สปาย vs สปาย

Loading

  หัวข้อนี้วันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสปาย ทำให้คิดถึงหนังสือการ์ตูนฝรั่งระหว่าง “สปายขาว” กับ “สปายดำ” โดยใช้นกสองตัว (คล้ายกับอีกาบ้านเรา) เป็นตัวแทนของสปายแต่ละข้าง มีการเฉือนคมกันอย่างสนุกสนาน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ คนเขียนการ์ตูนเรื่องนี้นับว่าสมองอัจฉริยะจริง ๆ จึงขออนุญาตมาตั้งเป็นหัวข้อเรื่องนี้ เพราะวันนี้จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับองค์กรสปายของโลกตามคำขอของผู้อ่านบางท่าน เพื่อจะให้หายเครียดจากโควิด 19 บ้าง   ผู้อ่านถามมาว่า หน่วยข่าวกรองของประเทศไหนที่ถือว่ายอดเยี่ยมที่สุดสิบอันแรกของโลก แต่ไม่ได้ระบุว่ายอดเยี่ยมที่สุดในแบบไหน เจ้าหน้าที่มากที่สุด หรืองบประมาณมากที่สุด หรือทำงานเก่งที่สุดแบบเจมส์บอนด์ ฯลฯ และขอให้วิเคราะห์ถึงข่าวล่าสุดที่ ซี.ไอ.เอ. ร่วมมือกับหน่วยข่าวเดนมาร์ก ดักฟังโทรศัพท์ของผู้นำเยอรมนี อังกฤษ และผู้นำอีกหลายประเทศคงจะโดนไปด้วย พร้อมกับคำถามว่า ในวงการนี้ เพื่อนกันเขาทำกับเพื่อนทำนองนี้ได้ด้วยหรือ   วันนี้ขอเขียนเรื่องสิบอันดับแรกเยี่ยมยอดของหน่วยข่าวกรองหรือสมัยก่อนเรียกว่าหน่วยสืบราชการลับที่เราเคยดูบ่อย ๆ ในภาพยนต์ซึ่งน่าตื่นเต้นดี   ยังไม่มีสถาบันจัดลำดับใดเคยจัดลำดับองค์กรข่าวกรองโลกมาก่อน จึงต้องไปค้นจาก “วิกีพีเดีย” ซึ่งตั้งหัวข้อไว้ว่า สิบอันดับหน่วยข่าวเยี่ยมของโลก คือ (1) สำนักวิจัยและวิเคราะห์ (R&A wing) ของอินเดีย (2) มอสสาด ของอิสราเอล (3)…

จีนตัดสิทธิ์ นร.โกงสอบระดับประเทศ ใช้สมาร์ทโฟน 5G

Loading

  โกลบอลไทม์ส รายงาน (9 มิ.ย.) ว่านักเรียนคนหนึ่งในอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ทางตอนกลางของจีน ถูกตัดสิทธิ์ให้ผลการสอบเป็นโมฆะฯ เหตุใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อค้นหาคำตอบระหว่างการสอบเข้าวิทยาลัยแห่งชาติของจีน หรือเกาเข่า ก่อกระแสวิจารณ์จากสาธารณชนเกี่ยวกับระบบเฝ้าระวังสถานที่สอบ เจ้าหน้าที่คุมสอบฯ ได้กล่าวเมื่อวันอังคารว่า สัญญาณ 5G ที่นักเรียนใช้อาจทำให้ระบบป้องกันสัญญาณของโรงเรียนเสียหาย ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ นักเรียนแซ่อู่ ถูกจับได้ว่าโกงในข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์เมื่อวันจันทร์ โดยถ่ายรูปและอัปโหลดรูปภาพส่วนหนึ่งของข้อสอบลงในแอปพลิเคชันการศึกษาออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาคำตอบของคำถามในฐานข้อมูลได้ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สำนักงานการศึกษาท้องถิ่นในเขตหวงผี่ ในอู่ฮั่น แถลงยืนยันการกระทำของอู่ ซึ่งตรวจพบหลักฐานการกระทำผ่านกล้องวงจรปิด และประกาศว่าผลการทดสอบของอู่ทั้งหมดเป็นโมฆะ บริษัทที่อยู่เบื้องหลังแอปกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันอังคารที่ Sina Weibo ว่าแอปตรวจพบพฤติกรรมที่น่าสงสัยของนักเรียนในการค้นหาคำตอบการทดสอบเกาเข่าในบ่ายวันจันทร์ แต่ก็ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ใดๆ แก่ผู้ใช้ รูปภาพของกระดาษทดสอบของอู่ ก็ยังไม่ทันปรากฏที่แอปและไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะในรูปแบบใด ๆ ตามรายงานของสำนักการศึกษาฯ ระบุว่า เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและบุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่พื้นที่การสอบของอู่ ทั้งหมดถูกตัดสิทธิ์ การโกงของอู่ ทำให้เกิดความรู้สึกและคำถามในสื่อสังคมออนไลน์ของจีน เกี่ยวกับวิธีที่จะนำอุปกรณ์ดิจิทัลเข้ามาในห้องสอบที่ปิดสนิทและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างการสอบที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของจีน และมีการแจ้งเตือนการโกงสูงสุด เจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจสอบท้องถิ่นกล่าวว่า อาจเป็นเพราะข้อบกพร่องในอุปกรณ์ป้องกันสัญญาณที่พื้นที่สอบ ซึ่งไม่สามารถบล็อกสัญญาณ 5G ของอู่ ที่ใช้ในโทรศัพท์ได้ และว่า นักเรียนที่หลุดรอดด่านตรวจความปลอดภัยอุปกรณ์สื่อสารที่ทางเข้าสถานที่สอบ…

