ปักกิ่งส่อโดนรุม! เยอรมนีส่งเรือรบล่องสู่ทะเลจีนใต้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษ

Loading

เรือรบฟริเกตของเยอรมนีลำหนึ่งเตรียมล่องเข้าสู่ทะเลจีนใต้เป็นครั้งแรกในรอบราวๆ 2 ทศวรรษ ส่วนหนึ่งของภารกิจยาวนาน 6 เดือน ตามคำมั่นสัญญาของเบอร์ลินที่มีต่อพันธมิตรและต่อเสรีภาพแห่งการเดินเรือ บาเยิร์น (บาวาเรีย) หนึ่งในเรือฟริเกตชั้นบรันเดินบวร์ค จากทั้งหมด 4 ลำของเยอรมนี เดินทางออกจากฐานทัพเรือวิลเฮมส์ฮาเฟิน เมื่อวันจันทร์ (2 ส.ค.) ในพิธีที่มี อันเนเกรต ครัมป์-คาร์เรนบาวเออร์ รัฐมนตรีกลาโหมเข้าร่วมด้วย ข้อมูลจากกองทัพเรือเยอรมนีระบุว่า เรือรบลำนี้บรรทุกตอร์ปิโดต่อต้านเรือดำน้ำ 46 ลูก ติดตั้งขีปนาวุธต่อต้านเรือและอาวุธต่อต้านอากาศยาน มันจะใช้เวลาอยู่กลางทะเลเป็นเวลา 6 เดือน ระหว่างนั้นคาดหมายว่าจะล่องเฉียดใกล้จะงอยแอฟริกา ออสเตรเลียและญี่ปุ่น รวมถึงล่องผ่านทะเลจีนใต้ ภูมิภาคที่ความตึงเครียดระหว่างวอชิงตันและปักกิ่งพุ่งสูง “ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตร เยอรมนีต้องการปรากฏตัวมากขึ้นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก” ถ้อยแถลงของกองทัพเรือระบุ น่านน้ำต่างๆ ในทะเลจีนใต้เป็นจุดเดือดมาช้านานเกี่ยวกับข้อพิพาททางทะเลในภูมิภาค ปักกิ่งยืนกรานว่ามีสิทธิทางประวัติศาสตร์เหนือน่านน้ำดังกล่าว แต่คำกล่าวอ้างว่าพวกเขามีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของทะเลแห่งนี้ถูกปฏิเสธโดยศาลอนุญาโตตุลาการถาวรในเมืองเฮก ที่ตัดสินเข้าข้างฟิลิปปินส์ กองทัพสหรัฐฯได้ปรากฏตัวในภูมิภาคที่อุดมไปด้วยทรัพยากรแห่งนี้ภายใต้คำกล่าวอ้างที่ว่า เพื่อธำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพและปกป้องเสรีภาพของการเดินเรือ และเมื่อเร็วๆ นี้วอชิงตันพูดเป็นนัยว่าพวกเขายืนหยัดอยู่เคียงข้างเหตุผลของพันธมิตรในทะเลจีนใต้ โดย แอนโทนี บลินเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นย้ำว่าประเทศของเขาจะอยู่ข้างประเทศอื่นๆ ที่กำลังถูกจีนข่มขู่บีบบังคับ ถ้อยแถลงของกองทัพเรือเยอรมนีไม่ได้พาดพิงจีนหรือเอ่ยชื่อทะเลจีนใต้โดยตรง แต่พวกเขาระบุว่า พื้นที่อินโด-แปซิฟิก คือภูมิภาคที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มากที่สุดบนโลกใบนี้…

