Metaverse กฎหมายและอนาคตในโลกคู่ขนาน

Loading

  ผู้เขียนขอจินตนาการถึงอนาคตกับสิ่งที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น ในวันนี้แม้เราจะยังไม่ได้สัมผัสโลก Metaverse อย่างเต็มรูปแบบ แต่เชื่อว่าในอีกไม่นาน โลกคู่ขนานอีกใบจะถูกสร้างขึ้นในลักษณะ “เสมือน” ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายกฎระเบียบในโลกกายภาพเป็นอย่างมาก   อะไรคือ Metaverse หากพิจารณาในเชิงนิยาม Metaverse แปลว่า “Beyond the Universe” ซึ่งเป็นการรวมคำของ “Meta” ที่หมายถึง “เหนือขอบเขต” และ “Universe” ที่หมายถึง “จักรวาล” ดังนั้น โลก Metaverse คือความพยายามของบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะสร้างโลกเสมือนอีกใบ (Virtual World) เพื่อให้คนในโลกกายภาพสามารถเข้าถึงและมีกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนได้ ผ่านการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต หรืออาจกล่าวได้ว่า องค์ประกอบของ Metaverse คือ 1) การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้าง Digital Content ให้เป็นโลกอีกใบที่คู่ขนานกับโลกที่เราอยู่ 2) การเข้าถึงต้องใช้ฮาร์ดแวร์ดีไวซ์ต่างๆ (เช่น AR หรือแว่นตาเฉพาะ) เพื่อให้ User ที่อยู่ในโลกกายภาพสามารถเชื่อมต่อกับโลกเสมือนได้ 3) User…

อิสราเอลพัฒนา ‘AI จับเท็จ’ จากกล้ามเนื้อใบหน้า ความแม่นยำสูง

Loading

  ทีมวิจัยจากอิสราเอลพัฒนา AI จับโกหกจากกล้ามเนื้อบนใบหน้า แม่นยำสูง 73% สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (TAU) ของอิสราเอลระบุว่าคณะนักวิจัยชาวอิสราเอลได้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) รูปแบบใหม่ ที่สามารถตรวจจับการโกหกจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้า ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนากล้องและซอฟต์แวร์ที่จะช่วยตรวจจับการโกหกในหลายๆ สถานการณ์จริง ทางมหาวิทยาลัยฯ ระบุว่าคณะนักวิจัยใช้เทคโนโลยีตัวใหม่นี้ตรวจจับการโกหกของผู้เข้าร่วมการทดลอง ได้แม่นยำสูงถึงร้อยละ 73 ผลการศึกษาซึ่งได้รับการเผยแพร่ลงบนวารสาร เบรน แอนด์ บีเฮฟวีเออร์ (Brain and Behavior) ระบุว่าคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ แบ่งคนโกหกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะขยับกล้ามเนื้อแก้มเมื่อโกหก ส่วนกลุ่มที่สองจะขยับคิ้ว การศึกษานี้ใช้นวัตกรรมการพิมพ์สติกเกอร์บนพื้นผิวอ่อนนุ่มซึ่งมีขั้วไฟฟ้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยฯ ในการตรวจสอบและวัดความเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท คณะนักวิจัยระบุว่าระบุว่าในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องใช้ตัวนำไฟฟ้าต่อไป หากมีการใช้ซอฟต์แวร์วิดีโอที่สามารถตรวจจับการโกหกจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ พร้อมให้ข้อสรุปว่าหากนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้กับกล้องคุณภาพสูง ก็อาจเป็นประโยชน์ต่อการตรวจจับการโกหกในธนาคาร สนามบิน การสืบสวนของตำรวจ และการสัมภาษณ์งานทางออนไลน์ได้ ภาพ: กล้องจดจำใบหน้าที่สนามบินนานาชาติออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา (AP Photo/John Raoux)   ที่มา : โพสต์ทูเดย์     …

ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันอาจต้องกลับประเทศ หากไม่ผ่านคัดกรองจากสหรัฐฯ

