ไอเอสโว “นักรบอุยกูร์” บึ้มมัสยิดฆ่าหมู่ เผยพุ่งเป้าโจมตีทั้งชีอะห์-ตาลิบัน

Loading

  ไอเอสโว “นักรบอุยกูร์” – เอพี และ เอเอฟพี รายงานวันที่ 9 ต.ค. ถึงความคืบหน้าเหตุระเบิดโจมตีมัสยิดอิสลามนิกายชีอะฮ์ในเมืองคุนดุซ ทางเหนือของ อัฟกานิสถาน จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย และได้รับบาดเจ็บกว่า 140 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ต.ค. ว่า กองกำลังรัฐอิสลาม (ไอเอส) ระบุผ่านสำนักข่าวอามัก อ้างว่าอยู่เบื้องหลังเหตุนองเลือดที่สุดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาและกองทัพในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ถอนกำลังทหารออกจากประเทศเมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายกองกำลังไอเอสในภูมิภาคระบุว่านักรบพลีชีพเป็นชาวมุสลิมอุยกูร์ มีเป้าหมายโจมตีทั้งมุสลิมนิกายชีอะห์และกองกำลังตาลิบันซึ่งต้องการกำจัดชาวมุสลิมอุยกูร์ตามความต้องการของรัฐบาลจีน     คณะภารกิจสหประชาชาติในอัฟกานิสถานแถลงประณามเหตุดังกล่าวว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงในการก่อกวนความสงบสุขโดยพุ่งเป้าไปที่สถาบันทางศาสนา ส่วนกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแถลงมนนามรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวตำหนิเหตุโจมตีเช่นกัน และว่าประชาชนชาวอัฟกานิสถานควรมีอนาคตที่ปราศจากความหวาดกลัว ขณะที่นายเซย์อิด ฮุสเซน อาลีมี บัลกี นักบวชนิกายชีอะห์แถวหน้าของอัฟกานิสถาน เรียกร้องให้รัฐบาลตาลิบันดูแลความปลอดภัยของชาวชีอะห์และศาสนสถานนิกายชีอะห์ทั่วประเทศ เนื่องจากตาลอิบันยึดอาวุธที่เคยเตรียมไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยของศาสนสถานไปก่อนหน้านี้ และทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลไม่สามารถรับมือกับผู้ก่อการร้ายได้     ————————————————————————————————————————————— ที่มา : ข่าวสดออนไลน์       …

อุกอาจ! มือมืดส่งโดรนบรรทุกระเบิด 2 ลำ โจมตีสนามบินซาอุฯ เจ็บ 10

Loading

สภาพโดรนบรรทุกระเบิดลำที่ 2 ที่กลายเป็นเศษซาก หลังจากถูกฝ่ายความมั่นคงของซาอุดีอาระเบีย ยิงสกัดทำลายไว้ได้ จากที่มีเป้าหมายโจมตีพลเรือนที่สนามบินคิงอับดุลเลาะห์ ในเมืองจิซาน ทางตอนใต้ของประเทศซาอุฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม (รอยเตอร์)   อุกอาจ! มือมืดส่งโดรนบรรทุกระเบิด 2 ลำ โจมตีสนามบินซาอุฯ เจ็บ 10 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เกิดเหตุมือมืดส่งโดรนบรรทุกระเบิด 2 ลำ โจมตีสนามบินคิงอับดุลเลาะห์ ในเมืองจิซาน ทางตอนใต้ของซาอุดีอาระเบียสองครั้งซ้อนเมื่อช่วงกลางดึกคืนวันศุกร์(8 ต.ค.)และเช้าวันเสาร์(9 ต.ค.)นี้ ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 10 ราย สื่อทางการซาอุฯอ้างการเปิดเผยของโฆษกกองกำลังพันธมิตรนำโดยซาอุฯ ระบุว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นชาวซาอุฯ 6 ราย บังกลาเทศ 3 ราย และ ชาวซูดาน 1 ราย จากเหตุโจมตีด้วยโดรนลำแรก แรงระเบิดยังทำให้กระจกหน้าต่างด้านหน้าอาคารสนามบินบางส่วนแตกกระจาย ส่วนโดรนติดระเบิดลำที่ 2 ถูกยิงสกัดไว้ได้ในช่วงเช้าวันเสาร์นี้ แต่กองกำลังพันธมิตรซาอุฯ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือมีความเสียหายใดๆเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไรก็ดีการสัญจรทางอากาศที่สนามบินคิงอับดุลเลาะห์ในวันเดียวกันนี้ยังดำเนินไปได้ตามปกติ ยังไม่มีการออกมาประกาศอ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นผู้ลงมือก่อเหตุโจมตีครั้งนี้จากกลุ่มกบฎฮูธีในประเทศเยเมนแต่อย่างใด โดยที่ผ่านมากลุ่มกบฎฮูธีมักส่งโดรนและมิสไซล์โจมตีซาอุฯบ่อยครั้ง ซึ่งมีขึ้นหลังจากกองกำลังพันธมิตรที่นำโดยซาอุฯ…

