เอฟบีไอป่วน! เจอเจ้าหน้าที่ป่วยเป็นโรคลึกลับ ยังหาสาเหตุไม่ได้

Loading

    เจ้าหน้าที่เอฟบีไอและเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐที่ปฏิบัติงานอยู่นอกประเทศเกิดล้มป่วยเป็นโรคลึกลับที่หาสาเหตุไม่ได้ ทั้งเอฟบีไอและซีไอเอต่างประกาศว่าจะสืบสาวไปให้ถึงต้นตอของเรื่องนี้ให้ได้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางของรัฐบาลสหรัฐหรือเอฟบีไอแจ้งว่าหน่วยงานจัดให้การรับมือกับปัญหาที่เกี่ยวกับอาการ “ผิดปกติ” ด้านสุขภาพ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าฮาวานาซินโดรม (Havana Syndrome) มีความสำคัญเป็นอันดับแรก และมุ่งมั่นจะสืบสวนหาสาเหตุ รวมถึงวิธีการป้องกันเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้ได้ เอฟบีไอเชื่อว่าเจ้าหน้าที่สถานทูต เจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐและครอบครัวของเจ้าหน้าที่ราว 200 คนในต่างประเทศกำลังป่วยด้วยโรคลึกลับ ซึ่งมีอาการดังนี้คือ ปวดหัวข้างเดียว คลื่นไส้ มึนงงและความจำเสื่อม มีการรายงานว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐล้มป่วยด้วยโรคประหลาดนี้เป็นครั้งแรกในกรุงฮาวานา เมืองหลวงของประเทศคิวบา เมื่อปี 2559   เอฟบีไอออกแถลงการณ์ระบุว่า ปัญหาเรื่องความผิดปกติด้านสุขภาพมีความสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับองค์กร เนื่องจากการปกป้องดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ของพนักงานและเพื่อนร่วมงานในองค์กรรวมถึงในหน่วยงานรัฐบาลคือความสำคัญสูงสุด ขณะนี้ทางเอฟบีไอกำลังสืบหาสาเหตุของโรคและหาวิธีป้องกันคนขององค์กรไม่ให้ป่วยด้วยโรคดังกล่าว ทางเอฟบีไอได้ส่งข้อความแจ้งเตือนและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้พนักงาน ถ้าหากรู้สึกว่ามีอาการที่เข้าข่ายโรคดังกล่าว รวมถึงแจ้งสถานที่ที่สามารถเข้ารับการรักษาได้   มาร์ค เซด นักกฎหมายซึ่งเคยล้มป่วยด้วยโรคฮาวานาซินโดรม กล่าวว่าในอดีตนั้น เอฟบีไอไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือเท่าไหร่นัก และมักจะกล่าวหาว่าผู้ป่วย “คิดไปเอง” ว่าป่วย ทั้งที่ไม่เคยสอบถามคนที่เป็นโรคนี้อย่างจริงจัง วิลเลียม เบิร์นส์ ผู้อำนวยการซีไอเอแสดงความมุ่งมั่นในการรับมือโรคฮาวานาซินโดรมด้วยการเลือกให้สายลับมืออาชีพขององค์กรที่เคยทำงานในปฏิบัติการตามล่าตัวและสังหาร โอซามา บิน ลาเดน มารับหน้าที่ดูแลปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อให้คนขององค์กรรู้สึกมั่นใจว่าหน่วยงานจะขุดค้นลงไปถึงต้นตอของเรื่องนี้ให้ได้ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ระหว่างการไปเยือนกรุงมอสโกเมื่อไม่นานมานี้ เบิร์นส์ได้เน้นย้ำเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรสืบราชการลับของรัสเซียว่า…

หน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม

Loading

  พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นหน้าที่ของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งการไม่มีมาตรการที่เหมาะสมอาจมีความรับผิดตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ ดังนี้ 1.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ และต้องทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(1))   2.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(4))   3.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น (มาตรา 40(2)) จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง…

