จีนจ่อแบนเพลงคาราโอเกะ เป็นภัยคุกคามความมั่นคงชาติ

Loading

แฟ้มภาพเอเอฟพี   เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า จีนเตรียมแบนเพลงคาราโอเกะที่มีเนื้อหาไปในเชิงเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีนระบุว่า ทางกระทรวงจะจัดทำบัญชีดำรายชื่อเพลงต้องห้ามที่มีเนื้อหาเข้าข่ายผิดกฎหมาย เช่น เป็นอันตรายต่อความมั่นคงและเอกภาพของชาติ รวมถึงการก่อความเกลียดชังทางชาติพันธุ์ หรือ ส่งเสริมลัทธิความเชื่อ การพนันและอาชญากรรม อย่างไรก็ตามในถ้อยแถลงการขึ้นบัญชีดำเพลงต้องห้ามนี้ของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีนไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าบทเพลงอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติอย่างไร หรือมีการเปิดเผยถึงเนื้อหาเพลงที่จะถูกขึ้นบัญชีดำเพลงต้องห้ามของทางการจีน ก่อนหน้านี้ทางการจีนมักทำการลบเพลงที่มีเนื้อหาเข้าข่ายไม่เหมาะสมทางการเมืองออกจากเว็บไซต์สตรีมมิ่งเพลงในประเทศทิ้งไป ขณะที่หลังจากกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ที่จีนบัญญัติขึ้นให้มีผลบังคับใช้ในฮ่องกงเมื่อปีที่แล้ว ได้ส่งผลให้เพลงที่กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลปักกิ่งใช้ร้องในการชุมนุมประท้วงในฮ่องกงในปี 2019 เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ในปี 2019 เว็บไซต์สตรีมมิ่งเพลงของจีนได้ลบเพลงที่ถือเป็นเพลงชาติของการชุมนุมประท้วงในฮ่องกง เช่น เพลง “Do You Hear The People Sing” จากเรื่อง the Les Miserables และอีกหลายเพลงของ หลี่ ซื่อ ศิลปินร็อกชาวจีนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ประท้วงนองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 การแบนเพลงคาราโอเกะนี้ จะมีผลในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ได้กำหนดให้ผู้ให้บริการเพลงคาราโอเกะทำการตรวจสอบรายชื่อเพลงที่มีอยู่ว่ามีบทเพลงใดที่ความสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายตามข้อกำหนดที่ระบุไว้หรือไม่ โดยกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีนยังระบุว่าอาจจะมีการตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเพลงคาราโอเกะต่างๆด้วย ด้านสำนักข่าวซินหัวอ้างแหล่งข่าวในกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าวว่า ด้วยเหตุที่ร้านคาราโอเกะและสถานบันเทิงที่มีอยู่ถึงเกือบ 5 หมื่นแห่งทั่วประเทศ…

สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ช่วยกันลดความขัดแย้ง

Loading

ปีที่ผ่านมานี้การแสดงความเห็นที่รุนแรงในสื่อสาธารณะมีมากขึ้นทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยขยายออกไปเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยมาก ผู้เขียน สายธาร หงสกุล กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล ประเทศไทยเคยผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง การสร้างความปรองดองในชาติ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย ต้องใช้เวลา การสร้างความเข้าใจในกลุ่มต่างๆที่มีความคิดเห็นต่างหรือผลประโยชน์หลากหลาย ต้องยึดความยุติธรรมรวมทั้งอาศัยความอะลุ่มอล่วยไม่ให้ฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบเกินไป การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการนั้นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ การสื่อสารที่ผิดพลาดอาจสร้างความบาดหมางทำให้ความขัดแย้งขยายวงกว้างขึ้นไปอีก บทความนี้ขอนำข้อเสนอแนะที่จะส่งเสริมให้การสื่อสารดำเนินไปทางสร้างสรรค์ลดความขัดแย้งอันอาจนำไปสู่ความแตกแยกมากล่าวไว้ แม้ต้นตอของความขัดแย้งจะไม่หมดไปโดยสิ้นเชิง การสื่อสารที่ดีจะทำให้มีความเข้าใจผู้อื่นดียิ่งขึ้น การรู้จักมองต่างมุมจะนำไปสู่การรู้จักเคารพสิทธิ์ผู้อื่น ความเห็นใจและเมตตาต่อกันและกัน และเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ความจริงใจ การให้เกียรติ และความมีมารยาทในการสื่อสาร  จุดเริ่มต้นสำคัญของการสื่อสารคือการทำให้คู่สนทนารู้สึกถึงความจริงใจและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน สร้างบรรยากาศของการสนทนาที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิด เริ่มจากหาจุดร่วมแล้วค่อยๆขยายไป แม้ถึงจุดที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ก็ยอมรับได้ว่าตกลงที่จะไม่เห็นด้วย การค่อยๆขยายพื้นที่ร่วมย่อมดีกว่าการขยายความขัดแย้ง เรียนรู้ที่จะรับฟังความเห็นต่างอย่างอารยะ เปิดใจให้กว้าง อย่าด่วนตัดสินผู้อื่น ตระหนักว่าการที่ผู้อื่นมีความเห็นไม่เหมือนเรานั้น  ไม่ได้แปลว่าผู้นั้นเป็นคนไม่ดีหรือไม่ฉลาด ประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกันนั้น จะทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมเขาจึงมีความคิดหรือข้อสรุปที่ไม่เหมือนเรา การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองช่วยให้เรามองปัญหาหลายแง่มุม อาจนำไปสู่วิธีแก้ปัญหาแบบร่วมมือกันได้ การใช้โซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีอย่างมีสติและใช้ปัญญา การมีเทคโนโลยีใหม่หลายชนิดในการสื่อสารนั้นเป็นดาบสองคม ข้อดีของเทคโนโลยีช่วยให้การรับข้อมูลและการสื่อข่าวสารถึงคนจำนวนมากได้เร็วขึ้น กว้างขึ้น และสะดวก แต่ข้อเสียก็มีหลายประการ นอกเหนือจากประเด็นข่าวปลอมเฟคนิวส์แล้ว การใช้อัลกอริทึมของโซเชียลมีเดียที่เลือกสรรข่าวสารข้อมูลให้ผู้ใช้ มักทำให้เราได้รับข่าวสารจากฝ่ายที่มีความคิดเหมือนเรา เป็นการตอกย้ำความคิดแนวเดียวกัน อาจทำให้เรามีอคติหนักขึ้น ไม่สามารถประเมินความเป็นจริงได้อย่างถูกต้อง สร้างความเข้าใจที่ผิด และเกิดอาการเอียงหนักขึ้น ทางออกหนึ่งคือพยายามเข้าถึงสื่อที่หลากหลาย แม้จะมาจากฝั่งที่เราไม่เห็นด้วย การรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายนี้จะทำให้เราเกิดความเข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริง ได้ภาพรวมที่สมดุล และอาจช่วยลดอคติลง การแสดงความเห็นในโซเชียลมีเดียที่มีการตั้งค่าเป็นสาธารณะควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งผู้ตั้งกระทู้และผู้ออกความเห็น…

Google จะให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีลบรูปหรือคลิปตัวเองออกจาก Google และ YouTube ได้