ปูตินเพิ่มสื่อในบัญชีดำ “สายลับต่างชาติ” หลังนักข่าวรัสเซียเพิ่งชนะโนเบลสันติภาพ

Loading

    ปูตินเพิ่มสื่อในบัญชีดำ – บีบีซี รายงานวันที่ 9 ต.ค. ว่า กระทรวงยุติธรรมรัสเซียออกแถลงการณ์เพิ่มรายชื่อนักข่าวและสื่อมวลชนในบัญชีรายชื่อบุคคลหรือองค์กรที่เป็นสายลับต่างชาติ รวมถึงนักข่าวจากบีบีซีรัสเซีย และสถานีโทรทัศน์ดอซด์ทีวี ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเพิ่มลงในบัญชีดังกล่าวเมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของนอร์เวย์ ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2021 แก่ นางมาเรีย เรซซา ผู้สื่อข่าวชาวฟิลิปปินส์ และนายดมิทรี มูราทอฟ ผู้สื่อข่าวชาวรัสเซีย จากการต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่อปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกในฟิลิปปินส์และรัสเซีย     แถลงการณ์ของกระทรวงยุติธรรมรัสเซียระบุเพิ่มรายชื่อในบัญชีดำ ได้แก่ นายอันเดร ซาคารอฟ นักข่าวสืบสวนของบีบีซีรัสเซีย นายดานิล ซอตนิคอฟ จากดอซด์ทีวี น.ส.ทาเทียนา โวลต์สกายา และ น.ส.เอคาเทรินา คลีพิคอฟสกายา จากเรดิโอลิเบอร์ตี น.ส.เอลิซาวีตา ซูร์นาเชวา และนายโรมาน เพิร์ล จากเคอร์เรนต์ไทม์ทีวี น.ส.กาลินา อาราโปวา ทนายความและผู้อำนวยการศูนย์ปกป้องสื่อมวลชน เบลลิงแคท เว็บไซต์ข่าวสืบสวนออนไลน์ เว็บไซต์เอ็มนิวส์.เวิลด์ คอเคซัสนอต เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ในเขตสหพันธ์คอเคซัสเหนือ และเว็บไซต์ข่าว 7×7…

ไมโครซอฟท์รายงานภัยไซเบอร์ปี 2021 การโจมตีส่วนมากมาจากรัสเซีย, Ransomware โจมตีกลุ่มค้าปลีกหนักสุด

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานการป้องกันภัยไซเบอร์ประจำปี 2021 ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ช่วงกลางปี 2020 จนถึงกลางปี 2021 ที่ผ่านมา แสดงถึงระดับภัยที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มคนร้ายในโลกไซเบอร์มีระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในตัวเอง   การโจมตีรูปแบบต่างๆ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย เช่น ค่าเจาะระบบ 250 ดอลลาร์ (8,000 บาท), ค่าใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ 66 ดอลลาร์ (2,000 บาท), ค่ารหัสผ่านที่ถูกเจาะ 0.97 ดอลลาร์ (30 บาท) ต่อ 1,000 รายการ, ค่าส่งเมลหลอกลวงแบบเจาะจง (spearphishing) ครั้งละ 100 – 1,000 ดอลลาร์ (3,400 – 34,000 บาท) รายงานพบว่ากลุ่มแฮกเกอร์ระดับรัฐ (nation state actor) มาจากฝั่งรัสเซียสูงสุด โดยนับจากปริมาณการโจมตี รองลงมาได้แก่ เกาหลีเหนือ, อิหร่าน, จีน, เกาหลีใต้, ตุรกี…

ศาลพม่าปฏิเสธล่ามให้ที่ปรึกษาชาวออสเตรเลียของซูจีระหว่างไต่สวนคดีความลับราชการ อ้างเหตุผลความปลอดภัย

