รัฐบาลเกาหลีใต้พัฒนาระบบ AI เพื่อใช้ตรวจจับและยับยั้งคนที่พยายามจะกระโดดสะพานฆ่าตัวตาย

Loading

  รัฐบาลกรุงโซล (Seoul) ประเทศเกาหลีใต้ ได้เริ่มพัฒนาและวางระบบ AI บนสะพานข้ามแม่น้ำทั่วกรุงโซล เพื่อรองรับการช่วยเหลือคนที่พยายามจะฆ่าตัวตายบนสะพานข้ามแม่น้ำ โดยมุ่งไปที่การยับยั้งไม่ให้เกิดเหตุขึ้น เนื่องจากพบสถิติว่า สะพานแม่น้ำฮัน (Han River) หลายแห่งที่ตั้งอยู่ ณ กรุงโซล กลายเป็นจุดแลนด์มาร์กสำคัญที่มีประชาชนชาวเกาหลีใต้พยายามจะฆ่าตัวตายมากถึงปีละประมาณ 500 คน เว็บไซต์ข่าว The Korea Times ของเกาหลีใต้ได้รายงานว่า รัฐบาลของกรุงโซล โดยความร่วมมือของ ‘สำนักงานดับเพลิงและภัยพิบัติแห่งกรุงโซล’ และ ‘สถาบันเทคโนโลยีแห่งกรุงโซล (SIT)’ ได้พัฒนาระบบนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 และ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยี AI หรือเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมของคนที่มีแนวโน้มว่าจะกระทำการฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพานโดยใช้กล้องวงจรปิดในการสังเกต     หากกล้องวงจรปิดตรวจพบคนที่น่าสงสัย เช่น มีการเดินไปเดินมาบนสะพานมากผิดปกติ หรือยืนอยู่บนสะพานกว่าที่ควรจะเป็น ระบบ AI จะโฟกัสไปที่คนคนนั้น ประกอบกับการการตรวจสอบบันทึกการเฝ้าระวังภัย ข้อมูลประวัติเกี่ยวกับการส่งทีมกู้ภัย รวมทั้งข้อมูลประวัติการสนทนาผ่านทางสายด่วนป้องกันฆ่าตัวตาย เมื่อระบบ AI ตรวจพบบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ระบบจะส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมที่มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาพกล้องวงจรปิดตลอด…

เปิดบัญชีเฝ้าระวัง “รถยนต์ 7 – จยย.ครึ่งร้อย” เสี่ยงซุกบึ้ม-พาหนะก่อเหตุรุนแรง

Loading

  ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดข้อมูล “รถเฝ้าระวัง” หลังถูกโจรกรรมเพียบ หวั่นคนร้ายนำไปใช้ซุกระเบิดทำ “คาร์บอมบ์ – จยย.บอมบ์” หรือใช้เป็นพาหนะไปก่อเหตุรุนแรง แฉป้ายทะเบียนก็ถูกฉกอื้อ ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รายงานแจ้งเตือนข้อมูลรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ถูกโจรกรรม และสุ่มเสี่ยงจะถูกนำไปใช้ก่อเหตุสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เพื่อให้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกหน่วยเฝ้าระวัง   โดยรถที่ถูกโจรกรรมและสุ่มเสี่ยงต่อการนำมาใช้ก่อเหตุ เป็นรถยนต์เฝ้าระวัง มีทั้งหมด 7 คัน และเป็นรถจักรยานยนต์เฝ้าระวัง 58 คัน แยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ จ.ปัตตานี มีรถยนต์เฝ้าระวัง 3 คัน ประกอบด้วย 1.รถยนต์เก๋งมาสด้า สีฟ้า ทะเบียน ญต7389 กรุงเทพฯ 2.รถยนต์กระบะ มิตซูบิชิ ไทรทัน สีประตู สีดำ ทะเบียน กจ 801 ยะลา 3.รถยนต์เก๋งซีวิค สีขาว ทะเบียน ขธ 1964 สงขลา ซึ่งเป็นรถยนต์ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังพิเศษ เนื่องจากเจ้าของรถถูกฆาตกรรม…

ผ่าพิษสง มัลแวร์ ตัวแสบ!! แห่งยุคดิจิทัล

Loading

  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า เผยแพร่ข้อมูล ระบุ พิษสงของ “มัลแวร์” โปรแกรมประสงค์ร้าย ถูกเขียนขึ้นหวังเข้าทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ ทั่วโลกต้องสูญเสียเม็ดเงินให้กับมัลแวร์ “ตัวแสบ” ของยุคนี้ไปอย่างมหาศาล   “มัลแวร์” (MALWARE) หรือ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” ย่อมาจาก MALicious และ SoftWARE หมายถึง โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูลหรืออาจจะเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุมเครื่องของเราได้   ประเภทของมัลแวร์ เช่น   Virus (ไวรัส) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านไฟล์ที่ส่งต่อกันระหว่างเครื่อง เมื่อมันแอบเข้ามายังคอมพิวเตอร์ได้แล้ว มันก็จะเข้าไปก่อกวนการทำงานจนทำให้เกิดผลเสียต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนเวลาที่เราป่วยเพราะไวรัส ร่างกายของเราก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าเดิม คอมพิวเตอร์เองก็เช่นเดียวกัน   Worm (เวิร์ม) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เองโดยอัตโนมัติ คล้ายกับตัวหนอนที่ชอนไชไปยังเส้นทางต่าง ๆ จนทำให้เครือข่ายล่มหรือใช้งานไม่ได้   Trojan (โทรจัน) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเราว่า…

คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565

Loading

  คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565 ว่าจะไปในทิศทางใด เพราะภัยไซเบอร์ใกล้ตัวและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นมากขึ้นสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้คอม ผู้ใช้อุปกรณ์ไอที ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในครอบครัวและองค์กรได้ โดย ปี 2564 ที่ผ่านมา เป็นปีที่องค์กรจำนวนมากต่างเร่งเครื่องด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล เนื่องมาจากโรคระบาดที่ส่งผลทั่วโลก และนั่นก็ทำให้ผู้โจมตีทางไซเบอร์อาศัยวิธีการที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ยึดโครงสร้างระบบเป็นตัวประกันและคุกคามองค์กรจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น องค์กรจึงควรระแวดระวังแนวโน้มภัยไซเบอร์ปี 2565 โดยจัดเตรียมโซลูชันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดการณ์ด้านภัยไซเบอร์ ปี 2565 พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ บริษัทด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยการคาดการณ์แนวโน้มด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่จะส่งผลต่อโลกดิจิทัลในปี 2565 ดังนี้ 1.ความรุ่งเรืองของบิตคอยน์ อาชญากรไซเบอร์กำลังมั่งคั่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องพบเจอกับการโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในรายงานภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ของ Unit 42 เปิดเผยว่าค่าไถ่โดยเฉลี่ยที่แต่ละองค์กรต้องจ่ายในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ราว 570,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 18.8 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 82% บ่งชี้ว่าอาชญากรไซเบอร์ยังคงสร้างผลกำไรและถือเป็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่สำคัญ เป็นที่ทราบกันดีว่าคริปโทเคอร์เรนซีหรือเงินตราเข้ารหัสลับช่วยกระตุ้นกิจการกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ด้วยมูลค่าของคริปโทฯ ที่สูงขึ้นและการจ่ายค่าไถ่ที่ไม่สามารถติดตามตัวได้ ทำให้อาชญากรไซเบอร์มีเงินทุนและทรัพยากรมากยิ่งขึ้นเพื่อใช้โจมตีโครงสร้างระบบที่สำคัญได้ในระดับที่ใหญ่ขึ้น ไม่เพียงแค่ทำให้เกิดความเสียหายทางการเงินในภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังทำลายระบบและบริการแก่สาธารณชนในวงกว้างอีกด้วย…

ตำรวจเตือนระวังมิจฉาชีพหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว โฟนสแกมหลอกโดนคดีให้โอนเงิน

Loading

  เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางมิชอบทั้งการทำฟิชชิ่ง โฟนสแกม โทรไปหลอกลวง หรือ ข่มขู่ผู้เสียหายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูล พร้อมคำแนะนำกรณีตกเป็นเหยื่อควรทำอย่างไร พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้ในทางมิชอบ หรือใช้ในการกระทำความผิด สร้างความเสียหายจากกรณีที่มีการนำเสนอทางสื่อทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับอาชญากรรมในลักษณะหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากประชาชน บัตรเครดิต รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเงินต่างๆ ไปใช้หาประโยชน์ในทางมิชอบ ใช้วิธีการในการหลอกลวงหลายรูปแบบ เช่น Phishing mail คือการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมในการหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือ Phone scam คือการโทรไปหลอกลวง หรือข่มขู่ผู้เสียหายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูล จากนั้นเหล่ามิจฉาชีพก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้หาประโยชน์ เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชระเบียนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ได้มาติดต่ออ้างว่าเป็นนายหน้าขอกู้เงินนอกระบบ โดยลักลอบนำข้อมูลสำเนาบัตรประชาชนของคนไข้กว่า 10 ราย มาขอกู้เงินจำนวนกว่า 100,000 บาท แต่เมื่อถึงกำหนดส่งดอกเบี้ยผู้กู้กลับไม่ชำระเงิน และขอผัดผ่อนเรื่อยมาผู้ปล่อยกู้จึงได้ติดตามทวงถามกับลูกหนี้ ซึ่งพบว่าลูกหนี้ทุกรายไม่รู้เรื่อง ทุกคนแจ้งว่าเป็นผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาตัวที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่ถูกเจ้าหน้าที่รายดังกล่าวลักลอบนำเอกสารข้อมูลสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ในการกู้เงิน พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตระหนักถึงพิษภัยดังกล่าวและได้กำชับไปยังทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องทุกพื้นที่ ให้เร่งสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ถึงภัยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบ พร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง รวมถึงให้เร่งทำการสืบสวนสอบสวนปราบปรามและดำเนินคดีมิจฉาชีพที่ฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนห้วงการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างจริงจังต่อเนื่อง มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม…

มัลแวร์ Joker แอบแฝงมากับแอปพลิเคชันใน Google Play Store ที่มีผู้ดาวน์โหลดกว่า 500,000 ครั้ง!

Loading

  นักวิจัยความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity researcher) จาก Pradeo ได้อัปเดตบทความระบุแอปพลิเคชันมือถือบน Google Play Store ที่มีมัลแวร์โจ๊กเกอร์ (Joker Malware) ติดมาด้วย โดยแอปพลิเคชัน Color Message เป็นแอปพลิเคชันล่าสุดที่ถูกตรวจพบ! Color Message เป็นแอปพลิเคชันที่อนุญาตให้คนปรับแต่งข้อความ SMS ตามความชอบของผู้ใช้ โดยมีผู้ใช้ Android ที่ดาวน์โหลดไปมากถึง 500,000 ครั้ง และบางคนได้ค้นพบจุดประสงค์ของผู้พัฒนาที่แท้จริงแล้ว แม้อาจจะสายเกินไป เป้าหมายของ Joker คือกลุ่มผู้ที่กด Subscribe ของแอป และแอบสมัครบริการต่าง ๆ โดยจำลองการคลิกและแทรกข้อความ SMS ต่างๆ ทั้งยังสามารถขโมยข้อมูลจาก SMS ทั้งเนื้อหา รายการผู้ติดต่อ และข้อมูลของอุปกรณ์ได้อีกด้วย Pradeo อธิบายว่า Joker เป็นมัลแวร์ที่สามารถตรวจพบได้ยาก เพราะมันใช้โค้ดเพียงเล็กน้อยและแอบแฝงตัวอย่างมิดชิด ทั้งตัวแอป Color Message ยังถูกลบออกได้ยากเพราะมันสามารถซ่อนไอคอนตนเองหลังจากการติดตั้งได้อีกด้วย  …