ลบครหา ‘ฮุน เซน’สั่งแก้กม.ห้ามคนสองสัญชาตินั่งเก้าอี้นายกฯ

Loading

  นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา มีคำสั่งให้แก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อห้ามบุคคลที่ถือสัญชาติอื่นด้วย ดำรงตำแหน่งระดับสูงของประเทศ รวมถึงนายกรัฐมนตรี หลังจากการ์เดียนรายงานว่าตัวเขาเป็นคนหนึ่งที่มีพาสปอร์ตไซปรัส รายงานรอยเตอร์กล่าวว่า ฮุน เซน โพสต์ลงเพจเฟซบุ๊กของเขาเมื่อวันพุธที่ 6 ตุลาคมว่า เขาได้สั่งการให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการแก้ไขกฎหมายประเด็นดังกล่าว โดยเห็นว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, ประธานวุฒิสภา, ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานศาลรัฐธรรมนูญ ควรต้องเป็นผู้ที่ถือสัญชาติกัมพูชาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น “เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อชาติ และหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากต่างชาติ“ คำกล่าวของผู้นำกัมพูชาที่ครองอำนาจมานับแต่ปี 2522 มีออกมาไม่กี่วันหลังจากเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนระหว่างประเทศ (ไอซีไอเจ) เผยแพร่รายงานเอกสารลับ “แพนโดราเปเปอร์ส” ที่เปิดโปงผู้นำประเทศ, นักการเมือง และบุคคลมีชื่อเสียงและอิทธิพลจากทั่วโลก ที่เกี่ยวพันกับการปิดบังการถือครองทรัพย์สินในต่างแดน โดยหนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษซึ่งร่วมอยู่ในเครือข่ายไอซีไอเจด้วย รายงานว่า ฮุน เซน ก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่ไม่ใช่ชาวยุโรปหลายพันคนที่ถือหนังสือเดินทางของไซปรัส ทนายความของรัฐบาลกัมพูชาปฏิเสธข้อมูลนี้เมื่อวันพุธว่า รายงานของการ์เดียนไม่เป็นความจริง และนายกฯ ฮุน เซน มีสัญชาติกัมพูชาเท่านั้น.   ————————————————————————————————————————————————— ที่มา : ไทยโพสต์       / วันที่เผยแพร่  6…

มอสโกขู่ปิดสถานทูตสหรัฐ ถ้าไบเดนขับนักการทูตรัสเซีย 300 คน

Loading

  รัฐบาลมอสโกขู่ปิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ หากกระแสเรียกร้องของวุฒิสมาชิก ให้มีการเนรเทศนักการทูตรัสเซียมากถึง 300 คน “เป็นความจริง” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ว่า กระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียออก แถลงการณ์ เมื่อวันพุธ มีเนื้อหาเพียงว่า “แม้ยังเป็นเพียงการเสนอแนะ” แต่หากการเนรเทศนักการทูตของรัสเซียจำนวน 300 คนออกจากสหรัฐ “เป็นความจริง” มาตรการเดียวที่รัฐบาลมอสโกจะตอบโต้ คือการปิด “สำนักงานการทูตอีกหลายแห่งของสหรัฐ” ในรัสเซีย ซึ่งอาจรวมถึงสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ ท่าทีดังกล่าวของรัฐบาลมอสโกเกิดขึ้น หลังวุฒิสมาชิกสหรัฐกลุ่มหนึ่งทั้งจากพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครต ร่วมกันส่งหนังสือถึงประธานาธิบดีโจ ไบเดน เมื่อต้นสัปดาห์นี้ ระบุว่า ปัจจุบันในสหรัฐมีนักการทูตรัสเซีย “มากกว่า 400 คน” ขณะที่ในรัสเซียมีนักการทูตสหรัฐประจำการ “ประมาณ 100 คน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ “ไม่ยุติธรรม” หากไบเดนยังไม่มีแนวทางจัดการที่มีประสิทธิภาพ วุฒิสมาชิกกลุ่มนี้เสนอให้มีการเนรเทศนักการทูตรัสเซีย “เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม”   US senators (Democrats and Republicans) calling on Biden…