Loading

” Google ออกนโยบายใหม่ พร้อมฟีเจอร์ปกป้องเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี “   ปัญหาการล่วงละเมิดในเด็กเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกพยายามจะแก้ไขให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะบนโลกโซเชียลหรือโลกเน็ตเวิร์ค ปัญหาล่วงละเมิดดังกล่าวเกิดขึ้นจนยากจะแก้ไข ไม่ว่าจะเรื่องของภาพ คลิป ข้อมูลที่อยู่ คำด่าทอ ความเกลียดชัง ถือเป็นหนึ่งในการล่วงละเมิดที่พบได้ในทุกวันทุกเวลาในปัจจุบัน ซึ่งนั่นทำให้ทาง “Google” เลือกที่จะเปลี่ยนนโยบายของตนเองใหม่ เพื่อที่จะปกป้องเด็ก ๆ ทั่วโลกจากการล่วงละเมิดผ่านแพลตฟอร์มของตนเองให้ได้มากที่สุด   Google ออกนโยบายใหม่ พร้อมฟีเจอร์ปกป้องเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี   นโยบายใหม่ของ Google นี้จะมีผลทั้งบนแพลตฟอร์ม Google และ YouTube โดยเนื้อหาใจความสำคัญ คือการจะเพิ่มช่องทางที่จะให้ “เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถส่งเรื่องขอลบรูปหรือคลิปที่ปรากฎตัวเองออกจากผลการค้นหาต่าง ๆ ได้ พร้อมกับบล็อกการกำหนดเป้าหมายโฆษณาตามอายุ เพศ หรือความสนใจของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี” นั่นหมายความว่าอนาคตแบรนด์การทำการตลาดต่าง ๆ จะเจาะกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ผ่านทาง Google และ YouTube ได้ยากขึ้นมาก ๆ นโยบายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว  …

‘น้ำเสียดื่มได้’ วงจรสิงคโปร์รักษ์โลก

Loading

  ภายใต้ภาวะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศเล็กๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างสิงคโปร์กลับพัฒนาก้าวหน้ากว่าเพื่อนร่วมภูมิภาค แม้แต่เรื่องของการใช้น้ำก็ไปไกลกว่าที่อื่น แทบไม่น่าเชื่อว่า ปั๊มน้ำยักษ์ฝังอยู่ใต้ดินลึก ณ โรงงานแห่งหนึ่งในสิงคโปร์จะช่วยเปลี่ยนน้ำเสียเป็นสะอาดถึงขนาดมนุษย์ดื่มได้ พร้อมๆ กับช่วยลดมลพิษในทะเล เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศเกาะเล็กๆ แห่งนี้มีทรัพยากรน้ำจากธรรมชาติเพียงน้อยนิด จำต้องพึ่งพาน้ำจากเพื่อนบ้านมาเลเซียมาอย่างยาวนาน แต่เพื่อเพิ่มการพึ่งพาตนเอง รัฐบาลสิงคโปร์พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทันสมัยที่ต้องใช้เครือข่ายอุโมงค์และโรงบำบัดไฮเทค ขณะนี้น้ำเสียผ่านการบำบัดแล้วสามารถตอบสนองความต้องการน้ำของสิงคโปร์ได้ถึง 40% คาดว่าตัวเลขจะเพิ่มเป็น 55% ภายในปี 2603 แม้น้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านอุตสาหกรรม แต่บางส่วนก็ป้อนให้กับอ่างเก็บน้ำเพื่อจัดทำน้ำดื่มในประเทศที่มีประชากร 5.7 ล้านคน และระบบนี้ยังช่วยลดการปล่อยมลพิษลงทะเลเนื่องจากน้ำผ่านการบำบัดแล้วที่ถูกปล่อยทิ้งลงทะเลมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ช่างตรงข้ามกับประเทศส่วนใหญ่ สหประชาชาติประเมินว่า 80% ของน้ำเสียทั่วโลกไหลลงสู่ระบบนิเวศโดยปราศจากการบำบัดหรือนำไปใช้ซ้ำ “สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ก็มีจำกัด นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงมักหาทางสำรวจทรัพยากรน้ำและขยายแห่งน้ำสำรองอยู่เสมอ” โลว์ เป้ย จิน หัวหน้าวิศวกรแผนกปรับปรุงน้ำ คณะกรรมาการสาธารณูปโภคกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุ ยุทธศาสตร์หนึ่งคือ “เก็บน้ำทุกหยด แล้วนำมาใช้ใหม่ไม่จบไม่สิ้น” การนำน้ำบำบัดแล้วมาใช้ซ้ำเป็นการเพิ่มเติมจากยุทธศาสตร์หลักในการจัดหาน้ำของประเทศ นั่นคือการนำเข้าน้ำ ใช้อ่างเก็บน้ำ และนำน้ำทะเลมาทำน้ำจืด หัวใจของระบบรีไซเคิลน้ำอยู่ที่โรงหมุนเวียนน้ำชางงีที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศ หลายส่วนของโรงงานตั้งอยู่ใต้ดินเพราะสิงคโปร์หาที่ดินยาก บางแห่งลึกเท่าตึก 25 ชั้น รับน้ำเสียจากอุโมงค์ขนาดใหญ่มหึมายาว 48 กิโลเมตรที่เชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำ ในอาคารหลังหนึ่งมีการติดตั้งระบบระบายอากาศเพื่อให้อากาศสดชื่น…

