CCTV ใช้อย่างไร ไม่ให้ผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ

Loading

  กล้อง CCTV หรือกล้องวงจรปิดที่ใช้อย่างแพร่หลาย ย่อมส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้กล้อง CCTV (Closed-circuit television) หรือกล้องวงจรปิด เพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันอาชญากรรม แต่ส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้นั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถูกบันทึกภาพ ดังนี้ ผู้ใช้กล้อง CCTV จึงมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ) เพื่อจัดการให้การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ในบทความนี้ ผู้เขียนแบ่งการใช้กล้อง CCTV เป็น 2 กรณี โดยแยกตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ดังนี้ กรณีที่ 1 การใช้กล้อง CCTV เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว ในกรณีการใช้กล้อง CCTV เพื่อรักษาความปลอดภัยของบ้านเรือนและสมาชิกในครอบครัวนั้น แม้ว่าข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลก็ตาม แต่ก็เป็นข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ตามที่มาตรา 4(1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น กล่าวคือ ผู้ใช้กล้อง CCTV เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงฐานในการประมวลผลตามกฎหมายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การใช้กล้อง…

หน่วยข่าวเกาหลีใต้เตือนภัยไซเบอร์ในช่วงเลือกตั้งผู้นำ

Loading

  ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security Center – NCSC) หน่วยภายใต้กำกับดูแลของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Service – NIS) ของเกาหลีใต้ได้เผยแพร่รายงานประจำปีที่่ระบุว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่มีรัฐบาลต่างชาติหนุนหลังจะพยายามจารกรรมข้อมูลของรัฐบาลเกาหลีใต้อย่างหนักหน่วงในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในวันที่ 9 มีนาคมปีหน้า NCSC คาดการณ์ในรายงานว่าจะในช่วงเวลาดังกล่าวแฮกเกอร์จะให้ความสนใจกับนโยบายต่อเกาหลีเหนือและสหรัฐอเมริกาในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งเป็นพิเศษ แต่รายงานไม่ได้ระบุว่าประเทศใดอยู่เบื้องหลังแฮกเกอร์เหล่านี้ ในรายงานยังระบุด้วยว่า จำนวนการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีรัฐสนับสนุนในครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับครึ่งหลังของปีที่แล้ว นอกจากนี้ แฮกเกอร์จะพัฒนาขีดความสามารถในการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ขั้นสูงต่อโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและระบบไอที โดยจะผสมผสานการโจมตีที่มีเป้าหมายระหว่างบริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี NCSC ยังระบุอีกว่าแฮกเกอร์เกาหลีเหนือที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักข่าวกรองของรัฐบาล (Reconnaissance General Bureau – RGB) ได้พยายามโจรกรรมข้อมูลจากองค์กรด้านการทหาร การต่างประเทศ และการรวมชาติ ในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยเชื่อว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการโจมตีทางไซเบอร์กับความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี สำหรับ RGB เป็นหน่วยงานข่าวหลักของรัฐบาลเกาหลีเหนือที่ถูกองค์การสหประชาชาติและกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ คว่ำบาตร ที่ผ่านมาสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรพยายามกล่าวหาว่ากลุ่มแฮกเกอร์ Lazarus , Bluenoroff และ Andariel นั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของ RGB ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีเคยก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์อย่าง WannaCry…

Clearview AI จะได้รับสิทธิบัตรเทคโนโลยี AI จดจำใบหน้าในสหรัฐฯ

Loading

  Politico ได้รายงานว่า Clearview AI บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยี AI ช่วยจดจำใบหน้าที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูงในยุโรป กำลังจะได้รับสิทธิบัตรจาก สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐฯ หรือ USPTO (US Patent and Trademark Office) ทาง Politico ได้ระบุว่า ทาง USPTO ได้ออกหนังสือแจ้งการรับจดทะเบียน (Notice of Allowance) ให้แก่ Clearview AI ซึ่งเป็นการยืนยันว่าเจ้าหน้าที่จะอนุมัติให้ Clearview AI ยื่นจดสิทธิบัตรระบบ AI จดจำใบหน้าดังกล่่าวได้ เทคโนโลยี AI จดจำใบหน้าของ Clearview AI นั้น เป็นระบบสแกนใบหน้าบุคคลในปรากฏในข้อมูลอินเทอร์เน็ตสาธารณะและฟุตเทจกล้อวิดีโอวงจรปิดขนาดใหญ่ เพื่อค้นหาบุคคลตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด     Hoan Ton-That ผู้ก่อตั้ง Clearview AI ได้กล่าวอ้างว่านี่เป็นสิทธิบัตรเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าชิ้นแรกที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ ซึ่งทางบริษัทจะขายเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนานี้ให้แก่หน่วยงานของทางภาครัฐ รวมถึงหน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมาย โดยหวังว่าจะช่วยเร่งการค้่นหาบุคคลที่ภาครัฐต้องการตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี…