กลุ่มทุนจีน‘ซื้อที่ดินทั่วโลก’แผนสร้างแหล่งทรัพยากร

Loading

กลุ่มทุนจีน‘ซื้อที่ดินทั่วโลก’แผนสร้างแหล่งทรัพยากร ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าการรุกคืบซื้อที่ดินด้านการเกษตรของกลุ่มทุนจีนจะบั่นทอนความมั่นคงของประเทศ บทวิเคราะห์ในเว็บไซต์นิกเคอิ เอเชีย ที่กล่าวถึงกระแสการกว้านซื้อที่ดินของบริษัทจีนในภูมิภาคเอเชียระบุว่า กลยุทธของรัฐบาลจีนในการแผ่อิทธิพลเพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขยายสิ่งปลูกสร้างในทะเลจีนใต้จนจุดชนวนให้เกิดการต่อต้านจากหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการส่งออกโครงสร้างพื้นฐานอย่างจริงจังเท่านั้น แต่จีนดำเนินกลยุทธ์เชิงรุกด้วยการกว้านซื้อที่ดินในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องด้วย ขณะนี้บริษัทจีนจำนวนมากกำลังกว้านซื้อที่ดินทั้งในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา โดยพื้นที่โดยรวมของที่ดินที่บริษัทจีนทั้งซื้อและเช่าในช่วง 10ปีที่ผ่านมามีจำนวนเท่ากับพื้นที่ทางบกของประเทศศรีลังกา หรือลิธัวเนียทั้งประเทศและมากกว่าการถือครองที่ดินของบริษัทสหรัฐและบริษัทสัญชาติอื่นๆ การเคลื่อนไหวดังกล่าวของบริษัทจีน ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆว่าที่ดินในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์จะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของจีน ทั้งยังทำให้เกิดความกังวลว่าการรุกคืบเข้ามาซื้อที่ดินด้านการเกษตรของกลุ่มทุนจีนจะบั่นทอนความมั่นคงของประเทศในท้ายที่สุด ญี่ปุ่นและประเทศยักษ์ใหญ่อื่นๆไม่สามารถมองข้ามการกว้านซื้อที่ดินในต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจจีนที่เกิดขึ้นได้ โดยศาสตราจารย์ฮิเดกิ ฮิราโนะ จากมหาวิทยาลัยฮิเมจิ ซึ่งศึกษาเรื่องการเข้าซื้อที่ดินของนักลงทุนต่างชาติ มีความเห็นว่า “ควรมีการออกกฏหมายที่เข้มงวดมากกว่านี้เพื่อป้องกันการกว้านซื้อที่ดินของกลุ่มทุนจีน” รายงานวิเคราะห์ได้ยกตัวอย่าง การกว้านซื้อที่ดินในรัฐคะฉิ่น ทางตอนเหนือของเมียนมาโดยกลุ่มทุนจีนเพื่อปลูกกล้วย และเมื่อถึงปี 2558 พื้นที่ปลูกกล้วยนี้ก็ขยายออกไปจนถึงปัจจุบันทำให้ทิวทัศน์ในแถบนั้นเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ผลสำรวจของหน่วยงานเอกชนและองค์กรต่างๆ บ่งชี้ว่าบริษัทจีนมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับการปลกูกล้วยในพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ข้อมูลจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ระบุว่า การส่งออกกล้วยจากเมียนมาเพิ่มขึ้น 250 เท่าตัว จากมูลค่า1.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2556 เป็น 370 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 และส่วนใหญ่ส่งออกไปจีน ชาวบ้านในรัฐคะฉิ่นบอกว่า ยังคงมีการปลูกกล้วยของกลุ่มทุนจีนในรัฐคะฉิ่นนับตั้บแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา เพราะภาษีจากกล้วยเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่หล่อเลี้ยงทหารในกองทัพเมียนมา แต่บริษัทจีนไม่ได้เข้าไปเปลี่ยนภูมิทัศน์เฉพาะในเมียนมาเท่านั้น ในจังหวัดบิญเฟื๊อก ทางภาคใต้ของเวียดนามซึ่งเป็นแหล่งผลิตยางพาราและมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมยางในประเทศก็กำลังถูกคุกคามในลักษณะคล้ายๆกัน โดยผู้กระทำคือบริษัทนิวโฮป หลิวเหอ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านปศุสัตว์ชั้นนำของจีน และได้กว้านซื้อที่ดินในจังหวัดนี้ของเวียดนาม…

