วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ

Loading

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ เชื่อว่าคุณและผู้คนมากมายประมาณสองในสามคนทั่วโลกใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน กิจกรรมในลักษณะการผิดกฎหมายอาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการแฮ็กและการก่อการร้าย เป็นต้น แม้แต่เว็บจำนวนมากก็สามารถติดตามตำแหน่งของคุณได้ด้วย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณต้องซ่อนตำแหน่งของคุณ นั่นเป็นเหตุผลที่มาบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งของคุณ ด้วยขั้นตอนดังนี้   วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ สำหรับ Chrome เวอร์ชั่นคอม     คลิกจุดสามจุด … มุมขวาบนของ Chrome แล้วเลือกที่ การตั้งค่า     เลือกด้านซ้ายที่ ข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย แล้วคลิกที่ การตั้งค่าเว็บไซต์     คลิกที่ ตำแหน่ง >>     แล้วเลือกที่ ไม่อนุญาตให้เว็บไซต์ดูตำแหน่งคุณ แค่นี้ Chrome จะดำเนินการไม่ให้เว็บไซต์อื่นๆมาติดตามตำแหน่งคุณได้   สำหรับผู้ใช้ Edge บน Windows10 หรือ Windows11 ให้เปิดหน้า Settings ของ Windows10 หรือ Windows…

ผู้นำโลกโต้ข้อมูล “ธุรกรรมลับ” ใน “แพนดอรา เปเปอร์ส”

Loading

  สำนักพระราชวังแห่งจอร์แดน และผู้นำโลกอีกหลายประเทศซึ่งถูกพาดพิงใน “แพนดอรา เปเปอร์ส” พร้อมใจกันออกมาวิจารณ์และปฏิเสธข้อมูลในเอกสาร สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ว่าสืบเนื่องจากการที่เครือข่ายผู้สื่อข่าวสอบสวนระหว่างประเทศ ( ไอซีเจ ) เปิดโปงเอกสารข้อมูล “แพนดอรา เปเปอร์ส” เกี่ยวกับ “ธุรกรรมลับ” ของบุคคลสำคัญระดับโลกหลายร้อยคน ที่ดำเนินการผ่านบริษัทนอกอาณาเขต โดยชุดข้อมูลที่นำออกมาเผยแพร่มีจำนวนมากถึง 11.9 ล้านไฟล์ ทำลายสถิติฐานข้อมูล “ปานามา เปเปอร์ส” เผยแพร่เมื่อปี 2559 เชื่อมโยงบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย มอสแซค ฟอนเซกา ของปานามานั้น   The #PandoraPapers contain 12M documents from 14 service providers. Our investigation uncovers the financial secrets of 35 current and former world…

การแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่ผ่านมา ถูกโจมตีทางไซเบอร์กว่า 450 ล้านครั้ง

Loading

  การแข่งขันโอลิมปิก 2020 และพาราลิมปิก 2020 ที่จัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว เผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์มากกว่า 450 ล้านครั้ง โดยผู้จัดงานระบุว่าสามารถป้องกันการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด และการแข่งขันไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด “เราสามารถยับยั้งการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ได้ อันเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและมาตรการเชิงตอบโต้ที่ได้มีการตระเตรียมไว้ก่อนหน้า” คณะกรรมการผู้จัดงานโตเกียวโอลิมปิกระบุ การโจมตีเกิดขึ้นตั้งแต่พิธีเปิดโอลิมปิกในวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา ไปจนถึงพิธีปิดงานพาราลิมปิกในวันที่ 5 กันยายน โดยส่วนใหญ่มุ่งโจมตีเว็บไซต์ทางการของงานและระบบเครือข่ายของคณะกรรมการผู้จัดงาน วิธีการหลักที่ใช้โจมตีคาดว่าน่าจะเป็น DDoS (Distributed Denial of Service) ซึ่งเป็นการปล่อยข้อมูลจำนวนมหาศาลจนเป้าหมายรับไม่ไหวและล่มไปในที่สุด ทว่าการโจมตีในความถี่ระดับนี้ยังถือว่าน้อยกว่าโอลิมปิกในครั้งก่อน ๆ โดยโอลิมปิก 2012 ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในปี 2555 ถูกโจมตีไปมากกว่า 2,300 ล้านครั้ง และโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2561 ในเมืองเปียงชาง ประเทศเกาหลีใต้ ถูกโจมตีไปมากกว่า 600 ล้านครั้ง Trend…

สภาสิงคโปร์ผ่านกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ”

Loading

  สภาสิงคโปร์เห็นชอบกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ” ที่เพิ่มอำนาจให้รัฐบาลบล็อกเนื้อหาออนไลน์ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ว่าสภาแห่งชาติของสิงคโปร์มีมติด้วยเสียงข้างมาก 75 ต่อ 11 เสียง รับรองกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ” หลังใช้เวลาอภิปรายนาน 3 สัปดาห์ และการอภิปรายวันสุดท้ายเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ใช้เวลานานเกือบ 10 ชั่วโมง สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว คือการที่รัฐบาลของสิงคโปร์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ในการป้องกัน สืบหาและยับยั้ง ความพยายามเคลื่อนไหวเพื่อเผยแพร่ “เนื้อหาอันไม่เป็นมิตร” จาก “กองกำลังภายนอก” ซึ่งมีเป้าประสงค์แทรกแซงกิจการภายในของสิงคโปร์ ผ่านบุคคลหรือกลุ่มบุคคล “ที่เป็นตัวแทนในท้องถิ่น“ ทั้งนี้ มาตรการตอบสนองของภาครัฐอาจเป็นการ “ออกคำสั่ง” ให้ผู้บริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และบริการสังคมออนไลน์เปิดเผยข้อมูลอย่างจำเพาะเจาะจง เกี่ยวกับบุคคลซึ่งกระทำการผิดกฎหมาย การปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหา และการลบเนื้อหานั้น หรืออาจถึงขั้นระงับการใช้บริการแพลตฟอร์มนั้นในสิงคโปร์   The Straits Times   ขณะเดียวกัน บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเข้าข่ายเป็น “บุคคลสำคัญทางการเมือง” ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการรับเงินบริจาค และต้องแสดงหลักฐาน “ความสัมพันธ์” กับ “ปัจจัยในต่างประเทศ“ ด้านนายเค…

