PwC เตือน “แรนซัมแวร์” โจมตีพุ่ง!! แนะธุรกิจไทยคุมเสี่ยงจาก “บุคคลภายนอก”

Loading

  PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วย ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก อีกทั้งให้ความสำคัญกับสุขลักษณะที่ดีต่อความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือภัยคุกคามและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา และหัวหน้าสายงานกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า การโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้เรียกค่าไถ่ข้อมูล โดยขโมยข้อมูลด้วยการเข้ารหัส หรือล็อกไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงหรือเปิดไฟล์ได้และเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าไถ่ (Ransomware) จะเป็นภัยไซเบอร์ที่พบมากที่สุดในปี 2565   “การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะกลายมาเป็นภัยไซเบอร์ที่มีแนวโน้มการเกิดมากที่สุดในระยะข้างหน้า โดยเราจะเห็นว่า แรนซัมแวร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มสถาบันการเงินและโรงพยาบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ภัยไซเบอร์ที่พบมากจะเป็นมัลแวร์ประเภทไวรัส โทรจัน และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการโจมตีและเข้าถึงข่อมูลที่มีความอ่อนไหว” วิไลพร กล่าว   ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่สาม (Third-party…

“ดีอีเอส กสทช ผู้ให้บริการโทรคม” คลอดมาตรการเข้ม!! กวาดล้าง sms หลอกลวง

Loading

  สำนักงาน กสทช. ยกระดับมาตรการจัดการปัญหา SMS หลอกลวง เข้มลงโทษทางปกครองกับผู้ให้บริการเนื้อหาที่ปล่อยให้มี SMS หลวกลวง ส่งเรื่องให้ บช.สอท. ดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วน ดีอีเอส เอาผิดกับมิจฉาชีพตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จี้ผู้ให้บริการเนื้อหาต้องมีระบบยืนยันตัวตนชัดเจน   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสำนักงาน กสทช. ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้ประกอบการโทรคมนาคม ได้ประชุมหารือเพื่อติดตามและกำกับดูแลกรณีมิจฉาชีพ ส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน การชักชวนเล่นพนันออนไลน์ และลามกอนาจาร นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า จากการประชุมติดตามและกำกับดูแลกรณีมิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน การชักชวนเล่นพนันออนไลน์ และลามกอนาจาร ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะยกระดับมาตรการในการดำเนินการจัดการปัญหา SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง   โดยสำนักงาน กสทช. ได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับเนื้อหาของข้อความ และการกำหนดชื่อ Sender name ซึ่งจะเริ่มจากต้นทางของการส่ง SMS จากผู้ให้บริการเนื้อหา…

สหรัฐออกหนังสือเดินทางเล่มแรก ใช้เครื่องหมาย “กากบาท” ไม่ระบุเพศ

Loading

  สหรัฐออกหนังสือเดินทางเล่มแรก – วันที่ 28 ต.ค. บีบีซี รายงานว่า สหรัฐอเมริกาออกหนังสือเดินทางไม่ระบุเพศเป็นเล่มแรกของประเทศ โดยใช้เครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องระบุเพศ ซึ่งแสดงว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางไม่ได้ระบุว่าเป็นเพศชายหรือหญิง   หนังสือเดินทางเล่มดังกล่าวออกแก่ ดานา ซิม Dana Zzyym อายุ 66 ปี ทหารผ่านศึกกองทัพเรือสหรัฐ และระบุว่าตัวเองเป็นนอน-ไบนารี (non-binary) ซึ่งหมายถึงผู้ไม่เห็นว่าเพศของตัวเองจำกัดอยู่กับเฉพาะกับเพศชายและเพศหญิง   ดานา ซิม เคยยื่นฟ้องกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ เมื่อปี 2558 เพื่อคัดค้านการถูกปฏิเสธการออกหนังสือเดินทาง หลังเจ้าตัวไม่ได้ระบุเพศชายหรือเพศหญิงในเอกสารขอทำหนังสือเดินทาง ดานา ซิม กล่าวหลังได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ว่า เป็นช่วงเวลาน่าตื่นเต้น ตนจะไปทุกที่และพูดว่า “ใช่ นี่คือตัวตนของฉัน” และว่า ก่อนได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ เป็นความรู้สึกมเหมือนอยู่ในคุก   “คุณถูกปฏิเสธสถานะการเป็นมนุษย์ และมันเหมือนกับว่าฉันไม่ใช่พลเมืองของประเทศนี้ เพราะฉันถูกปฏิเสธการเข้าถึง และไม่อนุญาตให้เฉพาะคนร้ายและนักโทษเดินทาง” ดานา ซิม กล่าว   ทั้งนี้…