คนร้าย เปิดฉากยิงปะทะเจ้าหน้าที่ บนเทือกเขา อ.จะแนะ ก่อนหลบหนี พบระเบิด-อาวุธอื้อ

Loading

  เมื่อเวลา 13.41 น. วันที่ 9 มิถุนายน พล.ต.ไพศาล หนูสังข์ ผบ.ฉก.นราธิวาส ได้สั่งการให้ พ.อ.จิรวัฒน์ จุฬากาญจน์ ผบ.ฉก.กรมทหารพรานที่ 49 ร่วมสนธิกำลังกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษร่วม จ.นราธิวาส จำนวน 4 ชุดปฏิบัติการณ์ ขึ้นพิสูจน์ทราบบนเทือกเขาหลังหมู่บ้านกาแย ม.5 ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ หลังสืบทราบเป็นแหล่งหลบซ่อนพักพิงของกองกำลังติดอาวุธ กลุ่มนายมูฮำหมัดซากีรีน สาแม ซึ่งเป็นแกนนำระดับสั่งการ โดยเจ้าหน้าที่ได้นำกำลังเดินเท้าขึ้นพิสูจน์ทราบบนเทือกเขาที่สูงชั้นนานกว่า 4 ชั่วโมง พบขนำ 1 หลังที่ปลูกไว้บนเทือกเขา และมีกองกำลังติดอาวุธ จำนวน 5 ถึง 6 คน กระจายกันอาศัยอยู่โดยรอบ เจ้าหน้าที่จึงได้จัดวางกระจายเพื่อโอบล้อมขนำไว้ แต่กลุ่มคนร้ายเห็นความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ ได้ตะโกนแจ้งสมาชิกในกลุ่มได้รับทราบ พร้อมใช้อาวุธปืนประจำกาย ยิงใส่เจ้าหน้าที่ จนทั้ง 2 ฝ่ายได้เปิดฉากปะทะกันเป็นระลอกๆนานกว่า 20 นาที คนร้ายเห็นจวนตัวจึงได้ใช้อาวุธปืนยิงเบิกทาง และสามารถใช้ความชำนาญพื้นที่หลบหนีไปได้    …

วุฒิสภาสหรัฐฯ ชี้ปัญหาด้านความปลอดภัย-งานข่าวกรอง มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุจลาจลบุกอาคารรัฐสภา 6 ม.ค.