‘เฮติ’ จับเป็น-จับตาย ผู้ต้องสงสัยลอบสังหารประธานาธิบดี

Loading

ประเทศเฮติเข้าสู่ภาวะโกลาหลในวันพฤหัสบดี หนึ่งวันหลังจากเกิดเหตุลอบสังหารประธานาธิบดีโจเวเนล โมอิส ซึ่งนำไปสู่การไล่ล่าจับกุมคนร้ายหลายคน ซึ่งมีทั้งที่ถูกจับกุมและถูกตำรวจยิงสังหาร สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ตำรวจเฮติได้จับกุมชายสองคนซึ่งเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบสังหารครั้งนี้ และคาดว่าเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเฮติ โดยหนึ่งในนั้นเป็นอดีตบอดี้การ์ดที่สถานทูตแคนาดาในกรุงปอร์โตแปรงซ์ ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฮติ แมทธีอัส ปิแอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเลือกตั้งของเฮติ กล่าวกับสำนักข่าวเอพีว่า นายเจมส์ โซเลจส์ คือหนึ่งในผู้ต้องสงสัย 6 คนที่ถูกจับกุมในช่วง 36 ชั่วโมงที่ผ่านมา นับตั้งแต่เกิดเหตุลอบสังหารประธานาธิบดีโมอิสที่บ้านพักประธานาธิบดี เมื่อช่วงเช้ามืดวันพุธ ในเว็บไซต์เพื่อการกุศลที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อนที่รัฐฟลอริดา นายโซเลจส์ เรียกตัวเองว่า “เจ้าหน้าที่ด้านการทูตผู้ผ่านการรับรอง” และยังเป็นที่ปรึกษาสำหรับเด็กและเป็นนักการเมือง และยังระบุว่าตนเคยทำงานเป็นบอดี้การ์ดที่สถานทูตแคนาดาประจำเฮติด้วย ลีออน ชาลส์ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติของเฮติ กล่าวว่า คนร้ายผู้ลอบสังหารประธานาธิบดีโมอิส คือทหารรับจ้าง และยืนยันว่าผู้ต้องสงสัย 4 รายได้ถูกยิงสังหารระหว่างการต่อสู้กับตำรวจ และอีก 2 รายถูกจับกุม โดยมีตำรวจสามนายที่ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระหลังจากถูกคนร้ายจับไว้เป็นตัวประกัน ซึ่งทางตำรวจจะติดตามจับกุมผู้ต้องสงสัยทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ รักษาการนายกรัฐมนตรีเฮติ คล้อด โจเซฟ ประกาศประกาศสถานการณ์ที่ต้องเข้าควบคุมพื้นที่ หรือ State of Siege ตั้งแต่เช้าวันพุธตามเวลาท้องถิ่นเป็นต้นไป เพื่อนำกฎอัยการศึกมาใช้ควบคุมสถานการณ์ความวุ่นวายในประเทศ…

ปฏิบัติการแอปลับ ‘ANOM’ อาชญากรติดกับโดนจับทั่วโลก

Loading

  FBI กับตำรวจออสเตรเลีย ร่วมมือผุดปฏิบัติการแอปแชตลับ ANOM อาชญากรในหลายสิบประเทศหลงกลใช้งาน สุดท้ายโดยจับทั่วโลกเกือบพันคน   ปฏิบัติการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน เจ้าหน้าที่พยายามแพร่กระจายแอปเข้าสู่เครือข่ายใต้ดิน จนอาชญากรเริ่มใช้งานอย่างแพร่หลายใน 100 ประเทศทั่วโลก   เจ้าหน้าที่ยังได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากอาชญากรตัวเป้ง ซึ่งหลงกลตำรวจและนำแอปไปแนะนำต่อ จนมันกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น   เมื่อวันอังคารที่ 8 มิ.ย. 2564 หน่วยงานตำรวจในหลายประเทศทั่วโลก ประกาศข่าวการจับกุมตัวอาชญากรจำนวนกว่า 800 คน ซึ่งถูกหลอกให้ใช้แอปพลิเคชันส่งข้อความเข้ารหัสที่ชื่อว่า ‘ANOM’ (อานอม) ซึ่งดูเหมือนจะปลอดภัย แต่แท้จริงแล้ว แอปนี้กลับถูกบริหารจัดการโดย FBI ของสหรัฐฯ   ปฏิบัติการที่ว่านี้เป็นความร่วมมือระหว่าง FBI กับตำรวจออสเตรเลีย โดยแพร่กระจายแอป ANOM ไปในหมู่แก๊งอาชญากรรมอย่างลับๆ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดักฟังข้อมูลต่างๆ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นแผนลักลอบขนยาเสพติด, การฟอกเงิน หรือแม้แต่แผนฆาตกรรม   นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้รับความช่วยเหลือโดยไม่ตั้งใจจากอาชญากรตัวเอ้ ซึ่งหลบหนีการจับกุมมานานกว่า 10 ปี แต่กลับหลงกลตำรวจและนำแอปไปแนะนำต่อ จนนำไปสู่ความสำเร็จของปฏิบัติการที่เอฟบีไอระบุว่า…