สหรัฐยื่นอุทธรณ์ศาลอังกฤษ ขอตัวผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ไปดำเนินคดีในศาลสหรัฐ

Loading

  ทนายสหรัฐยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลอังกฤษ เรียกร้องให้มีคำสั่งส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อนำตัว จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ข่าววิกิลีกส์ไปดำเนินคดีที่สหรัฐ ขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนอัสซานจ์ออกโรงประท้วงกลางกรุงลอนดอน   ทนายความตัวแทนของสหรัฐ ส่งคำร้องเมื่อวานนี้ (27 ต.ค.) ให้อังกฤษส่งตัว จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ (Wikileaks) เว็บไซต์ข่าวเอกชนที่แฉข้อมูลลับทางการทหารและข้อมูลเรื่องการทุจริตในหลายประเทศ ไปยังสหรัฐเพื่อรับการดำเนินคดี หลังจากที่ศาลชั้นต้นของอังกฤษไม่อนุญาต จูเลียน อัสซานจ์ ในวัย 50 ปี เป็นที่ต้องการตัวในสหรัฐอเมริกาในข้อหาทางอาญา 18 คดี ซึ่งรวมถึงการละเมิดกฎหมายการสอดแนม หลังจากที่ทีมงานของเขาเผยแพร่เอกสารลับและบันทึกลับของบุคลากรทางการทูตเป็นจำนวนมากในปี 2553   ทนายความเจมส์ ลูอิส ซึ่งทำหน้าที่แทนรัฐบาลสหรัฐ แถลงต่อศาลอุทธรณ์ในลอนดอน ว่าผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของอังกฤษพลาดที่ตัดสินว่า ไม่สามารถส่งตัวอัสซานจ์ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนได้ เนื่องจากมีแนวโน้มที่เขาจะฆ่าตัวตายในเรือนจำของสหรัฐ ลูอิส โต้แย้งว่า ไม่ควรนำความวิตกเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์มาเป็นข้ออ้างในการละเว้นการส่งตัว ในเอกสารสรุปข้อโต้แย้งของลูอิส ซึ่งนำเสนอต่อศาลและเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ระบุว่า สหรัฐได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสิ่งที่เป็นข้อกังวลของศาลอังกฤษ และให้การรับรองด้วยว่า สหรัฐจะยินยอมให้อัสซานจ์ย้ายไปรับโทษจำคุกที่ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเขา   อัสซานจ์ซึ่งปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ถูกคุมขังที่เรือนจำบัลมาร์ชในลอนดอน แต่เดิมเขาแจ้งต่อศาลว่าป่วยจนให้การไม่ไหว แต่ก็กลับมาให้การผ่านระบบวิดีโอคอลได้ในภายหลัง…