Loading

  คณะกรรมาธิการวุฒิสภา 2 ชุดร่วมกันออกรายงานที่แสดงให้เห็นถึง “ความล้มเหลวด้านงานรักษาความปลอดภัยและงานข่าวกรองจำนวนหนึ่ง” ที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและระหว่างการก่อการจลาจลบุกอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา รายงานร่วมดังกล่าวที่ได้รับการเปิดเผยออกมาในวันอังคารตามเวลาในสหรัฐฯ ระบุว่า “วันที่ 6 มกราคม ปี ค.ศ. 2021 นั้นไม่เพียงแต่เป็นวันที่จะถูกจดจำว่าเป็นวันเกิดเหตุโจมตีระบอบประชาธิปไตย แต่ยังชี้ให้เห็นว่า องค์กรที่รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัยและการปกป้องอาคารรัฐสภาและทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้น ไม่ได้มีการเตรียมตัวรับมือกับการโจมตีขนานใหญ่ แม้จะมีความตระหนักดีเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุรุนแรงที่พุ่งเป้ามายังอาคารรัฐสภาแล้วก็ตาม” คณะกรรมาธิการด้านกฎและด้านความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของวุฒิสภาร่วมกันทำการสอบสวนเหตุจลาจลตั้งแต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเชิญผู้รับผิดชอบดูแลหน่วยงานตำรวจประจำรัฐสภาและหน่วยงานรักษากฎหมายอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทั้งอดีตและปัจจุบันของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เข้าให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และยังตรวจสอบเอกสารหลายพันชุด ประกอบเอกสารคำให้การของเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภาอีก 50 นายด้วย รายงานดังกล่าวสรุปว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น่าสลดในวันที่ 6 มกราคมนั้น คือ ความล้มเหลวของงานด้านข่าวกรอง ที่ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ ประเมินและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุรุนแรงและภัยคุกคามต่อรัฐสภารวมทั้งสมาชิกทั้งหลายที่อยู่ในอาคารในวันดังกล่าวให้กับหน่วยงานรักษากฎหมาย     คณะกรรมาธิการทั้งสองยังชี้ด้วยว่า ความล้มเหลวที่กล่าวมานั้นรวมความถึง การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) หรือกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ทำการประเมินภัยคุกคามใดๆ แม้จะมีเสียงเรียกร้องผ่านช่องทางออนไลน์ให้มีการก่อเหตุความรุนแรงที่อาคารรัฐสภามาสักระยะแล้ว รวมทั้งหน่วยงานด้านข่าวกรองของทีมตำรวจประจำรัฐสภาไม่ยอมแบ่งปันข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับภัยคุกคามรุนแรงให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เลย นอกจากประเด็นความล้มเหลวแล้ว คณะกรรมาธิการทั้งสองยังตำหนิทีมงานรักษาความปลอดภัยของอาคารรัฐสภาที่ไม่ยอมร้องขอความช่วยเหลือจากกองกำลังสำรองของรัฐ ล่วงหน้าก่อนวันที่ 6…

ความท้าทายที่มา ‘จนท.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’

Loading

  ทำความรู้จัก “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (DPO) กลไกสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลายๆ ประเทศ   “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หรือ DPO (Data Protection Officer) เป็นกลไกสำคัญในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบ เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพยุโรปและประเทศไทย ก่อนการบังคับใช้ GDPR มีการคาดการณ์ว่าจะทำให้มีความต้องการตำแหน่ง DPO เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายไม่น้อยกว่า 75,000 อัตรา (IAPP 2016)   ในขณะที่ข้อมูลการศึกษาของ IAPP-EY Annual Governance Report of 2019 ระบุว่ามีองค์กรไม่น้อยกว่า 5 แสนองค์กรได้ดำเนินการจดทะเบียน DPO กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป (Data Protection Authorities, DPAs) ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่คาดไว้มาก   IAPP-EY Report 2019 ยังแสดงข้อมูลให้เห็นด้วยว่า จากจำนวนบริษัทที่ทำการสำรวจ 375 องค์กร พบว่าร้อยละ…

Cyber Attack – คลื่นใต้น้ำแห่งยุคดิจิทัลที่ต้องจับตามอง

Loading

  ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา มีเหตุโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดใหญ่แทบทุกสัปดาห์ก็ว่าได้ โดยสองเหตุการณ์ที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการโจมตีระบบท่อส่งน้ำมันของบริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ในสหรัฐโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ดาร์กไซด์ (DarkSide) และเหตุโจมตีเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท JBS SA ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของโลกจากบราซิล ซึ่งการโจมตีทั้งสองครั้งแฮกเกอร์ได้ปล่อยแรนซัมแวร์หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าโจมตีระบบของบริษัทจนสร้างความปั่นป่วนไม่น้อย   In Focus สัปดาห์นี้ ขอพาผู้อ่านแกะรอยข่าวการเรียกค่าไถ่ด้วยแรนซัมแวร์ที่ครองพื้นที่สื่อทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   ย้อนรอยเหตุจับข้อมูลเป็นตัวประกัน เรียกค่าไถ่โคโลเนียล ไปป์ไลน์-JBS SA   เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักรายงานว่า บริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐได้ถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ส่งผลให้ต้องปิดเครือข่ายการส่งน้ำมันไปยังหลายรัฐทางภาคตะวันออกของสหรัฐ ซึ่งการโจมตีดังกล่าวได้สร้างความวิตกทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ทำการขนส่งนั้นมีปริมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 45% ของปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และเชื้อเพลิงอากาศยานในฝั่งตะวันออกของสหรัฐ โดยไม่กี่วันหลังเหตุโจมตีดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และในวันที่ 11 พ.ค. โคโลเนียล ไปป์ไลน์เปิดเผยว่า ท่อส่งน้ำมันของบริษัทได้เริ่มกลับมาดำเนินการได้บางส่วนแล้ว   ด้านผู้เชี่ยวชาญซึ่งร่วมสอบสวนกรณีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นฝีมือของกลุ่มอาชญากรที่มีชื่อว่า ดาร์กไซด์…