สหรัฐยื่นอุทธรณ์ศาลอังกฤษ ขอตัวผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ไปดำเนินคดีในศาลสหรัฐ

Loading

  ทนายสหรัฐยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลอังกฤษ เรียกร้องให้มีคำสั่งส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อนำตัว จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ข่าววิกิลีกส์ไปดำเนินคดีที่สหรัฐ ขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนอัสซานจ์ออกโรงประท้วงกลางกรุงลอนดอน   ทนายความตัวแทนของสหรัฐ ส่งคำร้องเมื่อวานนี้ (27 ต.ค.) ให้อังกฤษส่งตัว จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ (Wikileaks) เว็บไซต์ข่าวเอกชนที่แฉข้อมูลลับทางการทหารและข้อมูลเรื่องการทุจริตในหลายประเทศ ไปยังสหรัฐเพื่อรับการดำเนินคดี หลังจากที่ศาลชั้นต้นของอังกฤษไม่อนุญาต จูเลียน อัสซานจ์ ในวัย 50 ปี เป็นที่ต้องการตัวในสหรัฐอเมริกาในข้อหาทางอาญา 18 คดี ซึ่งรวมถึงการละเมิดกฎหมายการสอดแนม หลังจากที่ทีมงานของเขาเผยแพร่เอกสารลับและบันทึกลับของบุคลากรทางการทูตเป็นจำนวนมากในปี 2553   ทนายความเจมส์ ลูอิส ซึ่งทำหน้าที่แทนรัฐบาลสหรัฐ แถลงต่อศาลอุทธรณ์ในลอนดอน ว่าผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของอังกฤษพลาดที่ตัดสินว่า ไม่สามารถส่งตัวอัสซานจ์ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนได้ เนื่องจากมีแนวโน้มที่เขาจะฆ่าตัวตายในเรือนจำของสหรัฐ ลูอิส โต้แย้งว่า ไม่ควรนำความวิตกเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์มาเป็นข้ออ้างในการละเว้นการส่งตัว ในเอกสารสรุปข้อโต้แย้งของลูอิส ซึ่งนำเสนอต่อศาลและเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ระบุว่า สหรัฐได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสิ่งที่เป็นข้อกังวลของศาลอังกฤษ และให้การรับรองด้วยว่า สหรัฐจะยินยอมให้อัสซานจ์ย้ายไปรับโทษจำคุกที่ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเขา   อัสซานจ์ซึ่งปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ถูกคุมขังที่เรือนจำบัลมาร์ชในลอนดอน แต่เดิมเขาแจ้งต่อศาลว่าป่วยจนให้การไม่ไหว แต่ก็กลับมาให้การผ่านระบบวิดีโอคอลได้ในภายหลัง…

สิงคโปร์เปิดให้ใช้แอป SingPass เพื่อติดต่อราชการแทนบัตรประชาชนตัวจริงแทบทุกกรณี

Loading

  สิงโปร์ประกาศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบบัตรประชาชนจากหน้าจอแอป SingPass แทนการขอตรวจสอบบัตรประชาชนตัวจริงได้แทบทุกกรณี เหลือเพียงบางกรณีที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าต้องใช้บัตรประชาชนตัวจริง เช่น การจดทะเบียนสมรส หรือการลงทะเบียนเข้าพักโรงแรมที่ต้องรอการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป มีผลวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป ประกาศครั้งนี้มีผลทำให้แอป SingPass ใช้งานกับบริการออฟไลน์ได้ด้วย จากเดิมที่แอปมีหน้าที่ยืนยันตัวตนสำหรับบริการออนไลน์เท่านั้น และสิงคโปร์พยายามย้ายบริการภาครัฐหลายอย่างเป็นบริการออนไลน์ล้วนมาแล้ว เช่น บริการแจ้งเกิด หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎร์ทั้งหลาย การแสดงตัวที่จุดบริการภาครัฐ, การเข้ารับบริการทางการแพทย์, และการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดจะสามารถแสดงหน้าจอ SingPass ได้แทนทันที โดยหน้าจอ SingPass เวอร์ชั่นใหม่จะมีหน้าจอแสดงข้อมูลพื้นฐานเฉพาะ ชื่อ-นามสกุล, หมายเลขบัตรประชาชน, และรูปถ่าย และหน้าจอแสดงข้อมูลเต็ม ที่เพิ่มข้อมูล เพศ, สัญชาติ, วันเกิด, ที่อยู่ หรือหากเป็นผู้พำนักแบบถือใบอนุญาตทำงานก็จะมีชื่อนายจ้างด้วย ตัวหน้าจอป้องกันการปลอมแปลงด้วยโลโก้แบบภาพเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันการจับภาพหน้าจอไปปลอมแปลง ตอนนี้มีการใช้งาน SingPass ครอบคลุม 97% ของประชากรและผู้พำนักถาวรในสิงคโปร์ รวม 3.2 ล้านคนและมีการทำธุรกรรมทั้งแบบบุคคลและนิติบุคคลถึงปีละ 300 ล้านครั้ง   ที่มา – GovTech —————————————————————————————————————————————————- ที่มา :…

โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ

Loading

  โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ เทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์แทบจะทุกขณะของจังหวะชีวิต บางคนบอกว่าเป็นสังคมก้มหน้าที่ทุกคนจดจ้องกับสมาร์ตโฟนในมือตัวเอง หลายคนโอดครวญว่าโซเชียลมีเดียได้พรากเอาเวลาชีวิตอันแสนมีค่าไปจากตน ปัจจุบันเรามีวิธีจัดการเวลาในการใช้โซซียลมีเดียแบบดิจิตอลมินิมัลลิสม์ (digital minimalism) นักปรัชญาจำนวนมากก็ตื่นตัวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งผลกระทบที่ส่งผลต่อชีวิตและสังคม     โรแบร์โต ซิมานอฟสกี (Roberto Simanowski) เป็นนักปรัชญาและนักทฤษฎีสื่อชาวเยอรมัน ที่ตั้งคำถามต่อเทคโนโลยีดิจิตอลได้แหลมคมที่สุดคนหนึ่ง หนังสือ The Death Algorithm and Other Digital Dilemmas (2018) เป็นรวมความเรียงที่แสดงให้เห็นอันตรายของเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งทางออกที่เป็นไปได้ที่จะอยู่กับเทคโนโลยีดังกล่าว เขาเห็นว่าปัญหาอยู่ที่การมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลาง และสามารถใช้ไปในทางที่เป็นคุณหรือโทษก็ได้ โดยไม่ตระหนักว่าเทคโนโลยีมีสารัตถะของตัวเอง   จริงอยู่เราอาจใช้ปืนพกตอกตะปูได้ แต่ก็ไม่มีใครทำเช่นนั้น การเรียกร้องให้ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook โดยแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังด้วยการคอมเมนต์ในรูปของความเรียง ก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้ปืนพกไปตอกตะปู   ซิมานอฟสกีเห็นว่าเราจะเข้าใจเทคโนโลยีได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจสารัตถะ (essence) ของมัน เขากลับไปหาแนวคิดของนักปรัชญาเยอรมันอย่างมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ผู้เห็นว่า สารัตถะของเทคโนโลยีไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีเลย หากแต่เป็นการเปิดเผย (revealing) นั่นคือเทคโนโลยีต้องการเปิดเผยตัวมันเองออกมา เราเห็นได้จากการที่ความเปลี่ยนแปลงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา  …

อัปเดตร่างกฎหมาย Digital Platform กับข้อสงสัยที่ใคร ๆ อยากรู้

Loading

  (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .… ซึ่ง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมาอย่างต่อเนื่อง และได้ปรับแก้ตามข้อคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยหลังผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) ไปแล้ว ปัจจุบัน ร่างนี้ อยู่ในขั้นนำเสนอให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พิจารณา (ดาวน์โหลดร่างล่าสุดได้ท้ายบทความ) ซึ่งยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนก่อนประกาศใช้   1. กฎหมายฉบับนี้กำหนดหน้าที่อะไรบ้าง (ตอบ)  ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ มุ่งเน้นไปที่การควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยกำหนดหน้าที่ในการประกอบธุรกิจ ในเรื่องหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 1) หน้าที่ในการแจ้งให้ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ 2) หน้าที่เพิ่มเติม สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะหรือประเภทตามที่ ETDA ประกาศกำหนด ในการแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างชัดเจนก่อนหรือขณะใช้บริการ 3) หน้าที่เพิ่มเติม สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่หรือที่มีลักษณะเฉพาะ ตามประกาศของ ETDA โดยความเห็นชอบของ คธอ.   2. กฎหมายฉบับนี้กำหนดหน้าที่ให้ใครบ้าง…