สิงคโปร์เปิดให้ใช้แอป SingPass เพื่อติดต่อราชการแทนบัตรประชาชนตัวจริงแทบทุกกรณี

Loading

  สิงโปร์ประกาศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบบัตรประชาชนจากหน้าจอแอป SingPass แทนการขอตรวจสอบบัตรประชาชนตัวจริงได้แทบทุกกรณี เหลือเพียงบางกรณีที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าต้องใช้บัตรประชาชนตัวจริง เช่น การจดทะเบียนสมรส หรือการลงทะเบียนเข้าพักโรงแรมที่ต้องรอการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป มีผลวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป ประกาศครั้งนี้มีผลทำให้แอป SingPass ใช้งานกับบริการออฟไลน์ได้ด้วย จากเดิมที่แอปมีหน้าที่ยืนยันตัวตนสำหรับบริการออนไลน์เท่านั้น และสิงคโปร์พยายามย้ายบริการภาครัฐหลายอย่างเป็นบริการออนไลน์ล้วนมาแล้ว เช่น บริการแจ้งเกิด หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎร์ทั้งหลาย การแสดงตัวที่จุดบริการภาครัฐ, การเข้ารับบริการทางการแพทย์, และการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดจะสามารถแสดงหน้าจอ SingPass ได้แทนทันที โดยหน้าจอ SingPass เวอร์ชั่นใหม่จะมีหน้าจอแสดงข้อมูลพื้นฐานเฉพาะ ชื่อ-นามสกุล, หมายเลขบัตรประชาชน, และรูปถ่าย และหน้าจอแสดงข้อมูลเต็ม ที่เพิ่มข้อมูล เพศ, สัญชาติ, วันเกิด, ที่อยู่ หรือหากเป็นผู้พำนักแบบถือใบอนุญาตทำงานก็จะมีชื่อนายจ้างด้วย ตัวหน้าจอป้องกันการปลอมแปลงด้วยโลโก้แบบภาพเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันการจับภาพหน้าจอไปปลอมแปลง ตอนนี้มีการใช้งาน SingPass ครอบคลุม 97% ของประชากรและผู้พำนักถาวรในสิงคโปร์ รวม 3.2 ล้านคนและมีการทำธุรกรรมทั้งแบบบุคคลและนิติบุคคลถึงปีละ 300 ล้านครั้ง   ที่มา – GovTech —————————————————————————————————————————————————- ที่มา :…

โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ

Loading

  โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ เทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์แทบจะทุกขณะของจังหวะชีวิต บางคนบอกว่าเป็นสังคมก้มหน้าที่ทุกคนจดจ้องกับสมาร์ตโฟนในมือตัวเอง หลายคนโอดครวญว่าโซเชียลมีเดียได้พรากเอาเวลาชีวิตอันแสนมีค่าไปจากตน ปัจจุบันเรามีวิธีจัดการเวลาในการใช้โซซียลมีเดียแบบดิจิตอลมินิมัลลิสม์ (digital minimalism) นักปรัชญาจำนวนมากก็ตื่นตัวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งผลกระทบที่ส่งผลต่อชีวิตและสังคม     โรแบร์โต ซิมานอฟสกี (Roberto Simanowski) เป็นนักปรัชญาและนักทฤษฎีสื่อชาวเยอรมัน ที่ตั้งคำถามต่อเทคโนโลยีดิจิตอลได้แหลมคมที่สุดคนหนึ่ง หนังสือ The Death Algorithm and Other Digital Dilemmas (2018) เป็นรวมความเรียงที่แสดงให้เห็นอันตรายของเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งทางออกที่เป็นไปได้ที่จะอยู่กับเทคโนโลยีดังกล่าว เขาเห็นว่าปัญหาอยู่ที่การมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลาง และสามารถใช้ไปในทางที่เป็นคุณหรือโทษก็ได้ โดยไม่ตระหนักว่าเทคโนโลยีมีสารัตถะของตัวเอง   จริงอยู่เราอาจใช้ปืนพกตอกตะปูได้ แต่ก็ไม่มีใครทำเช่นนั้น การเรียกร้องให้ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook โดยแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังด้วยการคอมเมนต์ในรูปของความเรียง ก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้ปืนพกไปตอกตะปู   ซิมานอฟสกีเห็นว่าเราจะเข้าใจเทคโนโลยีได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจสารัตถะ (essence) ของมัน เขากลับไปหาแนวคิดของนักปรัชญาเยอรมันอย่างมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ผู้เห็นว่า สารัตถะของเทคโนโลยีไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีเลย หากแต่เป็นการเปิดเผย (revealing) นั่นคือเทคโนโลยีต้องการเปิดเผยตัวมันเองออกมา เราเห็นได้จากการที่ความเปลี่ยนแปลงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา  …