เกาหลีใต้เตรียมทดสอบ “โดรนยิงลูกระเบิด”

Loading

” DAPA ของเกาหลีใต้ เปิดตัว โดรน 2 ตัว ใช้งานทางทหารโดยเฉพาะ “   หน่วยงาน Defense Acquisition Program Administration หรือ DAPA ของเกาหลีใต้ ได้ทำการเปิดตัว โดรน 2 ตัวรุ่นใหม่ที่จะถูกนำมาใช้สำหรับทางการทหาร เตรียมทดสอบช่วงเดือนแรก ๆ ของปี 2022 โดยความพิเศษของโดรนทั้ง 2 รุ่นนี้อยู่ที่ความสามารถในการโจมตี ที่ตัวโดรนสามารถ “ยิงลูกระเบิด” ออกไปได้ โดรนรุ่นแรก เป็นโดรนยิงลูกระเบิด 40 มิลลิเมตรได้ 6 ลูกแบบต่อเนื่อง เว้นระยะ 2 วินาทีต่อ 1 ลูก สามารถควบคุมได้ไกล 2 กิโลเมตร มีกิมบอล 2 แกนและตัวซับแรงกระแทกจากการยิง ติดตั้งทั้งกล้องทั่วไป กล้องจับความร้อน และเลเซอร์วัดระยะ สำหรับช่วยเล็งยิง โดรนรุ่นที่สอง เป็นโดรนขนาดเล็ก มีน้ำหนักเพียง 2 กิโลกรัม สามารถถอดและใส่อุปกรณ์พิเศษสำหรับการใช้งานที่หลากหลายได้ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีตั้งแต่ กล้อง…

แม่น้ำโขง : ฮิวแมนไรท์วอทช์ชี้เขื่อนจีนในกัมพูชาเป็น “หายนะ” ทางสิทธิมนุษยชน

Loading

ฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกว่า การสร้างเขื่อนนี้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้คนเกือบ 5,000 คน ต้องอพยพย้ายถิ่น   องค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์ เผยแพร่รายงานเรื่องผลกระทบของการดำเนินโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีนในกัมพูชาโดยระบุว่า เขื่อนขนาดใหญ่ที่จีนลงทุนสร้างเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาได้ทำลายชีวิตและความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองและชนกลุ่มน้อยหลายพันชีวิต เขื่อนเซซานตอนล่าง 2 (Lower Sesan 2) ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2018 ตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำเซซานและเซรย์ปก มาบรรจบกัน โดยเป็นแม่น้ำย่อยสองสายที่จะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงอีกที รายงานยาว 137 หน้า ที่เผยแพร่ในวันนี้ (10 ส.ค.) ระบุว่า การสร้างเขื่อนนี้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้คนเกือบ 5,000 คน ซึ่งตั้งรกรากอยู่บริเวณนั้นมาหลายชั่วอายุคนต้องอพยพย้ายถิ่น นอกจากนี้ ฮิวแมนไรท์วอทช์ ยังชี้ด้วยว่าเจ้าหน้าที่กัมพูชาและเจ้าหน้าที่ของบริษัทไชน่า หัวเหนิง กรุ๊ป (China Huaneng Group) ผู้สร้างและดำเนินการเขื่อน ไม่ได้พูดคุยรับฟังความเห็นและความกังวลของชุมชนที่จะได้รับผลกระทบเพียงพอ ก่อนที่จะลงมือสร้าง จอห์น ซิฟตัน ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนภูมิภาคเอเชียของฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกว่า เขื่อนเซซานตอนล่าง…