วิธีหากล้องสอดแนม ซ่อนอยู่ในที่พัก Airbnb

Loading

  ทุกวันนี้ภัยคุกคามนั้นเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นทั้งสตอล์กเกอร์แวร์ สปายแวร์ และกล้องที่ซ่อนอยู่ในที่พักต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และกำลังมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ ตั้งแต่ปี 2017 Airbnb ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์หลังจากลูกค้าหลายรายว่าพวกเขาพบกล้องที่ซ่อนอยู่ในสถานที่เช่าของพวกเขา และอีกครั้งในปี 2019 และก็มีเคสต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้หลายคนจึงตั้งคำถามว่า Airbnb มีการดำเนินการใดๆ ที่จะปกป้องแขกได้หรือไม่ แต่หากไม่ สิ่งสำคัญก็คือ เราจะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองเพื่อที่จะได้ไม่ถูกสอดแนมอย่างลับ ๆ และข้อมูลของเราจะไม่ถูกขโมยไปแบบง่าย ๆ ทั้งรูปภาพ ตำแหน่งที่อยู่แบบเรียลไทม์ ข้อความ และการสนทนาทางโทรศัพท์ครับ โดยล่าสุดอดีตแฮกเกอร์ชาวอังกฤษได้เผยคลิปวิธีสำรวจกล้องที่ซ่อนอยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราสามารถค้นหาตรวจจับกล้องที่ซ่อนอยู่ โดยเขาได้โพสลงใน TikTok ชื่อว่า Malwaretech ในวีดีโอ เขาได้จัดฉากห้องปกติที่เราจะได้เห็นเวลาที่ไปพักโรงแรมหรือ Airbnb ซึ่งจะพบกล้องที่ซ่อนอยู่ที่ใดบ้าง เช่น นาฬิกาปลุก เครื่องตรวจจับควันไฟ หรือปลั๊กติดผนัง วิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่ามีกล้องซ่อนอยู่ในนั้นหรือไม่ คือการฉายแสงไฟฉาย (หากไม่มีไฟฉาย ก็ใช้ไฟฉายจากมือถือ) ถ้าไปโดนเลนส์กล้องมันจะสะท้อนแสงออกมาเป็นสีน้ำเงินซึ่งสามารถลองทดสอบเอาไฟฉายส่องกับกล่องมือถือตัวเองก็ได้ครับ ส่วนกล้องที่ใช้ส่องกลางคืน…

สาวฟ้องโรงพยาบาลในรัฐแอละแบมา เนื่องจากไม่แจ้งเหตุโจมตีทางไซเบอร์ที่ทำให้ลูกเสียชีวิต

Loading

  เทรันนี คิดด์ (Teiranni Kidd) สาวชาวอเมริกัน ได้ยื่นฟ้องโรงพยาบาล Springhill Memorial ในรัฐแอละแบมาเนื่องจากไม่แจ้งให้ทราบถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2562 เมื่อครั้งที่เธอเข้าไปติดต่อเพื่อคลอดลูก ทำให้ นิคโก ไซลาร์ (Nicko Silar) ลูกสาวของเธอเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ได้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดของโรงพยาบาลดับเป็นเวลาเกือบ 8 วัน ระบบประวัติคนไข้ถูกปิดกั้นและบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลไม่สามารถเข้าดูอุปกรณ์ที่ใช้ในสังเกตการเต้นของหัวใจทารกในห้องทำคลอดได้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือเจ้าหน้าที่ไม่สังเกตเห็นสายสะดือที่รัดคอของหนูน้อยไซลาร์อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งก่อให้เกิดอาการกระทบกระเทือนทางสมอง และทำให้หนูน้อยเสียชีวิตหลังผ่านไป 9 เดือน เนื่องจากเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ คิดด์ระบุว่าเธอคงจะเลือกไปใช้บริการโรงพยาบาลอื่นถ้ารู้แต่แรกว่าสถานการณ์เลวร้ายดังเช่นที่ปรากฎในข้อความที่ส่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เคทลิน พาร์เนลล์ (Katelyn Parnell) สูตินรีแพทย์ที่ทำคลอดให้คิดด์ระบุว่าในตอนนั้น เธอไม่รู้ว่าระบบเครือข่ายขัดข้อง ไม่เช่นนั้นก็คงจะทำการผ่าคลอดให้กับคิดด์ไปแล้วถ้าหากเธอสามารถใช้เครื่องสังเกตการเต้นของหัวใจเพื่อดูชีพจรของไซลาร์ได้ ทางโรงพยาบาลได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการตายของไซลาร์ “ในตอนนั้น เรายังคงเปิดให้บริการและบุคลากรทางการแพทย์ของเราได้อุทิศตนเพื่อคนไข้ที่ต้องการพวกเรา โดยเรา พร้อมด้วยทีมแพทย์ที่ให้การรักษานั้นได้ตรวจสอบให้แน่ใจแล้วว่าสามารถทำการรักษาได้” เจฟฟรี เซนต์ แคลร์ (Jeffrey St. Clair) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Springhill ระบุต่อสำนักข่าว…