Loading

  เอพี – ศาลพม่ามีคำตัดสินไม่อนุญาตให้ล่ามแปลภาษาพม่า-อังกฤษเข้าร่วมในการพิจารณาคดีที่กำลังจะมีขึ้นกับ ฌอน เทอร์เนลล์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ถูกตั้งข้อหาภายใต้กฎหมายความลับราชการ เทอร์เนลล์กำลังถูกไต่สวนร่วมกับอองซานซูจี ผู้นำที่ถูกปลดจากตำแหน่ง และอดีตสมาชิกคณะรัฐมนตรีอีก 3 คน ที่ถูกตั้งข้อหาคดีเดียวกัน เทอร์เนลล์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของซูจีและถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยร่วมของเขาหลังรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของซูจีถูกกองทัพขับไล่ในเดือน ก.พ. การละเมิดกฎหมายความลับราชการมีโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี กฎหมายยุคอาณานิคมที่ทำให้การครอบครอง รวบรวม บันทึก เผยแพร่ หรือแบ่งปันข้อมูลของรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อศัตรูทางตรงหรือทางอ้อมเป็นความผิดอาญา การประกาศคำตัดสินที่ห้ามล่ามแปลภาษาเข้าร่วมการพิจารณาคดีมีขึ้นก่อนการไต่สวนคดีที่ศาลพิเศษในกรุงเนปีดอ เย ลิน อ่อง ทนายความของเทอร์เนลล์ กล่าว โดยจำเลยทั้ง 5 คน อยู่ร่วมฟังการไต่สวนที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะและสื่อ เย ลิน อ่อง กล่าวว่า อัยการได้ขอให้ศาลไม่อนุญาตล่ามเข้าร่วมในกระบวนการ และผู้พิพากษาเห็นพ้องกับคำร้องดังกล่าว โดยอ้างถึงเหตุผลด้านความปลอดภัย และรายละเอียดที่แน่นอนของความผิดที่เทอร์เนลล์ถูกกล่าวหาก็ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่สถานีโทรทัศน์พม่าอ้างคำแถลงรัฐบาลที่ระบุว่า นักวิชาการชาวออสเตรเลียได้เข้าถึงข้อมูลทางการเงินของรัฐที่เป็นความลับ และพยายามหลบหนีออกนอกประเทศ “เป็นเรื่องยากสำหรับเราที่ไม่มีล่ามแปลให้กับเขา (เทอร์เนลล์) ที่ศาล เรากำลังหารือกับเจ้าหน้าที่จากสถานทูตออสเตรเลีย” เย ลิน อ่อง กล่าว คดีนี้เป็นหนึ่งในหลายข้อหาที่ซูจีถูกฟ้อง ซึ่งถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นความพยายามที่จะทำให้เธอเสียชื่อเสียงเพื่อขัดขวางเธอจากการกลับลงเล่นการเมือง.…

โซลูชั่นไร้รหัสผ่าน (Passwordless Solutions) vs ความปลอดภัยที่ปรับตัวตามสถาการณ์ (Adaptive Security)

Loading

  โซลูชั่นไร้รหัสผ่าน (Passwordless Solutions) vs ความปลอดภัยที่ปรับตัวตามสถานการณ์ (Adaptive Security) : อะไรคือการป้องกันที่ดีที่สุดจากการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วง Covid-19   Pawel Bulat, ผู้จัดการแผนกความปลอดภัยทางไซเบอร์ บริษัท Comarch การระบาดของโรค Covid-19 ได้สร้างความท้าทายใหม่ๆต่อธุรกิจ ความท้าทายส่วนใหญ่ได้เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจต่างๆ อย่างไรก็ตามอาชญากรรมทางไซเบอร์ (cyber criminal) สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆได้เร็วกว่าองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) จึงกลายเป็นเรื่องหลักที่น่ากังวล มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตเพื่อขอข้อมูลที่สำคัญจากเหยื่อ (Phishing), มัลแวร์ (Malware) และการบิดเบือนข้อมูล (Disinformation) เป็นเครื่องมือทั่วไปที่อาชญากรรมทางไซเบอร์ใช้ในช่วงที่เกิดโรคระบาด ในปีที่แล้วจำนวนการละเมิดข้อมูลและการบุกรุกระเบียนข้อมูล รวมถึงมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) มีจำนวนสูงที่สุดตั้งแต่เคยมีมา มีการรายงานจาก ZDNet ว่า “ในปี 2020 เพียงปีเดียว มีการบุกรุกระเบียนข้อมูลมากกว่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา” ขณะเดียวกันจำนวนการโจมตีของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ได้เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 60%   ต้นทุนที่แท้จริงของจุดอ่อนของความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตัวเลขเหล่านี้ได้เปลี่ยนเป็นการสูญเสียเงินจำนวนมาก…