ปลอดภัยจากภัยไซเบอร์

Loading

  แม้จะมีกฎ กติกา และกฎหมายที่รัดกุม ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   ข่าวคราวความเสียหายจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นทุกปีทั้งในแง่จำนวนผู้เสียหาย และเม็ดเงินที่ถูกล่อลวงในหลายประเทศทั่วโลก จนหลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีมากเกินไปจนดูเหมือนจะควบคุมไม่อยู่ ความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีทั้งประโยชน์และโทษมาพร้อมกันเสมอ แต่กับเทคโนโลยีดิจิทัลอาจมีความพิเศษมากกว่า เพราะความเร็วในการแพร่กระจายและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความแพร่หลายของเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดขึ้น เพราะการปฏิวัติในยุคไมโครคอมพิวเตอร์ที่ทำให้บริษัทขนาดเล็กรวมไปถึงคนทั่วไปมีโอกาสได้ใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เหมือนในอดีตที่คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์มีใช่เฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น   ในบ้านเราคอมพิวเตอร์เครื่องแรกใช้งานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 1963 ตามด้วยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีถัดมา กลุ่มผู้ใช้งานจึงจำกัดเฉพาะนักวิชาการและนักสถิติ จนกระทั่งปี 1974 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการซื้อขายหุ้น หลังจากนั้นในช่วงปี 1980 ไมโครคอมพิวเตอร์ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความพยายามในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องใช้ความร่วมมือครั้งใหญ่ ซึ่งจุดเริ่มต้นจริงๆ อยู่ที่เครือข่ายด้านกลาโหมก่อนที่จะขยายวงมาถึงสถาบันการศึกษา และท้ายที่สุดคือการประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะเป็นโครงการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ   ตัวอย่างเช่น เจอร์รี่ หยาง ผู้ก่อตั้งยาฮู อดีตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มาจนถึงยุคนี้ ก็มีมาร์ค ซัคเกอร์เบิรก์ ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊คจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ล้วนมีส่วนจุดประกายให้ธุรกิจในยุคอินเทอร์เน็ตขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ การจับคู่กันระหว่างโลกคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ มากมาย บ้างก็มาแทนที่ธุรกิจเดิมที่ได้รับผลกระทบจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นธุรกิจร้านหนังสือ ธุรกิจร้านเช่าวีดิโอ สถานีโทรทัศน์ ฯลฯ   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันจึงเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ตมหาศาล พรมแดนของแต่ละประเทศจึงมีบทบาทลดลงเพราะมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยงทั้งในด้านการค้า…

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ

Loading

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ เชื่อว่าคุณและผู้คนมากมายประมาณสองในสามคนทั่วโลกใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน กิจกรรมในลักษณะการผิดกฎหมายอาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการแฮ็กและการก่อการร้าย เป็นต้น แม้แต่เว็บจำนวนมากก็สามารถติดตามตำแหน่งของคุณได้ด้วย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณต้องซ่อนตำแหน่งของคุณ นั่นเป็นเหตุผลที่มาบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งของคุณ ด้วยขั้นตอนดังนี้   วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ สำหรับ Chrome เวอร์ชั่นคอม     คลิกจุดสามจุด … มุมขวาบนของ Chrome แล้วเลือกที่ การตั้งค่า     เลือกด้านซ้ายที่ ข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย แล้วคลิกที่ การตั้งค่าเว็บไซต์     คลิกที่ ตำแหน่ง >>     แล้วเลือกที่ ไม่อนุญาตให้เว็บไซต์ดูตำแหน่งคุณ แค่นี้ Chrome จะดำเนินการไม่ให้เว็บไซต์อื่นๆมาติดตามตำแหน่งคุณได้   สำหรับผู้ใช้ Edge บน Windows10 หรือ Windows11 ให้เปิดหน้า Settings ของ Windows10 หรือ Windows…

ผู้นำโลกโต้ข้อมูล “ธุรกรรมลับ” ใน “แพนดอรา เปเปอร์ส”

Loading

  สำนักพระราชวังแห่งจอร์แดน และผู้นำโลกอีกหลายประเทศซึ่งถูกพาดพิงใน “แพนดอรา เปเปอร์ส” พร้อมใจกันออกมาวิจารณ์และปฏิเสธข้อมูลในเอกสาร สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ว่าสืบเนื่องจากการที่เครือข่ายผู้สื่อข่าวสอบสวนระหว่างประเทศ ( ไอซีเจ ) เปิดโปงเอกสารข้อมูล “แพนดอรา เปเปอร์ส” เกี่ยวกับ “ธุรกรรมลับ” ของบุคคลสำคัญระดับโลกหลายร้อยคน ที่ดำเนินการผ่านบริษัทนอกอาณาเขต โดยชุดข้อมูลที่นำออกมาเผยแพร่มีจำนวนมากถึง 11.9 ล้านไฟล์ ทำลายสถิติฐานข้อมูล “ปานามา เปเปอร์ส” เผยแพร่เมื่อปี 2559 เชื่อมโยงบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย มอสแซค ฟอนเซกา ของปานามานั้น   The #PandoraPapers contain 12M documents from 14 service providers. Our investigation uncovers the financial secrets of 35 current and former world…