Google เตือนภัยการแฮกบัญชี Google Cloud ไปขุดคริปโทเคอเรนซี

Loading

  ทีมปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ Google รายงานกรณีแฮกเกอร์ใช้บัญชีคลาวด์ที่ถูกแฮกในการขุดคริปโทเคอเรนซี ในรายงานดังกล่าว Google ระบุว่าร้อยละ 86 ของการแฮกระบบคลาวด์ 50 ครั้งให้หลังนั้นถูกใช้ไปในการขุดคริปโทเคอเรนซี โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะติดตั้งซอฟแวร์ในการขุดลงไปในบัญชี Google Cloud เพียง 22 วินาทีภายหลังการแฮก ซึ่ง 3 ใน 4 ของการแฮกเกิดจากการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยของฝั่งลูกค้าหรือจุดอ่อนในซอฟแวร์ third-party Google แนะนำให้ลูกค้าแก้ปัญหาโดยเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยของบัญชีโดยการใช้ระบบยืนยันตัวตนแบบ 2 ชั้น (two-factor authentication) นอกจากนี้ ในรายงานยังมีเรื่องของ APT28 กลุ่มแฮกเกอร์ของรัฐบาลรัสเซียที่พยายามล้วงข้อมูลรหัสผ่านบัญชี Gmail ถึง 12,000 บัญชี โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และอินเดีย ด้วยการทำฟิชชิ่ง (phishing) รวมไปถึงกรณีที่แฮกเกอร์เกาหลีเหนือที่ปลอมตัวเป็นฝ่ายจัดหางานของ Samsung ส่งประกาศรับสมัครงานปลอมไปยังพนักงานที่ทำงานในบริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของเกาหลีใต้ ซึ่งทาง Google ยืนยันว่าสามารถปิดกั้นความพยายามในการโจมตีได้ทั้งหมด   ที่มา Guardian     ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา…

อินโดนีเซียรวบผู้ต้องสงสัย 24 ราย ฐานเอี่ยวระดมทุนให้กลุ่มหัวรุนแรง

Loading

  หน่วยปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย Densus 88 ของอินโดนีเซียบุกจับกุมผู้ต้องสงสัย 24 ราย ฐานต้องสงสัยว่าระดมเงินทุนให้กับกลุ่มญะมะอะห์ อิสลามียะห์ (JI) ซึ่งเป็นขบวนการหัวรุนแรงที่เชื่อมโยงกับกลุ่มติดอาวุธอัลกออิดะห์และถูกกล่าวหาเป็นผู้ลงมือก่อเหตุโจมตีครั้งใหญ่หลายครั้งในประเทศ ทั้งนี้ นายอัสวิน ซีเรการ์จากหน่วย Densus 88 ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ผู้ต้องสงสัยกลุ่มนี้ได้ดำเนินการรวบรวมเงินทุนให้กับกลุ่ม JI ผ่านการใช้มูลนิธิการกุศลอิสลาม 2 แห่งเป็นฉากบังหน้า และปฏิบัติการจับกุมในครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นภาพการระดมทุนของกลุ่มติดอาวุธในอินโดนีเซีย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กลุ่ม JI นั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดไนต์คลับ 2 แห่งในบาหลี ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 200 คนรวมถึงชาวออสเตรเลียจำนวนมาก และเหตุโจมตีรุนแรงอื่น ๆ อีกหลายครั้งในกรุงจาการ์ตา ตำรวจอินโดนีเซียเปิดเผยว่า จากข้อมูลรายงานทางการเงินพบว่ามูลนิธิการกุศลทั้ง 2 แห่งสามารถระดมเงินทุนได้ประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ แม้ตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้ และตำรวจยังสามารถยึดของกลางเป็นเงิน 700,000 ดอลลาร์ได้ที่สำนักงานแห่งหนึ่งของมูลนิธิดังกล่าว     ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :    สำนักข่าวอินโฟเควสท์   …