การหยามผิวกับความแตกแยกในสหรัฐ | ไสว บุญมา

Loading

ผู้ติดตามข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสหรัฐคงทราบแล้วว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาศาลในรัฐจอร์เจียตัดสินว่าชายผิวขาว 3 คนมีความผิดฐานฆ่าชายผิวดำ แต่วิบากกรรมของชาย 3 คนนั้นยังไม่จบ พวกเขาจะต้องขึ้นศาลของรัฐบาลกลางต่อไปในข้อหาฆ่าผู้อื่น เพียงเพราะสีผิวของผู้นั้นต่างกับของตน คดีเกิดจากเหตุการณ์สยองขวัญในช่วงต้นปีที่แล้ว เมื่อผู้ตายวิ่งออกกำลังกายผ่านไปในย่านของคนผิวขาว ฆาตกรดังกล่าวใช้รถกระบะ 2 คันไล่เขาไปตามถนนจนเขาจนมุมจึงยิงเขาตาย ทั้งที่มีหลักฐานแจ้งชัด แต่ตำรวจไม่ยอมจับชาย 3 คนนั้นเพราะอัยการผิวขาวเข้าข้างฆาตกร เมื่อเรื่องถูกเผยแพร่ออกมา ฆาตกรจึงถูกจับดำเนินคดี อัยการที่เข้าข้างฆาตกรกำลังอยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีเช่นกัน ในปัจจุบัน เหตุการณ์อันเนื่องมาจากการหยามผิวยังเกิดขึ้นบ่อยโดยเฉพาะทางภาคใต้ของสหรัฐ เรื่องนี้อาจเป็นที่แปลกใจของคนจำนวนมากเนื่องจากสหรัฐประกาศเลิกทาสโดยการจารึกไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว 156 ปีและมีกฎหมายให้คนผิวทุกสีมีสิทธิ์เท่าเทียมกันมาแล้ว 55 ปี แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและการตรากฎหมายใหม่เปลี่ยนใจของคนผิวขาวจำนวนมากไม่ได้เพราะในบ้านยังสอนให้ลูกหลานหยามผิว คดีที่อ้างถึงเป็นตัวอย่างชั้นดีของประเด็นนี้เพราะฆาตกร 2 คนเป็นพ่อกับลูก การหยามผิวของชาวอเมริกันผิวขาวเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่ไปบุกรุกและบุกเบิกแผ่นดินในทวีปอเมริการวมทั้งส่วนที่อยู่ในครอบครองของชาวพื้นเมืองผิวคล้ำอยู่ก่อนแล้ว แรงงานที่ใช้ในการบุกเบิกส่วนหนึ่งได้มาจากคนผิวดำที่ถูกจับจากแอฟริกาไปขายในฐานะทาส คนผิวขาวเอาชนะชาวพื้นเมืองผิวคล้ำและคนผิวดำได้เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ประเด็นนี้มีข้อมูลสนับสนุนอยู่ในหนังสือชื่อ Guns, Germs and Steel (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com) การมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้คนผิวขาวหยามคนผิวอื่นถึงขนาดไม่นับเป็นคน แนวคิดนี้แสดงออกมาเป็นที่ประจักษ์เมื่อพวกเขาประกาศแผ่นดินที่บุกรุกและบุกเบิกใหม่เป็นประเทศเอกราชเมื่อปี 2319 กล่าวคือ รัฐธรรมนูญของสหรัฐไม่นับทาสและชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเป็นคนยังผลให้ข้อความในรัฐธรรมนูญที่เขียนว่า “คนทั้งหมดเกิดมาเท่าเทียมกัน” (all men are created equal) เป็นเพียงข้อความหลอกลวงเพราะมันหมายถึงเฉพาะคนผิวขาวเท่านั้น ลูกหลานของชาวผิวขาวส่วนหนึ่งจึงยึดแนวคิดแสนประหลาดนั้นมาจนทุกวันนี้…

