข้ามาพัฒนาการทำงานของตำรวจ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์โครงการ SmartSafetyZone4.0 ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นแนวคิดของทาง พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ที่ตั้งใจจะเปลี่ยนถนนสายเปลี่ยวให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ซึ่ง ผบ.ตร.เคยกล่าวไว้ว่า “มีซอยไหนสักซอยไหมที่ผู้หญิงสามารถเดินจากปากซอยเข้าบ้านได้ตอนสามสี่ทุ่มหรือหลังจากนั้น โดยไม่รู้สึกกลัวอะไร” นำมาสู่โครงการ สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย รอง ผบ.ตร. เป็นที่ปรึกษา พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ปรึกษา (สบ9) ขับเคลื่อน คัดเลือกพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว แหล่งเศรษฐกิจ เอาความเดือดร้อนประชาชนเป็นตัวตั้ง พื้นที่ที่มีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม คดีเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินหรือคดีอื่นๆ ที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว เป็นพื้นที่นำร่อง 15 สถานีตำรวจทั่วประเทศ…

5 สิ่งควรทำ ก่อนส่งเอกสารออนไลน์

Loading

ปัจจุบันมิจฉาชีพได้เปลี่ยนวิธีการหลอกลวงไป อย่างคาดไม่ถึง มีการสร้างเพจร้านค้าปลอม เพจให้บริการกู้เงิน หรือในรูปแบบบริการอื่นๆ เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะถูกหลอกล่อด้วยคำพูดต่างๆ เพื่อให้ส่งเอกสารประจำตัว เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต หรือเอกสารอื่นๆ เพื่อเอาไปทำนิติกรรม หรือสัญญา ที่เจ้าของบัตรไม่ได้กระทำด้วยตนเอง ดังนั้นหากจำเป็นที่จะต้องส่งเอกสารประจำตัวให้ผู้อื่นผ่านช่องทางออนไลน์ ควรจะมีมาตราการป้องกันความปลอดภัยเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งเอกสารต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การใส่ลายน้ำ การรับรองสำเนาถูกต้อง ระบุวัตถุประสงค์ที่แน่นอน วันที่ในการใช้บัตร ทั้งนี้ถ้าหากเป็นบัตรประชาชนให้ถ่ายเฉพาะด้านหน้าเท่านั้น   ที่มา : กองบังคับการปราบปราม      /วันที่เผยแพร่  29 ส.ค.2564 Link : https://www.facebook.com/AntiFakeNewsCenter/?hc_ref=ARSp6Z7aIXf0FV3QlnlwPJ1CjeRv6EW6J7M5TpMcsU0btBM7Vcj05wLza5qPZxPbZqs&fref=nf&__tn__=kC-R

คำถามนี้ “ดี” พี่ตอบให้: e-Signature VS Digital Signature มันคืออะไร? ต้องใช้อันไหนดี??

Loading

  1. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) กับ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คืออะไร ? ตอบ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) เป็นชุดข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ เสียง ที่ใช้ระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อที่เกี่ยวข้องกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) เพื่อแส่ดงว่า บุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ส่วน ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของและสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่อได้     2. e-Signature หรือ Digital Signature แบบไหนถึงจะมีผลทางกฎหมาย ? ตอบ มีผลทางกฎหมายทั้งคู่ และมีผลเช่นเดียวกับการเซ็นบนกระดาษ     3. ทำไมต้องใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนการเซ็นบนกระดาษ ? ตอบ เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว ลดการใช้กระดาษ ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร ประหยัดค่าส่งเอกสาร มีผลทางกฎหมายเหมือนการเซ็นบนกระดาษ และยังลดการสัมผัส…

จีนออกกม.ความปลอดภัยของข้อมูล กำหนดโทษสูงสุด 50 ล้านบาท กันข้อมูลรั่วไหล

Loading

  จีนออกกม.ความปลอดภัยของข้อมูล กำหนดโทษสูงสุด 50 ล้านบาท กันข้อมูลรั่วไหล สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า กฎหมายความปลอดภัยของข้อมูลฉบับใหม่ของจีนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ซึ่งเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของรัฐบาลจีนในการกำกับดูแลภาคเทคโนโลยีของจีนให้เข้มงวดยิ่งขึ้น กฎหมายที่กล่าวอย่างกว้างๆ พยายามที่จะควบคุมบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีน และการจัดการข้อมูลของผู้ใช้หลายร้อยล้านคน นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับความกลัวที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล และจากการที่หน่วยงานของรัฐต้องพึ่งพาบริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์มากขึ้น ด้านรัฐบาลจีนอ้างว่าต้องมีกฎหมายดังกล่าวเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ เพราะบริษัทเทคโนโลยีของจีนหาทางขยายสาขาไปต่างประเทศ และทางการเกรงว่าข้อมูลภายในประเทศจะตกไปอยู่ในมือของต่างชาติ ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดความรับผิดชอบของบริษัทและองค์กรทั้งหมดมีข้อมูลอยู่ในมือ โดยมีการกำหนดโทษปรับสูงสุด 10 ล้านหยวน (50 ล้านบาท) สำหรับความผิดต่างๆ รวมถึงการรั่วไหลของข้อมูลและการไม่ยืนยันตัวตนของผู้ซื้อหรือผู้ขายข้อมูล ขอบเขตของกฎหมายนี้กว้างมาก โดยข้อมูลที่หมายถึงในกฎหมายคือข้อมูลที่จัดเก็บและจัดการภายในพรมแดนของจีน รวมถึงข้อมูลในต่างประเทศที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติของจีนหรือสิทธิของพลเมืองของจีน   ———————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : มติชนออนไลน์        / วันที่เผยแพร่ 1 ก.ย.2564 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_2916557