ความต่างระหว่าง ‘เข้าประชุม’ กับ ‘แอบฟัง’ ประชุมออนไลน์

Loading

  วิกฤติโควิด-19 ทำให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ต้องปรับรูปแบบสู่การประชุมออนไลน์ ซึ่งสิ่งสำคัญของการประชุมทางไกลนี้ ควรที่จะเปิดกล้องและต้องแสดงตัวตนให้ชัดเจนว่าใครเข้าประชุม โดยเฉพาะกับการประชุมกับคนนอกองค์กร   การทำงานจากที่บ้านเป็นประจำตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ทำให้เราเริ่มคุ้นเคยกับการประชุมออนไลน์จนเป็นเรื่องปกติ บางคนต้องประชุมออนไลน์ทั้งวัน วันละหลายประชุม ผมเองก็เช่นกัน บางวันจบจากประชุมที่หนึ่ง ก็ย้ายการประชุมอีกที่หนึ่ง ต่างองค์กรก็อาจต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีใช้งาน รูปแบบประชุมเปลี่ยนไป การแต่งกายก็เปลี่ยนใส่สูทบ้างถอดสูทบ้าง และก็ใส่ชุดลำลองบ้าง   การประชุมที่ทำทุกวันนี้ มีทั้งแบบทางการ และไม่เป็นทางการ มีทั้งพูดคุยกันเองในบริษัท ในแผนก รวมถึงประชุมกับคนข้างนอกที่อาจไม่เคยพบมาก่อน บางประชุมเป็นทางการ ต้องบันทึกการประชุมมีกฎระเบียบ เช่น ประชุมของหน่วยราชการ การประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย การประชุมบอร์ดบริษัทมหาชน ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดว่า ด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563   ใน พ.ร.ก.นี้ ระบุถึงขั้นตอนประชุมออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งจัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตน บันทึกการประชุม การลงคะแนน ข้อกำหนดความปลอดภัย ตลอดจนประชุมวาระลับ จากประสบการณ์ผม หน่วยงานที่ต้องจัดประชุมเหล่านี้ที่ต้องการให้ประชุมมีผลทางกฎหมาย จะเข้าใจขั้นตอน ผู้ร่วมประชุมทำตามกฎระเบียบ บริหารการประชุมไปได้ด้วยดี เหมือนประชุมในแบบปกติ   ขณะเดียวกัน ผมมักประชุมกับหน่วยงานภายนอก หรือประชุมที่อาจไม่ได้มีผลทางกฎหมาย…

คุก 4 เดือนไม่รอลงอาญา หนุ่มตบหน้าผู้นำฝรั่งเศส

Loading

  ศาลฝรั่งเศสพิพากษาให้ชายวัย 28 ปี รับโทษจำคุกเป็นเวลา 4 เดือนโดยไม่รอลงอาญา จากความผิดฐานตบหน้าประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ว่าศาลในเมืองวาลองซ์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส มีคำพิพากษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ใน “คดีเร่งรัด”  ให้นายดาเมียน ทาเรล วัย 28 ปี รับโทษจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน จากความผิดฐานเจตนาประทุษร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่รัฐ ด้วยการตบหน้าของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ระหว่างลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ผู้พิพากษาจึงให้รอลงอาญาบทลงโทษจำคุก 14 เดือนไว้ก่อน โดยคาดโทษว่า ระยะเวลาจำคุกดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ทันที หากทาเรลกระทำผิดในข้อหาใดก็ตาม ส่วนบทลงโทษจำคุก 4 เดือน ให้จำเลยเข้าสู่เรือนจำเพื่อรับโทษทันที  ทั้งนี้ ข้อหาทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่รัฐ มีบทลงโทษจำคุกนานสูงสุด 3 ปี และปรับเงินสูงสุด 45,000 ยูโร ( ราว…