Loading

  สหรัฐฯ พิจารณาส่งผู้ลี้ภัยบางส่วนกลับอัฟกานิสถานหากไม่ผ่านการตรวจสอบคัดกรองที่เข้มงวด CNN รายงานว่าความโกลาหลในอัฟกานิสถานเมื่อเดือน ส.ค. หลังจากที่กลุ่มตอลิบานเข้ายึดครองประเทศได้สำเร็จ ส่งผลให้มีชาวอัฟกานิสถานหลายหมื่นคนอพยพลี้ภัยออกนอกประเทศ โดยราว 70,000 คน เดินทางสู่สหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยว่ารัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพิจารณาที่จะส่งผู้ลี้ภัยบางส่วนกลับอัฟกานิสถาน หากไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองด้านความมั่นคงเพื่อย้ายเข้าสหรัฐฯ แม้ว่าการส่งกลับประเทศจะเป็นทางเลือกเดียว แต่มันติดอยู่กับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศที่ห้ามที่ห้ามบังคับส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศบ้านเกิด โดยขณะนี้มีผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อยที่ถูกส่งตัวไปยังฐานทัพบอนด์สตีลในโคโซโวเพื่อรับการตรวจสอบเพิ่มเติม ท่ามกลางความหวาดกลัวของบรรดาผู้ลี้ภัย ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่าทำไมเขาจึงถูกส่งตัวไปที่นั่น ต้องอยู่ที่นั่นนานแค่ไหน และยังกังวลว่าพวกเขาจะถูกตราหน้าว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” แหล่งข่าวระบุว่ามีผู้ลี้ภัยราว 200 คน ที่ถูกส่งตัวมายังฐานทัพแห่งนี้ ซึ่งสหรัฐฯตกลงกับรัฐบาลโคโซโวว่าจะให้พวกเขาอยู่ที่นั่นไม่เกิน 1 ปี อย่างไรก็ตามผู้ลี้ภัยส่วนหนึ่งที่ถูกส่งตัวมาได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบคัดกรองและถูกส่งต่อไปยังสหรัฐฯ แล้ว และจนถึงสัปดาห์ที่แล้วยังไม่มีผู้ลี้ภัยคนใดที่ถูกพิจารณาว่าไม่ผ่าน แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าสหรัฐฯ จะดำเนินการอย่างไรหากมีผู้ลี้ภัยที่ไม่ผ่านการคัดกรองสำหรับการลี้ภัยไปยังสหรัฐฯ ขณะที่เจ้าหน้าที่และนักการเมืองสหรัฐฯ บางส่วนกังวลว่าพวกเขาจะถูกลอยแพ เอมิลี ฮอร์น โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวว่า “ชาวอัฟกันทุกคนที่ต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในสหรัฐฯ ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองด้านความมั่นคงก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าสหรัฐฯ บางคนอาจถูกประทับตราจากหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้าย สำนักข่าวกรอง หรือเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายของสหรัฐสำหรับการตรวจสอบคัดกรองเพิ่มเติม นั่นหมายความว่าระบบของเรากำลังทำงาน” Photo by KARIM JAAFAR / AFP…

ตำรวจเนเธอร์แลนด์ลุยปราบจลาจล ต่อต้านล็อกดาวน์ จุดไฟเผาวอดหลายพื้นที่

Loading

  เนเธอร์แลนด์เผชิญกับเหตุจลาจล ต่อต้านมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ เป็นคืนที่สามติดต่อกันแล้ว โดยตำรวจจับกุมผู้ก่อความไม่สงบได้มากกว่า 130 คนทั่วประเทศ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองรอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ว่า ผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการล็อกดาวน์ควบคุมโรคโควิด-19 ก่อจลาจลตามเมืองใหญ่หลายแห่งในเนเธอร์แลนด์ ต่อเนื่องเป็นคืนที่สาม เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์ยังคงรุนแรงที่สุด มีการจุดไฟเผาหลายจุด ในเมืองรอตเทอร์ดาม เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ ตำรวจจับกุมผู้ก่อความไม่สงบได้อีก 26 คน   เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวหนึ่งในผู้ร่วมก่อความไม่สงบ ที่กรุงเฮก Chaos hits #TheHague streets as #COVID protest turns violent#Netherlands pic.twitter.com/fPYg7PCWhh — Ruptly (@Ruptly) November 21, 2021 Chaos hits #TheHague streets as #COVID protest turns violent#Netherlands pic.twitter.com/fPYg7PCWhh — Ruptly…

ตำรวจใหญ่นิวซีแลนด์ระบุ มัลแวร์เรียกค่าไถ่จะไม่เกิด หากไม่มีคริปโทเคอเรนซี

Loading

  เครก แฮมิลตัน (Craig Hamilton) ผู้อำนวยระดับชาติของฝ่ายอาชญากรรมทางการเงิน สังกัดสำนักงานตำรวจนิวซีแลนด์ กล่าวต่อคณะกรรมาธิการของรัฐสภาว่าหากไม่มีคริปโทเคอเรนซี อาชญากรรมคอมพิวเตอร์หลายประเภทจะไม่เกิด โดยเฉพาะการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ “หากไม่มีคริปโทเคอเรนซี ก็จะไม่มีการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่อย่างที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ตอนนี้” แฮมิลตันระบุ โดยหลักฐานที่เขานำมาแสดงต่อคณะกรรมาธิการฯ คือเหตุการณ์โจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ต่อคณะกรรมการด้านสาธารณสุขเขตของเมืองไวกาโตเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการดังกล่าวก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาคริปโทเคอเรนซี เพื่อพยายามหาวิธีการกำหนดมาตรการควบคุมที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ Marsh McLennan บริษัทตัวแทนประกันยักษ์ใหญ่ประเมินว่าร้อยละ 98 ของการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เมื่อปีที่แล้วนั้นเรียกค่าไถ่เป็นบิตคอยน์ เนื่องจาก ช่วยให้อาชญากรทางไซเบอร์สามารถรับเงินค่าไถ่โดยที่ยังรักษาความเป็นนิรนามไว้ได้อย่างมาก ที่มา Stuff.co.nz     ที่มา : beartai           /   วันที่เผยแพร่ 21 พ.ย.64 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/858297