จีนเพิ่งประกาศว่า พวกเขาได้พัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกสำเร็จแล้ว และพวกเขายังบอกอีกว่า มันสามารถทำงานด้วยความเร็ว 1 มิลลิวินาที ที่เทียบเท่าการทำงานคอมพิวเตอร์ปกติ 30 ล้านล้านปี
ปาน เจียนเว้ย นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเหอเฟย ในมณฑลอานฮุย ผู้นำการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ เปิดตัวควอนตัมคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องใหม่ โดยพวกเขาตั้งชื่อหนึ่งในควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นว่า จูชงจือ 2 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อนักคณิตศาสตร์ของจีน ที่มีชีวิตอยู่เมื่อราวศตวรรษที่ 5
จูชงจือ 2 ได้รับการพัฒนา จนทำให้มันกลายเป็นควอนตัมคอมพิวเตอร์ ที่เร็วเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมันมีตัวนำโปรแกรมขนาด 66 คิวบิต เร็วกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดอย่าง Sycamore ของ Google ในขนาด 55 คิวบิต ถึง 10 ล้านเท่าตัว และมันยังทำงานได้ซับซ้อนกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ Google ถึง 1 ล้านเท่าตัว
ปานยังประกาศอีกว่า ควอนตัมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ได้รับการพํฒนาขึ้นมา มีชื่อว่า จิวจาง 2 พัฒนาบนฐานของระบบแสง ซึ่งจะมีขอบเขตการใช้งานที่แคบกว่า แต่มันยังสามารถทำงานด้วยความเร็วถึง 1 แสนล้านล้านล้านเท่าตัว (1 ตามด้วย 0 ทั้งหมด 23 ตัว) เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ธรรมดาทั่วไป
อย่างไรก็ดี ควอนตัวคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องจะยังไม่ถูกนำมาใช้แทนคอมพิวเตอร์ทั่วไปในเร็ววันนี้ เพราะการทำงานของพวกมันยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมขั้นสูง และถูกใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจง เพราะมันยังคงมีการทำงานที่ผิดพลาดในบางจุดอยู่บ้าง
“ขั้นตอนต่อไปก็คือ เราหวังว่าเราจะสามารถแก้ไขจุดผิดพลาดของควอนตัมได้ ภายในระยะเวลา 4-5 ปี ผ่านการทำงานอย่างหนัก” ปานระบุ ทั้งนี้ ควอนตัวคอมพิวเตอร์จูชงจือ ต้องถูกเก็บในห้องที่มีอุณภูมิต่ำอย่างมาก เนื่องจากมันต้องทำงานอย่างหนัก ด้วยระบบอัลกอริทึมที่ซับซ้อน ผ่านการจำลองการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า การเดินแบบสุ่ม เหมือนชิ้นส่วนบนกระดานหมากรุก ซึ่งจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบสุ่ม และไม่มีความเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวก่อนหน้า ซึ่งมันทำได้ยากมากในคอมพิวเตอร์ธรรมดา
จูชงจือ 2 สามารถคำนวณเชิงทฤษฎีการเดินแบบสุ่ม บนกระดานหมากรุก 66 กระดานแบบพร้อมกัน ในขณะที่ จิวจาง 2 สามารถทำงานแบบสุ่มตัวอย่างโบซอน ซึ่งจำลองพฤติกรรมของอนุภาคแสง เมื่อมันวิ่งผ่านคริสตัลและกระจกที่ซับซ้อนเป็นเขาวงกต ซึ่งแน่นอนว่า คอมพิวเตอร์ธรรมดาก็ทำไม่ได้ด้วยเช่นกัน
ผลการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลจีนตัดสินใจมอบทุนการพัฒนาการวิจัย ในภาคคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในพื้นที่ของเหอเฟย ทั้งนี้ กองทัพจีนยังอาศัยเทคโนโลยีควอนตัม ในการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด ของการใช้สายสื่อสาร เรดาร์ ซึ่งสามารถตรวจจับเครื่องบินล่องหน และอุปกรณ์นำทางสำหรับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ได้
อ้างอิงจาก
https://physics.aps.org/articles/v14/147
————————————————————————————————————————————
ที่มา : thematter / วันที่เผยแพร่ 27 ต.ค.2564
Link : https://thematter.co/brief/158887/158887