จีนสอดแนมนักข่าวโดยแบ่งประเภทตามสีไฟจราจร

Loading

มณฑลเหอหนานของจีนกำลังสร้างระบบสอดแนมที่ใช้เทคโนโลยีการสแกนใบหน้า ที่สามารถตรวจหานักข่าวและ “บุคคลที่น่ากังวล” อื่น ๆ ได้   เอกสารที่บีบีซี นิวส์ ได้เห็น อธิบายถึงระบบที่แบ่งผู้สื่อข่าวตามประเภทของสีไฟจราจรคือ เขียว เหลืองอำพัน และแดง ในเอกสารระบุว่า ผู้สื่อข่าวในกลุ่ม “สีแดง” จะ “ได้รับการจัดการตามความเหมาะสม” หน่วยงานด้านความมั่นคงสาธารณะของมณฑลเหอหนานยังไม่ตอบรับคำขอให้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว เอกสารซึ่งได้รับการค้นพบโดย IPVM บริษัทด้านการวิเคราะห์การสอดแนมนี้ ยังเผยให้เห็นแผนการสอดแนม “บุคคลที่น่ากังวล” อื่น ๆ รวมถึงนักศึกษาต่างชาติ และผู้อพยพสตรี ฮิวแมนไรท์วอทช์ ระบุว่า “นี่ไม่ใช่รัฐบาลที่จำเป็นต้องมีอำนาจมากขึ้นในการติดตามตัวประชาชนจำนวนมากขึ้น…โดยเฉพาะประชาชนที่พยายามเรียกหาความรับผิดชอบจากรัฐบาล” “บุคคลน่ากังวล” เอกสารซึ่งเผยแพร่เมื่อ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยื่นข้อเสนอให้บริษัทต่าง ๆ ของจีนเข้าร่วมการประกวดสัญญาเพื่อสร้างระบบใหม่นี้ ซึ่งบริษัทที่ชนะการประกวดราคาเมื่อวันที่ 17 ก.ย. คือ NeuSoft NeuSoft ยังไม่ตอบรับคำขอให้แสดงความคิดเห็นจากบีบีซี นิวส์ ระบบนี้รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่เชื่อมต่อกับกล้องหลายพันตัวในเหอหนาน เพื่อแจ้งเตือนทางการเมื่อตรวจพบ “บุคคลที่น่ากังวล” “บุคคลที่น่ากังวัล” จะได้รับการจัดประเภทเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วในมณฑลเหอหนาน โดยระบบนี้จะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลแห่งชาติของจีนด้วย “ความกังวลหลัก”…

กองทัพสหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในการต่อกรกับการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  พลเอก พอล เอ็ม นากาโซเนะ (Paul M. Nakasone) ผู้บัญชาการกองบัญชาการไซเบอร์ (Cyber Command) และผู้อำนวยการสำนักความมั่นคงแห่งชาติหรือเอ็นเอสเอ (National Security Agency – NSA) ของสหรัฐอเมริกา ระบุต่อสำนักข่าว New York Times ว่า กองทัพได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในการต่อกรกับภัยคุกคามไซเบอร์อย่างเต็มตัว ทิศทางนี้ต่างจากเมื่อ 9 เดือนก่อนที่รัฐบาลระบุว่างานด้านการต่อกรกับภัยไซเบอร์เป็นหน้าที่ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น นากาโซเนะระบุว่าที่ผ่านมา กองทัพสหรัฐฯ ได้ปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มที่ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ในการโจมตีทางไซเบอร์ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง รู้แต่เพียงว่าได้มีการระดมพลจากทั้งกองบัญชาการไซเบอร์และเอ็นเอสเอ อย่างไรก็ดี เขายอมรับว่ารัฐบาลยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากกว่าที่ีจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา TechRadar ที่มาภาพปก Foreign Affairs     ที่มา : beartai                /  วันที่เผยแพร่ 6 ธ.ค.2564…