จีนเปิดตัวควอนตัมคอมพิวเตอร์เร็วสุดในโลก ด้วยความเร็ว 1 มิลลิวินาที เท่าการทำงานคอมพิวเตอร์ปกติ 30 ล้านล้านปี

Loading

  จีนเพิ่งประกาศว่า พวกเขาได้พัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกสำเร็จแล้ว และพวกเขายังบอกอีกว่า มันสามารถทำงานด้วยความเร็ว 1 มิลลิวินาที ที่เทียบเท่าการทำงานคอมพิวเตอร์ปกติ 30 ล้านล้านปี   ปาน เจียนเว้ย นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเหอเฟย ในมณฑลอานฮุย ผู้นำการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ เปิดตัวควอนตัมคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องใหม่ โดยพวกเขาตั้งชื่อหนึ่งในควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นว่า จูชงจือ 2 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อนักคณิตศาสตร์ของจีน ที่มีชีวิตอยู่เมื่อราวศตวรรษที่ 5   จูชงจือ 2 ได้รับการพัฒนา จนทำให้มันกลายเป็นควอนตัมคอมพิวเตอร์ ที่เร็วเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมันมีตัวนำโปรแกรมขนาด 66 คิวบิต เร็วกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดอย่าง Sycamore ของ Google ในขนาด 55 คิวบิต ถึง 10 ล้านเท่าตัว และมันยังทำงานได้ซับซ้อนกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ Google ถึง 1 ล้านเท่าตัว   ปานยังประกาศอีกว่า ควอนตัมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ได้รับการพํฒนาขึ้นมา มีชื่อว่า จิวจาง 2…

ยูโรโพลแท็กทีมตำรวจอเมริกากวาดล้างดาร์กเว็บ รวบผู้ต้องสงสัย 150 ราย เงินสด-ปืน-ยาเสพติด

Loading

  เอเอฟพี – ตำรวจทั่วโลกบุกรวบตัวผู้ต้องสงสัย 150 คนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายของออนไลน์ผิดกฎหมาย สามารถยึดเงินสดและบิตคอยน์มูลค่าหลายล้านยูโร รวมถึงยาเสพติดและปืน ถือเป็นหนึ่งในปฏิบัติการกวาดล้างเว็บผิดกฎหมายครั้งใหญ่ที่สุด ยูโรโพลเปิดเผยเมื่อวันอังคาร (26 ต.ค.) ว่า ปฏิบัติการนี้ที่มีชื่อว่า “ดาร์กฮันเตอร์” มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือนมกราคมที่ตำรวจเยอรมนีได้ทลาย “ดาร์กมาร์เกต” ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ผิดกฎหมายใหญ่ที่สุดของโลก ดำเนินการโดยผู้ต้องสงสัยชาวออสเตรเลียเพื่อใช้ในการขายยาเสพติด ข้อมูลบัตรเครดิตที่ขโมยมา และมัลแวร์ ยูโรโพลแจงว่า การจับกุมผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าวที่ใกล้ชายแดนเยอรมนี-เดนมาร์ก และการเข้าควบคุมโครงสร้างพื้นฐานในการก่ออาชญากรรม ทำให้เจ้าหน้าที่สืบสวนทั่วโลกค้นพบคลังข้อมูลหลักฐาน   อัยการเยอรมนีเปิดเผยในขณะนั้นว่า ดาร์กมาร์เกตถูกค้นพบระหว่างการสอบสวนไซเบอร์บังเกอร์ บริการเว็บโฮสต์ที่อยู่ในบังเกอร์เก่าของนาโต (องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ) ทางตะวันตกของเยอรมนี นับจากนั้น ศูนย์อาชญากรรมทางไซเบอร์แห่งยุโรป (อีซี3) ในสังกัดยูโรโพล เริ่มรวบรวมข้อมูลข่าวกรองเพื่อระบุตัวเป้าหมายหลัก ทั้งนี้ “ดาร์กเน็ต” รวมถึงเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ด้วยซอฟต์แวร์ หรือการให้สิทธิที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น เพื่อรับประกันว่า จะไม่มีการเปิดเผยตัวตนของผู้ใช้ โดยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดาร์กเน็ตถูกกดดันมากขึ้นจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ   ดาร์กฮันเตอร์ ประกอบด้วย ปฏิบัติการในออสเตรเลีย บัลแกเรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร…