ส่งทหารจัดการ ผู้ลี้ภัยก่อจลาจล เผาศูนย์อพยพฯ

Loading

  ทรัพย์สินวอดยับ ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ ก่อจลาจลเผาทำลายทรัพย์สินภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ จ.ตาก ส่งผลให้ อส.และเจ้าหน้าที่กว่า 200 คน ต้องหนีตายทรัพย์สินเสียหายอื้อ ทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าช่วงค่ำวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุผู้ลี้ภัยจากการสู้รบกว่า 30,000 คน ก่อจลาจลเผาทำลายทรัพย์สินภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ หมู่ 9 ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยตลอดทั้งคืนได้มีการชุมนุมประท้วง และเผาจุดตรวจของเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร (อส.) ประมาณ 7 จุด ส่งผลให้ทาง อส.ประจำศูนย์อพยพกว่า 200 คน รวมถึงปลัดอำเภอท่าสองยาง ซึ่งควบคุมดูแลพื้นที่พักพิงฯ ต้องพากันหนีออกมาจากบริเวณดังกล่าว ต่อมาในช่วงเช้า บริเวณศูนย์พักพิงดังกล่าว ยังเต็มไปด้วยความเสียหายจากการทุบทำลายและเผาทรัพย์สินต่างๆ ทั้งป้อมยาม 13 แห่ง รอบศูนย์ฯ รวมทั้งบ้านพักเจ้าหน้าที่ รถยนต์ และจักรยานยนต์หลายสิบคัน นอกจากนี้ผู้อพยพบางส่วนยังนำรถยนต์และทรัพย์สินบางส่วนออกมาจุดไฟเผากลางถนนแม่สอด-ท่าสองยาง หลัก กม.ที่ 60 บริเวณหน้าศูนย์อพยพ ก่อนที่จะล่าถอยกลับเข้าไปภายในศูนย์ฯ…

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ เปิดโครงการ Hack DHS ชวนแฮ็กเกอร์หาช่องโหว่ รับเงินรางวัล

Loading

  กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ (Department of Homeland Security หรือ DHS) เปิดโครงการ bug bounty เชิญชวนแฮ็กเกอร์สายขาวมาแฮ็กระบบของ DHS พร้อมรับเงินรางวัลตอบแทน โครงการนี้มีชื่อว่า “Hack DHS” มีกิจกรรมทั้งการค้นหาช่องโหว่แบบออนไลน์ และกิจกรรมออฟไลน์ให้แข่งขันกัน หลังจากนั้น DHS จะมาสรุปบทเรียนและพัฒนาเป็นโครงการในระยะถัดไป Alejandro N. Mayorkas รัฐมนตรี DHS ให้สัมภาษณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐต้องการยกระดับความปลอดภัยของระบบไอที ดังนั้น DHS จึงต้องทำตัวเป็นตัวอย่างก่อนใครเพื่อน โครงการ Hack DHS เกิดขึ้นมาเพื่อค้นหาจุดโหว่ของระบบของ DHS เอง และต้องการเป็นต้นแบบให้องค์กรภาครัฐอื่นๆ ทำตาม   ที่มา – Department of Homeland Security   —————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone by mk     …

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…

กองทัพอวกาศสหรัฐซ้อมรบทดสอบเครือข่ายดาวเทียม

Loading

  กองทัพอวกาศสหรัฐทำการทดสอบ ความยืดหยุ่นของเครือข่ายดาวเทียม ต่อภัยคุกคามจากจีนและรัสเซีย บนอวกาศเหนือพื้นผิวโลกหลายไมล์ โดยจำลองสถานการณ์ ดาวเทียมสหรัฐถูกศัตรูโจมตี ความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ หลังจากรัสเซียยิงทำลายทิ้งดาวเทียมการสื่อสารเก่าล้าสมัยดวงหนึ่ง สำนักข่วรอยเตอร์รายงานจากฐานทัพอวกาศปีเตอร์สัน รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ว่า การซ้อมรบของกองทัพอวกาศสหรัฐ ซึ่งจำลองสถานการณ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึง การป้องกันการยิงทำลายดาวเทียมตรวจจับขีปนาวุธของสหรัฐ การป้องกันการรบกวนสัญญาณดาวเทียม รวมทั้งป้องกันภัยคุกคามอื่นๆ จากสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ที่อาจเป็นกลยุทธ์ที่จะใช้ในสงครามอวกาศ โดยดาวเทียมของจริงไม่ถูกใช้ในการซ้อมรบครั้งนี้     การซ้อมรบอวกาศเป็นเวลา 10 วัน ครั้งนี้ มีขึ้นที่ฐานทัพอวกาศชรีฟเวอร์ ในรัฐโคโลราโด โดยมีนางแคธลีน ฮิคส์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เข้าเยี่ยมชมด้วย นับเป็นการซ้อมรบครั้งที่ 13 ของการก่อตั้งกองทัพอวกาศ ในเดือน ธ.ค. 2562 ภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นกองกำลังที่ 6 ของเหล่าทัพสหรัฐ นอกเหนือจาก กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เหล่านาวิกโยธิน และหน่วยยามฝั่ง และเป็นการซ้อมซ้อมรบอวกาศครั้งที่…

ผู้เชี่ยวชาญเตือนแพตช์ด่วนช่องโหว่ร้ายแรงใน Log4j หลังมีการใช้โจมตีจริงอย่างกว้างขวาง

Loading

  ถือเป็นอีกหนึ่งช่องโหว่ระดับร้ายแรงที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางไม่น้อยกว่า Heartbleed หรือ ShellShock เมื่อหลายปีก่อน สำหรับช่องโหว่ CVE-2021-44228 บนแพ็กเกจสำหรับทำเรื่องเก็บ Log ที่นิยมใช้กันในภาษา JAVA ที่สามารถใช้ทำ Remote Code Execution ได้   รู้จักกับ Log4j อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า Log4j คือแพ็กเก็จด้านการทำ Logging ภาษา Java โดยต้นตอของปัญหาเริ่มต้นจากการที่เวอร์ชัน 2.0-beta9 (LOG4J2-313) มีการเพิ่มเข้ามาของ ‘JNDILookup Plugin’ ซึ่ง JNDI ย่อมาจาก Java Naming and Directory Interface ทั้งนี้ JNDI มีการใช้งานมาตั้งแต่ปี 1990 แล้ว ที่เป็น Directory Service ให้โปรแกรม Java สามารถค้นหาข้อมูลผ่านทางระบบ Directory ได้ (อ่านเรื่องของ Directory…

ยูเอ็นเร่งออกกฎใหม่ควบคุม “หุ่นยนต์สังหาร”

Loading

  เลขาธิการยูเอ็นกล่าวเรียกร้องต่อที่ประชุมในนครเจนีวา ให้ทุกฝ่ายร่วมกันออกกฎใหม่ ควบคุมการใช้อาวุธอัตโนมัติ ขณะที่หลายประเทศเทคโนโลยีชั้นนำของโลก กำลังคร่ำเคร่งอยู่กับโครงการพัฒนาหุ่นยนต์ติดอาวุธ สำหรับใช้ในกองทัพ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ว่า การประชุมว่าด้วยอาวุธในรูปแบบบางชนิด หรือ ซีซีซีดับเบิลยู (The Convention on Certain Conventional Weapons) ขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเจรจาต่อรองกันเกี่ยวกับการจำกัดอาวุธอัตโนมัติร้ายแรง หรือ ลอวส์ (lethal autonomous weapons : LAWS) ซึ่งควบคุมโดยเครื่องจักรทั้งหมด และพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และระบบจดจำใบหน้า แต่ความกดดันสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากรายงานของคณะผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น เมื่อเดือน มี.ค.ปีนี้ ระบุว่า โดรนรบอัตโนมัติ ถูกนำไปใช้งานจริงเป็นครั้งแรกแล้วในสงครามลิเบีย     นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการยูเอ็น กล่าวในพิธีเปิดการประชุมเป็นเวลา 5…